พบผลลัพธ์ทั้งหมด 308 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8382/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนคดีแรงงาน: การฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายและค่าชดเชยจากการเลิกจ้างในคดีเดิมที่ยังพิจารณาค้างอยู่
ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง บัญญัติว่า "นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้วคดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาและผลแห่งการนี้ (1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น" ความมุ่งหมายของบทบัญญัติดังกล่าวก็คือ คดีเรื่องเดียวกันโจทก์ควรจะฟ้องร้องว่ากล่าวกันไปเสียให้เสร็จสิ้นในคราวเดียวกัน คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม โดยอ้างเหตุว่าจำเลยกล่าวหาว่าโจทก์ร่วมมือกับ ฉ. ว่าจ้างให้ บ. กับพวก ขุดดินวางสายเคเบิ้ลแล้วไม่จ่ายค่าจ้างส่วนที่เหลือและนำอุปกรณ์สื่อสัญญาณเชื่อมต่อสัญญาณโทรศัพท์ไปใช้นอกพื้นที่บริการให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานของจำเลยเรียกรับและแสวงหาผลประโยชน์จากผู้ขอติดตั้ง แล้วมีคำสั่งลงโทษไล่โจทก์ออกจากการทำงาน โดยเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม คดีนี้โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์โดยเหตุเดียวกันกับเหตุที่ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมคดีก่อน และเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยจากจำเลยในขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลแรงงานกลาง การฟ้องคดีทั้งสองเรื่องต่อศาลแรงงานกลางเป็นการเรียกร้องสิทธิในมูลหนี้หรือสิทธิเรียกอันเกี่ยวกับการเลิกจ้างในคราวเดียวกัน ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยเพื่อเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมในคราวเดียวกันได้หรือขอแก้ไขคำฟ้องในคดีเดิมภายในกำหนดเวลาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางในระหว่างคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลแรงงานกลางจึงเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8382/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: การฟ้องเรียกร้องสิทธิจากเหตุเลิกจ้างเดียวกันในระหว่างคดีเดิม
ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง บัญญัติว่า "นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาและผลแห่งการนี้ (1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น" ความมุ่งหมายของบทบัญญัติดังกล่าวก็คือคดีเรื่องเดียวกันโจทก์ควรจะฟ้องร้องว่ากล่าวกันไปเสียให้เสร็จสิ้นในคราวเดียวกัน คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม เรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม คดีนี้โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์โดยเหตุเดียวกันกับเหตุที่ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมคดีก่อน และเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยจากจำเลยในขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลแรงงานกลาง การฟ้องคดีทั้งสองเรื่องต่อศาลแรงงานกลางเป็นการเรียกร้องสิทธิในมูลหนี้หรือสิทธิเรียกร้องอันเกี่ยวกับการเลิกจ้างในคราวเดียวกัน ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยเพื่อเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมในคราวเดียวกันได้หรือขอแก้ไขคำฟ้องในคดีเดิมภายในกำหนดเวลาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางในระหว่างคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลแรงงานกลางจึงเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7394-7395/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกเป็นโมฆียะของสัญญาซื้อขายเนื่องจากฉ้อฉล และฟ้องซ้อน
การที่โจทก์จดทะเบียนโอนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 เพราะหลงเชื่อตามที่จำเลยที่ 1 หลอกลวงว่าได้โอนเงินค่าที่ดินเข้าบัญชีเงินฝากของบุตรโจทก์ตามข้อตกลงแล้วนั้น เป็นเรื่องที่โจทก์แสดงเจตนาทำนิติกรรมเพราะถูกจำเลยที่ 1 ใช้กลฉ้อฉล ซึ่งหากโจทก์ทราบความจริงว่ายังไม่มีการโอนเงินเข้าบัญชีดังกล่าว การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 ก็คงจะมิได้กระทำขึ้น สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงตกเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 159 ซึ่งโจทก์มีสิทธิบอกล้างเสียได้ตามมาตรา 175 (3) เท่านั้น หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม หรือตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม หรือทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม อันจะถือว่าเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่ตกเป็นโมฆะตามบทกฎหมายดังกล่าว
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในสำนวนหลังโดยมีสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกับสำนวนแรก ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาก็เป็นอย่างเดียวกัน เพียงแต่มีคำขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพิ่มเติมจากสำนวนแรกเท่านั้น ซึ่งคำขอบังคับดังกล่าวโจทก์อาจขอได้ในสำนวนแรกอยู่แล้วจึงเป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกัน เมื่อโจทก์ฟ้องคดีสำนวนหลังขณะคดีสำนวนแรกอยู่ระหว่างการพิจารณา ฟ้องโจทก์ในสำนวนหลังจึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในสำนวนหลังโดยมีสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกับสำนวนแรก ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาก็เป็นอย่างเดียวกัน เพียงแต่มีคำขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพิ่มเติมจากสำนวนแรกเท่านั้น ซึ่งคำขอบังคับดังกล่าวโจทก์อาจขอได้ในสำนวนแรกอยู่แล้วจึงเป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกัน เมื่อโจทก์ฟ้องคดีสำนวนหลังขณะคดีสำนวนแรกอยู่ระหว่างการพิจารณา ฟ้องโจทก์ในสำนวนหลังจึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6390/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การครอบครองปรปักษ์ต่างจากคดีละเมิด แม้มีประเด็นที่ดินร่วมกัน ศาลต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริง
ฟ้องโจทก์ในคดีก่อนเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 กับพวก ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้บ้านเลขที่ 137/2 ของโจทก์ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 1137 ได้รับความเสียหายและจำเลยที่ 1 กับพวกนำทรัพย์สินของโจทก์ไป ประเด็นในคดีก่อนจึงมีว่า จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 1137 ส่วนคดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 1137 ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 และขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนกับคดีนี้จึงมิใช่เรื่องเดียวกันและประเด็นคนละอย่างต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน ทั้งโจทก์มิใช่คู่ความในคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องขับไล่นางผูกมารดาโจทก์ตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 173/2534 แม้โจทก์จะไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด 8 วัน นับแต่วันปิดประกาศตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) ซึ่งสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่บทกฎหมายดังกล่าวก็หาได้มีผลเด็ดขาดเป็นการตัดสิทธิห้ามฟ้องภายหลังไม่ เมื่อโจทก์มิได้เป็นคู่ความในคดีก่อนดังกล่าวจึงไม่ผูกพันในผลแห่งคดี ต้องห้ามมิให้ฟ้องร้อง คดีจึงต้องมีการฟังข้อเท็จจริงกันต่อไป การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนแล้วพิพากษายกฟ้อง และศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืนจึงไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง สมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6383/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คำร้องสอดที่ประเด็นซ้ำกับคดีที่ฟ้องไว้แล้ว เป็นฟ้องซ้อนตามกฎหมาย
ปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนหรือไม่เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องชอบที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้ก่อน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า จำเลยรับว่าเป็นผู้เช่าที่ดินของโจทก์และยอมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ ศาลพิพากษาตามยอม ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าจำเลยเป็นตัวแทนของผู้ร้องกับพวกในการทำสัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดากับโจทก์ เพื่อประกอบกิจการร้านอาหาร แต่โจทก์และจำเลยสมรู้ร่วมคิดกันฟ้องคดีนี้และทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อให้ศาลออกหมายบังคับคดีทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งจะเป็นผลเสียหายแก่ผู้ร้องที่มิได้เป็นบริวารของจำเลย ผู้ร้องจึงมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาที่จะยื่นคำร้องสอดเข้ามาใสชั้นบังคับคดีหรือคำสั่งได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)
แม้ผู้ร้องมีสิทธิที่ร้องสอดเข้ามาในชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) แต่ก่อนยื่นคำร้องสอดผู้ร้องได้ฟ้องโจทก์และจำเลยให้บังคับโจทก์และจำเลยเปลี่ยนแปลงชื่อผู้เช่าที่ดินจากจำเลยเป็นผู้ร้องกับพวก ให้โจทก์จดทะเบียนการเช่าที่ดินให้ผู้ร้องกับพวกมีกำหนด 5 ปี คดีอยู่ระหว่างพิจารณา โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างเดียวกับที่อ้างในคำร้องสอดว่า จำเลยเป็นตัวแทนของผู้ร้องกับพวกในการทำสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์เพื่อปลูกสร้างอาคารประกอบกิจการร้านอาหารมีกำหนด 5 ปี เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้วให้สิ่งปลูกสร้างตกเป็นของโจทก์ จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกันว่า จำเลยเป็นตัวแทนผู้ร้องกับพวกทำสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาหรือไม่ คำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า จำเลยรับว่าเป็นผู้เช่าที่ดินของโจทก์และยอมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ ศาลพิพากษาตามยอม ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าจำเลยเป็นตัวแทนของผู้ร้องกับพวกในการทำสัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดากับโจทก์ เพื่อประกอบกิจการร้านอาหาร แต่โจทก์และจำเลยสมรู้ร่วมคิดกันฟ้องคดีนี้และทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อให้ศาลออกหมายบังคับคดีทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งจะเป็นผลเสียหายแก่ผู้ร้องที่มิได้เป็นบริวารของจำเลย ผู้ร้องจึงมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาที่จะยื่นคำร้องสอดเข้ามาใสชั้นบังคับคดีหรือคำสั่งได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)
แม้ผู้ร้องมีสิทธิที่ร้องสอดเข้ามาในชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) แต่ก่อนยื่นคำร้องสอดผู้ร้องได้ฟ้องโจทก์และจำเลยให้บังคับโจทก์และจำเลยเปลี่ยนแปลงชื่อผู้เช่าที่ดินจากจำเลยเป็นผู้ร้องกับพวก ให้โจทก์จดทะเบียนการเช่าที่ดินให้ผู้ร้องกับพวกมีกำหนด 5 ปี คดีอยู่ระหว่างพิจารณา โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างเดียวกับที่อ้างในคำร้องสอดว่า จำเลยเป็นตัวแทนของผู้ร้องกับพวกในการทำสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์เพื่อปลูกสร้างอาคารประกอบกิจการร้านอาหารมีกำหนด 5 ปี เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้วให้สิ่งปลูกสร้างตกเป็นของโจทก์ จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกันว่า จำเลยเป็นตัวแทนผู้ร้องกับพวกทำสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาหรือไม่ คำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6383/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อนหากมีคดีเดิมที่พิพาทประเด็นเดียวกันอยู่
ปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนหรือไม่เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องชอบที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหานี้ไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้ก่อนได้
แม้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องสอดเข้ามาในชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) แต่สิทธิที่ผู้ร้องอ้างว่าถูกโจทก์และจำเลยโต้แย้งนี้ ปรากฏว่าก่อนยื่นคำร้องสอดผู้ร้องได้ยื่นฟ้องโจทก์และจำเลยคดีนี้ต่อศาลชั้นต้น คดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณา โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างเดียวกันกับที่อ้างในคำร้องสอดว่า จำเลยเป็นตัวแทนของผู้ร้องกับพวกในการทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับโจทก์ จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกันว่า จำเลยเป็นตัวแทนของผู้ร้องกับพวกทำสัญญาเช่าหรือไม่ คำร้องสอดจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
แม้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องสอดเข้ามาในชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) แต่สิทธิที่ผู้ร้องอ้างว่าถูกโจทก์และจำเลยโต้แย้งนี้ ปรากฏว่าก่อนยื่นคำร้องสอดผู้ร้องได้ยื่นฟ้องโจทก์และจำเลยคดีนี้ต่อศาลชั้นต้น คดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณา โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างเดียวกันกับที่อ้างในคำร้องสอดว่า จำเลยเป็นตัวแทนของผู้ร้องกับพวกในการทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับโจทก์ จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกันว่า จำเลยเป็นตัวแทนของผู้ร้องกับพวกทำสัญญาเช่าหรือไม่ คำร้องสอดจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5822/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีละเมิดจากการแย่งรับส่งผู้โดยสาร การฟ้องซ้ำประเด็นเดิมในขณะที่คดีเดิมยังพิจารณาอยู่
คำฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีมีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเป็นอย่างเดียวกันคือจำเลยที่ 2 กับพวกนำรถยนต์โดยสารมารับส่งคนโดยสารในเส้นทางสัมปทานของโจทก์อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นการกระทำที่สืบเนื่องติดต่อกันมากับการกระทำเดิม มิใช่เป็นการกระทำละเมิดขึ้นใหม่ แม้คดีนี้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองหยุดรับส่งคนโดยสารไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของสำนักงานขนส่งจังหวัดอุบลราชธานีและมีคำขอบังคับให้ศาลมีคำสั่งมิให้จำเลยทั้งสองหยุดรับส่งคนโดยสารในเส้นทางสัมปทานของโจทก์ซึ่งโจทก์มิได้มีคำขอในคดีเดิม แต่ตามคำฟ้องโจทก์ในคดีเดิมได้บรรยายถึงการกระทำดังกล่าวมาแล้วจึงเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถขอมาในคดีเดิมได้อยู่แล้ว คำฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีจึงเป็นเรื่องเดียวกัน โจทก์ฟ้องคดีนี้ในระหว่างที่คดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงเป็นฟ้องซ้อน แต่คดีก่อนโจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นจำเลยด้วย ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2701/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: การฟ้องเรียกค่าจ้างคนละประเภทกัน ไม่ถือเป็นฟ้องซ้อน
เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547 โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางเรียกค่าทำงานในวันหยุดระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2545 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2546 เป็นคดีหมายเลขดำที่ 1524/2547 ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายระหว่างวันที่ 1 ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2547 แก่โจทก์ แม้คดีนี้กับคดีก่อนจะเป็นการฟ้องตามสัญญาจ้างแรงงานเหมือนกันก็ตามแต่ก็เป็นคำฟ้องเรียกเงินคนละประเภทกัน มีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและประเด็นที่วินิจฉัยต่างกัน จึงไม่ใช่เป็นการยื่นฟ้องเรื่องเดียวกันอันจะเป็นการฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1502/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยฟ้องซ้อนต้องใช้ข้อเท็จจริงที่ศาลรู้ได้เอง การสืบพยานเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ความต่อเนื่องของกรรม
แม้ว่าศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 3405/2545 แล้ว เป็นคดีหมายเลขแดงที่ 6091/2545 ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์ก็ตาม ข้อเท็จจริงในสำนวนคดีดังกล่าวก็มิใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์จะรู้ได้เอง การที่ศาลอุทธรณ์ด่วนวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนโดยหยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา เพราะเป็นการนำข้อเท็จจริงนอกฟ้องมาวินิจฉัยข้อกฎหมายแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ และปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ข้อเท็จจริงตามรายงานการสืบเสาะและพินิจที่พนักงานคุมประพฤติรายงานต่อศาลมิใช่ข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการสืบพยานของคู่ความและศาลไม่อาจนำมาเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์ได้ การกระทำความผิดที่ต่อเนื่องเป็นกรรมเดียวแม้โจทก์แยกฟ้องเป็นหลายคดี ศาลก็จะพิพากษาลงโทษจำเลยทุกคดีไม่ได้ และ ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง มิได้บัญญัติห้ามมิให้ศาลสืบพยานหลักฐานต่อไปในกรณีที่จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ป.วิ.อ. มาตรา 228 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจโดยพลการที่จะสืบพยานเพิ่มเติม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว และคำขอคืนเงินไม่เป็นฟ้องซ้อน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นตัวแทนของบริษัท ศ. หลอกลวงผู้เสียหายซึ่งเป็นลูกค้าและทำสัญญาประกันชีวิตไว้กับบริษัท ศ. ว่าบริษัท ศ. มีนโยบายสมนาคุณให้แก่ลูกค้าพิเศษ มีโครงการรับฝากเงินแบบออมทรัพย์พิเศษจากลูกค้าโดยจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนอัตราร้อยละ 10 ต่อปี จ่ายผลประโยชน์ให้แก่ลูกค้าทุก 6 เดือน อันเป็นความเท็จ โจทก์ร่วมหลงเชื่อสั่งจ่ายเช็ค 21 ฉบับ ให้จำเลยแล้วจำเลยนำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตน ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวหรือไม่ ศาลต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์ร่วมมีเจตนาฝากเงินแต่ละครั้งตามวันเดือนปีที่โจทก์ร่วมสั่งจ่ายเช็คแต่ละฉบับให้แก่จำเลยหรือโจทก์ร่วมมีเจตนาฝากเงินเพียงครั้งเดียว ฎีกาของจำเลยจึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงอันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย เมื่อคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและยังคงลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่งประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่โจทก์ขอให้คืนเงินแม้ถือว่าเป็นการขอแทนโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 แต่เป็นกรณีที่เนื่องมาจากการกระทำความผิดอาญาอันเป็นมูลละเมิดเท่านั้น ส่วนคดีแพ่งโจทก์ร่วมฟ้องว่าจำเลยและบริษัท ศ. ฐานผิดสัญญาฝากทรัพย์และเรียกทรัพย์คืนอันเป็นมูลหนี้มาจากการผิดสัญญา ถึงแม้คำขอบังคับส่วนแพ่งในคดีนี้และคดีแพ่งเป็นอย่างเดียวกัน แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามิใช่เป็นอย่างเดียวกัน กรณีจึงมิใช่เป็นการฟ้องคดีในเรื่องเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้อนตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 คำขอให้จำเลยคืนเงินแก่โจทก์ร่วม จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งที่โจทก์ร่วมฟ้องจำเลยและบริษัท ศ. ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ พิพากษายืน