พบผลลัพธ์ทั้งหมด 486 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1856/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทในสัญญาซื้อขาย/เช่าซื้อ และการแปลงหนี้
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงประเด็นเดียวว่า หนังสือสัญญาที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาปลอมหรือไม่ ดังนี้เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังว่าหนังสือสัญญากู้ดังกล่าวไม่ใช่สัญญาปลอมแล้ว จะวินิจฉัยว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้ตามสัญญากู้ไม่สมบูรณ์เพราะไม่ระบุจำนวนเงิน โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบเพิ่มเติมข้อความในสัญญากู้ต้องห้ามไม่ให้รับฟัง หาได้ไม่ เพราะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3394/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคล, สัญญาเช่าซื้อ, ค่าเสียหาย, และดอกเบี้ยตามกฎหมาย
โจทก์มีหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครและหนังสือมอบอำนาจประกอบคำเบิกความของ ค. ผู้รับมอบอำนาจเป็นพยานโดยจำเลยมิได้นำสืบหักล้างแต่ประการใด ย่อม เป็นการเพียงพอที่ฟังได้ว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลและมอบอำนาจ ให้ ค. ฟ้องคดีแทนจริง โดยไม่จำเป็นต้องนำ หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างโจทก์และ นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครมาสืบประกอบ แม้โจทก์มิได้ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อ แต่โจทก์มอบอำนาจให้ค. เป็นผู้มีอำนาจลงชื่อทำสัญญาเช่าซื้อแทนได้ โจทก์ จึงมีอำนาจฟ้อง ข้อสัญญาเช่าซื้อรถที่กำหนดว่า ผู้เช่าซื้อไม่ชำระราคา เช่าซื้อ 2 งวดติดต่อกัน สัญญาเป็นอันสิ้นสุดลง ผู้ให้เช่าซื้อชอบที่จะเอารถพร้อมอุปกรณ์คืนได้ และ ผู้เช่าซื้อยอมให้ผู้ให้เช่าซื้อตีราคารถพร้อมอุปกรณ์ได้แต่ เพียงผู้เดียวโดยถือเป็นเด็ดขาด และเมื่อคิดหักกับราคา ที่ผู้เช่าซื้อได้ผ่อนชำระบางส่วนแล้วผู้เช่าซื้อยังคงเป็นหนี้อยู่ ก็ยินยอมให้ผู้เช่าซื้อฟ้องร้องบังคับคดีเอา แก่ผู้เช่าซื้อได้ทันทีนั้น เป็นเรื่องที่ผู้เช่าซื้อ สมัครใจทำสัญญาเสียเปรียบเอง หาเกี่ยวด้วยความ สงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่ง มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับถ้าหากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ และข้อสัญญานี้มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ จะใช้อัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามสัญญาซึ่งกำหนดไว้ใน กรณีที่ผู้เช่าซื้อค้างชำระเงินค่าเช่าซื้อหาได้ไม่ ต้องใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 โจทก์ที่ 2 แม้จะเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นผู้จัดการของห้างโจทก์ที่ 1 ก็ตาม หากกรณี เป็นเรื่องของห้างโจทก์ที่ 1 โดยเฉพาะ ไม่ใช่กิจการ ส่วนตัวของโจทก์ที่ 2. โจทก์ที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2427/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยไม่สามารถโอนไปยังผู้รับช่วงสิทธิในสัญญาเช่าซื้อได้ เว้นแต่มีการโอนสิทธิโดยตรง
การที่โจทก์ที่ 2 เข้าทำสัญญารับรองการเช่าซื้อของ โจทก์ที่ 1โดยในกรณีที่โจทก์ที่ 1 ผิดสัญญา โจทก์ที่ 2 จะต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหายให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อและรับโอนกรรมสิทธิ์รถที่เอาประกันภัยมาเป็นของโจทก์ที่ 2 นั้น เป็นการรับโอนสิทธิเรียกร้องอันมีอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ที่1 มีต่อผู้ให้เช่าซื้อมาเป็นของโจทก์ที่ 2 เท่านั้น หาได้รวมไปถึงสิทธิเรียกร้องที่โจทก์ที่ 1 มีต่อ จำเลยที่ 3 ตามสัญญาประกันภัยด้วยไม่ เพราะเป็นสัญญาอีก ฉบับหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาเช่าซื้อ ขณะเกิดวินาศภัยแก่รถที่เอาประกันภัยโจทก์ที่ 1 ยังอยู่ในฐานะเป็นผู้เช่าซื้อ สิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 3ใช้ค่าสินไหมทดแทนในเหตุวินาศภัยย่อมเป็นของโจทก์ที่1ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องจากจำเลยที่ 3 การที่โจทก์ที่ 2 จะใช้สิทธิเรียกร้องนี้ได้ก็แต่โดยโจทก์ที่ 1 โอนสิทธิเรียกร้องนั้นให้แก่โจทก์ที่ 2เท่านั้น และกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 875 เพราะโจทก์ที่ 2 ได้รับโอนรถที่เอาประกันภัยมาภายหลังที่ความวินาศภัยได้ เกิดขึ้นแล้ว สิทธิอันมีอยู่ ในสัญญาประกันภัย ย่อมไม่โอนตามไป
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นฝ่ายนำสืบก่อน โจทก์ที่1 ขาดนัดพิจารณาศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยมิได้สั่งจำหน่ายคดีของ โจทก์ที่ 1 ย่อมถือได้ว่าเป็นการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คัดค้านจนศาลชั้นต้นสืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นและ วินิจฉัยชี้ขาดคดีไปแล้ว จึงล่วงเลยเวลาที่จะคัดค้าน กรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งจำหน่ายคดีโจทก์ที่ 1 แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 จำเลยจึงหมด สิทธิที่จะยกข้อคัดค้านเรื่องนี้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกา
ตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์รวมทั้งอุปกรณ์ติดประจำเนื่องจากการชนที่เกิดขึ้น ระหว่างระยะเวลาประกันภัยย่อมหมายความว่า ความเสียหายที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดมีเฉพาะแต่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ เท่านั้น ความเสียหายเนื่องจากขาดรายได้ประจำวัน มิใช่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ จำเลยที่ 3จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นฝ่ายนำสืบก่อน โจทก์ที่1 ขาดนัดพิจารณาศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยมิได้สั่งจำหน่ายคดีของ โจทก์ที่ 1 ย่อมถือได้ว่าเป็นการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คัดค้านจนศาลชั้นต้นสืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นและ วินิจฉัยชี้ขาดคดีไปแล้ว จึงล่วงเลยเวลาที่จะคัดค้าน กรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งจำหน่ายคดีโจทก์ที่ 1 แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 จำเลยจึงหมด สิทธิที่จะยกข้อคัดค้านเรื่องนี้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกา
ตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์รวมทั้งอุปกรณ์ติดประจำเนื่องจากการชนที่เกิดขึ้น ระหว่างระยะเวลาประกันภัยย่อมหมายความว่า ความเสียหายที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดมีเฉพาะแต่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ เท่านั้น ความเสียหายเนื่องจากขาดรายได้ประจำวัน มิใช่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ จำเลยที่ 3จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1696/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อไม่ปิดอากรแสตมป์ใช้เป็นหลักฐานฟ้องคดีไม่ได้ แม้มีลักษณะคล้ายสัญญาซื้อขาย
หนังสือสัญญาใช้ชื่อว่า หนังสือสัญญาขายโดยมีเงื่อนไข คู่สัญญา ฝ่ายหนึ่งเรียกว่า'เจ้าของ' อีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า'ผู้จะซื้อ' มีข้อความว่าตกลงจะซื้อขายโทรทัศน์สีตามราคาที่กำหนด ชำระเงินในวันทำสัญญาจำนวนหนึ่ง ที่เหลือผ่อนชำระเป็นงวด และกำหนดเงื่อนไขไว้ว่า กรรมสิทธิ์ในโทรทัศน์สีจะตกแก่ผู้จะซื้อ เมื่อผู้จะซื้อปฏิบัติตามข้อสัญญาทั้งหมด รวมทั้งได้ชำระเงิน ครบถ้วนแล้ว มีลักษณะเป็น ทำนองเจ้าของเอาโทรทัศน์สี ออกให้เช่า และให้คำมั่นว่าจะให้โทรทัศน์สีตกเป็นสิทธิแก่ผู้จะซื้อ โดยเงื่อนไขที่ ผู้จะซื้อได้ชำระเงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว และมี ข้อสัญญาที่มีผลเท่ากับให้ผู้จะซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ด้วยการไม่ชำระราคาต่อไปโดยส่งมอบทรัพย์สินคืนแก่เจ้าของ กับ ให้ริบเงินที่ได้ใช้มาแล้วได้ด้วย อันเป็นวิธีการของสัญญาเช่าซื้อ ข้อสัญญาที่ว่าให้ผู้จะซื้อชำระเงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว ครบถ้วนแล้ว จึงให้กรรมสิทธิ์ตกเป็น ของผู้จะซื้อมิใช่เป็นเพียงเงื่อนไข การโอนกรรมสิทธิ์เท่านั้น สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาเช่าซื้อ
สัญญาเช่าซื้อที่มิได้ปิดอากรแสตมป์จะใช้เป็นหลักฐานฟ้อง คดีมิได้
สัญญาเช่าซื้อที่มิได้ปิดอากรแสตมป์จะใช้เป็นหลักฐานฟ้อง คดีมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1441/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจควบคุมบริษัท, เพิกถอนใบอนุญาต, การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี, สัญญาเช่าซื้อ, และการชดใช้ค่าเสียหาย
คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมบริษัทโจทก์ตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯพ.ศ. 2522 โดยกรรมการบางคนเป็นพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย และบางคนเป็นข้าราชการกระทรวงการคลังไม่เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งมาตรา 22(7) ของพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งห้ามมิให้ตั้งหรือยอมให้ข้าราชการซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมบริษัทเงินทุนหรือพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นหรือทำหน้าที่กรรมการ ผู้จัดการหรือพนักงานหรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการหรือที่ปรึกษาของบริษัทเงินทุนนั้นเพราะบทบัญญัติดังกล่าวหมายถึงการห้ามมิให้บริษัทเงินทุนตั้งหรือยินยอมให้บุคคลดังกล่าวทำหน้าที่ในบริษัทของตนเองโดยตรง หาได้เกี่ยวกับกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังใช้อำนาจในการควบคุมบริษัท การเพิกถอนใบอนุญาตและการเลิกบริษัทตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 5 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522 และในหมวด 5 ดังกล่าวก็ไม่มีบทบัญญัติห้ามตั้งบุคคลดังที่ระบุไว้ในมาตรา 22 เป็นกรรมการควบคุมบริษัทที่ถูกควบคุมแต่ประการใด คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 87เป็นบทบัญญัติบังคับให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ตามมาตรา 80 เลิกประกอบกิจการที่มาตรา 43(6) บัญญัติห้ามไว้ให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หาใช่บทบัญญัติที่ให้อำนาจบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจดังกล่าวประกอบกิจการที่ต้องห้ามต่อไปได้อีก 1 ปี ไม่ ฉะนั้น เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ของโจทก์แล้ว อำนาจหรือสิทธิในการประกอบธุรกิจที่ต้องห้ามย่อมสิ้นสุดไปด้วยโดยอัตโนมัติ
การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสั่งเพิกถอนผู้ชำระบัญชีของบริษัทโจทก์ชุดแรกและแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีชุดที่ 2 สืบแทนผู้ชำระบัญชีคณะเดิมต่อไป แสดงว่าเป็นการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีชุดที่ 2 ให้ปฏิบัติหน้าที่ติดต่อไปในทันทีนั่นเอง แม้จะมีการจดทะเบียนคณะผู้ชำระบัญชีชุดที่ 2ภายหลังการฟ้องคดีนี้ ก็หาทำให้กิจการที่ผู้ชำระบัญชีชุดที่ 2 ปฏิบัติไปแล้วต้องเสียไปไม่ เพราะการจดทะเบียนผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1254 เป็นเพียงพิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อให้ปรากฏหลักฐานทางทะเบียนเท่านั้น หาได้มีบทบัญญัติให้ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจหน้าที่ตั้งแต่วันจดทะเบียนเป็นต้นไปไม่ ผู้ชำระบัญชีสองคนซึ่งเป็นผู้ลงชื่อแต่งตั้งทนายให้ฟ้องคดีนี้แม้จะมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสั่งเพิกถอนไปพร้อมกับผู้ชำระบัญชีอื่นในชุดแรก แต่ทั้งสองคนก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ชำระบัญชีบริษัทโจทก์ในชุดที่ 2 การแต่งทนายให้ฟ้องคดีของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 บังคับให้ทำเป็นหนังสือและมีข้อความในสัญญาเช่าซื้อระบุจำนวนเงินและเวลาที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระค่าเช่าซื้อไว้ชัดแจ้งโดยจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวเกิดจากการแสดงเจตนา ลวงของโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงเป็นโมฆะบังคับตามสัญญาไม่ได้ จำเลยที่ 1 จะนำสืบว่ามี ข้อตกลงนอกเหนือไปจากสัญญาว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ให้แก่โจทก์ กับสืบถึงเจตนาและความประสงค์ของคู่สัญญาที่แตกต่างจากสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวอีกไม่ได้ เพราะเป็นการนำสืบข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงข้อความตามสัญญาเช่าซื้อ แม้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะยินยอมก็เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 94(ข)
เมื่อพิเคราะห์ถึงสภาพรถยนต์ที่เช่าซื้อและพฤติการณ์อื่น ๆ แห่งคดีแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโดยคำนวณเป็นรายเดือนเพียง 1 ปี
พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 87เป็นบทบัญญัติบังคับให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ตามมาตรา 80 เลิกประกอบกิจการที่มาตรา 43(6) บัญญัติห้ามไว้ให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หาใช่บทบัญญัติที่ให้อำนาจบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจดังกล่าวประกอบกิจการที่ต้องห้ามต่อไปได้อีก 1 ปี ไม่ ฉะนั้น เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ของโจทก์แล้ว อำนาจหรือสิทธิในการประกอบธุรกิจที่ต้องห้ามย่อมสิ้นสุดไปด้วยโดยอัตโนมัติ
การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสั่งเพิกถอนผู้ชำระบัญชีของบริษัทโจทก์ชุดแรกและแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีชุดที่ 2 สืบแทนผู้ชำระบัญชีคณะเดิมต่อไป แสดงว่าเป็นการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีชุดที่ 2 ให้ปฏิบัติหน้าที่ติดต่อไปในทันทีนั่นเอง แม้จะมีการจดทะเบียนคณะผู้ชำระบัญชีชุดที่ 2ภายหลังการฟ้องคดีนี้ ก็หาทำให้กิจการที่ผู้ชำระบัญชีชุดที่ 2 ปฏิบัติไปแล้วต้องเสียไปไม่ เพราะการจดทะเบียนผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1254 เป็นเพียงพิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อให้ปรากฏหลักฐานทางทะเบียนเท่านั้น หาได้มีบทบัญญัติให้ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจหน้าที่ตั้งแต่วันจดทะเบียนเป็นต้นไปไม่ ผู้ชำระบัญชีสองคนซึ่งเป็นผู้ลงชื่อแต่งตั้งทนายให้ฟ้องคดีนี้แม้จะมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสั่งเพิกถอนไปพร้อมกับผู้ชำระบัญชีอื่นในชุดแรก แต่ทั้งสองคนก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ชำระบัญชีบริษัทโจทก์ในชุดที่ 2 การแต่งทนายให้ฟ้องคดีของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 บังคับให้ทำเป็นหนังสือและมีข้อความในสัญญาเช่าซื้อระบุจำนวนเงินและเวลาที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระค่าเช่าซื้อไว้ชัดแจ้งโดยจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวเกิดจากการแสดงเจตนา ลวงของโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงเป็นโมฆะบังคับตามสัญญาไม่ได้ จำเลยที่ 1 จะนำสืบว่ามี ข้อตกลงนอกเหนือไปจากสัญญาว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ให้แก่โจทก์ กับสืบถึงเจตนาและความประสงค์ของคู่สัญญาที่แตกต่างจากสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวอีกไม่ได้ เพราะเป็นการนำสืบข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงข้อความตามสัญญาเช่าซื้อ แม้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะยินยอมก็เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 94(ข)
เมื่อพิเคราะห์ถึงสภาพรถยนต์ที่เช่าซื้อและพฤติการณ์อื่น ๆ แห่งคดีแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโดยคำนวณเป็นรายเดือนเพียง 1 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ vs. เช่าซื้อ: ศาลบังคับตามสัญญาเดิม แม้โจทก์ผิดสัญญา
ในการซื้อขายบ้านและที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยมีการทำหลักฐานกันไว้ตามใบสั่งจองเอกสารหมาย จ. 1 ฉบับ เดียวซึ่ง มี ใจ ความว่า จำเลยได้ตกลงจองบ้าน แบบ พ.พร้อม ที่ดิน แปลง หมายเลข ที่ 128 ของ โจทก์ ผู้ขาย โดยจำเลย ตกลง ชำระ เงินดาวน์ ให้โจทก์ ในวันสั่งจอง เป็นเงิน40,600 บาทและจะชำระต่อไป งวดที่หนึ่งในวันที่ 20 มิถุนายน 2518 เป็นเงิน 19,000 บาท ส่วนค่าบ้านและค่าที่ดิน งวดต่างๆ จะชำระภายใน 30 วัน นับจากได้รับแจ้งจากโจทก์ทุกครั้งไป ถ้าจำเลยไม่ชำระตามกำหนดเวลาให้ถือว่าจำเลยผิดนัดและสละสิทธิ ในบ้านและที่ดินที่สั่งจองไว้ ยอมให้โจทก์ริบเงินที่ชำระแล้วทั้งสิ้น แล้วลงชื่อโจทก์จำเลย ใบสั่งจองนี้จึงมีลักษณะเป็นหลักฐานแห่งสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ รายพิพาทและชำระ เงินดาวน์กันเท่านั้น หาใช่เป็นสัญญาเช่าซื้อ ไม่
สัญญาเช่าซื้อมีกฎหมายบังคับในเรื่องแบบไว้เป็นพิเศษในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ถ้าไม่ทำเป็นหนังสือเป็นโมฆะ ฉะนั้น เมื่อไม่มีการทำสัญญากันไว้เป็นหนังสือให้แจ้งชัดว่าเป็นการเช่าซื้อ จะฟังว่าเป็นการเช่าซื้อหาได้ไม่เพราะเป็นการขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
โจทก์ได้นำบ้านและที่ดินพิพาทที่ตกลงขายให้จำเลยตามใบสั่งจองเอกสารหมาย จ. 1 ไปโอนให้ ก. เสียก่อนที่จะโอนให้จำเลยเมื่อจำเลยทราบความจริงข้อนี้จึงไม่ชำระค่าผ่อนซื้อ ดังนี้โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและไม่อยู่ในฐานะที่สามารถชำระหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 211 โจทก์จะหาว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดสัญญาเพราะผิดนัดไม่ชำระค่าผ่อนซื้อตามงวดหาได้ไม่
ในใบสั่งจองเอกสารหมาย จ.1 ไม่มีข้อความใดที่ระบุว่าโจทก์จะต้องจัดหาธนาคารมารับจำนองบ้านและที่ดินพิพาทเพื่อให้จำเลยกู้เงินมาชำระค่าบ้านและที่ดินแก่โจทก์ ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์จัดหาธนาคารมารับจำนองบ้านและที่ดินรายนี้เพื่อนำเงินมาชำระราคาที่ค้างแก่โจทก์นั้นจึงเป็นการนอกเหนือข้อสัญญาที่ตกลงกันไว้เป็นหนังสือเป็นการไม่ชอบ
สัญญาเช่าซื้อมีกฎหมายบังคับในเรื่องแบบไว้เป็นพิเศษในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ถ้าไม่ทำเป็นหนังสือเป็นโมฆะ ฉะนั้น เมื่อไม่มีการทำสัญญากันไว้เป็นหนังสือให้แจ้งชัดว่าเป็นการเช่าซื้อ จะฟังว่าเป็นการเช่าซื้อหาได้ไม่เพราะเป็นการขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
โจทก์ได้นำบ้านและที่ดินพิพาทที่ตกลงขายให้จำเลยตามใบสั่งจองเอกสารหมาย จ. 1 ไปโอนให้ ก. เสียก่อนที่จะโอนให้จำเลยเมื่อจำเลยทราบความจริงข้อนี้จึงไม่ชำระค่าผ่อนซื้อ ดังนี้โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและไม่อยู่ในฐานะที่สามารถชำระหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 211 โจทก์จะหาว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดสัญญาเพราะผิดนัดไม่ชำระค่าผ่อนซื้อตามงวดหาได้ไม่
ในใบสั่งจองเอกสารหมาย จ.1 ไม่มีข้อความใดที่ระบุว่าโจทก์จะต้องจัดหาธนาคารมารับจำนองบ้านและที่ดินพิพาทเพื่อให้จำเลยกู้เงินมาชำระค่าบ้านและที่ดินแก่โจทก์ ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์จัดหาธนาคารมารับจำนองบ้านและที่ดินรายนี้เพื่อนำเงินมาชำระราคาที่ค้างแก่โจทก์นั้นจึงเป็นการนอกเหนือข้อสัญญาที่ตกลงกันไว้เป็นหนังสือเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 669/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การชำระค่างวดไม่จำเป็นต้องระบุรายเดือนรายวัน หากยังไม่ครบกรรมสิทธิ์ยังเป็นของผู้ให้เช่าซื้อ
ในสัญญาเช่าซื้อนั้น คู่สัญญาอาจตกลงชำระค่าเช่าซื้อเป็นสองงวดได้ ไม่จำต้องกำหนดการผ่อนชำระเป็นรายเดือน รายวันหรือรายสัปดาห์ สัญญาระหว่างจำเลยกับผู้ร้องจึงเป็นสัญญาเช่าซื้อ มิใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด เมื่อจำเลยยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบ กรรมสิทธิ์ในรถของกลางจึงเป็นของผู้ร้อง
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1617/2515)
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1617/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 669/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การชำระค่างวดไม่จำเป็นต้องรายเดือน/วัน/สัปดาห์ กรรมสิทธิ์ยังเป็นของผู้ให้เช่าหากยังผ่อนไม่ครบ
ในสัญญาเช่าซื้อนั้น คู่สัญญาอาจตกลงชำระค่าเช่าซื้อเป็นสองงวดได้ ไม่จำต้องกำหนดการผ่อนชำระเป็นรายเดือนรายวันหรือรายสัปดาห์ สัญญาระหว่างจำเลยกับผู้ร้องจึงเป็นสัญญาเช่าซื้อมิใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด เมื่อจำเลยยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบกรรมสิทธิ์ในรถของกลางจึงเป็นของผู้ร้อง(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1617/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4024/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข (ผ่อนส่ง) ไม่ใช่สัญญาเช่าซื้อ แม้มีเงื่อนไขเอารถคืนหากผิดสัญญา
สัญญาท้ายฟ้องระบุราคารถยนต์ที่ซื้อขายเป็นเงิน 130,650 บาท โดยตกลงกันในข้อ 2 ว่า ผู้ซื้อจะชำระราคาแก่ผู้ขายเป็นรายเดือน เดือนละ 4,355 บาท รวม 30 เดือนและระบุไว้ในข้อ 10 ว่า กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายยังเป็นของผู้ขายโดยไม่โอนไปยังผู้ซื้อจนกว่าผูขายจะได้รับชำระค่าซื้อครบถ้วน ตามสัญญาแล้ว สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 ไม่ใช่เป็นสัญญาเช่าซื้อ แม้จะมีข้อ 11 ระบุว่าหากผู้ซื้อผิดสัญญา สัญญาเลิกกันทันทีโดยผู้ขายมิต้องบอกกล่าวและมีสิทธิเอารถคืนโดยไม่ต้องคืนเงินที่ผู้ซื้อชำระแล้ว ก็เป็นเพียงการรักษาผลประโยชน์ของผู้ขายเท่านั้น หาทำให้สัญญาซื้อขาย กลับกลายเป็นสัญญาเช่าซื้อไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3842/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การตีความกำหนดชำระรายเดือน, การบอกเลิกสัญญา, และข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่ง
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์มีข้อความว่า ผู้เช่าซื้อสัญญาจะผ่อนชำระค่าเช่าซื้อเป็นรายเดือน มีกำหนด 2 เดือน ดังนี้ต้องตีความว่าแบ่งชำระเป็น 2 งวด เดือนละ 1 งวดจะตีความว่าชำระงวดเดียวภายใน 2 เดือนหาได้ไม่
การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ กฎหมายมิได้บังคับให้ต้องบอกเลิกเป็นหนังสือและการเช่าซื้อนั้นผู้ให้เช่าซื้อต้องเอาทรัพย์สินออกให้ผู้เช่าซื้อได้ใช้ การที่ผู้ให้เช่าซื้อยึดเอาทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อคืนไป ถือได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว
สัญญาเช่าซื้อที่ว่าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อเพียงคราวเดียวหรืองวดเดียว ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาได้นั้น แม้จะแตกต่างกับบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 575 วรรคแรก แต่กฎหมายบทนี้มิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และมิได้เป็นสัญญาที่ขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้
การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ กฎหมายมิได้บังคับให้ต้องบอกเลิกเป็นหนังสือและการเช่าซื้อนั้นผู้ให้เช่าซื้อต้องเอาทรัพย์สินออกให้ผู้เช่าซื้อได้ใช้ การที่ผู้ให้เช่าซื้อยึดเอาทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อคืนไป ถือได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว
สัญญาเช่าซื้อที่ว่าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อเพียงคราวเดียวหรืองวดเดียว ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาได้นั้น แม้จะแตกต่างกับบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 575 วรรคแรก แต่กฎหมายบทนี้มิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และมิได้เป็นสัญญาที่ขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้