คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิในที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 460 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ต้องอาศัยสิทธิในที่ดิน การวินิจฉัยเกินคำฟ้องเป็นเหตุให้ศาลต้องยกคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินราชพัสดุแปลงหนึ่งจำเลยปลูกบ้านเรือนอยู่ในที่ดินแปลงนี้บางส่วน โดยเช่าจากผู้แทนโจทก์ จำเลยต่อสู้ว่าที่ดินที่จำเลยปลูกบ้านไม่ใช่ของโจทก์ อยู่นอกเขตที่ดินราชพัสดุของโจทก์จำเลยไม่ได้เช่าจากโจทก์ประเด็นที่จะต้องพิจารณา คือ ที่พิพาทเป็นที่ดินของโจทก์หรือไม่การที่ศาลวินิจฉัยว่า ถึงแม้เป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่านอกเขตที่ดินราชพัสดุ โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง เพราะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโจทก์มีหน้าที่ดูแลทรัพย์สินของแผ่นดินจึงเป็นการพิพากษาคดีเกินหรือนอกไปจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
แม้จำเลยจะไม่มีสิทธิอยู่ในที่พิพาท ผู้ที่จะฟ้องขับไล่ได้ก็ต้องมีสิทธิหรือมีอำนาจหน้าที่ในที่ดินนั้นและถูกโต้แย้งสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนองสาธารณะเป็นสมบัติแผ่นดิน แม้มิได้ขึ้นทะเบียน สิทธิในที่สาธารณะตกเป็นของแผ่นดิน
หนองสาธารณะจะเป็นสมบัติของแผ่นดินหรือไม่กฎหมายมิได้บังคับว่าต้องขึ้นทะเบี้ยนไว้ การที่จะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ ย่อมเป็นไปตามสภาพทของที่ดินนั้นเอง ว่าเป็นทรัพย์สินใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันหรือไม่
ที่พิพาทเป็นหนองที่ราษฎรใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์จับปลาใช้น้ำร่วมกัน จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ผู้ใดจะถือสิทธิในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และสิทธิในที่ดิน: การฎีกาถูกจำกัดเนื่องจากข้อเท็จจริงและทุนทรัพย์
แม้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่ได้ครอบครองที่พิพาท จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาท แต่ศาลอุทธรณ์ฟังว่า โจทก์ได้สละการครอบครองให้บุตรีโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองแล้ว ก็ถือได้ว่าทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังว่า โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิครอบครองที่พิพาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในผลที่ให้ยกฟ้องโจทก์ เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 5,000 บาท คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ขึ้นอยู่กับความเป็นเจ้าของที่ดิน หากจำเลยต่อสู้ว่าไม่ใช่ที่ของโจทก์ ศาลต้องวินิจฉัยสิทธิในที่ดินก่อน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเช่าที่ดินของโจทก์ โจทก์ต้องการที่คืนจึงบอกเลิกการเช่ากับจำเลยและให้จำเลยออกไปจากที่เช่าจำเลยก็ไม่ออก ขอให้ขับไล่ จำเลยสู้ว่าที่พิพาทเป็นของกรมชลประทานไม่ใช่ของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้ ศาลจำต้องวินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ เพราะโจทก์จะมีอำนาจฟ้องขับไล่ จำเลยได้ก็ต้องได้ความว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ถ้าโจทก์ไม่มีสิทธิเหนือที่พิพาทแล้ว โจทก์ก็ไม่มีอำนาจเอาไปให้ผู้อื่นเช่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินของคนต่างด้าว: การปฏิบัติตามกฎหมายที่ดินเป็นสำคัญ แม้กฎหมายจะเปลี่ยนแปลง
ตามพระราชบัญญัติที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับคนต่างด้าว พ.ศ.2486 คนต่างด้าวจะได้มาซึ่งที่ดินได้ ก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อกำหนดที่กฎหมายระบุไว้ และต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน เมื่อมิได้ปฏิบัติเพื่อการได้มาซึ่งที่ดินให้ถูกต้องตามกฎหมาย ก็ย่อมไม่ได้ที่ดินหรือไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดิน แม้พระราชบัญญัติที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับคนต่างด้าว พ.ศ. 2486 จะถูกยกเลิกโดยประมวลกฎหมายที่ดิน แต่ตามประมวลกฎหมายที่ดินก็บัญญัติถึงการได้มาซึ่งที่ดินของคนต่างด้าวทำนองเดียวกับพระราชบัญญัติที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับคนต่างด้าวจึงไม่ทำให้คนต่างด้าวที่มิได้ปฏิบัติตามกฎหมายมีสิทธิในที่ดิน
โจทก์เป็นคนต่างด้าวมิได้ปฏิบัติเพื่อการได้มาซึ่งที่พิพาทให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงไม่มีสิทธิในที่พิพาท และไม่มีสิทธิฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินโดยทายาทหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต สิทธิในที่ดินตกทอดตามกฎหมาย
จำเลยซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกผู้ตายได้อาศัยสิทธิของเจ้ามรดกผู้ตายครอบครองที่พิพาทมา เมื่อเจ้ามรดกตายการครอบครองที่พิพาทของจำเลยโดยอาศัยสิทธิของผู้ตายต้องยุติลงนับแต่วันที่เจ้ามรดกตาย และถือได้ว่าจำเลยได้ครอบครองเพื่อตนนับแต่เวลานั้นตลอดมา เพราะสิทธิครอบครองของผู้ตายเป็นมรดกตกทอดแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599
ที่พิพาทส่วนหนึ่งเป็นมรดกของผู้ตายตกได้แก่ทายาทและยังไม่ได้แบ่งปันกันจำเลยเป็นทายาทคนหนึ่งได้ครอบครองที่พิพาทนับแต่วันเจ้ามรดกตายตลอดมา จำเลยย่อมมีส่วนเป็นเจ้าของที่พิพาทส่วนหนึ่งด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ และเมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ความแน่ชัดว่าจำเลยได้ครอบครองเกินส่วนของตนไปเท่าใด โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดิน: ศาลฎีกาเน้นยึดข้อเท็จจริงที่ศาลล่างฟังเป็นยุติในคดีอาญา แม้จำเลยโต้แย้งสิทธิในที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์ ซึ่งมีราคา 6 หมืนกว่าบาท และทำลายทรัพย์สินในที่ดินนั้น ขอให้ลงโทษและขับไล่จำเลย จำเลยปฏิเสธว่ามิได้บุกรุกและทำให้เสียทรัพย์กับต่อสู้ว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลย ศาลชั้นต้นฟังว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยกระทำผิดจริง พิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 363 และ358 ปรับ 550 บาท และให้ขับไล่จำเลยกับให้ใช้ค่าเสียหาย ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะว่าให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 363 แต่บทเดียวปรับ 500 บาท นอกจากที่แก้นี้คงยืนตามคำพิพากษาศษลชั้นต้น ดังนี้ ่ข้อที่จำเลยฎีกาต่อมาว่า จำเลยโต้แย้งสิทธิที่ดินพิพาทในทางแพ่งมาตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้อง ไม่เป็นการบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญาเพราะขาดเจตนานั้น ย่อมเป็นฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งศาลล่างฟังมาแล้วว่าจำเลยมีเจตนาบุกรุก จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ส่วนข้อที่จำเลยฎีกาในทางแพ่งว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย แม้จะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แต่ประเด็นนี้ ในคดีส่วนอาญา ศาลล่างก็ฟังเป็นยุติแล้วว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ศาลฎีกาจึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าเป็นเช่นนั้นด้วย ไม่มีทางฟังเป็นอย่างอื่นไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 325/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: สัญญาซื้อขายไม่สมบูรณ์หากผู้ขายไม่มีสิทธิในทรัพย์สิน
แม้ผู้ซื้อจะได้ทำสัญญาซื้อขายที่พิพาทตามใบเหยียบย่ำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยสุจริต และเสียค่าตอบแทนก็ดี แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่พิพาทเป็นของผู้อื่น มิใช่ของผู้ขายแล้วผู้ซื้อก็ไม่ได้สิทธิในที่พิพาทนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการครอบครองแทนเจ้าของเดิม: สิทธิในที่ดินหลังคำพิพากษา
พ. ฟ้อง บ. หาว่าบุกรุกที่นามือเปล่าของตน ขอให้ห้ามมิให้เกี่ยวข้อง บ. ต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของ บ.ในระหว่างพิจารณา ศาลสั่งให้ประมูลค่าเช่านาพิพาทสำหรับปีนั้น(พ.ศ.2496) ฝ่ายใดให้ค่าเช่าสูงก็จะได้ทำนา ให้นำเงินค่าเช่ามาวางศาลไว้ชำระให้ผู้ชนะคดี พ.เป็นฝ่ายประมูลได้ ได้เข้าทำนาพิพาท ปีต่อมาพ.ก็ทำนาพิพาทอีกโดยไม่ยอมประมูลค่าเช่าและเป็นฝ่ายทำนาพิพาทตลอดมา ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อ พ.ศ.2500 ซึ่งวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ว่าที่พิพาทเป็นของ พ. พิพากษายืนให้ยกฟ้อง วันที่ 10 ตุลาคม 2503 บ. จึงร้องต่อศาลว่า พ.ยังไม่ออกจากที่พิพาท ขอให้เรียกมาว่ากล่าวพ.แถลงว่าที่พิพาทเป็นของพ. โดยทางครอบครองปรปักษ์แล้วตั้งแต่วันฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ศาลให้ บ. ทราบ ดังนี้ การที่ พ. ครอบครองที่พิพาทในระหว่างเป็นความกันอยู่ จะถือว่าครอบครองโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนไม่ได้ การที่ได้เข้าครอบครองใน พ.ศ.2496 ก็โดยการประมูลทำนาได้คือ โดยความยินยอมของ บ. ค่าเช่าที่วางศาลก็เพื่อให้แก่ผู้ชนะคดี จึงถือว่าเข้าครอบครองแทนผู้ชนะคดีนั่นเอง เมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษายกฟ้องของ พ. แม้จะไม่ได้ชี้ว่าที่พิพาทเป็นของ บ. แต่ พ. ก็ เถียงไม่ได้ว่า บ. ไม่ได้เป็นเจ้าของที่พิพาท เพราะผลของคำพิพากษาย่อมผูกพัน พ. ว่า บ. มี สิทธิในที่พิพาทดีกว่า การที่ พ. ครอบครองที่พิพาทภายหลังจากวันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาแล้ว ก็เป็นการครอบครองสืบต่อมาจากการครอบครองในระหว่างคดี ต้องถือว่าครอบครองแทน บ.ผู้ชนะคดีอยู่นั่นเอง จะครอบครองช้านานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง ในเมื่อ พ.มิได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือหรืออาศัยอำนาจใหม่จากบุคคลภายนอก พ. จะอ้างอายุความการแย่งการครอบครองตามมาตรา 1375 มาใช้ยัน บ.ไม่ได้ บ.มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง
การที่ พ. เข้าทำนาพิพาทนับแต่ พ.ศ.2497 นั้น มิได้ตกลงประมูลค่าเช่ากับ บ. อีกจึงไม่ใช่เนื่องจากสัญญา แต่ก็ไม่เป็นการละเมิด เพราะเข้าครอบครองทำนาพิพาทด้วยความยินยอมของ บ. มาแต่ พ.ศ.2496 และการครอบครองในปีต่อๆ มา ก็ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทน บ.ผู้ชนะคดี การที่ บ. ฟ้องเรียกเงินผลประโยชน์ในการที่ พ. ได้ครอบครองที่พิพาทตั้งแต่ ปี พ.ศ.2497เป็นต้นไปนั้น จึงต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 เพราะการที่ พ. ได้รับประโยชน์จากการเข้าทำนาพิพาทซึ่งศาลพิพากษาว่าเป็นของ บ. นั้น เป็นการได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แต่ บ.ต้องฟ้องเรียกเอาภายใน กำหนด 1 ปี นับแต่สิ้นฤดูเก็บเกี่ยวของแต่ละปี ซึ่ง บ. ย่อมจะรู้ได้แล้วว่าผู้ทำนาได้รับประโยชน์จากการทำนาเท่าใด ส่วนเงินผลประโยชน์สำหรับระยะเวลาที่พ้นกำหนด 1 ปีแล้ว ย่อมขาดอายุความเรียกคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น แม้มีข้อพิพาทเรื่องสิทธิในที่ดิน ย่อมเป็นความผิดอาญา
โจทก์จำเลยต่างอ้างว่าตนมีสิทธิครอบครองที่ดิน ต่อมาโจทก์เข้าปลูกต้นกล้วยและปักเสารั้วในที่ดิน จำเลยตัดฟันเสียเช่นนี้ ถือว่าเป็นการทำลายทรัพย์ของโจทก์ มีผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 แล้ว เพราะหากจำเลยจะถือว่าการกระทำของโจทก์เป็นการแย่งการครอบครอง จำเลยก็ชอบที่จะฟ้องร้องเอาคืนการครอบครองในทางศาล
of 46