พบผลลัพธ์ทั้งหมด 469 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2614/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่รถไฟละเลยปิดกั้นถนน ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถไฟชนรถยนต์ ผู้ประกอบการต้องรับผิดร่วมด้วย
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ปิดกั้นแผงกั้นถนนเมื่อมีขบวนรถไฟวิ่งผ่านตรงที่ทางรถไฟตัดผ่านถนน ในวันเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ละทิ้งหน้าที่ไป ตามพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวงพระพุทธศักราช 2464 มาตรา 72 บัญญัติว่าเมื่อทางรถไฟผ่านข้ามถนนสำคัญเสมอระดับ ให้ทำประตูหรือขึงโซ่หรือทำราวกั้นขวางถนน ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่โดยตรงของจำเลยที่ 3 ต้องป้องกันภัยในการที่จะเดินรถไฟตัดผ่านถนนการที่จำเลยที่ 2 ไม่นำแผงมาปิดกั้นถนนขณะที่ขบวนรถไฟจะแล่นผ่านจึงเป็นการละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ถือได้ว่าเป็นการประมาทอย่างร้ายแรงถ้าหากปิดแผงกั้นถนนแล้ว รถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ก็ไม่อาจขับผ่านเข้าไปถึงทางรถไฟจนเกิดเหตุชนกันได้ จำเลยที่ 2 มีส่วนประมาทมากกว่าโจทก์ที่ 1 ที่จำเลยที่ 3 อ้างว่าวันเกิดเหตุพนักงานรถไฟบางส่วนนัดหยุดงาน ไม่สามารถหาคนมาปฏิบัติงานให้ทันท่วงทีได้นั้น จะถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ได้ จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิด
โจทก์มีสิทธิเรียกค่ารักษาพยาบาลที่ต้องรักษาต่อที่บ้าน ค่าทำศัลยกรรมตกแต่งใบหน้า และค่าที่ต้องทนทุกข์เวทนาที่ได้รับจากการละเมิดของจำเลยได้
โจทก์มีสิทธิเรียกค่ารักษาพยาบาลที่ต้องรักษาต่อที่บ้าน ค่าทำศัลยกรรมตกแต่งใบหน้า และค่าที่ต้องทนทุกข์เวทนาที่ได้รับจากการละเมิดของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องบริษัทประกันภัยหลังเกิดอุบัติเหตุ แม้มีการฟ้องผู้ทำละเมิดไปแล้ว และประเด็นเรื่องอายุความของค่าสินไหมทดแทน
โจทก์ได้รับความเสียหายจากรถยนต์ของ ส. ชนโดยประมาทส. ได้เอาประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุกับบริษัทจำเลยเพื่อให้รับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก เช่นนี้ แม้โจทก์จะได้ฟ้องผู้เอาประกันภัยไว้อีกคดีหนึ่งและคดีนั้นยังไม่ถึงที่สุดโจทก์ก็ชอบที่จะยื่นฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887ว่าด้วยประกันภัยค้ำจุนได้ ความรับผิดของจำเลยเกิดขึ้นตามสัญญาประกันภัยและมีลักษณะเป็นการประกันวินาศภัยตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะ 20 หมวด 2 การฟ้องเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนความเสียหายจึงต้องถืออายุความ 2 ปีนับแต่วันเกิดวินาศภัยตามมาตรา 882 วรรคแรก โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะเกิดวินาศภัยรถยนต์ชนกันเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2517 และได้ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2519 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขับรถประมาท แข่งรถและกินทาง ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ศาลฎีกายืนโทษตามกฎหมายเดิม
จำเลยขับรถบรรทุกน้ำมันยอมให้รถที่ตามมาแซงขึ้นแล้วแต่ยังแซงไม่พ้น จำเลยกลับแข่งและกินทางเข้าไปในทางรถที่แซง จึงเฉี่ยวกันจำเลยประมาทเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 มาตรา 29,66 ซึ่ง พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43(4),157 ยังเป็นผิด แต่โทษสูงกว่า ลงโทษตาม พระราชบัญญัติเดิม เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การประเมินความเสียหายต่อร่างกาย, รถยนต์ และค่าทนทุกข์ทรมาน
โจทก์ถูกรถจำเลยชน รอยแผลเป็นซึ่งไม่ทำให้โจทก์เสียบุคลิกและโจทก์ต้องทนทุกข์ทรมาน เป็นความเสียหายอันมิใช่ตัวเงินซึ่งไม่ซ้ำซ้อนกัน โจทก์เรียกได้ตาม มาตรา 446 รถยนต์ราคา 70,000 บาท ถูกชนแล้วขายซากรถไป 10,000 บาท เรียกค่าเสียหายที่ขาดเงินไป 60,000 บาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1258/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิด: ผู้ครอบครองรถยนต์ต้องรับผิดเมื่อเกิดอุบัติเหตุ แม้ไม่ได้เป็นผู้ขับ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะจำเลยเป็นผู้ขับรถยนต์โดยประมาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ประการหนึ่ง และให้รับผิดในฐานะจำเลยเป็นผู้ครอบครองรถยนต์ขณะเกิดเหตุ ตามมาตรา 437 อีกประการหนึ่ง ฉะนั้น แม้คดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องศาลพิพากษาถึงที่สุดว่า ต. เป็นคนขับรถจำเลยก็ตาม ในคดีนี้ศาลก็ยังต้องวินิจฉัยต่อไปว่าความรับผิดของจำเลยตามมาตรา 437 มีเพียงใด ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า มาตรา 437 มุ่งหมายให้มีข้อสันนิษฐานเป็นคุณแก่ฝ่ายที่มิใช่ยานพาหนะอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล โจทก์จำเลยต่างเป็นผู้ครอบครองหรือควบคุมดูแลยานพาหนะอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล ไม่อาจบังคับใช้บทบัญญัติ มาตรา 437 ได้นั้น เป็นการกล่าวเกี่ยวกับภาระแห่งการพิสูจน์หรือหน้าที่นำสืบ มิใช่วินิจฉัยชี้ขาดว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 437 ที่ศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่นั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1133/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องไล่เบี้ยค่าเสียหายจากลูกจ้าง กรณีเกิดจากอุบัติเหตุทางละเมิดที่เกิดจากการปฏิบัติงาน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ ได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้าง โดยขับรถยนต์ประมาทชนนายหนูใบถึงแก่ความตาย โจทก์ในฐานะนายจ้างของจำเลยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นางจวงภรรยานายหนูใบผู้ตายแล้วเป็นเงิน 30,000 บาท โจทก์จึงฟ้องไล่เบี้ยจำเลยให้ชดใช้เงิน โจทก์ได้รับชดใช้คืนบ้างแล้ว โดยได้รับชดใช้เงินคืนจากผู้ค้ำประกันจำเลยในการเข้าทำงานกับโจทก์เป็นเงิน 30,000 บาท กับได้รับชดใช้จากการหักเงินเดือนของจำเลยอีก 287 บาท 94 สตางค์ คงเหลือที่จำเลยจะต้องใช้คืนอีก 26,712 บาท 06 สตางค์ ดังนี้ เห็นได้ชัดว่าจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับชดใช้คืนจากผู้ค้ำประกัน น่าจะมีความผิดพลาดในรายละเอียด เพราะนอกจากโจทก์จะได้ยืนยันถึงจำนวนเงินคงเหลือที่โจทก์จะได้รับชดใช้ไล่เบี้ยเอาจากจำเลยอีกเป็นเงิน 26,712 บาท 06 สตางค์แล้ว ตามคำขอท้ายฟ้องก็ยังระบุให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์อีก กรณีมิใช่โจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายครบถ้วนแล้วยังมาฟ้องเรียกค่าเสียหายอีก จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะได้ทำการชี้สองสถานและดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของนายจ้างจากอุบัติเหตุที่ลูกจ้างได้รับบาดเจ็บ/เสียชีวิต และขอบเขตความรับผิดของจำเลย
โจทก์มิใช่ผู้ถูกทำละเมิด หากเป็นเพียงนายจ้างของผู้ถูกทำละเมิด เป็นบุคคลภายนอก ที่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเอากับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ต้องมีกฎหมายรับรองสิทธิของโจทก์ ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้อง (ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำศพ ค่าทดแทน และค่าชดเชย) ของผู้ถูกทำละเมิด เป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้ลูกจ้างตามคำสั่งของแรงงานจังหวัด ผูกพันตามกฎหมายแรงงานซึ่งเป็นคนละเรื่องกับค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะต้องรับผิดชดใช้ให้โจทก์กรณีที่ต้องขาดแรงงานในมูลละเมิด
ตามฟ้องของโจทก์ได้ความแล้วว่า โจทก์เป็นนายจ้างของลูกจ้างที่ได้รับอันตรายถึงตายและบาดเจ็บเพราะการกระทำโดยประมาทของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 โจทก์ต้องขาดแรงงานระหว่างลูกจ้างบาดเจ็บต้องจ่ายเงินเดือนระหว่างลูกจ้างปฏิบัติงานไม่ได้ โรงงานต้องหยุดกิจการเพราะขาดแรงงาน ถือได้ว่าโจทก์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 445 แล้ว จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องรับผิดในค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้
ตามฟ้องของโจทก์ได้ความแล้วว่า โจทก์เป็นนายจ้างของลูกจ้างที่ได้รับอันตรายถึงตายและบาดเจ็บเพราะการกระทำโดยประมาทของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 โจทก์ต้องขาดแรงงานระหว่างลูกจ้างบาดเจ็บต้องจ่ายเงินเดือนระหว่างลูกจ้างปฏิบัติงานไม่ได้ โรงงานต้องหยุดกิจการเพราะขาดแรงงาน ถือได้ว่าโจทก์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 445 แล้ว จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องรับผิดในค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 958/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสื่อมรถจากอุบัติเหตุไม่ใช่ค่าขาดประโยชน์ที่ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิด
ค่าขาดประโยชน์ที่เป็นข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยไม่หมายความถึงค่าเสื่อมราคาของรถที่ถูกชน อันเป็นความเสียหายแก่ตัวทรัพย์โดยตรง การแปลความหมายตามธรรมดาของสัญญาเป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งเป็นหน้าที่ของศาลเท่านั้นที่จะวินิจฉัยชี้ขาด คู่ความจะแถลงรับกันโดยไม่ถูกต้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 87/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบริษัทประกันภัยเมื่อเจ้าของรถยินยอมให้ผู้อื่นขับแล้วเกิดอุบัติเหตุ
บ. เจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุ ได้เอาประกันภัยค้ำจุนไว้กับบริษัทจำเลยร่วม บ. ยินยอมให้จำเลยนำรถคันดังกล่าวไปใช้จำเลยขับไปชนรถยนต์ของผู้ตายจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายดังนี้ แม้ว่าโจทก์จะมิได้ฟ้อง บ. ผู้เอาประกันภัยให้รับผิด แต่เมื่อบริษัทจำเลยร่วมยอมรับว่า หากผู้เอาประกันภัยยินยอมให้ผู้ใดขับรถคันที่เอาประกันไว้แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น บริษัทจำเลยร่วมจะต้องรับผิดชอบด้วย บริษัทจำเลยร่วมจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การพิพากษาคดีอาญาเป็นผลผูกพันคดีแพ่ง และการแก้ไขคำพิพากษา
ในคดีส่วนอาญาศาลได้พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้วว่า จำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียวเป็นผู้ประมาท ดังนั้นในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจึงต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญาว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ แต่จะนำข้อเท็จจริงดังว่านี้มาใช้ยันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างจำเลยที่ 1 หาได้ไม่ เพราะจำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่ความในคดีอาญานั้นด้วย
การกำหนดให้คู่ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม เป็นดุลพินิจของศาลจำคำนวณจากทุนทรัพย์ตามฟ้อง หรือตามที่โจทก์ชนะคดีก็ได้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยต่อสู้คดีในลักษณะประวิงคดีและไม่สุจริต ศาลจะไม่ให้จำเลยรับผิดในค่าขึ้นศาลแทนโจทก์เฉฑาะทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีแต่ให้รับผิดตามทุนทรัยพ์ที่ฟ้องก็ได้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์คือ ค่าปลงศพ 65,000 บาท ค่าโจทก์ขาดไร้อุปการะ 161,500 บาท ค่าซ่อมรถ 3,000 บาท แล้วพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงิน 164,500 บาท แก่โจทก์ เป็นการผิดพลาดไปโดยมิได้เอายอดเงินปลงศพ 25,000 บาท มารวมคำนวณด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน และจำเลยฎีกาฝ่ายเดียวต่อมาดังนี้ ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดนี้เสียให้ถูกต้องได้โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 พิพากษาแก้ให้จำเลยชดใช้เงิน 189,000 บาทแก่โจทก์
การกำหนดให้คู่ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม เป็นดุลพินิจของศาลจำคำนวณจากทุนทรัพย์ตามฟ้อง หรือตามที่โจทก์ชนะคดีก็ได้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยต่อสู้คดีในลักษณะประวิงคดีและไม่สุจริต ศาลจะไม่ให้จำเลยรับผิดในค่าขึ้นศาลแทนโจทก์เฉฑาะทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีแต่ให้รับผิดตามทุนทรัยพ์ที่ฟ้องก็ได้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์คือ ค่าปลงศพ 65,000 บาท ค่าโจทก์ขาดไร้อุปการะ 161,500 บาท ค่าซ่อมรถ 3,000 บาท แล้วพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงิน 164,500 บาท แก่โจทก์ เป็นการผิดพลาดไปโดยมิได้เอายอดเงินปลงศพ 25,000 บาท มารวมคำนวณด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน และจำเลยฎีกาฝ่ายเดียวต่อมาดังนี้ ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดนี้เสียให้ถูกต้องได้โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 พิพากษาแก้ให้จำเลยชดใช้เงิน 189,000 บาทแก่โจทก์