คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แก้ไขโทษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 151/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษในความผิดฉ้อโกงและการจำกัดสิทธิในการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264, 265, 266, 268 และ 341 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามบทมาตราที่โจทก์ฟ้อง แต่ให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 266 ซึ่งเป็นบทหนัก ให้จำคุก 4 ปี ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกจำเลย 2 ปี 8 เดือนศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่าจำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 กระทงเดียว ให้จำคุกจำเลย 2 ปี ลดโทษให้ 1ใน 3 คงจำคุก 1 ปี 4 เดือนเช่นนี้ความผิดฐานฉ้อโกงมีการแก้ไขเฉพาะโทษและเป็นการแก้ไขเล็กน้อยจำเลยจะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดฐานฉ้อโกงไม่ได้ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท ศาลฎีกาแก้ไขโทษลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุด หรือบทใดบทหนึ่งหากโทษเท่ากัน
การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท หากศาลล่างลงโทษจำเลยมาทุกบท ศาลฎีกาก็พิพากษาแกล้งบทที่มีโทษหนักที่สุดให้ถูกต้องได้
หากบทกฎหมายที่จำเลยกระทำผิดกรรมเดียวมีอัตราโทษหนักที่สุดเท่ากันอยู่ 2 บท ศาลก็ลงโทษจำเลยตามบทหนึ่งบทใดในสองบทนั้นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษปรับในคดีศุลกากรและสุรา: ศาลฎีกาไม่รับพิจารณาเนื่องจากเป็นเพียงการแก้ไขเล็กน้อยในข้อเท็จจริง
ศาลขั้นต้นพิพากษาปรับจำเลยสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากร เข้าด้วยแล้ว เป็นเงินคนละ 36,068 บาท บังคับค่าปรับตามมาตรา 29,30 หากต้องกักขังแทนค่าปรับ ให้กักขังคนละ 2 ปี ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงอย่างเดียวกับศาลชั้นต้น แต่พิพากษาแก้ให้ปรับจำเลยทั้งสามเป็นเงิน 36,068 บาท โดยแยกเรียงตัวคนละ 12,022 บาท 66 สตางค์ ไม่ชำระค่าปรับ จัดการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 29,30 หากต้องกักขังแทน ให้กักขังคนละ 8 เดือน ดังนี้ เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษปรับเล็กน้อยโดยศาลอุทธรณ์ ไม่ถือเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ฎีกาแก้ไขได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับจำเลยสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วเป็นเงินคนละ 36,068 บาท บังคับค่าปรับตามมาตรา 29, 30 หากต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังคนละ 2 ปี ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงอย่างเดียวกับศาลชั้นต้น แต่พิพากษาแก้ให้ปรับจำเลยทั้งสามเป็นเงิน 36,068 บาท โดยแยกเรียงตัวคนละ 12,022 บาท 66 สตางค์ ไม่ชำระค่าปรับ จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29,30 หากต้องกักขังแทนให้กักขังคนละ 8 เดือน ดังนี้ เป็นการแก้ไขเล็กน้อยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฎีกาในคดีอาญา: การแก้ไขโทษจากจำคุกเป็นปรับ เป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่อุทธรณ์ฎีกาได้
กรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ให้จำคุกจำเลยคนละ 3 เดือน ศาลอุทธรณ์เพียงแต่พิพากษาแก้อัตราโทษเป็นให้ปรับ ไม่มีโทษจำคุกนั้น เป็นการใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษ และเป็นการแก้ไขแต่เพียงเล็กน้อย จึงฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฎีกาในคดีอาญา: การแก้ไขโทษเพียงเล็กน้อยไม่เป็นเหตุให้ฎีกาได้
กรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ให้จำคุกจำเลยคนละ 3เดือน ศาลอุทธรณ์เพียงแต่พิพากษาแก้อัตราโทษเป็นให้ปรับไม่มีโทษจำคุกนั้น เป็นการใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษและเป็นการแก้ไขแต่เพียงเล็กน้อย จึงฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1643/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจำคุกในคดีหมิ่นประมาท และการพิพากษาคดีที่ศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 98 จำคุก 3 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะโทษให้จำคุก 5 ปี เป็นการเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2504)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการแก้ไขโทษจำเลยอื่น แม้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะบางจำเลย
คดีอาญา ถ้าศาลอุทธรณ์จะพิพากษาไม่ลงโทษหรือลดโทษให้จำเลย หากเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ถึงแม้โจทก์อุทธรณ์ฝ่ายเดียวเฉพาะจำเลยอื่นที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องก็ตาม ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยคนที่ถูกศาลชั้นต้นลงโทษให้ความผิดฐานเดียวกัน หรือต่อเนื่องกันได้ คู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ไม่สำคัญตามฎีกาที่ 1031/2498 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 23/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1283/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจากยักยอกทรัพย์ ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษฐานจากประมวลกฎหมายอาญาเป็นกฎหมายลักษณะอาญา ทำให้ฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้าม
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 จำเลยยักยอกเงิน 2 ครั้ง ต่างกรรมต่างวาระกันจำคุกจำเลยกระทงละ 2 ปี 6 เดือน รวม 2 กระทง 5 ปี
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่า จำเลยผิดฐานยักยอกตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 314 ให้ลงโทษจำคุกกระทงละ 1ปี 6 เดือน รวมจำคุก 3 ปี
ดังนี้ถือว่าแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 23/2503) (ควรเทียบดูกับฎีกาที่ 619/2499)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการแก้ไขโทษจำเลยที่ไม่ใช่ผู้ถูกอุทธรณ์ และขอบเขตการใช้กฎหมายผ่อนโทษ
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 - 2 - 3 - 4 ฐานพยายามปล้นและลงโทษจำเลยที่ 2 - 3 ฐานมีปืนไม่รับอนุญาต เฉพาะในข้อหาฐานมีปืนไม่รับอนุญาต ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์จำเลยที่ 4 อุทธรณ์เฉพาะในข้อฐานพยายามปล้นทรัพย์ เช่นนี้ แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์จะมีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2501 มาตรา 9 ผ่อนผัน ไม่เอาโทษแต่ผู้ที่นำอาวุธปืนที่มีอยู่ไปจดทะเบียนขอรับอนุญาตต่อนายทะเบียนท้องที่ภายในกำหนด 90 วันก็ตาม ศาลอุทธรณ์จะยกฟ้องจำเลยที่ 2 - 3 ในข้อหาฐานมีปืนไม่รับอนุญาต โดยอ้างว่าเป็นเหตุในลักษณะคดีหาได้ไม่ เพราะการที่จำเลยที่ 2 - 3 มีอาวุธปืนนั้น จะมีโดยได้รับอนุญาตหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์ ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ศาลอุทธรณ์ จึงไม่มีอำนาจที่จะยกฟ้องโจทก์ในข้อหาตามพระราชบัญญัติ อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 ซึ่งเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 - 3
of 48