คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โทษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 356 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9981/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: ประมาททางทะเลทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ศาลฎีกาแก้โทษลดลง
การที่จำเลยเดินเรือโดยฝ่าฝืนประกาศกรมเจ้าท่า อันเป็นความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าท่าหรือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 มาตรา 297 วรรคหนึ่ง กับการที่จำเลยเดินเรือด้วยความประมาทเป็นเหตุให้เรือลำเลียงที่จำเลยลากจูงมาโดนกับเรือบรรทุกสินค้า และผู้ตายถึงแก่ความตาย อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 291 เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาลงโทษจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8257/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีอาญาเด็กและเยาวชน: การพิจารณาโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ และการใช้วิธีการสำหรับเด็กแทนการลงโทษ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 33, 58, 83, 91, 288, 289, 371 และขอให้กำหนดโทษของจำเลยที่ 1 ที่รอการกำหนดโทษไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ แม้ศาลจะพิพากษาในส่วนของจำเลยที่ 1 ว่ากระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288, 371, 83 ลดมาตราส่วนโทษกึ่งหนึ่ง ลดโทษให้หนึ่งในห้า คงลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 20 ปี และปรับ 40 บาท เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งจำเลยที่ 1 ไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมยังสถานพินิจจนกว่าจำเลยทั้งสองมีอายุครบ 24 ปีบริบรูณ์ หากจำเลยมีอายุครบ 24 ปีบริบูรณ์แล้ว ให้ส่งจำเลยทั้งสองไปจำคุกในเรือนจำมีกำหนดคนละ 10 ปี โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) และวรรคท้าย แต่การส่งจำเลยที่ 1 ไปจำคุกต่อตามมาตรา 104 วรรคท้ายดังกล่าว มิใช่การพิพากษาให้ลงโทษจำคุกโดยแท้ แต่เป็นหนึ่งในวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน มิใช่การลงโทษจำคุกซึ่งเป็นโทษตาม ป.อ. มาตรา 18 ศาลจึงไม่อาจนำโทษจำคุกในคดีก่อนมาบวกตาม ป.อ. มาตรา 58 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8222/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของกฎหมายใหม่ต่อโทษที่รับไปแล้ว: สิทธิการขอคืนค่าปรับเมื่อความผิดหมดไป
ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้ารับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง บทบัญญัติดังกล่าวได้แยกผลของการกระทำความผิดและการบังคับโทษตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้วจากกันต่างหาก กล่าวคือ ในส่วนของการบังคับตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดนั้นหากมีส่วนใดที่ยังค้างอยู่ระหว่างการบังคับ ก็ให้การบังคับนั้นสิ้นสุดลง ไม่มีการบังคับในส่วนที่ค้างอยู่อีกต่อไปเท่านั้น หาได้มีผลให้รื้อฟื้นการบังคับโทษที่เสร็จสิ้นไปแล้วขึ้นมาพิจารณาใหม่อีกแต่อย่างใด โทษที่ได้รับมาแล้วต้องถือว่ายุติไปตามผลของคำพิพากษา ดังนั้นค่าปรับที่จำเลยชำระไปตามคำพิพากษาจนครบถ้วนแล้วจึงถือว่าการบังคับโทษปรับเสร็จสิ้นแล้ว จำเลยจึงไม่อาจถอนคืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตและเหตุจำเป็นเร่งด่วน การป้องกันตัวที่เกินเหตุ และการพิจารณาโทษที่เหมาะสม
ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามมิให้พาอาวุธปืน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาต หรือเป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ จากบทบัญญัติดังกล่าว การพาอาวุธปืนติดตัวไปได้ต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงาน หากมิได้รับใบอนุญาตจะต้องเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ การที่จำเลยนำอาวุธปืนติดตัวไปในการประกอบธุรกิจของจำเลยเป็นปกติ ไม่ถือว่าเป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์แต่อย่างใด มิฉะนั้นเท่ากับว่าจำเลยสามารถพาอาวุธปืนไปได้ตลอดโดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าพนักงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2805/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้สนับสนุนการจำหน่ายยาเสพติด: ศาลแก้โทษจากตัวการร่วมเป็นผู้สนับสนุน
จำเลยที่ 2 ติดต่อแจ้งจำเลยที่ 1 ทางโทรศัพท์ว่ามีผู้ขอซื้อเมทแอมเฟตามีนและได้รับเงินจากสายลับผู้ล่อซื้อแล้วนำเงินทั้งหมดไปฝากจำเลยที่ 3 เพื่อให้มอบแก่จำเลยที่ 1 โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ได้รับประโยชน์ตอบแทนจากจำเลยที่ 1 หรือมีส่วนร่วมในการตกลงซื้อขายเมทแอมเฟตามีนระหว่างจำเลยที่ 1 กับสายลับอย่างไร ยังไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ในการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แต่การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ช่วยติดต่อแจ้งให้จำเลยที่ 1 นำเมทแอมเฟตามีนมาจำหน่ายให้แก่สายลับที่ไปติดต่อซื้อกับจำเลยที่ 2 และรับเงินค่าเมทแอมเฟตามีนไว้จากสายลับเพื่อมอบแก่จำเลยที่ 1 เป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกในการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและทางพิจารณาได้ความว่าเป็นเพียงผู้สนับสนุน ข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญทั้งจำเลยที่ 2 มิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยที่ 2 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1085/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดมาตราส่วนโทษที่ถูกต้อง และข้อจำกัดการแก้ไขโทษของศาลอุทธรณ์โดยที่โจทก์มิได้อุทธรณ์
การลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลยกึ่งหนึ่งนั้น ศาลต้องลดอัตราโทษขั้นสูงและขั้นต่ำจากโทษที่กฎหมายกำหนดสำหรับความผิดที่จำเลยกระทำลงกึ่งหนึ่ง แล้วจึงกำหนดโทษจำเลยในระวางโทษที่ลดแล้วนั้น จะกำหนดโทษจำเลยก่อน แล้วลดมาตราส่วนโทษลงย่อมไม่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำเลยจำคุก 18 ปี ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 9 ปี แม้ไม่ถูกต้อง แต่การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งแล้ว จำคุก 12 ปี โดยโจทก์ไม่อุทธรณ์ ย่อมเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9050/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด แม้มีโทษตามกฎหมายจราจรสูงกว่า
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157/1 ซึ่งเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ดังนั้น คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอยู่ด้วย คดีนี้จึงเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 5 ซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 91 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด และตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง ก็บัญญัติให้ต้องระวางโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอีกหนึ่งในสาม จึงมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยในการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดนั่นเองดังนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว หากจำเลยจะฎีกาจะต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่าน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง ไม่ใช่ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เนื่องจากเป็นการปฏิบัติตามแนวคำสั่งคำร้องของศาลฎีกาที่เคยวินิจฉัยว่า การกระทำตามฟ้องมิใช่ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม กรณีคำร้องดังกล่าวพอแปลได้ว่าจำเลยประสงค์ที่จะขอให้ศาลฎีกาพิจารณารับฎีกาในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดไว้วินิจฉัยตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4438/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์และประกอบกิจการภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลแก้โทษและยกฟ้องบางส่วน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำซ้ำดัดแปลงงานอันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายทั้งยี่สิบเอ็ดตามฟ้องและมีไว้เพื่อขายแก่บุคคลทั่วไปซึ่งงานดังกล่าว เป็นการกระทำหลายกรรมต่างกัน และมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27, 28, 31, 69 และ 70 ป.อาญา มาตรา 91 จำเลยให้การรับสารภาพตามข้อหาในคำฟ้องซึ่งเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27 (1), 28 (1), 31 (1), 69 วรรคสอง และ 70 วรรคสอง การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 67 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (1), 28 (1) เพียงกระทงเดียว จึงไม่ถูกต้อง
พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 53 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ห้ามผู้ใดจัดตั้งหรือประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน โดยมาตรา 4 บัญญัติให้นิยามคำว่า "ร้านวีดิทัศน์" ว่า สถานที่ที่จัดให้มีเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกในการฉาย เล่น หรือดูวีดิทัศน์ แสดงว่ากิจการร้านวีดิทัศน์ คือ การฉาย เล่น หรือดูวีดิทัศน์เท่านั้น ดังนั้น ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจัดตั้งหรือประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายวีดิทัศน์ จึงไม่เป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยจัดตั้งหรือประกอบกิจการดังกล่าว ให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายวีดิทัศน์อันเป็นองค์ประกอบความผิดในมาตรา 54 วรรคหนึ่ง, 82 แต่เมื่อคำขอท้ายฟ้องโจทก์ไม่ระบุมาตรา 54 มาด้วย จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 54 จำเลยคงมีความผิดเฉพาะมาตรา 38 วรรคหนึ่ง, 79

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15624/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาเรื่องโทษโดยศาลชั้นต้นขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การจดรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการบวกโทษเป็นไม่บวกโทษนั้น ถือเป็นการแก้ไขคำพิพากษา เพราะทำให้ผลของคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับโทษของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป มิใช่เป็นกรณีที่มีข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14087/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแก้ไขโทษหลังคดีถึงที่สุด: ผลของ พ.ร.บ.ล้างมลทิน และข้อยกเว้น ป.วิ.อ. มาตรา 190
ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2550 ว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2), 66 วรรคสอง จำคุก 7 ปี และปรับ 400,000 บาท เพิ่มโทษกึ่งหนึ่งเป็นจำคุก 10 ปี 6 เดือน และปรับ 600,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุก 5 ปี 3 เดือน และปรับ 300,000 บาท ต่อมาวันที่ 4 มิถุนายน 2551 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องว่าจำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 จึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ได้นั้น เห็นว่า คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษและเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 จนคดีถึงที่สุดแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขการเพิ่มโทษในคดีหลังได้ และเมื่อศาลอ่านคำพิพากษาจนคดีถึงที่สุดแล้ว ศาลนั้นจะแก้ไขคำพิพากษาเกี่ยวกับการเพิ่มโทษหาได้ไม่ เพราะไม่ใช่การแก้ไขถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาดซึ่งขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190 และกรณีดังกล่าวไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่จะทำให้ศาลมีอำนาจยกคดีขึ้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2553)
of 36