คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โทษจำคุก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 507 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักกันไม่ใช่โทษอาญา ไม่อาจนำเวลากักกันมารวมกับโทษจำคุกเพื่อใช้สิทธิฎีกาได้
การกักกันตามประมวลกฎหมายอาญาไม่ใช่โทษอาญา แต่เป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยอันมีลักษณะเบากว่าโทษจำคุก ฉะนั้น จะอนุโลมกำหนดเวลากักกันเป็นกำหนดโทษจำคุกไม่ได้ และไม่ว่ากักกันจะมีกำหนดเวลาต่ำหรือเกินกว่า 5 ปีก็ตามย่อมเป็นอันต้องห้ามฎีกา (ประชุมใหญ่ ครั้งที่21/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักกันไม่ใช่โทษอาญา ไม่สามารถนำมาใช้ในการฎีกาได้ เนื่องจากมีลักษณะเบากว่าโทษจำคุก
การกักกันตามประมวลกฎหมายอาญาไม่ใช่โทษอาญา. แต่เป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยอันมีลักษณะเบากว่าโทษจำคุก. ฉะนั้นจะอนุโลมกำหนดเวลากักกันเป็นกำหนดโทษจำคุกไม่ได้. และไม่ว่ากักกันจะมีกำหนดเวลาต่ำหรือเกินกว่า 5 ปีก็ตามย่อมเป็นอันต้องห้ามฎีกา.(ประชุมใหญ่ ครั้งที่21/2511).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีป่าไม้และการไม่เคลือบคลุมของฟ้อง: การพิจารณาโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
ความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 73พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 มาตรา 17 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี. หรือปรับไม่เกิน 20,000บาท. ฉะนั้นจึงต้องถืออายุความฟ้องร้อง 10 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3).
ฟ้องโจทก์ซึ่งบรรยายว่า 'ฯลฯระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม2506 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2507 ฯลฯ' ประกอบข้อความว่า'ฯลฯได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ป่าบางน้ำจืดบางส่วนในท้องที่ตำบลบางสนอำเภอปทิว จังหวัดชุมพร เป็นป่าคุ้มครอง. และจำเลยได้ทำลายป่า และตัดฟันไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวนแห่งชาติรวมเนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 90 ตารางวา. โดยมิได้รับอนุญาต ฯลฯ'. ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษซ้ำความผิด: ต้องพิจารณาโทษจำคุกในความผิดเดิมที่ศาลพิพากษาลงโทษจริงเท่านั้น
คดีก่อน แม้ศาลจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานแต่งกายโดยใช้เครื่องแต่งกายคล้ายเครื่องแบบทหารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 146 ด้วย แต่มิได้พิพากษาลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มิได้กำหนดโทษตามมาตรา 146 ไว้ หากไปลงโทษตามพระราชบัญญัติเครื่องแบบทหารซึ่งเป็นบทหนักจำคุก 1 ปี 6 เดือน ทั้งก็รู้ไม่ได้ว่าถ้าศาลจำกำหนดโทษจำคุกตามมาตรา 146 (ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี) ศาลจะกำหนดต่ำกว่า 6 เดือนหรือไม่ เหตุนี้ จึงว่าจำเลยกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 146 มีโทษจำคุกกว่า 6 เดือนมาแล้ว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93 ยังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำคุกซ้ำ จำเป็นต้องพิพากษาลงโทษในความผิดเดิมเกิน 6 เดือน
คดีก่อน แม้ศาลจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานแต่งกายโดยใช้เครื่องแต่งกายคล้ายเครื่องแบบทหารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 146 ด้วย แต่มิได้พิพากษาลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มิได้กำหนดโทษตามมาตรา 146 ไว้ หากไปลงโทษตามพระราชบัญญัติเครื่องแบบทหารซึ่งเป็นบทหนัก จำคุก 1 ปี 6 เดือน ทั้งก็รู้ไม่ได้ว่าถ้าศาลจะกำหนดโทษจำคุกตามมาตรา 146 (ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี) ศาลจะกำหนดต่ำกว่า 6 เดือนหรือไม่ เหตุนี้ จึงว่าจำเลยกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 146 มีโทษจำคุกกว่า 6 เดือนมาแล้ว ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 93 ยังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษทางอาญาซ้ำ: ศาลพิจารณาโทษจำคุกในความผิดเดิมก่อนเพิ่มโทษตามกฎหมาย
คดีก่อน แม้ศาลจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานแต่งกายโดยใช้เครื่องแต่งกายคล้ายเครื่องแบบทหารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 146 ด้วย แต่มิได้พิพากษาลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มิได้กำหนดโทษตามมาตรา 146 ไว้หากไปลงโทษตามพระราชบัญญัติเครื่องแบบทหารซึ่งเป็นบทหนักจำคุก 1 ปี 6 เดือน ทั้งก็รู้ไม่ได้ว่าถ้าศาลจะกำหนดโทษจำคุกตามมาตรา 146 (ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี) ศาลจะกำหนดต่ำกว่า 6 เดือน หรือไม่ เหตุนี้จึงว่าจำเลยกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 146 มีโทษจำคุกกว่า 6 เดือนมาแล้วตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93 ยังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีเด็กและเยาวชน เมื่อศาลเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกอบรม
คดีอาญาของศาลคดีเด็กและเยาวชนซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างโดยให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางนั้นถือว่าศาลมิได้ลงโทษจำเลยโดยจำคุกเกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 29 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1664/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล้นทรัพย์ด้วยอาวุธปืน: การพิจารณาโทษตามฟ้องที่ไม่ระบุการยิงปืนโดยตรง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับพวกมีปืนเป็นอาวุธ ร่วมกันปล้นทรัพย์ โดยจำเลยกับพวกใช้ปืนขู่เข็ญไม่ให้พวกเจ้าทรัพย์ขัดขวาง มิฉะนั้นจะใช้ปืนยิงให้ตาย ดังนี้ แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่า เมื่อเจ้าทรัพย์กับพวกตามจำเลยกับพวกไปทัน พวกจำเลยเอาปืนยิงเจ้าทรัพย์เจ้าทรัพย์ก็ยิงโต้ตอบกันหลายนัด ก็ดี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรคสอง จะลงโทษจำคุกจำเลยได้ไม่เกิน 15 ปีเท่านั้น เพราะตามฟ้องไม่ได้บรรยายว่า จำเลยยิงปืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษคดีที่ศาลรอการลงโทษ เมื่อศาลเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกอบรม
ตามมาตรา 58 ประมวลกฎหมายอาญาคำว่า "และศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิด" นั้น หมายความว่าจำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจริงๆ คดีนี้ศาลวางโทษจำคุก 3 เดือน แต่ได้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นให้ส่งตัวไปฝึกอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง ไม่เรียกว่าให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิดนั้น โจทก์จะขอให้ศาลกำหนดโทษที่รอไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ย่อมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 412/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญา โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี
กรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 มาตรา 7,72 ให้ปรับจำเลย 100 บาท ของกลางทั้งหมดให้ริบโจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 มาตรา 4,7(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2501มาตรา 3,5,8 และกฎกระทรวงมหาดไทย (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2501 ให้ลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 1 ปี นอกจากที่แก้นี้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น
ดังนี้ แม้จะเป็นการแก้ไขมากก็ดี แต่โทษจำคุกยังไม่เกิน 1 ปีเช่นนี้จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
of 51