คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อเท็จจริง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,082 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่งเกี่ยวเนื่อง: การถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาอาญา
ป.วิ.อ. มาตรา 46 บัญญัติว่า "ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา" อันมีความหมายว่าคำพิพากษาในส่วนอาญานั้นต้องถึงที่สุดแล้วและเป็นคู่ความเดียวกัน ทั้งข้อเท็จจริงที่คดีส่วนแพ่งจะต้องถือตามนั้นต้องเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นโดยตรงในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาด้วย เมื่อปรากฏว่าคำพิพากษาในคดีอาญาถึงที่สุดและโจทก์กับจำเลยต่างเป็นคู่ความเดียวกัน จึงต้องพิจารณาเพียงว่าคำวินิจฉัยเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเป็นประเด็นโดยตรงกับคดีนี้หรือไม่ ซึ่งในคดีอาญาดังกล่าวทั้งสามศาลต่างพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม โดยคำพิพากษาในคดีส่วนอาญาของทั้งสามศาลต่างวินิจฉัยในประเด็นโดยตรงแห่งคดีเช่นเดียวกับคดีนี้ แม้จะมีรายละเอียดของการให้เหตุผลแตกต่างไปบ้างก็สืบเนื่องมาจากการวินิจฉัยตามข้ออุทธรณ์และข้อฎีกาของโจทก์ แต่ผลสุดท้ายแห่งคดีคือยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม อันเกิดจากการฟังข้อนำสืบพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่าย ดังนั้น ในการพิพากษาคดีนี้ย่อมต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาว่าจำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยการปลอมเช็คและใช้เช็คปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6098/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้วรรคความผิดและโทษในคดีอาญา และข้อจำกัดในการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม (เดิม) จำคุก 25 ปี จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคหนึ่ง (เดิม) จำคุก 2 ปี เป็นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้วรรคของความผิดในบทมาตราเดียวกัน ไม่ถือเป็นการแก้บทความผิด แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะแก้โทษด้วยก็เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และคงให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าพยานหลักฐานโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายโดยใช้อาวุธมีดขู่บังคับขณะกระทำชำเราเท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่มีอาวุธมีดในขณะกระทำชำเราผู้เสียหาย โจทก์ฎีกาว่า ขณะกระทำชำเราผู้เสียหาย จำเลยถืออาวุธมีดอยู่ในมือย่อมทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัว ฎีกาของโจทก์จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4296/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลายมือชื่อในใบสมัครบัตรเครดิตเป็นหลักฐานสำคัญ ศาลใช้ดุลพินิจพยานประกอบอื่นๆ ชี้ขาดข้อเท็จจริง
ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญในการตรวจพิสูจน์จัดเป็นความเห็นช่วยเหลือศาลประกอบการพิจารณาวินิจฉัยอย่างหนึ่ง ซึ่งศาลมีดุลพินิจจะนํามารับฟังแค่ไหนเพียงใดก็ได้ หาเป็นการผูกมัดให้ศาลต้องรับฟังตามความเห็นนั้นเสมอไปไม่ เมื่อการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของจําเลยในใบสมัครบัตรเครดิตคดีนี้เกิดจากความสมัครใจของคู่ความทั้งสองฝ่าย และผลการตรวจไม่อาจลงความเห็นอย่างหนึ่งอย่างใดได้ ย่อมเป็นอำนาจของศาลที่จะรับฟังพยานหลักฐานอื่นที่คู่ความนํามาสืบแล้วชั่งน้ำหนักวินิจฉัยไปตามพยานหลักฐานนั้น เพราะคู่ความมิได้ตกลงท้ากันเอาผลการตรวจพิสูจน์เป็นข้อแพ้ชนะ จึงไม่อาจวินิจฉัยให้จําเลยเป็นฝ่ายชนะคดีไปตามภาระการพิสูจน์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3526/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยในคดีดอกเบี้ยเกินอัตรา และข้อจำกัดสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องโดยบรรยายวันเวลากระทำผิดของจำเลยฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีทั้งก่อนวันที่แก้ไขกฎหมายและหลังแก้ไขกฎหมาย เมื่อในชั้นพิจารณาโจทก์มิได้นำสืบให้ได้ความชัดว่าเหตุเกิดวันเวลาใด จึงต้องนำกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยมาบังคับใช้ตาม ป.อ. มาตรา 3 การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษแก่จำเลยนั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้น จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การพิจารณาว่าโจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ข้อเท็จจริงหรือไม่ จึงต้องนำกฎหมายและโทษที่ลงแก่จำเลยนั้นมาปรับใช้ เพราะการใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยนั้น กฎหมายมิได้จำกัดเฉพาะการกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยเท่านั้น เมื่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 มีระวางโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาบังคับใช้ในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2950/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากมิได้คัดค้านข้อเท็จจริงและเหตุผลของศาลอุทธรณ์อย่างชัดเจน และฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่า ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่าจำเลยทั้งสิบหกฟ้องเท็จและเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีอาญาพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยทั้งสิบหกเข้าใจข้อหาได้ดี จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) และยังเป็นฟ้องที่บรรยายไม่ครบองค์ประกอบของความผิดตามบทมาตราที่ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสิบหกด้วย กรณีมิใช่เรื่องฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161 ได้
ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง วางหลักในการฎีกาว่า ฎีกาจะต้องคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ว่าที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้นไม่ถูกต้องด้วยข้อเท็จจริง และไม่ชอบด้วยเหตุผลอย่างไร เมื่อพิจารณาฎีกาของโจทก์แล้ว เห็นได้ว่า ฎีกาโจทก์ไม่ได้ยกข้อเท็จจริงและเหตุผลขึ้นโต้แย้งว่าที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่าอุทธรณ์โจทก์มิได้โต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบอย่างไร และโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพราะเหตุใดนั้น ไม่ถูกต้องด้วยข้อเท็จจริงและไม่ชอบด้วยเหตุผลอย่างไร ฎีกาโจทก์จึงไม่เป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาศาลแรงงานต้องแสดงข้อเท็จจริง คำวินิจฉัย และเหตุผลประกอบการวินิจฉัยอย่างครบถ้วน
จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้หลายประการ แต่ศาลแรงงานกลางกลับวินิจฉัยโดยมิได้นำเหตุผลทั้งหมดในหนังสือเลิกจ้างมาประกอบการพิจารณาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ทั้งการอ้างหนังสือของจำเลยในเรื่องการปรับเงินเดือนประจำปี 2552 ถึงปี 2559 ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เพราะมิได้เป็นเหตุที่ปรากฏในหนังสือเลิกจ้างของจำเลย การรับฟังข้อเท็จจริงของศาลแรงงานกลางก็ขัดกับพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบจึงเป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบ จึงเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นการอุทธรณ์ที่ขอให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่า คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแรงงานให้ทำเป็นหนังสือและต้องกล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยนั้น ซึ่งหมายความว่าคำพิพากษาของศาลแรงงานจะต้องมีส่วนสำคัญ คือ ประการแรกต้องกล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปเพื่อให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษหรือศาลฎีกาจะได้นำข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานได้ฟังมาวินิจฉัยข้อกฎหมายต่อไปหากมีการอุทธรณ์หรือฎีกาในประเด็นนั้น ประการที่สองต้องแสดงคำวินิจฉัยให้ปรากฏตามประเด็นแห่งคดี และประการที่สามคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีนั้นจะต้องมีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อให้ทราบว่าศาลแรงงานได้นำข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดเป็นหลักในการวินิจฉัยคดีและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานหลักฐานและการแปลความบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่ คดีนี้เฉพาะในประเด็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจำเลยให้การว่าโจทก์จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ขัดคำสั่งและละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งของจำเลยเป็นอาจิณ กระทำความผิดอย่างร้ายแรง และกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจำเลยเคยตักเตือนและโจทก์เพิกเฉยไม่ปรับปรุงตนเอง เป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหาย การที่คำพิพากษาศาลแรงงานกลางอ้างถึงเหตุในหนังสือเลิกจ้าง แล้วนำคำเบิกความพยานโจทก์และพยานจำเลยมาเรียงต่อกัน แล้ววินิจฉัยคลุมไปทีเดียวว่า จากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ยังไม่อาจถือได้ว่าฝ่าฝืนข้อบังคับหรือคำสั่งของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างกรณีร้ายแรง การเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางจึงไม่ได้แสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุป และไม่ได้แสดงคำวินิจฉัยให้ปรากฏตามประเด็นแห่งคดี ทั้งไม่มีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย ทั้งที่โจทก์และจำเลยต่างได้นำสืบทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารในประเด็นดังกล่าวมาแล้ว จึงเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่อาจรับวินิจฉัยข้อเท็จจริงเนื่องจากศาลชั้นต้นรับฎีกาที่ไม่ชอบตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคหนึ่ง, 279 วรรคสาม และวรรคสี่ ประกอบมาตรา 285 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 ลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้ว ฐานกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตนและเป็นผู้สืบสันดาน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม คงจำคุกกระทงละ 4 ปี 8 เดือน รวม 3 กระทง เป็นจำคุก 12 ปี 24 เดือน ฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งเป็นผู้สืบสันดาน โดยใช้กำลังประทุษร้าย จำคุก 2 ปี ฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งเป็นผู้สืบสันดาน โดยใช้วัตถุหรืออวัยวะอื่นใดซึ่งมิใช่อวัยวะเพศล่วงล้ำอวัยวะเพศของเด็กนั้น โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม โดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย จำคุกกระทงละ 4 ปี 8 เดือน รวม 38 กระทง เป็นจำคุก 152 ปี 304 เดือน รวมจำคุกทุกกระทง 166 ปี 328 เดือน แม้รวมโทษทุกกระทงแล้วลงโทษจำคุกจำเลย 50 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 91 (3) ก็ตาม แต่เมื่อโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องทุกข้อหา เพราะจำเลยสำคัญผิดหรือหลงผิดในสิ่งที่ตนมิได้กระทำ จำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหายเพียง 5 ครั้ง แต่มิได้กระทำชำเราผู้เสียหาย และพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดอื่นนอกจากความผิดฐานอนาจารดังกล่าว การวินิจฉัยฎีกาของจำเลยในปัญหาดังกล่าวจำต้องอาศัยข้อเท็จจริงจากพฤติการณ์แห่งคดีและจากพยานหลักฐานที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจรับฟังมาเป็นข้อชี้ขาดตัดสินคดี จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1016/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: ปัญหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอำนาจพนักงานสอบสวนและผลต่อการฟ้องคดีอาญา
จำเลยฎีกาโต้เถียงว่าพนักงานสอบสวนในท้องที่เกิดเหตุคนใดจะเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบมีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องส่งไปพร้อมกับสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 140 เป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยในข้อนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2915/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษและวรรคความผิดในศาลอุทธรณ์ ไม่ถือเป็นการแก้บทความผิด ทำให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้าม
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสี่ จำคุก 25 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง จำคุก 3 ปี 6 เดือน เป็นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้วรรคของความผิดในบทมาตราเดียวกัน ไม่ถือเป็นการแก้บทความผิด แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 จะแก้โทษด้วยก็เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และคงให้จำคุกไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2611/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาท: การพิสูจน์ข้อเท็จจริงและหน้าที่รับผิดชอบของจำเลย
แม้คดีนี้ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาเองและไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาในส่วนแพ่งก็ตาม แต่เมื่อคดีส่วนนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และคดีส่วนอาญาขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์จึงไม่จำต้องยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาในส่วนแพ่ง เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสี่ไม่มีความผิดตามฟ้อง จำเลยทั้งสี่จึงไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
of 309