คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ก่อสร้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 306 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8170/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่: ความผิดต่างกรรมกันจากการก่อสร้างต่อเนื่องและหลอกลวงค่าจ้าง
แม้ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4510/2556 และ 2355/2557 ของศาลชั้นต้น จะมีมูลกรณีสืบเนื่องมาจากสัญญาจ้างก่อสร้างโรงไฟฟ้าฉบับเดียวกัน และโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานเดียวกันก็ตาม แต่การทำงานตามสัญญาจ้างฉบับเดียวกัน แม้ต้องกระทำต่อเนื่องกันไป ตามสัญญาหากลักษณะของความผิดตามฟ้องเป็นการกระทำที่มีเจตนาแตกต่างกันและต่างขั้นตอนกัน ซึ่งสามารถแยกการกระทำแต่ละอันออกต่างหากจากกันได้ ทั้งเป็นการกระทำที่มุ่งประสงค์ให้มีผลต่างกรรมกันก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91 ข้อเท็จจริงที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 ที่ 8 และที่ 9 นำสืบรับกันได้ความว่า การก่อสร้างโรงไฟฟ้าของโจทก์ตามสัญญาจ้างก่อสร้างโรงไฟฟ้า มีการกำหนดแบบการก่อสร้างและประเภทกับขอบเขตของงานที่จำเลยที่ 1 จะต้องกระทำและส่งมอบงานให้แก่โจทก์ตามสัญญาไว้อย่างชัดแจ้งโดยจำเลยที่ 1 จะจัดทำรายละเอียดความคืบหน้าของงานและใบส่งมอบงาน ส่งมอบให้แก่โจทก์เป็นงวด ๆ ทุกเดือนไปและโจทก์จะจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่จำเลยที่ 1 ตามผลงานที่ทำได้จริงในแต่ละงวดดังกล่าวภายใต้การควบคุมงานและการตรวจสอบความถูกต้องของงานกับเอกสารที่เกี่ยวข้องของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 9 ซึ่งโจทก์มอบหมายให้เป็นคณะกรรมการตรวจรับและผู้ควบคุมงานจ้าง ส่วนการทำงานเกี่ยวกับการทำหม้อไอน้ำเพิ่มเติมตามฟ้องโจทก์ในคดีนี้ก็เป็นการทำงานในส่วนที่ที่ประชุมบริษัทโจทก์มีมติให้ทำเพิ่มเติมขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าให้ดีขึ้น โดยโจทก์ตกลงจะช่วยเหลือเกี่ยวกับราคาที่เพิ่มจากที่ประมาณการไว้ 14,400,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเห็นได้ชัดว่าในการทำงานส่วนที่เกี่ยวกับการทำหม้อไอน้ำเพิ่มเติมของจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยการควบคุมงานกับการตรวจสอบความถูกต้องของงานดังกล่าวของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 9 ตามฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นการกระทำต่างขั้นตอนกันกับการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4510/2556 และ 2355/2557 ของศาลชั้นต้น อันเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องกระทำการก่อสร้างโรงไฟฟ้าตามสัญญาจ้างก่อสร้างโรงไฟฟ้า และส่งมอบงานที่จำเลยที่ 1 ทำคืบหน้าไปในแต่ละเดือนให้แก่โจทก์เป็นงวด ๆ ทุกเดือนภายใต้การควบคุมงานและการตรวจสอบความถูกต้องของงานของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 9 ซึ่งสามารถแยกการทำงานในแต่ละคดีดังกล่าวต่างหากจากกันได้ การกระทำของจำเลยทั้งเก้าในคดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4510/2556 และ 2355/2557 ของศาลชั้นต้น จึงเป็นการกระทำที่มีเจตนาแตกต่างกันและมุ่งประสงค์ให้มีผลต่างกรรมกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 และที่ 7 ถึงที่ 9 ตามฟ้องโจทก์ คดีนี้จึงเป็นความผิดต่างกรรมกันกับการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 และที่ 7 ถึงที่ 9 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4510/2556 และ 2355/2557 ของศาลชั้นต้น ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4510/2556 และ 2355/2557 ของศาลชั้นต้น การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าฟ้องคดีนี้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าวและพิพากษายกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 และที่ 7 ถึงที่ 9 กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7994/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทค่าเสียหายจากการทำงานก่อสร้าง การหักกลบลบหนี้ และอายุความฟ้องแย้ง
เมื่องานที่โจทก์ทำให้จำเลยชำรุดบกพร่อง โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยชำระหนี้นั้น ถูกต้องแล้ว แต่ศาลชั้นต้นยังคงต้องวินิจฉัยให้จำเลยชำระค่าการงานที่ได้ทำให้โจทก์อีก เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยในส่วนนี้จึงเป็นการไม่ชอบ กรณีจึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) แม้โจทก์ไม่อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ที่ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247 (เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7687/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีก่อสร้างเกินคำขอ: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้องตามผลงานและข้อตกลง
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดชำระค่าจ้างก่อสร้างโกดังเก็บสินค้าสำหรับงานในงวดที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 แต่ทางพิจารณาได้ความว่า ค่างานก่อสร้างในงวดที่ 2 โจทก์ได้รับชำระเงินไปครบถ้วนแล้ว ทั้งโจทก์มิได้เรียกค่าก่อสร้างและมีคำขอให้จำเลยชำระค่างานในงวดที่ 3 แต่อย่างใด ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 กำหนดให้จำเลยชำระค่าจ้างงวดที่ 2 และที่ 3 บางส่วนให้แก่โจทก์ จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง: การจ่ายเงินตามปริมาณงานจริง แม้ราคากลางผิดพลาด ไม่เป็นเหตุให้เกิดลาภมิควรได้
แม้สัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาที่มุ่งคิดค่าใช้จ่ายเป็นราคาต่อหน่วยงานที่ได้ทำจริง โดยมุ่งเพื่อให้การจ่ายเงินใกล้เคียงกับปริมาณงานที่ได้ทำจริงมากที่สุดก็ตาม แต่เมื่อพิเคราะห์สัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ในข้อ 4 ก ปรากฏข้อเท็จจริงว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างตกลงว่าจำนวนปริมาณงานที่กำหนดไว้ในบัญชีรายการก่อสร้างหรือใบแจ้งปริมาณงานและราคาที่เป็นจำนวนโดยประมาณเท่านั้น จำนวนปริมาณงานที่แท้จริงอาจจะมากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้ ซึ่งผู้ว่าจ้างจะจ่ายค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้างตามราคาต่อหน่วยของงานแต่ละรายการที่ได้ทำสำเร็จจริง ดังนั้น การที่โจทก์กล่าวอ้างว่า การคำนวณปริมาณงานผิดพลาดในขั้นตอนการออกแบบและประมาณราคากับขั้นตอนการกำหนดราคากลาง ทำให้ค่างานก่อสร้างที่คำนวณได้และนำไปใช้ในการกำหนดราคากลางนั้นสูงเกินค่าก่อสร้างจริง โจทก์ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างย่อมมีสิทธิเพียงจ่ายค่าจ้างให้แก่จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างตามราคาต่อหน่วยของงานแต่ละรายการที่ได้ทำสำเร็จจริงตามข้อตกลงในสัญญาว่าจ้าง หากโจทก์ไม่ยินยอมจ่ายเงินในส่วนที่เกินราคาต่อหน่วยของงานแต่ละรายการที่ได้ทำสำเร็จจริง ย่อมเป็นข้อโต้แย้งสิทธิอันเกิดจากสัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ด้วยเหตุนี้เอง การที่จำเลยที่ 1 ได้รับเงินค่าจ้างไปจากโจทก์ซึ่งเกินไปกว่าปริมาณงานตามความเป็นจริงที่กำหนดไว้ในสัญญา ย่อมเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ได้รับชำระหนี้ต่างตอบแทนที่ยังมีข้อโต้แย้งจากการทำงานตามสัญญาให้แก่โจทก์ หาใช่เป็นการได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใด เพราะการที่โจทก์กระทำเพื่อชำระหนี้ก็ดี หรือได้มาด้วยประการอื่นก็ดี โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์นั้นเสียเปรียบ จำเลยที่ 1 กับพวก หาจำต้องร่วมกันคืนทรัพย์นั้นให้แก่โจทก์ในฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4727/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินทางกฎหมายไม่ใช่การขาย ภาษีซื้อจากการก่อสร้างไม่เป็นภาษีซื้อต้องห้าม
การที่กิจการและทรัพย์สินบางส่วนซึ่งรวมถึงอาคารที่โจทก์ก่อสร้างขึ้นถูกโอนไปเป็นของสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) สืบเนื่องมาจาก พ.ร.ฎ.จัดตั้งสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2556 มาตรา 40 ที่บัญญัติให้รัฐมนตรีเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติให้มีการโอนบรรดาอำนาจหน้าที่ กิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และงบประมาณของโจทก์เฉพาะในส่วนของสำนักงานพื้นที่พิเศษเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีที่มีอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับไปเป็นของสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นการโอนไปโดยผลของกฎหมาย การโอนโดยผลของกฎหมายดังกล่าวจึงไม่ใช่การขายตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นําไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5 (6) แห่ง ป.รัษฎากร ข้อ 2 (4) และไม่นํานิยามคําว่า "ขาย" ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (8) มาใช้ในกรณีนี้ ดังนั้น ภาษีซื้อจากการก่อสร้างอาคารดังกล่าวจึงไม่เป็นภาษีซื้อต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/5 (6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คเพื่อชำระหนี้ที่ยังไม่เกิด ไม่ครบองค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.เช็ค
ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย อันเป็นองค์ประกอบในการกระทำความผิด แต่จำเลยออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้แก่ อ. ไว้ล่วงหน้า เพื่อให้ อ. ทำการก่อสร้างบ้านในเฟสที่ 2 แล้ว อ. นำเช็คสองฉบับดังกล่าวมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระค่าวัสดุก่อสร้างที่ อ. ซื้อไปจากโจทก์ โดยหนี้ค่าก่อสร้างยังไม่เกิดขึ้นขณะที่มีการออกเช็ค เมื่อต่อมาจำเลยได้เลิกสัญญาการก่อสร้างบ้านในเฟสที่ 2 โดยไม่มีการก่อสร้างบ้านในเฟสที่ 2 ย่อมไม่มีมูลหนี้ตามเช็คทั้งสองฉบับ จำเลยออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับโดยมิใช่เป็นการชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิด จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
of 31