คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อจำกัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 541 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548-2549/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาห้ามแข่งขันหลังพ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง: ข้อจำกัดต้องสมเหตุสมผล ไม่ตัดสิทธิประกอบอาชีพโดยสิ้นเชิง
สัญญาที่บริษัทโจทก์ทำกับจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างว่าภายในกำหนดเวลา 24 เดือน นับแต่สัญญาจ้างสิ้นสุดลง ลูกจ้างจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือดำเนินการไม่ว่าจะเป็นโดยตรงหรือโดยอ้อมกับการพัฒนา ทำ ผลิต หรือจำหน่าย (สุดแต่ จะพึงปรับได้ กับกรณีของลูกจ้าง) ซึ่งผลิตภัณฑ์อันเป็นการแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ของบริษัทโจทก์ที่ตนได้เคยมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วยในระหว่างที่ทำงานกับบริษัทโจทก์ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัทโจทก์ สัญญาดังกล่าวไม่ได้ห้ามจำเลยทั้งสองไม่ให้กระทำโดยเด็ดขาด คงห้ามจำเลยเฉพาะสิ่งที่เป็นการแข่งขันกับงานของบริษัทโจทก์ และในส่วนของงานที่จำเลยเคยทำกับบริษัทโจทก์ ทั้งเป็นการห้ามเพียงตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าวข้างต้นเท่านั้น ไม่เป็นการตัดการประกอบอาชีพของจำเลยทั้งหมดเสียทีเดียว จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่รักษาสิทธิและประโยชน์ของคู่กรณีในเชิงการประกอบธุรกิจโดยชอบไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีแพ่ง: การแก้ไขคำพิพากษาเล็กน้อยและทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้โจทก์ 7,500 บาทศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ 44,067 บาทตามฟ้องเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกิน50,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาประเด็นใหม่ & การคำนวณค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ
ปัญหาที่ว่าโจทก์นำรถคันที่เช่าซื้อ ออกขายทอดตลาดโดย ไม่สุจริต ราคาต่ำ กว่าความเป็นจริงนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้าม ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระเงินค่าติดตามรถ แก่โจทก์โดย ที่โจทก์มิได้ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยทั้งสองให้ชำระเงินจำนวนนี้ เป็นการพิพากษาเกินคำขอ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาประเด็นใหม่ & การพิพากษาเกินคำขอในคดีเช่าซื้อ
ปัญหาที่ว่าโจทก์นำรถคันที่เช่าซื้อออกขายทอดตลาดโดยไม่สุจริตราคาต่ำกว่าความเป็นจริงนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระเงินค่าติดตามรถแก่โจทก์โดยที่โจทก์มิได้ขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสองชำระเงินจำนวนนี้เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2034/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง
คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้นต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ ขณะยื่นฎีกา แม้ศาลชั้นต้น/อุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง ก็อาจถูกจำกัดสิทธิฎีกาได้
การพิจารณาว่าคดีโจทก์จะฎีกาได้หรือไม่ ต้องพิจารณาตามตัวบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นฎีกา ดังนี้เมื่อ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 17) ใช้บังคับแล้วและคดีของโจทก์ต้องห้ามฎีกา ตามมาตรา 220 ที่แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อาจฎีกาได้ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่แก้ไขใหม่ แม้ฟ้องยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โจทก์ยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2533 หลังจาก พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมป.วิ.อ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 ใช้ บังคับแล้ว โจทก์จึงฎีกาไม่ได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมป.วิ.อ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 13 เพราะการพิจารณาว่าโจทก์ฎีกาได้ หรือไม่ต้อง พิจารณาตาม กฎหมายที่ใช้ อยู่ในขณะยื่น ฎีกา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1171/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และการแก้ไขเพิ่มเติม
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาแจ้งความเท็จดังนั้น ข้อหาดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 13

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1135/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของกรรมการบริษัท: หนังสือมอบอำนาจ & ข้อจำกัดในหนังสือรับรอง
หนังสือรับรองการจดทะเบียนท้ายฟ้องมิได้มีข้อจำกัดอำนาจของกรรมการไว้ ผู้ลงชื่อแทนโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจก็เป็นกรรมการของบริษัท และประทับตราสำคัญของบริษัท แม้โจทก์ไม่มีหนังสือรับรองของสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทมาแสดงว่ากรรมการกี่คนมีอำนาจทำการแทนบริษัทได้ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ได้ระบุในฟ้องและนำสืบแล้วว่า กรรมการที่จะลงชื่อผูกพันบริษัทได้คือกรรมการสองคนลงชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท ซึ่งไม่ขัดกับหนังสือรับรองการจดทะเบียนท้ายฟ้อง ทั้งฝ่ายจำเลยก็มิได้โต้แย้งว่าไม่ถูกต้องอย่างใด หากศาลสงสัยว่าใบมอบอำนาจกระทำโดยผู้ไม่มีอำนาจ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้โจทก์ส่งหนังสือรับรองอำนาจจัดการของโจทก์ของสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 66 ถือได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4381/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยและการแก้ไขเล็กน้อยของศาลอุทธรณ์
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะเรื่องดอกเบี้ย เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก
of 55