พบผลลัพธ์ทั้งหมด 334 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7115/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำให้การหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยาน: ศาลอนุญาตได้หากไม่กระทบความสงบเรียบร้อย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์แล้วนัดฟังคำพิพากษา จึงไม่มีวันชี้สองสถานและวันสืบพยาน จำเลยที่ 3 ย่อมจะยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การนอกจากที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยที่ 3 แก้ไขคำให้การได้แล้วจะเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6157/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องสัญญาจะซื้อจะขาย & ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาความสงบเรียบร้อยของประชาชนได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ให้สัญญาว่า เมื่อ อ. หรือพี่น้องในตระกูลนำเงิน 127,000 บาท ไปคืนแก่จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ก็จะโอนที่ดินพิพาทและบ้านคืนให้ทันที จำเลยที่ 1 ให้การว่าโจทก์ตกลงซื้อที่ดินพิพาทคืน แต่ตกลงกันในราคาเท่าที่จำเลยที่ 1 มีภาระผูกพันอยู่กับจำเลยที่ 2 และโจทก์วางเงินมัดจำให้แก่จำเลยที่ 1 ไว้ 127,000 บาท ส่วนที่เหลือโจทก์จะไปตกลงกับจำเลยที่ 2 แต่โจทก์ไม่ไปดำเนินการกับจำเลยที่ 2 เอง ซึ่งเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 รับว่าจะขายที่ดินคืนให้แก่โจทก์แต่ตกลงไว้ในราคาอื่น และจำเลยที่ 1 รับมัดจำไว้แล้ว การตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงเข้าลักษณะสัญญาจะซื้อจะขาย และโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทพร้อมบ้านให้แก่โจทก์จึงเป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายเป็นประเด็นหลัก ส่วนเรื่องที่โจทก์ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายระหว่าง อ. กับจำเลยที่ 1 เป็นประเด็นรองและการที่จำเลยที่ 1 ไม่โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทและบ้านให้แก่โจทก์จึงใช่เรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) บัญญัติว่า ในคดีที่อาจยกข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นอ้างได้นั้น เมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะยกข้อเหล่านั้นขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปก็ได้ ซึ่งมาตรา 142 เป็นบทบัญญัติในภาค 1 บททั่วไปสำหรับทุกชั้นศาล ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงมีอำนาจยกปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นวินิจฉัยตามบทบัญญัติดังกล่าวได้โดยตรง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) บัญญัติว่า ในคดีที่อาจยกข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นอ้างได้นั้น เมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะยกข้อเหล่านั้นขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปก็ได้ ซึ่งมาตรา 142 เป็นบทบัญญัติในภาค 1 บททั่วไปสำหรับทุกชั้นศาล ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงมีอำนาจยกปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นวินิจฉัยตามบทบัญญัติดังกล่าวได้โดยตรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5718/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงินที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมเป็นโมฆะ
โจทก์ให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงิน โดยโจทก์มีจุดประสงค์ให้จำเลยที่ 1 นำเงินที่ได้รับจากโจทก์ไปใช้ในการวิ่งเต้นกับคณะกรรมการคุมสอบเพื่อให้ช่วยเหลือบุตรสาวโจทก์ให้ผ่านการสอบคัดเลือกด้วยวิธีการอันมิชอบ ซึ่งจะทำให้บุตรสาวโจทก์ได้เปรียบผู้สมัครสอบรายอื่น และทำให้การวัดผลไม่เป็นไปอย่างเที่ยงธรรมตรงไปตรงมา ก่อให้เกิดผลเสียหายแก่ทางราชการ วัตถุประสงค์ของการทำสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์และจำเลยจึงขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์จึงไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามหนังสือสัญญากู้เงินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4588/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ผลงานมีลิขสิทธิ์เป็นเครื่องหมายการค้าขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายและอาจขัดต่อความสงบเรียบร้อย
การนำงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้า แม้จะไม่ปรากฏข้อห้ามในกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าโดยตรง แต่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8 ได้บัญญัติห้ามมิให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะของเครื่องหมายที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือรัฐประศาสโนบาย เมื่อเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ต้องการที่จะให้ความคุ้มครองแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ และเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าก็มุ่งที่จะให้ความคุ้มครองแก่บุคคลผู้กระทำการโดยสุจริตเป็นสำคัญ ดังนั้น การที่บุคคลใดทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นโดยวิธีใด ๆ อันไม่สุจริต และนำไปใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของตน ย่อมเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย และขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือรัฐประศาสโนบาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3461/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดก่อสร้างอาคาร และการยกข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของศาล
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 21 มาตรา 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ความผิดดังกล่าวจึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (4) โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2549 จึงเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2544 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยกระทำความผิดคดีสำหรับความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) และต้องยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าวเสียตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2099/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและการเป็นปัญหาความสงบเรียบร้อยของประชาชน: กรณีซื้อที่ดินแทนบริษัท
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ในคดีแพ่งนั้นจะเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับแต่ละปัญหาเป็นกรณี ๆ ไป หาใช่ว่าเมื่อเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ในคดีแพ่งแล้ว จะต้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนทุกกรณีไม่ คดีนี้การที่จำเลยหยิบยกปัญหาว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์เองหรือซื้อแทนบริษัท จ. ขึ้นในชั้นอุทธรณ์เพื่อตั้งประเด็นข้อต่อสู้ว่า กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมิได้เป็นของโจทก์ อีกทั้งบริษัท จ. ผู้ซื้อมิได้มอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น แม้จะเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องก็ตาม แต่ก็หาใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8877/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม เหตุจำเลยไม่ยกประเด็นอำนาจฟ้องในชั้นอุทธรณ์ แม้เป็นปัญหาความสงบเรียบร้อย
แม้จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายชนะคดีไม่จำต้องอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาก็ตาม แต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 ยังไม่ชำระหนี้ จำเลยที่ 1 ก็มีสิทธิที่จะยกประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นแก้อุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัย แต่จำเลยที่ 1 คงแก้อุทธรณ์เฉพาะปัญหาว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แล้วหรือไม่ ประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และถือเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องจะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่จำเลยที่ 1 สามารถยกขึ้นต่อสู้ได้ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวต้องเป็นเรื่องที่ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้นหรือในชั้นอุทธรณ์ หาใช่ประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องยุติไปแล้วไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6440/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลยในคดีขับรถเสพยา ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขได้ แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 57, 91 พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ มาตรา 102 (3 ทวิ), 127 ทวิ วรรคสอง พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157 ทวิ วรรคสอง การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ มาตรา 102 (3ทวิ), 127 ทวิ วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 57, 91 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ยกคำขอให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยซึ่งเป็นการปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลยไม่ถูกต้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมมีอำนาจปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้โดยพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157 ทวิ วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 91 กับให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยมีกำหนด 6 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งปัญหาดังงกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ก็ยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 343/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การอุทธรณ์ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลล่าง และประเด็นที่ไม่ใช่ความสงบเรียบร้อยของประชาชน
จำเลยทั้งหกให้การแต่เพียงว่า บ. เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างแต่ใช้ชื่อห้างโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 1 โจทก์มอบอำนาจให้ บ. เป็นผู้รับเงินค่าจ้างแทน จำเลยทั้งหกจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินให้แก่โจทก์อีก และศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ได้รับเงินค่าจ้างก่อสร้างปรับปรุงถนนตามฟ้องจากจำเลยที่ 1 ไว้ถูกต้องแล้วหรือไม่ และจำเลยทั้งหกและจำเลยร่วมต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่าโจทก์เชิดจำเลยร่วมขึ้นเป็นตัวแทนก็ดี หรือการที่โจทก์ลงลายมือชื่อของตนไว้ในหนังสือมอบอำนาจและให้จำเลยร่วมนำหนังสือดังกล่าวมากรอกข้อความในทำนองว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยร่วมเป็นผู้รับเงินแทน ถือเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ดี ล้วนแต่เป็นการอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของกรรมการลูกจ้าง และอำนาจฟ้องที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อย
ศาลแรงงานกลางพิจารณาพยานหลักฐานโจทก์และจำเลยแล้วเห็นว่าสหภาพแรงงาน อ. จัดประชุมแต่งตั้งโจทก์และ ย. เป็นกรรมการลูกจ้าง โดยขณะที่จัดให้มีการประชุมนั้น ธ. ในฐานะประธานสหภาพแรงงานดังกล่าวทราบดีอยู่แล้วว่าโจทก์และ ย. มีเหตุทะเลาะวิวาทกันในที่ทำงานและในเวลาทำงาน โจทก์ถูกพักงานระหว่างสอบสวน แต่สหภาพแรงงานยังแต่งตั้งโจทก์และ ย. เป็นกรรมการลูกจ้าง ทั้งที่ย่อมคาดหมายได้ว่าโจทก์กับ ย. จะถูกจำเลยเลิกจ้าง การประชุมของสหภาพแรงงานดังกล่าวจัดให้มีขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2547 เวลาประมาณเที่ยงคืน ที่หน้าบ้านพักของ ธ. ไม่จัดให้เป็นกิจจะลักษณะ พฤติการณ์ทั้งหลายส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตในการแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างผิดทำนองคลองธรรม ขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมาย โจทก์อาศัยเหตุดังกล่าวเป็นมูลฟ้องร้องจำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นการวินิจฉัยไปถึงอำนาจฟ้องของโจทก์อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลแรงงานกลางก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 ที่ว่า ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน เป็นบทบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองกรรมการลูกจ้างในบางกรณีอาจเป็นการขัดต่อผลประโยชน์ของนายจ้าง นายจ้างจึงไม่อาจพอใจและกลั่นแกล้งกรรมการลูกจ้างได้ การที่นายจ้างจะเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทำงานอยู่ต่อไปได้ จึงจำต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเพื่อให้ศาลแรงงานตรวจสอบเสียก่อนว่านายจ้างมีเหตุผลสมควรที่จะกระทำการดังกล่าวนั้นหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์กับ ย. มีเหตุทะเลาะวิวาทกันในที่ทำงานและในเวลาทำงาน จำเลยแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนและระหว่างสอบสวนโจทก์ถูกพักงาน โดยขณะนั้นโจทก์ยังมิได้รับการแต่งตั้งในเป็นกรรมการลูกจ้าง ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในขณะที่ยังไม่ทราบว่าโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้าง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิได้เป็นเพราะจำเลยไม่พอใจการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ในฐานะที่เป็นกรรมการลูกจ้างหรือไม่พอใจเนื่องจากโจทก์ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการลูกจ้าง ยิ่งไปกว่านั้นในขณะจัดให้มีการประชุมเพื่อแต่งตั้งโจทก์กับ ย. เป็นกรรมการลูกจ้างนั้น ธ. ในฐานะประธานสหภาพแรงงาน อ. ก็ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยแต่งตั้งกรรมการเพื่อสอบสวนและโจทก์ถูกพักงานระหว่างสอบสวน แต่สหภาพแรงงาน อ. ก็ยังแต่งตั้งโจทก์กับ ย. เป็นกรรมการลูกจ้างทั้งที่ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าโจทก์กับ ย. จะถูกจำเลยเลิกจ้าง โดยการประชุมก็จัดขึ้นอย่างเร่งด่วนและมิได้จัดขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะ เมื่อพฤติการณ์ทั้งหลายส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตในการแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างผิดทำนองคลองธรรมและขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ซึ่งโจทก์ก็อาศัยเหตุนี้มาเป็นมูลฟ้องร้องจำเลยอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเช่นนี้ โจทก์จึงไม่อาจอาศัยเหตุแห่งการเป็นกรรมการลูกจ้างมาขอความคุ้มครองจากศาลแรงงานกลางเพื่อให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างกับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานและชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 ที่ว่า ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน เป็นบทบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองกรรมการลูกจ้างในบางกรณีอาจเป็นการขัดต่อผลประโยชน์ของนายจ้าง นายจ้างจึงไม่อาจพอใจและกลั่นแกล้งกรรมการลูกจ้างได้ การที่นายจ้างจะเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทำงานอยู่ต่อไปได้ จึงจำต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเพื่อให้ศาลแรงงานตรวจสอบเสียก่อนว่านายจ้างมีเหตุผลสมควรที่จะกระทำการดังกล่าวนั้นหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์กับ ย. มีเหตุทะเลาะวิวาทกันในที่ทำงานและในเวลาทำงาน จำเลยแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนและระหว่างสอบสวนโจทก์ถูกพักงาน โดยขณะนั้นโจทก์ยังมิได้รับการแต่งตั้งในเป็นกรรมการลูกจ้าง ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในขณะที่ยังไม่ทราบว่าโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้าง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิได้เป็นเพราะจำเลยไม่พอใจการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ในฐานะที่เป็นกรรมการลูกจ้างหรือไม่พอใจเนื่องจากโจทก์ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการลูกจ้าง ยิ่งไปกว่านั้นในขณะจัดให้มีการประชุมเพื่อแต่งตั้งโจทก์กับ ย. เป็นกรรมการลูกจ้างนั้น ธ. ในฐานะประธานสหภาพแรงงาน อ. ก็ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยแต่งตั้งกรรมการเพื่อสอบสวนและโจทก์ถูกพักงานระหว่างสอบสวน แต่สหภาพแรงงาน อ. ก็ยังแต่งตั้งโจทก์กับ ย. เป็นกรรมการลูกจ้างทั้งที่ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าโจทก์กับ ย. จะถูกจำเลยเลิกจ้าง โดยการประชุมก็จัดขึ้นอย่างเร่งด่วนและมิได้จัดขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะ เมื่อพฤติการณ์ทั้งหลายส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตในการแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างผิดทำนองคลองธรรมและขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ซึ่งโจทก์ก็อาศัยเหตุนี้มาเป็นมูลฟ้องร้องจำเลยอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเช่นนี้ โจทก์จึงไม่อาจอาศัยเหตุแห่งการเป็นกรรมการลูกจ้างมาขอความคุ้มครองจากศาลแรงงานกลางเพื่อให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างกับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานและชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้