พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาซื้อขายที่ดินบางส่วนสำคัญกว่าถ้อยคำในสัญญาประนีประนอม การตีความต้องตรงตามเจตนาของคู่กรณี
โจทก์ฟ้องให้จำเลยแบ่งขายที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 137 ให้แก่โจทก์บางส่วนในราคา 52,000 บาท แล้วคู่ความตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจำเลยยอมขายที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 137 ให้แก่โจทก์ในราคา 52,000 บาท ดังนี้ เมื่อคำบรรยายฟ้องและเอกสารการขอจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าวก็ระบุว่าจำเลยตกลงแบ่งขายที่ดินเพียงบางส่วน ราคาที่ดินตามฟ้องก็เป็นราคาเดียวกับในสัญญาประนีประนอมยอมความ แสดงให้เห็นว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาอันแท้จริงที่จะตกลงซื้อขายที่ดินกันตามจำนวนเนื้อที่และเขตติดต่อที่ระบุในฟ้อง หาใช่ซื้อขายทั้งแปลงไม่ โจทก์จึงไม่อาจหยิบยกถ้อยคำในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ระบุว่าซื้อขายที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 137 ให้มีความหมายว่าเป็นการซื้อขายทั้งแปลงตามตัวอักษร เพราะเป็นการตีความสัญญาซึ่งไม่ตรงตามประสงค์ของคู่กรณีและเป็นไปในทางไม่สุจริตอันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 368
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาซื้อขายที่ดินบางส่วน: การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความต้องสอดคล้องกับเจตนาของคู่กรณีและข้อเท็จจริงที่ปรากฏ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยแบ่งขายที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่137 ให้แก่โจทก์บางส่วนในราคา 52,000 บาท แล้วคู่ความตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจำเลยยอมขายที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 137 ให้แก่โจทก์ในราคา 52,000 บาท ดังนี้เมื่อคำบรรยายฟ้องและเอกสารการขอจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าวก็ระบุว่าจำเลยตกลงแบ่งขายที่ดินเพียงบางส่วนราคาที่ดินตามฟ้องก็เป็นราคาเดียวกับในสัญญาประนีประนอมยอมความ แสดงให้เห็นว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาอันแท้จริงที่จะตกลงซื้อขายที่ดินกันตามจำนวนเนื้อที่และเขตติดต่อที่ระบุในฟ้อง หาใช่ซื้อขายทั้งแปลงไม่ โจทก์จึงไม่อาจหยิบยกถ้อยคำในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ระบุว่าซื้อขายที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 137 ให้มีความหมายว่าเป็นการซื้อขายทั้งแปลงตามตัวอักษร เพราะจะเป็นการตีความสัญญาซึ่งไม่ตรงตามความประสงค์ของคู่กรณีและเป็นไปในทางไม่สุจริตอันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 368
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2134/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิริบเงินมัดจำจากการซื้อขายที่ดิน แม้มีการล้มละลายของคู่สัญญา ผู้ขายยังคงมีสิทธิริบได้
จำเลยทำสัญญาจะซื้อที่ดินและวางเงินมัดจำไว้จำนวนหนึ่ง ต่อมาจำเลยไม่สามารถชำระราคา เกรงจะถูกริบเงินมัดจำ จึงให้ผู้ร้องชำระราคาที่เหลือให้ผู้ร้องครอบครองและรับโอนมา โดยผู้ร้องกับจำเลยตกลงกันว่า ผู้ร้องจะต้องขายที่ดินนี้ให้แก่จำเลยภายใน 1 ปี และให้ถือว่าเงินที่จำเลยวางมัดจำไว้เป็นเงินมัดจำที่จำเลยวางกับผู้ร้อง ดังนี้เป็นการแสดงเจตนาร่วมกันให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิของเจ้าของที่ดินนั้นเอง ปรับได้กับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 ข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่าผู้ร้องมิได้รับเงินมัดจำเป็นตัวเงินนั้น หาได้ลบล้างการแสดงเจตนาของคู่กรณีหรือทำให้ผลในการกฎหมายของกรณีนี้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่ เงินนี้จึงเป็นเงินมัดจำ
การที่เจ้าพนักงานพิทักทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้มีอยู่ต่อบุคคลใดตามความในมาตรา 122 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายนั้น มีความหมายว่า ในฐานะที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับมา มิใช่หมายถึงว่าจะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นเช่นผู้ร้องจะพึงได้รับไป ฉะนั้น ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาระหว่างผู้ร้องกับจำเลยดังกล่าว จึงมิได้ทำให้สิทธิของผู้ร้องตามสัญญาในการที่จะริบเงินมัดจำต้องสูญสิ้นไปแต่ประการใด
การที่เจ้าพนักงานพิทักทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้มีอยู่ต่อบุคคลใดตามความในมาตรา 122 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายนั้น มีความหมายว่า ในฐานะที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับมา มิใช่หมายถึงว่าจะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นเช่นผู้ร้องจะพึงได้รับไป ฉะนั้น ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาระหว่างผู้ร้องกับจำเลยดังกล่าว จึงมิได้ทำให้สิทธิของผู้ร้องตามสัญญาในการที่จะริบเงินมัดจำต้องสูญสิ้นไปแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1994/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินที่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระราคา ไม่เข้าข่ายฉ้อโกง หากยินยอม
ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องการซื้อขายที่ดิน โดยโจทก์ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้จำเลยแล้ว และจำเลยได้ชำระราคาให้โจทก์บางส่วน ส่วนที่เหลือจำเลยได้ตกลงชำระให้โจทก์เป็นงวด ๆ ให้เสร็จสิ้นใน 1 ปี 6 เดือน แม้ภายหลังจำเลยกลับทำสัญญากู้ให้ไว้แทนโดยมีกำหนดชำระเงินภายใน 5 ปี แต่โจทก์ก็ยินยอมลงนามในสัญญากู้แล้วนั้น ข้อกล่าวหาของโจทก์ดังนี้ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1994/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินและสัญญากู้: ไม่เข้าข่ายฉ้อโกงเมื่อยินยอมเปลี่ยนสัญญา
ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องการซื้อขายที่ดิน โดยโจทก์ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้จำเลยแล้วและจำเลยได้ชำระราคาให้โจทก์บางส่วน ส่วนที่เหลือจำเลยได้ตกลงชำระให้โจทก์เป็นงวดๆให้เสร็จสิ้นใน 1 ปี 6 เดือน แม้ภายหลังจำเลยกลับทำสัญญากู้ให้ไว้แทนโดยมีกำหนดชำระเงินกู้ภายใน 5 ปีแต่โจทก์ก็ยินยอมลงนามในสัญญากู้นั้นแล้ว ข้อกล่าวหาของโจทก์ดังนี้ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1899/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้โดยเสน่หาเพื่อตอบแทนอุปการะและการซื้อขายที่ดิน: ศาลฎีกาตัดสินเรื่องการยกทรัพย์สินให้หลานและข้อพิพาทเรื่องการซื้อขาย
โจทก์กับ ช.เป็นสามีภรรยาไม่มีบุตรด้วยกัน จำเลยเป็นหลานของ ช.ช. ยกที่ดินแปลงพิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้จำเลยครึ่งหนึ่งโดยเสน่หา ขณะที่ ช.ยกที่พิพาทให้จำเลยนั้น ทั้งโจทก์และช.ต่างมีอายุ 70 ปีเศษแล้ว เมื่อ ช.ป่วย. จำเลยได้ดูแลปรนนิบัติและรักษาพยาบาลช.ทั้งช่วยออกเงินค่ารักษาพยาบาลแต่ผู้เดียว.การที่ช. ยกที่ดินแปลงพิพาทให้จำเลยครึ่งหนึ่ง จึงเป็นการให้เพื่อตอบแทนความอุปการะช่วยเหลือ และเป็นการให้โดยเสน่หาตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีของกฎหมาย โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอน
จำเลยให้การว่า จำเลยกับ ช.ร่วมกันซื้อที่ดินแปลงพิพาทโดยออกเงินคนละครึ่งแต่ในชั้นพิจารณาจำเลยกลับนำสืบว่า ช.ซื้อที่ดินแปลงพิพาทผู้เดียว ต่อมา ช.จึงขายที่ดินดังกล่าวให้จำเลยครึ่งหนึ่ง ดังนี้ เป็นการนำสืบข้อความนอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยให้การว่า จำเลยกับ ช.ร่วมกันซื้อที่ดินแปลงพิพาทโดยออกเงินคนละครึ่งแต่ในชั้นพิจารณาจำเลยกลับนำสืบว่า ช.ซื้อที่ดินแปลงพิพาทผู้เดียว ต่อมา ช.จึงขายที่ดินดังกล่าวให้จำเลยครึ่งหนึ่ง ดังนี้ เป็นการนำสืบข้อความนอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1687/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินมือเปล่าก่อนการเสียชีวิตของผู้ขายและสิทธิเรียกร้องในการจดทะเบียน
ส. ขายที่ดินมือเปล่าแก่โจทก์ส่งมอบให้ครอบครองแล้วระหว่าง ส.ประกาศรังวัดแบ่งขายส. ตาย จำเลยผู้เป็นทายาทกลับคัดค้านต่ออำเภอ โจทก์ฟ้องให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนได้ คดีไม่ใช่ฟ้องเรียกทรัพย์มรดก ไม่ขาดอายุความ 1 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 160/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดิน: การพิสูจน์การชำระเงิน
หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินมีข้อความว่าได้รับชำระราคาครบถ้วนแล้ว ผู้ขายนำสืบพยานบุคคลไม่ได้ว่าตกลงกันให้ไปรับเงินที่บ้านผู้ซื้อแล้วผู้ซื้อไม่ชำระเงิน ต้องห้ามตามมาตรา 94(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดิน: เหตุผลที่ไม่สุจริตของผู้ขายไม่ใช่เหตุเลิกสัญญาตามกฎหมาย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินคืน
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์ โจทก์วางมัดจำ 3,000 บาทค่าที่ดินตกลงชำระกันเป็นงวด ๆ เมื่อได้ชำระค่าที่ดินไปบ้างแล้วโจทก์ฟ้องให้จำเลยคืนเงินและเช็คที่ได้ชำระค่าที่ดินไปตามสำเนาหนังสือบอกเลิกสัญญาท้ายฟ้อง อ้างเหตุแตกร้าวที่โจทก์ถูกตำรวจจับเรื่องอายัดเช็ค ทั้งหาว่าจำเลยผิดสัญญาไม่สามารถไปโอนโฉนดให้แต่ตามฟ้องโจทก์หาได้กล่าวอ้างตั้งประเด็นว่า จำเลยทำผิดสัญญาแต่ประการใดไม่ กลับอ้างว่าจำเลยไม่สุจริตพยายามกลั่นแกล้งให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนอับอายโดยถูกพนักงานสอบสวนควบคุมตัวจึงไม่ประสงค์ซื้อที่ดินต่อไป ดังนี้แสดงว่า เหตุเลิกสัญญาไม่ใช่เกิดจากจำเลยทำผิดสัญญาข้อใด ๆ แต่เป็นเพราะโจทก์ไม่พอใจจำเลย จึงไม่ต้องการซื้อที่ดินเท่านั้น
การเลิกสัญญานอกจากจะได้ระบุไว้ชัดในสัญญาว่า ให้เลิกกัน ได้อย่างไรแล้วก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายคือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387, 388, 389 และมาตรา 466 ฯลฯ แม้ตามสัญญาจะระบุว่า ถ้าผู้ซื้อ(โจทก์)ผิดสัญญาโดยไม่ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าว ผู้ซื้อยอมให้ผู้ขาย(จำเลย)ริบเงินมัดจำก็เป็นแต่ข้อสัญญาที่ให้ถือปฏิบัติไปตามมาตรา 378นั่นเอง จะแปลเลยไปถึงกับว่าเมื่อโจทก์แสดงเจตนาไม่ซื้อที่ดินแล้วเท่ากับผิดสัญญาแล้วหาได้ไม่ เพราะการทำผิดสัญญาก็ยังไม่เกิดขึ้นสัญญาข้อนี้ไม่ได้ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะบอกเลิกสัญญากับจำเลยได้อย่างใด การที่โจทก์บอกปัดเลิกสัญญาเสียตามชอบใจไม่มีผลให้สัญญาจะซื้อขายระงับสิ้นความผูกพันต่อกัน โจทก์จะเรียกร้องเอาค่าที่ดินที่ชำระไปแล้วคืนโดยอาศัยสิทธิเรียกเงินคืนจากการเลิกสัญญาตามมาตรา 391 ไม่ได้
สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทนคู่สัญญาจะต้องพร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญาทั้งสองฝ่ายพร้อม ๆ กันตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 369 จำเลยจะบังคับให้โจทก์ชำระค่าที่ดินไปก่อนทำการโอนตลอดจนส่งมอบที่ดินคืนตามฟ้องแย้งไม่ได้
การเลิกสัญญานอกจากจะได้ระบุไว้ชัดในสัญญาว่า ให้เลิกกัน ได้อย่างไรแล้วก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายคือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387, 388, 389 และมาตรา 466 ฯลฯ แม้ตามสัญญาจะระบุว่า ถ้าผู้ซื้อ(โจทก์)ผิดสัญญาโดยไม่ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าว ผู้ซื้อยอมให้ผู้ขาย(จำเลย)ริบเงินมัดจำก็เป็นแต่ข้อสัญญาที่ให้ถือปฏิบัติไปตามมาตรา 378นั่นเอง จะแปลเลยไปถึงกับว่าเมื่อโจทก์แสดงเจตนาไม่ซื้อที่ดินแล้วเท่ากับผิดสัญญาแล้วหาได้ไม่ เพราะการทำผิดสัญญาก็ยังไม่เกิดขึ้นสัญญาข้อนี้ไม่ได้ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะบอกเลิกสัญญากับจำเลยได้อย่างใด การที่โจทก์บอกปัดเลิกสัญญาเสียตามชอบใจไม่มีผลให้สัญญาจะซื้อขายระงับสิ้นความผูกพันต่อกัน โจทก์จะเรียกร้องเอาค่าที่ดินที่ชำระไปแล้วคืนโดยอาศัยสิทธิเรียกเงินคืนจากการเลิกสัญญาตามมาตรา 391 ไม่ได้
สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทนคู่สัญญาจะต้องพร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญาทั้งสองฝ่ายพร้อม ๆ กันตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 369 จำเลยจะบังคับให้โจทก์ชำระค่าที่ดินไปก่อนทำการโอนตลอดจนส่งมอบที่ดินคืนตามฟ้องแย้งไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเชิดตัวแทนในการซื้อขายที่ดิน เจ้าของที่ดินต้องรับผิดชอบต่อสัญญา
จำเลยเป็นเจ้าของที่ดิน ให้ผู้อื่นทำการจัดสรรแบ่งที่ดินขาย โจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินนั้นกับผู้จัดสรร โดยจำเลยลงชื่อเป็นพยานและผู้ให้คำยินยอม ย่อมถือได้ว่าจำเลยเชิดผู้จัดสรรออกเป็นตัวแทน หรือยอมให้ผู้จัดสรรเชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของตนในการขายที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยฎีกาว่า ฟ้องเคลือบคลุมและคดีขาดอายุความ โดยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
จำเลยฎีกาว่า ฟ้องเคลือบคลุมและคดีขาดอายุความ โดยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้