พบผลลัพธ์ทั้งหมด 490 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1701/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการมรดกขายฝากทรัพย์มรดก และความรับผิดของเจ้าพนักงานที่ดิน
ผู้จัดการมรดกมีอำนาจขายฝากทรัพย์มรดก (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1236/2491) เมื่อขายแล้วไม่แบ่งเงินให้ทายาทก็เป็นเรื่องระหว่างผู้จัดการมรดกกับทายาทที่จะว่ากล่าวกันต่างหาก หาทำให้นิติกรรมซื้อขายที่ผู้จัดการมรดกทำไปเป็นโมฆะไม่
การที่เจ้าพนักงานที่ดินรับจดทะเบียนขายฝากให้แก่ผู้จัดการมรดกโดยมิได้สอบสวนว่าทายาทได้ยินยอมและผู้จัดการมรดกมีเหตุผลในการขายสมควรอย่างไรหรือไม่นั้น ไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ เพราะไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติเช่นนั้น
การที่เจ้าพนักงานที่ดินรับจดทะเบียนขายฝากให้แก่ผู้จัดการมรดกโดยมิได้สอบสวนว่าทายาทได้ยินยอมและผู้จัดการมรดกมีเหตุผลในการขายสมควรอย่างไรหรือไม่นั้น ไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ เพราะไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติเช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1329/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องสอดเข้าเป็นคู่ความเพื่อคุ้มครองสิทธิในทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง และผลกระทบต่อสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่พิพาทให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยร่วมที่ 7 ร้องสอดอ้างว่าที่พิพาทตนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย โจทก์ไม่ใช่เจ้าของ และจำเลยไม่มีอำนาจนำที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยพลการ สัญญาไม่มีผลบังคับจำเลย ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องได้มีอยู่ จึงร้องสอดเข้ามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1) ดังนี้ แม้คำร้องจะกล่าวว่าขอเข้าเป็นจำเลยร่วม และเมื่อศาลสอบถามผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดก็แถลงยืนยันขอเป็นจำเลยร่วมก็ดีแต่เนื้อความแห่งคำร้อง การระบุมาตรา แสดงเหตุแห่งการขอเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามจึงเป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1)
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (2) โดยเป็นจำเลยร่วมที่ 7 แล้วพิจารณาและพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมทั้งเจ็ดคนแบ่งที่พิพาทให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และใช้ค่าเสียหาย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าตามคำร้องสอดของจำเลยร่วมที่ 7 เป็นการร้องสอดตามมาตรา 57 (1) และมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยคนละประเด็นกับที่จำเลยเดิมต่อสู้ไว้ จึงเป็นเหตุสมควรที่จะให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่ แต่ควรให้ดำเนินการพิจารณาใหม่ระหว่างผู้ร้องสอดกับโจทก์เท่านั้น ซึ่งเป็นการพิจารณาคดีใหม่บางส่วน ส่วนคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเมื่อผลแห่งคดีของจำเลยและผู้ร้องสอดเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความอันไม่อาจแบ่งแยกได้ ซึ่งมีผลไปถึงเจ้าของรวมคนอื่นคือจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 ด้วย จึงต้องให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 เสียด้วย
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (2) โดยเป็นจำเลยร่วมที่ 7 แล้วพิจารณาและพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมทั้งเจ็ดคนแบ่งที่พิพาทให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และใช้ค่าเสียหาย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าตามคำร้องสอดของจำเลยร่วมที่ 7 เป็นการร้องสอดตามมาตรา 57 (1) และมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยคนละประเด็นกับที่จำเลยเดิมต่อสู้ไว้ จึงเป็นเหตุสมควรที่จะให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่ แต่ควรให้ดำเนินการพิจารณาใหม่ระหว่างผู้ร้องสอดกับโจทก์เท่านั้น ซึ่งเป็นการพิจารณาคดีใหม่บางส่วน ส่วนคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเมื่อผลแห่งคดีของจำเลยและผู้ร้องสอดเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความอันไม่อาจแบ่งแยกได้ ซึ่งมีผลไปถึงเจ้าของรวมคนอื่นคือจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 ด้วย จึงต้องให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 เสียด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1329/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องสอดตามมาตรา 57(1) เพื่อคุ้มครองสิทธิในทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง และผลกระทบต่อสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่พิพาทให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยร่วมที่ 7 ร้องสอดอ้างว่าที่พิพาทตนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย โจทก์ไม่ใช่เจ้าของ และจำเลยไม่มีอำนาจนำที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยพลการ สัญญาไม่มีผลบังคับจำเลย ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องได้มีอยู่จึงร้องสอดเข้ามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ดังนี้ แม้คำร้องจะกล่าวว่าขอเข้าเป็นจำเลยร่วม และเมื่อศาลสอบถามผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดก็แถลงยืนยันขอเป็นจำเลยร่วมก็ดีแต่เนื้อความแห่งคำร้อง การระบุมาตรา แสดงเหตุแห่งการขอเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามจึงเป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) โดยเป็นจำเลยร่วมที่ 7แล้วพิจารณาและพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมทั้งเจ็ดคนแบ่งที่พิพาทให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และใช้ค่าเสียหาย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าตามคำร้องสอดของจำเลยร่วมที่ 7 เป็นการร้องสอดตามมาตรา 57(1) และมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยคนละประเด็นกับที่จำเลยเดิมต่อสู้ไว้ จึงเป็นเหตุสมควรที่จะให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่แต่ควรให้ดำเนินการพิจารณาใหม่ระหว่างผู้ร้องสอดกับโจทก์เท่านั้น ซึ่งเป็นการพิจารณาคดีใหม่บางส่วน ส่วนคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเมื่อผลแห่งคดีของจำเลยและผู้ร้องสอดเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความอันไม่อาจแบ่งแยกได้ ซึ่งมีผลไปถึงเจ้าของรวมคนอื่นคือจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 ด้วยจึงต้องให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 เสียด้วย
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) โดยเป็นจำเลยร่วมที่ 7แล้วพิจารณาและพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมทั้งเจ็ดคนแบ่งที่พิพาทให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และใช้ค่าเสียหาย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าตามคำร้องสอดของจำเลยร่วมที่ 7 เป็นการร้องสอดตามมาตรา 57(1) และมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยคนละประเด็นกับที่จำเลยเดิมต่อสู้ไว้ จึงเป็นเหตุสมควรที่จะให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่แต่ควรให้ดำเนินการพิจารณาใหม่ระหว่างผู้ร้องสอดกับโจทก์เท่านั้น ซึ่งเป็นการพิจารณาคดีใหม่บางส่วน ส่วนคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเมื่อผลแห่งคดีของจำเลยและผู้ร้องสอดเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความอันไม่อาจแบ่งแยกได้ ซึ่งมีผลไปถึงเจ้าของรวมคนอื่นคือจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 ด้วยจึงต้องให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 เสียด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมีทุนทรัพย์: การฟ้องเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและสัญญาแบ่งปันมรดกเพื่อเรียกร้องทรัพย์มรดกคืน
กรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและสัญญาแบ่งปันมรดก เป็นการฟ้องเรียกร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ผู้เป็นทายาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ (อ้างฎีกาที่ 2180/2517)
ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฟ้องของโจทก์โดยไม่ได้หมายเรียกจำเลยมาแก้คดี ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นรับฟ้อง จำเลยฎีกาได้ (อ้างฎีกาที่ 474/2503)
ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฟ้องของโจทก์โดยไม่ได้หมายเรียกจำเลยมาแก้คดี ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นรับฟ้อง จำเลยฎีกาได้ (อ้างฎีกาที่ 474/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 870/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้เช่าทรัพย์มรดกไม่ถือเป็นการย้ายทรัพย์หรือโอนให้ผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350
การที่จำเลยนำที่ดินซึ่งโจทก์กำลังฟ้องเรียกเอาจากจำเลยไปให้เช่าและจดทะเบียนการเช่านั้น ไม่ใช่เป็นการย้ายไปเสียหรือโอนไปให้ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 870/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้เช่าทรัพย์มรดกไม่เป็นการย้ายทรัพย์หรือโอนให้ผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350
การที่จำเลยนำที่ดินซึ่งโจทก์กำลังฟ้องเรียกเอาจากจำเลยไปให้เช่าและจดทะเบียนการเช่านั้น ไม่ใช่เป็นการย้ายไปเสียหรือโอนไปให้ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596-597/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท การโอนสิทธิ และการเรียกร้องสิทธิในที่ดินมรดก
เจ้ามรดกมีทายาท 9 คนรวมทั้งโจทก์และ พ.กับ น.จำเลยในคดีนี้ด้วย ทายาทอื่น 3 คนเคยฟ้องโจทก์ขอแบ่งที่พิพาทอันเป็นที่ดินมรดกซึ่งโจทก์มีชื่อใน น.ส.3 แทนทายาท จำเลยให้การสู้คดีโดยอ้างว่าได้ครอบครองเพื่อตน คดีนั้นศาลพิพากษาถึงที่สุดให้แบ่งที่พิพาทเป็น 9 ส่วน ให้ทายาทที่ฟ้องคนละ 1 ส่วน การที่โจทก์ถูกฟ้องและให้การต่อสู้คดีโดยอ้างว่าได้ครอบครองเพื่อตนนั้น หาใช่เป็นการบอกกล่าวไปยังทายาทอื่นที่ไม่ได้ฟ้องด้วยว่าโจทก์จะไม่เจตนายึดถือที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกไว้แทนต่อไปไม่ ตราบใดที่โจทก์ยังมิได้บอกกล่าวไปยังบทายาทอื่นว่าไม่เจตนาจะยึดถือที่พิพาทแทนต่อไป ก็ต้องถือว่าโจทก์ครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นด้วยดังเดิม พ.และ น.จำเลยคดีนี้ยังคงเป็นเจ้าของรวมในที่พิพาทในส่วนที่ยังมิได้โต้แย้งกัน ทั้งการฟ้องคดีขอแบ่งที่พิพาทอันเป็นมรดกนั้นทายาทอื่นซึ่งมีส่วนอยู่ด้วยไม่จำต้องฟ้องคดีหมดทุกคนก็ย่อมได้สิทธิ ตามส่วนที่จะรับมรดกตามคำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงส่วนของทายาทนั้น ๆ โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นจะอ้างเอาการต่อสู้คดีดังกล่าวว่าเป็นการเข้าแย่งการครอบครองเองหาได้ไม่ และไม่อยู่ในบังคับของเวลาสำหรับเรียกร้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง เมื่อคดีก่อนนั้นศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ครอบครองที่พิพาทไว้แทนทายาทอื่นซึ่งรวมถึง พ. และ น.จำเลยคดีนี้ด้วย พ. และ น. ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่ออำเภอขอให้ใส่ชื่อของตนใน น.ส.3 ตามสิทธิของตนได้ เมื่อใส่แล้วก็มีความชอบธรรมที่จะโอนขายส่วนของตนให้ผู้อื่นไปโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
จำเลยลงลายพิมพ์นิ้วมือตั้ง พ.เป็นทนายความ แม้จะมีพยานลงชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือเพียงคนเดียว แต่ พ.ก็ได้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาในฐานะทนายของจำเลยมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นจนถึงชั้นอุทธรณ์ โดยจำเลยยอมรับเอาผลของการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นตลอดมาและโจทก์ก็มิได้คัดค้านประการใดมาแต่ต้น ดังนี้ พ.จึงมีอำนาจที่จะฎีกาในฐานะทนายของจำเลยได้
จำเลยลงลายพิมพ์นิ้วมือตั้ง พ.เป็นทนายความ แม้จะมีพยานลงชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือเพียงคนเดียว แต่ พ.ก็ได้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาในฐานะทนายของจำเลยมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นจนถึงชั้นอุทธรณ์ โดยจำเลยยอมรับเอาผลของการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นตลอดมาและโจทก์ก็มิได้คัดค้านประการใดมาแต่ต้น ดังนี้ พ.จึงมีอำนาจที่จะฎีกาในฐานะทนายของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องเพิกถอนการโอนทรัพย์มรดกที่ไม่เป็นไปตามพินัยกรรม
โจทก์ทั้งสองและ อ. เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมแต่ อ.เป็นสามีจำเลยและมาเป็นพยานจำเลยซึ่งแสดงให้เห็นว่า อ. ไม่ต้องการฟ้องจำเลย ดังนี้โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้โอนทรัพย์พิพาทกลับคืนแก่กองมรดกเพื่อจัดแบ่งให้เป็นไปตามพินัยกรรมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1715 วรรคสอง (อ้างฎีกาที่ 1674/2516)
เมื่อเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมไว้และตั้งผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรมด้วย การแบ่งมรดกของผู้ตายแก่ทายาทจะต้องกระทำโดยผู้จัดการมรดกและผู้จัดการมรดกก็จะต้องจัดการแบ่งมรดกตามที่ผู้ตายได้ระบุไว้ในพินัยกรรมด้วยถ้าการแบ่งมรดกแก่ทายาทมิได้เป็นการแบ่งโดยผู้จัดการมรดก และเป็นการแบ่งที่มิได้เป็นไปตามพินัยกรรม แม้เจ้าพนักงานที่ดินจะจดทะเบียนลงชื่อจำเลยมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกที่พิพาทแล้วโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกก็ยังฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเสียได้ จำเลยต้องคืนให้แก่ผู้จัดการมรดกเพื่อจะนำไปจัดการแบ่งมรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรม
เมื่อเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมไว้และตั้งผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรมด้วย การแบ่งมรดกของผู้ตายแก่ทายาทจะต้องกระทำโดยผู้จัดการมรดกและผู้จัดการมรดกก็จะต้องจัดการแบ่งมรดกตามที่ผู้ตายได้ระบุไว้ในพินัยกรรมด้วยถ้าการแบ่งมรดกแก่ทายาทมิได้เป็นการแบ่งโดยผู้จัดการมรดก และเป็นการแบ่งที่มิได้เป็นไปตามพินัยกรรม แม้เจ้าพนักงานที่ดินจะจดทะเบียนลงชื่อจำเลยมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกที่พิพาทแล้วโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกก็ยังฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเสียได้ จำเลยต้องคืนให้แก่ผู้จัดการมรดกเพื่อจะนำไปจัดการแบ่งมรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความกับการสละมรดก: การตกลงชำระหนี้และสละสิทธิในทรัพย์มรดก
การที่ผู้ร้องเจาะจงสละที่ดินมรดกส่วนของผู้ร้องให้จำเลยโดยเฉพาะ ไม่ใช่การสละมรดกตามความในมาตรา 1612 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่การที่ผู้ร้องและจำเลยตกลงกันโดยทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อไว้ทั้งสองฝ่ายให้จำเลยเป็นผู้ใช้หนี้โจทก์แทนนาง อ. และผู้ร้องยอมสละที่ดินมรดกส่วนของตนให้จำเลย เช่นนี้มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 850 ใช้บังคับได้ และเมื่อผู้ร้องยอมสละส่วนมรดกของตนให้จำเลยไปแล้ว จึงไม่มีสิทธิขอกันส่วนจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินรายนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสำคัญผิดในฐานะทางกฎหมายไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งจำเลยทั้งสามได้ทำไว้กับโจทก์ จำเลยต่อสู้มีประเด็นเพียงว่าเหตุที่จำเลยทั้งสามยอมตกลงทำหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความให้โจทก์ไว้นั้น เป็นเพราะจำเลยทั้งสามหลงสำคัญผิดในคุณสมบัติของโจทก์ โดยจำเลยเข้าใจว่าโจทก์เป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกและโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในกองมรดกนี้ด้วย เมื่อจำเลยทราบความจริงว่าโจทก์ไม่ใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกจำเลยจึงได้บอกล้างหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ต่อโจทก์หนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์นำมาฟ้องจึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ ดังนี้ ถึงแม้จะเป็นความจริงตามที่จำเลยอ้าง ก็เป็นเพียงความสำคัญผิดถึงฐานะทางกฎหมายของโจทก์ หาใช่ความสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคล ซึ่งตามปกติย่อมนับว่าเป็นสารสำคัญที่ทำให้สัญญาประนีประนอมในเรื่องทรัพย์มรดกเสียไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 120, 138 ไม่ รูปคดีจึงไม่จำต้องฟังพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายในประเด็นดังกล่าวนี้