พบผลลัพธ์ทั้งหมด 307 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6372/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: แม้มีทางออกแต่ไม่สะดวก ไม่ถือว่าที่ดินถูกปิดล้อม จึงไม่มีสิทธิขอทางจำเป็น
โจทก์ฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นและภาระจำยอม ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือทางภาระจำยอมหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าทางพิพาทมิใช่ทางภาระจำยอมโดยอายุความก็ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ตามที่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ทั้งที่ทางพิจารณาอาจเป็นได้ทั้งทางจำเป็นและทางภาระจำยอมในขณะเดียวกันได้จึงเป็นการไม่ชอบ ดังนี้หากศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นว่า ทางพิพาทไม่ใช่ทางภาระจำยอมโดยอายุความ และข้อเท็จจริงในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยในเรื่องทางจำเป็น ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็มีอำนาจวินิจฉัยในเรื่องทางพิพาทว่าเป็นทางจำเป็นหรือไม่ได้ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น เนื่องจากโจทก์มีคำขอมาตั้งแต่ต้นแล้ว มิฉะนั้น โจทก์คงต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่ ทั้งโจทก์ จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมก็ต้องนำสืบถึงข้อเท็จจริงซ้ำในเรื่องที่เคยนำสืบมาแล้ว จึงหาชอบด้วยความยุติธรรมไม่
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 45810 ของโจทก์และที่ดินโฉนดเลขที่ 45821 ของจำเลยที่ 2 เป็นที่ดินแปลงเดียวกันต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 แปลงดังกล่าว แต่เมื่อทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โดยเป็นทางเดินเท้าซึ่งตามแผนที่พิพาทระบุว่าทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์กว้างประมาณ 1.10 เมตร ไม่สามารถใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อผ่านเข้าออกได้นั้น ก็เป็นเรื่องความสะดวกของโจทก์เท่านั้นหาใช่ว่าโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นในที่ดินโฉนดเลขที่ 45821 ของจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 และ 1350 เพราะที่ดินโจทก์ไม่ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมจนไม่สามารถออกไปสู่ทางสาธารณะได้
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 45810 ของโจทก์และที่ดินโฉนดเลขที่ 45821 ของจำเลยที่ 2 เป็นที่ดินแปลงเดียวกันต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 แปลงดังกล่าว แต่เมื่อทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โดยเป็นทางเดินเท้าซึ่งตามแผนที่พิพาทระบุว่าทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์กว้างประมาณ 1.10 เมตร ไม่สามารถใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อผ่านเข้าออกได้นั้น ก็เป็นเรื่องความสะดวกของโจทก์เท่านั้นหาใช่ว่าโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นในที่ดินโฉนดเลขที่ 45821 ของจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 และ 1350 เพราะที่ดินโจทก์ไม่ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมจนไม่สามารถออกไปสู่ทางสาธารณะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6369/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: พิจารณาความสะดวก, ความเสียหาย และเจตนาของผู้ให้ทาง
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 มิได้บัญญัติว่าการผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะจะต้องเป็นที่ดินที่อยู่ใกล้ทางสาธารณะที่สุด และในวรรคสามที่มีใจความว่าให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้นั้นก็หมายถึงวิธีทำทางจำเป็นจะต้องให้เสียหายแก่ที่ดินที่ผ่านนั้นน้อยที่สุด เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงว่า เส้นทางอื่นนอกจากทางพิพาทจะต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่นซึ่งได้ความว่ามีสภาพเป็นนาข้าวและบ่อเลี้ยงกุ้งและยังไม่มีสภาพเป็นถนน ส่วนที่พิพาทนั้นโจทก์ทั้งสองใช้มาตั้งแต่ปี 2535 โดยสร้างถนนมีความกว้างเพียง 3 เมตร ผ่านไปบนที่ว่างเปล่าชิดขอบเขตที่ดินของจำเลยทั้งสามและจำเลยทั้งสามก็ใช้ประโยชน์จากทางพิพาทนั้นด้วย ทางพิพาทจึงสะดวกและเหมาะสมไม่ทำให้จำเลยทั้งสามเสียหายมากนัก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น-ภาระจำยอม: การพิสูจน์ความจำเป็นและผลกระทบต่อที่ดินเจ้าของ
โจทก์กล่าวอ้างว่าที่ดินมือเปล่าของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่การที่โจทก์ขอเปิดทางจำเป็นนั้น ที่และวิธีทำทางผ่านต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นกับต้องคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายน้อยที่สุดที่จะเป็นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสาม การที่โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบเกี่ยวกับที่ดินมือเปล่าโดยระบุเพียงเขตติดต่อแต่ละด้านว่าจดที่ดินแปลงใด โดยไม่ปรากฏความยาวของที่ดินมือเปล่าแต่ละด้าน ในการทำแผนที่พิพาทโจทก์ก็นำชี้แนวเขตที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครองทั้งที่ดินมือเปล่าและที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์รวมเป็นแปลงเดียวกัน จึงไม่อาจวินิจฉัยได้ว่าการใช้ทางพิพาทจะพอควรแก่ความจำเป็นสำหรับที่ดินมือเปล่าของโจทก์หรือไม่ และการเลือกใช้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นจะทำให้ที่ดินของจำเลยเสียหายน้อยที่สุดหรือไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินมือเปล่าของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1468/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น-ค่าทดแทน: ศาลฎีกาแก้ไขค่าทดแทนการใช้ทางจำเป็นให้เหมาะสมกับสภาพทางและเนื้อที่ดิน
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่า ทางในที่ดินของจำเลยทั้งเจ็ดเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ให้การว่า ทางในที่ดินของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่ใช่ทางจำเป็น หากฟังว่าเป็นทางจำเป็น โจทก์ต้องใช้ค่าทดแทนแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ส่วนจำเลยที่ 4 และที่ 5 ให้การรับว่า โจทก์มีความจำเป็นต้องใช้ทางในที่ดินของจำเลยที่ 4 และที่ 5 และฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนจากโจทก์ สำหรับจำเลยที่ 6 และที่ 7 ขาดนัดยื่นคำให้การ ดังนั้น การที่จะบังคับให้ใช้ค่าทดแทนหรือไม่เพียงใดนั้น ต้องวินิจฉัยก่อนว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ ปัญหาเรื่องการใช้ค่าทดแทนเป็นผลต่อเนื่องมาจากข้อวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นอันเป็นประเด็นสำคัญในคดี คดีนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ทั้งค่าทดแทนที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์ใช้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปีละ 30,000 บาท และจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 ปีละ 20,000 บาท นับแต่วันที่โจทก์ใช้ทางจำเป็นไปจนกว่าจะหมดความจำเป็นในการใช้ทางนั้น จำนวนค่าทดแทนที่โจทก์จะต้องใช้แก่จำเลยทั้งเจ็ดจึงขึ้นอยู่กับการใช้ทางจำเป็นของโจทก์ว่าเริ่มต้นเมื่อใดและสิ้นสุดลงเมื่อใด ซึ่งเป็นเรื่องในอนาคตย่อมไม่อาจคำนวณค่าทดแทนเป็นจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ได้ แม้ว่าประเด็นเรื่องทางจำเป็นจะยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คงเถียงกันในชั้นอุทธรณ์เฉพาะเรื่องจำนวนค่าทดแทนว่ามีเพียงใด ก็ไม่ทำให้คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้กลับกลายเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์ อุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ขอให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเงิน 1,000,000 บาท จำเลยที่ 3 เป็นเงิน 1,000,000 บาท กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนเป็นเงินคนละ 140,000 บาท ซึ่งเป็นค่าทดแทนจำนวนเดียว มิใช่ค่าทดแทนเป็นรายปีก็ตาม แต่ ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสี่ บัญญัติให้กำหนดเป็นเงินรายปีก็ได้ ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าทดแทนให้เป็นรายปีนับแต่วันที่โจทก์ใช้ทางจำเป็นไปจนกว่าจะหมดความจำเป็นในการใช้ทาง หาใช่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องอันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่งไม่
แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ขอให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเงิน 1,000,000 บาท จำเลยที่ 3 เป็นเงิน 1,000,000 บาท กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนเป็นเงินคนละ 140,000 บาท ซึ่งเป็นค่าทดแทนจำนวนเดียว มิใช่ค่าทดแทนเป็นรายปีก็ตาม แต่ ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสี่ บัญญัติให้กำหนดเป็นเงินรายปีก็ได้ ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าทดแทนให้เป็นรายปีนับแต่วันที่โจทก์ใช้ทางจำเป็นไปจนกว่าจะหมดความจำเป็นในการใช้ทาง หาใช่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องอันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่งไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นต้องพิสูจน์สภาพข้อเท็จจริงก่อนกระทำการรังวัดในที่ดินของผู้อื่น การกระทำดังกล่าวอาจเป็นความผิดฐานบุกรุก
แม้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 และมาตรา 1350 จะบัญญัติให้เจ้าของที่ดินแปลงที่ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงสาธารณะได้ สามารถที่จะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ ซึ่งสิทธิในการใช้ทางจำเป็นเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเพียงข้อจำกัดสิทธิของเจ้าของที่ดินแปลงที่ล้อมที่ดินของผู้อื่นจนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ต้องยอมให้เจ้าของที่ดินแปลงที่ถูกล้อมใช้ทางผ่านที่ดินของตนเพื่อออกไปสู่ทางสาธารณะได้เท่านั้น ไม่ใช่บทบัญญัติที่เป็นการให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินแปลงที่ถูกล้อมที่จะเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นหรือกระทำการใด ๆ ในที่ดินของผู้อื่นได้โดยพลการ ทั้งสิทธิในการใช้ทางจำเป็นตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จะต้องพิจารณาจากสภาพความจริงในขณะนั้นว่าเข้าเงื่อนไขตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1349 และมาตรา 1350 บัญญัติไว้หรือไม่ด้วย
ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงที่ล้อมที่ดินของผู้อื่น และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงที่ถูกล้อมยังคงมีข้อโต้เถียงในข้อเท็จจริงกันอยู่ว่าที่ดินของจำเลยที่ 1 ถูกที่ดินของผู้เสียหายล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้จริงหรือไม่ จึงจำต้องให้ศาลในคดีแพ่งชี้ขาดข้อเท็จจริงให้รับฟังเป็นยุติก่อนว่าตามสภาพของที่ดินพิพาทในขณะนั้นเข้าเงื่อนไขเป็นทางจำเป็นซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะใช้ทางนั้นได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ การที่จำเลยทั้งสองเข้าไปรังวัดและถ่ายรูปทางในที่ดินของผู้เสียหายโดยพลการ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งถือเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายโดยปกติสุขอันเป็นความผิดฐานบุกรุก
ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงที่ล้อมที่ดินของผู้อื่น และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงที่ถูกล้อมยังคงมีข้อโต้เถียงในข้อเท็จจริงกันอยู่ว่าที่ดินของจำเลยที่ 1 ถูกที่ดินของผู้เสียหายล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้จริงหรือไม่ จึงจำต้องให้ศาลในคดีแพ่งชี้ขาดข้อเท็จจริงให้รับฟังเป็นยุติก่อนว่าตามสภาพของที่ดินพิพาทในขณะนั้นเข้าเงื่อนไขเป็นทางจำเป็นซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะใช้ทางนั้นได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ การที่จำเลยทั้งสองเข้าไปรังวัดและถ่ายรูปทางในที่ดินของผู้เสียหายโดยพลการ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งถือเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายโดยปกติสุขอันเป็นความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าทดแทนทางแพ่งจากการเปิดใช้ทางจำเป็นบนที่ดิน และการพิสูจน์กรรมสิทธิ์หลังการเวนคืน
การเรียกร้องค่าทดแทนเป็นสิทธิของเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อชดเชยความเสียหายอันที่เกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสี่ โจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกค่าทดแทนการใช้ที่ดินจากจำเลยเป็นคดีต่างหากได้ หากศาลในคดีก่อนวินิจฉัยชี้ขาดให้จำเลยได้สิทธิทางจำเป็นบนที่ดินของโจทก์ทั้งสาม โดยโจทก์ทั้งสามไม่จำต้องฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนมาในคำให้การ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามทางนำสืบของคู่ความว่า มีการบังคับคดีเปิดทางจำเป็นตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2555 โจทก์ทั้งสามจึงชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนการใช้ทางจำเป็นบนที่ดินของโจทก์ทั้งสามนับตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2555 อายุความสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนของโจทก์ทั้งสามจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว เมื่อ ป.พ.พ. หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะในเรื่องอายุความใช้ค่าทดแทนในการเปิดทางจำเป็นไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อนับระยะเวลานับแต่วันที่มีการเปิดใช้ทางจำเป็นจนถึงวันที่โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกค่าทดแทนในคดีนี้เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี สิทธิเรียกค่าทดแทนของโจทก์ทั้งสามจึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4907/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอเปิดทางจำเป็นต้องพิจารณาความเสียหายของที่ดินที่ล้อมอยู่ และมีทางเลือกอื่นที่ก่อให้เกิดความเสียหายน้อยกว่า
ป.พ.พ. ได้บัญญัติกำหนดหลักเกณฑ์ในการขอผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ออกไปสู่ทางสาธารณะไว้ในมาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ว่า ที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้มุ่งพิจารณาถึงสภาพของที่ดินนั้นว่าจะต้องถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะเป็นสำคัญ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นจึงมีสิทธิจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ และมีสิทธิขอผ่านที่ดินที่ล้อมแปลงใดก็ได้ เพียงแต่การที่จะผ่านที่ดินที่ล้อมนั้น บทบัญญัติในวรรคสามของมาตราเดียวกัน กำหนดให้ ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นไปได้ ซึ่งนอกจากที่ดินของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 และนายสุจินต์ ที่โจทก์ฟ้องขอเปิดทางจำเป็นแล้ว โจทก์สามารถใช้ที่ดินโฉนดเลขที่ 55890 เป็นทางจำเป็นเข้าออกสู่ซอยเอกชัย 69 ซึ่งเป็นถนนสาธารณะได้ โดยผ่านที่ดินเครือญาติโจทก์ ย่อมแสดงให้เห็นว่า นอกจากทางพิพาทแล้วโจทก์ยังมีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยขอเปิดทางจำเป็นในที่ดินแปลงอื่นได้ ซึ่งการจะขอเปิดทางจำเป็นในที่ดินแปลงใดนั้นต้องคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นไปได้ เมื่อพิจารณาถึงสภาพที่ดินพิพาทที่โจทก์ขอเปิดเป็นทางจำเป็นนั้น มีลักษณะเป็นถนนคอนกรีตอันเป็นสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดทำขึ้นและตกอยู่ภายใต้ภาระจำยอมแก่ที่ดินที่จัดสรรตามกฎหมาย ซึ่งบริเวณดังกล่าวมีบ้านพักอาศัยเป็นจำนวนมาก การเปิดทางจำเป็นให้ใช้เป็นเส้นทางเข้าออก ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ของเจ้าของที่ดินจัดสรรในการพักอาศัยให้เกิดความสงบสุขและปลอดภัยได้ อีกทั้งในขณะที่โจทก์และมารดาโจทก์ร่วมกันซื้อที่ดินมาและมารดาโจทก์ยกที่ดินส่วนของมารดาโจทก์ให้โจทก์ภายหลังนั้น ที่ดินดังกล่าวมีสภาพเป็นที่ตาบอด ไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ ซึ่งโจทก์และมารดาโจทก์ย่อมต้องทราบดีว่า การซื้อที่ดินดังกล่าวจะมีปัญหาในทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ ทำให้ไม่ได้รับความสะดวก ซึ่งหากต้องการให้ที่ดินมีทางเข้าออก อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดหาที่ดินและทำถนนเพื่อเป็นทางเข้าออก แต่โจทก์หาดำเนินการเช่นนั้นไม่ กลับจะมาขอเปิดทางจำเป็นเพื่อใช้ถนนคอนกรีตอันเป็นสาธารณูปโภคที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 และนายสุจินต์ ซึ่งเป็นผู้จัดสรรที่ดินได้ลงทุนจัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จัดสรร โดยโจทก์ไม่ต้องลงทุนทำถนนคอนกรีตเอง และเมื่อเปิดทางจำเป็นแล้วยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ที่ดินของโจทก์ แต่กลับกันกลับทำให้ถนนคอนกรีตดังกล่าวต้องรับภาระจากการใช้งานที่เพิ่มขึ้นทั้งที่ดินของโจทก์ เป็นที่ดินว่างเปล่าและโจทก์ไม่เคยใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกมาก่อน แม้โจทก์จะอ้างว่าการขอผ่านทางจำเป็นในที่ดินพิพาทจะสะดวกที่สุดก็ตาม ก็เป็นความสะดวกของโจทก์แต่เพียงฝ่ายเดียว และไม่ใช่ทางเลือกที่ทำให้ที่ดินที่ล้อมอยู่เสียหายแต่น้อยที่สุด ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นได้