พบผลลัพธ์ทั้งหมด 378 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371-1372/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องรับรองบุตรหลังเสียชีวิต: เฉพาะผู้สืบสันดานเท่านั้นที่มีสิทธิฟ้อง
การฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วย ก.ม. นั้น ถ้าเด็กนั้นตายแล้ว ก.ม.ยอมให้ผู้สืบสันดานของเด็กโดยเฉพาะที่จะฟ้องของให้รับเด็กเป็นบุตรได้เท่านั้น มารดาของเด็กไม่มีสิทธิจะฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิของบุตรจากสัญญาและกรณีไม่เป็นฟ้องซ้ำ
สามีภริยาทำหนังสือขึ้นฉบับหนึ่งระบุไว้ว่า เป็นสัญญาประนีประนอมเพื่อระงับข้อพิพาทเรื่องเรือนและสวนยางไม่ให้ต้องเป็นความกันในโรงศาลโดยตกลงโอนกรรมสิทธิ์สวนแปลงนั้นให้บุตร 2 คนๆละส่วนนับแต่วันทำสัญญาแม้จะมีข้อความว่าให้บุตรทั้งสองเข้าถือสิทธิครอบครองได้ต่อเมื่อสามีภริยาตายแล้วทั้งสองคน ก็ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และเป็นสัญญาซึ่งคู่สัญญาตกลงจะชำระหนี้แก่บุตรซึ่งเป็นบุคคลภายนอก บุตรจึงมีสิทธิจะเรียกชำระหนี้จากคู่สัญญาได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 วรรคต้นและเมื่อบุตรได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญานี้แล้ว สิทธิของบุตรก็เกิดขึ้นแล้วตามวรรคสอง บุตรย่อมฟ้องขอให้ปฏิบัติตามสัญญานั้นได้
โจทก์เคยฟ้องจำเลย ขอแบ่งทรัพย์ตามเอกสารฉบับหนึ่งอ้างว่าเป็นพินัยกรรม ศาลพิพากษายกฟ้องว่า ไม่ใช่พินัยกรรม คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์มาฟ้องจำเลยใหม่ตามสัญญาเอกสารฉบับเดียวกันนั้น อ้างว่าเป็นสัญญาประนีประนอมของบุคคลอื่นที่ยกทรัพย์ให้แก่โจทก์ โจทก์ฟ้องได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2494)
โจทก์เคยฟ้องจำเลย ขอแบ่งทรัพย์ตามเอกสารฉบับหนึ่งอ้างว่าเป็นพินัยกรรม ศาลพิพากษายกฟ้องว่า ไม่ใช่พินัยกรรม คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์มาฟ้องจำเลยใหม่ตามสัญญาเอกสารฉบับเดียวกันนั้น อ้างว่าเป็นสัญญาประนีประนอมของบุคคลอื่นที่ยกทรัพย์ให้แก่โจทก์ โจทก์ฟ้องได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2494)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ภรรยาโดยเด็ดขาด หากภรรยาเสียก่อนจึงยกให้บุตร กรณีผู้ทำพินัยกรรมเสียหลังภรรยา ทรัพย์สินเป็นของภรรยา
พินัยกรรม์มีข้อความว่า "ฯลฯ ข้อ 1. ถ้าข้าพเจ้าถึงแก่กรรมไปแล้ว บรรดาทรัพย์สินของข้าพเจ้าขอยกให้เป็นกรรมสิทธิแก่นางขำ เรืองแสงภรรยาของข้าพเจ้าทั้งสิ้นถ้าภรรยาข้าพเจ้าชีวิตหาไม่แล้ว จึงให้ทรัพย์นั้นตกทอดแก่บุตรผู้ที่ได้ระบุนามไว้ในพินัยกรรม์นี้ ให้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้ ฯลฯ" ดังนี้ต้องแปลว่าผู้ทำพินัยกรรม์ตั้งใจยกทรัพย์มฤดกทั้งหมดให้แก่นางขำภรรยาแต่ผู้เดียวโดยเด็ดขาดแต่นางขำหามีชีวิตไม่ กล่าวคือตายเสียก่อนผู้ทำพินัยกรรม์จึงยกทรัพย์มฤดกให้แก่ผู้ที่ระบุนามไว้ ฉะนั้นเมื่อผู้ทำพินัยกรรม์ตายก่อนนางขำ ทรัพย์มฤดกจึงตกเป็นกรรมสิทธิของนางขำโดยสิ้นเชิง ข้อความว่าที่ว่าถ้านางขำหาชีวิตไม่แล้วจึงให้ยกแก่ผู้มีนามดังระบุไว้ก็ไม่มีผลและเมื่อต่อมานางขำตาย ทรัพย์นั้นก็ตกได้แก่ทายาทนางขำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพินัยกรรม: ทรัพย์สินตกเป็นของภรรยาผู้รับพินัยกรรมก่อน หากภรรยาเสียชีวิตจึงตกแก่บุตรที่ระบุไว้
พินัยกรรมมีข้อความว่า "ฯลฯ ข้อ 1. ถ้าข้าพเจ้าถึงแก่กรรมไปแล้ว บรรดาทรัพย์สินของข้าพเจ้าขอยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่นางขำ เรืองแสงภรรยาของข้าพเจ้าทั้งสิ้นถ้าภรรยาข้าพเจ้าชีวิตหาไม่แล้ว จึงให้ทรัพย์นั้นตกทอดแก่บุตรผู้ที่ได้ระบุนามไว้ในพินัยกรรมนี้ ให้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้ ฯลฯ" ดังนี้ ต้องแปลว่าผู้ทำพินัยกรรมตั้งใจยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่นางขำภรรยาแต่ผู้เดียวโดยเด็ดขาด แต่นางขำหามีชีวิตไม่ กล่าวคือตายเสียก่อน ผู้ทำพินัยกรรมจึงยกทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ที่ระบุนามไว้ ฉะนั้นเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายก่อนนางขำ ทรัพย์มรดกจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนางขำโดยสิ้นเชิง ข้อความว่าที่ว่า ถ้านางขำหาชีวิตไม่แล้ว จึงให้ตกแก่ผู้มีนามดังระบุไว้ก็ไม่มีผล และเมื่อต่อมานางขำตาย ทรัพย์นั้นก็ตกได้แก่ทายาทนางขำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะสามีภริยาแม้แยกกันอยู่ - การมีบุตรกับผู้อื่นไม่ทำให้สถานะเปลี่ยนแปลง
สามีภริยาแยกกันอยู่ระหว่างใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 แล้วภริยาไปอยู่กับชู้จนเกิดบุตรด้วยกัน ดังนี้สามีภริยายังเป็นสามีภริยากันอยู่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการระบุสิทธิเรียกร้องมรดกเพิ่มเติมในคำพิพากษา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ที่ดินของนางชมตกทอดเป็นของนายกิมนายกิมตายตกทอดเป็นของผู้ร้อง คือภรรยาและบุตรอีก 3 คน ของนายกิม นายเพิ่มอ้างว่าเป็นทายาทของนางชม ยื่นคำคัดค้าน เมื่อศาลพิพากษายกคำร้องของผู้ร้อง ศาลย่อมมีอำนาจจะกล่าวไว้ในคำพิพากษาได้ว่า คำพิพากษาไม่ตัดสิทธิเด็กทั้งสามที่จะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าตนเป็นบุตรของนายกิมและขอรับมรดกของนายกิมต่อไปได้นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม หากมีเหตุเปลี่ยนแปลงอาจขอแก้ไขได้
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่ศาลกำหนดให้นั้น ต่อไปถ้ามีเหตุอันควรแก้ไขประการใดอาจร้องขอต่อศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1596 ได้
คดีที่พิพาทกันด้วยเรื่องค่าเลี้ยงดูบุตร เป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว ฎีกาได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 248 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คดีที่พิพาทกันด้วยเรื่องค่าเลี้ยงดูบุตร เป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว ฎีกาได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 248 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งเท็จเพื่อรับมรดก: จำเลยต้องรู้ว่าโจทก์เป็นบุตรผู้ตายจึงมีผิด
ในคดีที่โจทก์อ้างว่าเป็นบุตรผู้ตาย หาว่าจำเลยแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินในการขอรับมรดกที่ดินโดยกล่าวว่าผู้ตายไม่มีบุตรไม่มีเมียนั้น เมื่อคดีไม่มีเหตุพอจะฟังว่าจำเลยได้รู้ว่าโจทก์เป็นบุตรผู้ตายก็ถือไม่ได้ว่า จำเลยจงใจแจ้งเท็จ จำเลยย่อมไม่มีผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกตามกฎหมายแพ่ง: สามี บุตร และภรรยาผู้มีสิทธิ
ผู้ตายมีสามีและมีบุตร ต้องแบ่งมรดกให้คนละเท่าๆกัน
ผู้ตายมีบิดาและมีภรรยาต้องแบ่งให้คนละครึ่ง
ผู้ตายมีบิดาและมีภรรยาต้องแบ่งให้คนละครึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์ฟ้องคดีอาญาของบุตรผู้ถูกทำร้ายถึงแก่ความตาย แม้มีสามีแล้ว และประเด็นการพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีอาญา
บุตรผู้ถูกทำร้ายตายแม้จะมีสามีแล้ว ก็มีสิทธิเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาหรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในคดีที่ฟ้องผู้ที่ทำให้ตายได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3(2) และมาตรา 5(2) การที่ภรรยาผู้ถูกทำร้ายตายไม่ขอร่วมเป็นโจทก์กับอัยการ ไม่ทำให้สิทธิของบุตรผู้ตายดังกล่าวแล้วเสียไป
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยใช้ปืนยิงและใช้มีดแทงผู้ตายตายแต่ทางพิจารณาได้ความชัดว่าจำเลยใช้มีดแทงผู้ตายอย่างเดียวนั้น ไม่เป็นเหตุพอจะให้ยกฟ้องโจทก์เสียได้ และคดีก็ต้องลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 249
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยใช้ปืนยิงและใช้มีดแทงผู้ตายตายแต่ทางพิจารณาได้ความชัดว่าจำเลยใช้มีดแทงผู้ตายอย่างเดียวนั้น ไม่เป็นเหตุพอจะให้ยกฟ้องโจทก์เสียได้ และคดีก็ต้องลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 249