พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเหนือพื้นดินไม่สมบูรณ์แต่มีผลผูกพันได้หากมีข้อตกลงระหว่างคู่สัญญา
จำเลยถมดินให้โจทก์ โจทก์ให้จำเลยปลูกเรือนอยู่ในที่ดินแม้เป็นสิทธิเหนือพื้นดินไม่บริบูรณ์โดยไม่จดทะเบียน ก็เป็นบุคคลสิทธิผูกพันระหว่างกันเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีผลผูกพันเมื่อตกลงเงื่อนไขครบถ้วน แม้มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขบางส่วน ผู้ขายต้องรับผิดต่อค่าเสียหายจากการผิดสัญญา
โจทก์สอบถามเพื่อซื้อสินค้าจากจำเลย จำเลยวางเงื่อนไขว่าโจทก์จะต้องชำระราคาเป็นเงินสด 15% พร้อมกับใบสั่งสินค้าหลังจากนั้นโจทก์ ได้ติดต่อขอลดราคาและขอให้ยื่นราคาต่อไปอีกจำเลยกำหนดให้โจทก์ชำระราคาเป็นเงินสดภายใน 4 วัน หลังจากการส่งมอบโดยมีธนาคารค้ำประกันไม่ได้กล่าวถึงการวางเงินสด 15% อีก โจทก์สั่งซื้อสินค้าจำเลยตอบรับว่าจะส่งสินค้าให้ ดังนี้สัญญาซื้อขายเกิดขึ้นแล้วจำเลยจะอ้างว่าสัญญายังไม่มีผลผูกพันเพราะโจทก์ไม่ได้ชำระเงิน 15% หาได้ไม่
ในระยะเวลาที่จำเลยสัญญาว่าจะส่งสินค้าให้โจทก์ดังกล่าวโจทก์ได้แจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยทราบถึงสองคราวว่าสินค้าดังกล่าว โจทก์ได้ตกลงขายต่อให้กับลูกค้าแล้วหากจำเลยส่งสินค้าดังกล่าวล่าช้าไม่ทันกำหนดโจทก์จะต้องถูกปรับจำเลยผิดสัญญาโจทก์ถูกลูกค้าปรับค่าปรับดังกล่าวถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษที่จำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้วจำเลยจึงต้องรับผิด ในค่าปรับดังกล่าวด้วย
ในระยะเวลาที่จำเลยสัญญาว่าจะส่งสินค้าให้โจทก์ดังกล่าวโจทก์ได้แจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยทราบถึงสองคราวว่าสินค้าดังกล่าว โจทก์ได้ตกลงขายต่อให้กับลูกค้าแล้วหากจำเลยส่งสินค้าดังกล่าวล่าช้าไม่ทันกำหนดโจทก์จะต้องถูกปรับจำเลยผิดสัญญาโจทก์ถูกลูกค้าปรับค่าปรับดังกล่าวถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษที่จำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้วจำเลยจึงต้องรับผิด ในค่าปรับดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนกับการจดทะเบียนเช่า: การผูกพันตามข้อตกลง
จำเลยถมดินในที่ดินของ ส. ที่เป็นที่หนองและที่บ่อแล้วปลูกเรือนอยู่อาศัย เสียค่าใช้จ่ายทั้งหมดเป็นเงิน 237,000 บาท เฉพาะค่าถมดินเป็นเงิน 20,000 บาทเศษ โดยมี ข้อตกลงด้วยวาจากับ ส. ว่าจะให้จำเลยเช่าอยู่จนตลอดชีวิต ตามข้อตกลงและพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อจำเลยได้ปฏิบัติตามข้อตกลงแล้ว ย่อมผูกพันโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ให้ต้องไปจดทะเบียนการเช่าให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้มีผลผูกพัน แม้การซื้อขัดมติคณะกรรมการ การซื้อผิดแหล่งถือเป็นความผิดของผู้ซื้อ
จำเลยได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้เป็นผู้ซื้อข้าวโพดให้โจทก์โดยให้ซื้อเฉพาะหน้าฉาง แต่จำเลยไปซื้อข้าวโพดจากประเทศลาว จำเลยได้ยืมเงินทดรองไปจากโจทก์จำนวนหนึ่ง จำเลยซื้อข้าวโพดแล้วยังเหลือเงินอยู่บ้าง ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ยอมใช้เงินจำนวนที่เหลือนี้แก่โจทก์ จำเลยจะอ้างว่าเนื่องจากรัฐบาลสั่งปิดพรมแดนไม่สามารถนำข้าวโพดเข้ามาในประเทศได้ การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยย่อมฟังไม่ได้ เพราะเป็นความผิดของจำเลยเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างคู่สมรสมีผลผูกพันและสิทธิในทรัพย์สินย่อมตกเป็นไปตามสัญญา
โจทก์เคยฟ้องหย่าจำเลย ในที่สุดได้ทำสัญญาไว้ต่อกันเป็นข้อสารสำคัญว่า โจทก์จำเลยยอมคืนดีเป็นสามีภริยากันดังเดิม และข้อความในหนังสือสัญญานั้นได้กล่าวไว้ชัดว่าเป็นสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อระงับการฟ้องหย่าระหว่างโจทก์จำเลย ไม่ต้องเป็นความกันต่อไป โจทก์จำเลยจึงได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์สินกันเป็นสัดส่วน กล่าวคือให้โจทก์ได้วัวที่มีตัวพิมพ์รูปพรรณ 16 ตัว ฯลฯ นอกจากทรัพย์ดังกล่าวนี้แล้ว โจทก์ไม่ขอเอาอีกต่อไป หนังสือสัญญานี้จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850
ข้อความในสัญญาที่ว่าจำเลยและโจทก์ได้ตกลงพร้อมใจกันทำหนังสือยกทรัพย์สินสมรสและสินเดิมให้แก่โจทก์ ฯลฯ นอกจากทรัพย์ที่โจทก์ได้รับไปนี้แล้ว ไม่ขอเอาอีกต่อไป เห็นว่าเมื่อข้อสัญาระบุชัดว่าโจทก์จะไม่เอาทรัพย์อื่นนอกจากที่โจทก์ได้รับตามสัญญานี้ ก็เท่ากับยอมให้ทรัพย์พิพาทอันเป็นทรัพย์ที่มีอยู่แล้วในขณะที่ทำสัญญานั้น ตกเป็นสิทธิของจำเลยฝ่ายเดียว โจทก์จะมาฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทอีกไม่ได้
สัญญาที่ทำไว้ต่อกันระหว่างที่โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากันอยู่ เมื่อไม่บอกล้างภายในกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันขาดจากการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 ก็ต้องถือว่ายังคงบังคับได้อยู่เสมอ (ข้อกฎหมายตามวรรค 2 และ 3 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2521)
ข้อความในสัญญาที่ว่าจำเลยและโจทก์ได้ตกลงพร้อมใจกันทำหนังสือยกทรัพย์สินสมรสและสินเดิมให้แก่โจทก์ ฯลฯ นอกจากทรัพย์ที่โจทก์ได้รับไปนี้แล้ว ไม่ขอเอาอีกต่อไป เห็นว่าเมื่อข้อสัญาระบุชัดว่าโจทก์จะไม่เอาทรัพย์อื่นนอกจากที่โจทก์ได้รับตามสัญญานี้ ก็เท่ากับยอมให้ทรัพย์พิพาทอันเป็นทรัพย์ที่มีอยู่แล้วในขณะที่ทำสัญญานั้น ตกเป็นสิทธิของจำเลยฝ่ายเดียว โจทก์จะมาฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทอีกไม่ได้
สัญญาที่ทำไว้ต่อกันระหว่างที่โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากันอยู่ เมื่อไม่บอกล้างภายในกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันขาดจากการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 ก็ต้องถือว่ายังคงบังคับได้อยู่เสมอ (ข้อกฎหมายตามวรรค 2 และ 3 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2521)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน ไม่อาจเพิกถอนหมายบังคับคดีได้ แม้มีการฟ้องร้องเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องให้จำเลยโอนที่ดิน ถ้าโอนไม่ได้ให้ใช้เงิน จำเลยยอมชำระเงินให้แก่โจทก์ ศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้วจำเลยไม่ชำระเงิน โจทก์จึงนำยึดที่พิพาทของจำเลยประกาศขายทอดตลาดผู้ร้องได้ร้องขัดทรัพย์ในที่สุดผู้ร้องขัดทรัพย์กับโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยตกลงให้ขายทอดตลาดที่พิพาท ได้รับเงินสุทธิเท่าใดแบ่งให้โจทก์กับผู้ร้องคนละส่วน ศาลพิพากษาคดีเสร็จเด็ดขาดไปตามยอมแล้ว แต่เมื่อคดีนี้ยังอยู่ระหว่างพิจารณาผู้ร้องได้เป็นโจทก์ฟ้อง ท. กับโจทก์เป็นจำเลยเกี่ยวกับที่พิพาทนี้ โดยขอเพิกถอนการฉ้อฉล เพิกถอนทำลายสัญญาประนีประนอมยอมความระงับการขายทอดตลาด บังคับ ท. โอนขายที่พิพาทให้แก่ผู้ร้อง ต่อมาผู้ร้องขอถอนฟ้องโจทก์ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ ท.โอนสิทธิครอบครองให้ผู้ร้องเช่นนี้ ผู้ร้องจะแถลงต่อศาลขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดีให้ผิดไปจากสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีร้องขัดทรัพย์หาได้ไม่ ชอบที่ศาลจะดำเนินการบังคับคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 543/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเป็นตั๋วเงินผูกพันผู้ลงนามตามกฎหมาย แม้จะอ้างเป็นการค้ำประกันก็ไม่เปลี่ยนแปลง
จำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อและประทับตราห้างจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทของจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเงินให้โจทก์ แม้จะเป็นการค้ำประกันการกู้เงินดังที่จำเลยให้การต่อสู้ก็ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 วรรคแรก บัญญัติว่าบุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น ฉะนั้น เมื่อโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทเรียกเก็บเงินจากธนาคารไม่ได้ จำเลยก็ย่อมมีหน้าที่ต้องใช้เงินตามเช็คนั้นให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 914 ประกอบด้วยมาตรา 989
เช็คเป็นตั๋วเงินซึ่งไม่มีข้อความว่าค้ำประกันแต่ประการใด ทั้งสภาพของเช็คเป็นการสั่งธนาคารให้ใช้เงิน ไม่ใช่การค้ำประกันจึงไม่เป็นหลักฐานแห่งสัญญาค้ำประกัน ผู้ออกเช็คจะนำสืบว่าออกเช็คเพื่อค้ำประกันลูกหนี้ไม่ได้เพราะมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ
เช็คพิพาทมีข้อความสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินเป็นที่แน่นอนอยู่แล้ว เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คขึ้นเงินไม่ได้ จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายก็ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ โดยไม่จำเป็นต้องทวงถามอีก
เช็คเป็นตั๋วเงินซึ่งไม่มีข้อความว่าค้ำประกันแต่ประการใด ทั้งสภาพของเช็คเป็นการสั่งธนาคารให้ใช้เงิน ไม่ใช่การค้ำประกันจึงไม่เป็นหลักฐานแห่งสัญญาค้ำประกัน ผู้ออกเช็คจะนำสืบว่าออกเช็คเพื่อค้ำประกันลูกหนี้ไม่ได้เพราะมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ
เช็คพิพาทมีข้อความสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินเป็นที่แน่นอนอยู่แล้ว เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คขึ้นเงินไม่ได้ จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายก็ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ โดยไม่จำเป็นต้องทวงถามอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 520/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายปอต้องทำเป็นหนังสือ การเจรจาเบื้องต้นยังไม่ถือเป็นสัญญาผูกพัน
โจทก์เป็นบริษัทจำกัดอยู่ที่ประเทศอังกฤษ จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดในประเทศไทย ซ.ผู้แทนโจทก์ติดต่อกับจำเลยที่1ตกลงซื้อขายปอกันซ. และจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบปริมาณและราคาที่จะขาย โจทก์มีหนังสือยืนยันมายังจำเลยที่ 1 พร้อมทั้งส่งสัญญาซื้อขายมาด้วย เพื่อให้จำเลยที่ 1 ลงชื่อในฐานะผู้ขาย โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตส่งมาแต่ล่าช้าและผิดพลาด จำเลยที่ 1จึงไม่ลงชื่อในสัญญาซื้อขาย การซื้อขายปอระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ครั้งก่อน ๆต้องทำเป็นหนังสือทุกครั้ง พฤติการณ์ที่ปฏิบัติกันในการซื้อขายปอรายพิพาทเห็นได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะให้สัญญาซื้อขายมีผลผูกพันกันเมื่อได้ทำหนังสือแล้ว จำเลยที่ 1 ยังมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายจึงถือไม่ได้ว่าสัญญาซื้อขายได้ทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366 สัญญาซื้อขายยังไม่มี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 276/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง: การวินิจฉัยประมาทในคดีอาญาเป็นข้อเท็จจริงที่ใช้ในคดีแพ่งได้
ศาลทหารพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหากระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โดยโจทก์เป็นผู้เสียหายว่า เท่าที่โจทก์นำสืบยังมีข้อสงสัยฟังไม่ได้สนิทใจว่าเหตุที่เกิดเป็นเพราะความประมาทปราศจากความระมัดระวังของจำเลย จำต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้เป็นผลดีแก่จำเลย พิพากษายกฟ้อง ดังนี้ แม้โจทก์จะมิได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วย โจทก์และจำเลยที่ 1 ก็ต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีอาญานั้น ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารพ.ศ. 2498 มาตรา 54 และประมวลกฎหมายวิธพีพิจารณาความอาญามาตรา 46(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1134,1135/2509) และคำพิพากษาคดีอาญาได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นแห่งคดีแล้วว่าโจทก์ไม่มีพยานสืบให้ศาลเห็นโดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 กระทำการโดยประมาทหรือไม่ไว้แน่นอนแล้ว จะฟังข้อเท็จจริงในคดีแพ่งให้ขัดกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาหาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1674/2512)
เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อผู้ตาย จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นนายจ้างไม่ต้องรับผิดไปด้วย
เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อผู้ตาย จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นนายจ้างไม่ต้องรับผิดไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2575/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การท้าให้ใช้ข้อเท็จจริงจากคดีอาญา และผลผูกพันการรับผิดชอบ
โจทก์จำเลยท้ากันให้ถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาแล้วพิพากษาไปตามรูปคดี ถ้าเห็นว่าจำเลยจะต้องรับผิดด้วยแล้ว ก็ให้พิพากษาให้จำเลยใช้เต็มตามจำนวนที่ฟ้อง ดังนี้ เป็นข้อกฎหมายไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ และเมื่อศาลเห็นว่าโจทก์จำเลยมีส่วนผิดไม่ยิ่งหย่อนกว่าจำเลยก็ต้องรับผิดเต็มจำนวนตามคำท้า