คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้เยาว์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 452 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1638/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้เยาว์และการแก้ไขความบกพร่องด้านความสามารถในการฟ้องคดี
ฟ้องซึ่งตั้งรูปว่า ผู้เยาว์โดยบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นโจทก์นั้น เป็นเรื่องผู้เยาว์เป็นโจทก์ฟ้องคดีเองโดยอาศัยอำนาจของบุคคลซึ่งอ้างเป็นบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมถึงหากจะฟังว่าบุคคลนั้นมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ และขณะฟ้องคดีโจทก์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ก็เป็นเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีของโจทก์ผู้เยาว์บกพร่อง ซึ่งศาลมีอำนาจสอบสวนและสั่งแก้ไขความบกพร่องนั้นให้บริบูรณ์ได้ก่อนศาลพิพากษาคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา56 ส่วนอำนาจของบุคคลซึ่งอ้างเป็นบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมนั้น ถ้าไม่มีหรือไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรม ศาลจะยกฟ้องหรือจะสั่งอย่างอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมโดยไม่ต้องยกฟ้องก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา66
เมื่อคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาปรากฏว่าโจทก์ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะแล้ว มีอำนาจเป็นคู่ความด้วยตนเองได้แล้ว ศาลฎีกาก็ไม่จำเป็นต้องสั่งให้โจทก์แก้ไขเรื่องความสามารถ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1638/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสามารถในการฟ้องคดีของผู้เยาว์ และอำนาจของผู้แทนโดยชอบธรรมในการฟ้องคดีแทน
ฟ้องซึ่งตั้งรูปว่าผู้เยาว์โดยบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นโจทก์นั้น เป็นเรื่องผู้เยาว์เป็นโจทก์ฟ้องคดีเองโดยอาศัยอำนาจของบุคคลซึ่งอ้างเป็นบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมถึงหากจะฟังว่าบุคคลนั้นมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ และขณะฟ้องคดีโจทก์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ก็เป็นเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีของโจทก์ผู้เยาว์บกพร่อง ซึ่งศาลมีอำนาจสอบสวนและสั่งแก้ไขความบกพร่องนั้นให้บริบูรณ์ได้ก่อนศาลพิพากษาคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 ส่วนอำนาจของบุคคลซึ่งอ้างเป็นบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมนั้น ถ้าไม่มีหรือไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรม ศาลจะยกฟ้องหรือจะสั่งอย่างอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมโดยไม่ต้องยกฟ้องก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 66
เมื่อคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาปรากฏว่าโจทก์ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะแล้ว มีอำนาจเป็นคู่ความด้วยตนเองได้แล้ว ศาลฎีกาก็ไม่จำเป็นต้องสั่งให้โจทก์แก้ไขเรื่องความสามารถ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1638/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้เยาว์และการแก้ไขความบกพร่องในความสามารถของคู่ความ
ฟ้องซึ่งตั้งรูปว่าผู้เยาว์โดยบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นโจทก์นั้น. เป็นเรื่องผู้เยาว์เป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง.โดยอาศัยอำนาจของบุคคลซึ่งอ้างเป็นบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมถึงหากจะฟังว่าบุคคลนั้นมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์. และขณะฟ้องคดีโจทก์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ. ก็เป็นเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีของโจทก์ผู้เยาว์บกพร่อง. ซึ่งศาลมีอำนาจสอบสวนและสั่งแก้ไขความบกพร่องนั้นให้บริบูรณ์ได้ก่อนศาลพิพากษาคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา56. ส่วนอำนาจของบุคคลซึ่งอ้างเป็นบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมนั้น. ถ้าไม่มีหรือไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรม. ศาลจะยกฟ้องหรือจะสั่งอย่างอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมโดยไม่ต้องยกฟ้องก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา66.
เมื่อคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา.ปรากฏว่าโจทก์ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะแล้ว. มีอำนาจเป็นคู่ความด้วยตนเองได้แล้ว. ศาลฎีกาก็ไม่จำเป็นต้องสั่งให้โจทก์แก้ไขเรื่องความสามารถ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1154/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขสัญญากู้ยืมหลังพิมพ์ลายนิ้วมือ และการรับรองลายพิมพ์นิ้วมือโดยผู้เยาว์ ยังมีผลผูกพันตามกฎหมาย
ชั้นแรกจำเลยขอกู้เงิน 4,000 บาท รวมกับจำนวนที่กู้เดิม 2,000 บาท เป็น 6,000 บาท เมื่อผู้เขียนสัญญาเขียนจำนวน 6,000 บาทไปแล้ว จำเลยขอเพิ่มอีก 1,000 บาทรวมเป็น 7,000 บาท ผู้เขียนจึงแก้เลข 6 เป็นเลข 7 และแก้ตัวอักษรด้วย ดังนี้ เป็นการแก้ให้ตรงตามความประสงค์ของจำเลย ก่อนที่จำเลยจะพิมพ์ลายนิ้วมือในสัญญากู้ และคู่กรณีมีเจตนาจะให้เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ตามจำนวนที่แก้ไปแล้ว คือ 7,000 บาทฉะนั้นแม้ตัวเลขและตัวอักษรที่แก้ไปจะไม่ได้ลงชื่อกำกับ ก็ใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมโดยสมบูรณ์
ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่า ผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 จะต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือเป็นค่าฤชาธรรมเนียม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแทนผู้เยาว์โดยบิดา และการบังคับตามสัญญาซื้อขายที่ดินที่มีภาระจำยอม
บิดาย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ ฉะนั้น ฟ้องโจทก์ที่ใช้คำว่า บิดาผู้ปกครองโดยชอบธรรม ย่อมหมายถึงบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมนั่นเอง
เอกสารหมาย จ.1 สืบเนื่องมาจากสัญญาซื้อขายที่ดิน โดยจำเลยสัญญาว่าจำเลยจะไปจดทะเบียนภารจำยอมที่ดินให้โจทก์ เอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่สัญญาให้โจทก์ฟัองบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้เช่าซื้อ, ความประมาทของผู้จ้าง, ผู้เยาว์ขับรถไม่มีใบอนุญาต, ความรับผิดทางละเมิด
ภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์เป็นผู้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์มาโดยโจทก์เป็นผู้ไปติดต่อตกลงกับผู้ขายและ เป็นผู้ค้ำประกัน โจทก์ขายนาของโจทก์มาชำระราคารถและเป็นผู้จัดการนำรถไปเดินรับส่งคนโดยสารหารายได้เลี้ยงครอบครัวตลอดทั้งเป็นผู้ควบคุมเก็บรักษารถ ภริยาโจทก์ก็รับว่าโจทก์เป็นผู้ซื้อรถ แต่ลงชื่อภริยาไว้เพราะภริยาโจทก์เกรงว่าโจทก์จะไปมีภริยาใหม่ และการที่จำเลยขับรถไปพลิกคว่ำโดยประมาททำให้รถเสียหาย ย่อมเป็นการทำให้เสียหายแก่การเดินรถหารายได้มาเลี้ยงครอบครัว ทั้งโจทก์และภริยาอาจต้องรับผิดกับผู้ให้เช่าซื้ออีกด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
โจทก์ได้จ้างจำเลยมาขับรถยนต์ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าจำเลยอายุ เพียง 18-19 ปีและไม่มีใบขับขี่ ซึ่งโดยปกติย่อมจะถืออยู่ว่าเป็น ผู้มีความระมัดระวังและความสามารถในการขับรถน้อยอยู่แล้วจึงนับว่าเป็นความประมาทของโจทก์อันมีส่วนเป็นเหตุทำให้เกิดความเสียหายขึ้น ถือได้ว่าโจทก์เสี่ยงยอมรับผลเช่นนั้นอยู่แล้ว จึงควรมีส่วนรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์สินโดยอาศัยสัญญานอกศาล และการได้กรรมสิทธิ์ตามอายุความ แม้สัญญานั้นไม่ผูกพันผู้เยาว์
สัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาลที่มารดาของบุตรผู้เยาว์ทำขึ้นโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลนั้น ย่อมไม่ผูกพันบุตรผู้เยาว์
การเข้าครอบครองทรัพย์ตามสัญญาซึ่งจะต้องชำระเงินตอบแทนต่อไป ในบางกรณีอาจถือเป็นการครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของยังมิได้ เพราะเป็นแต่เข้าครอบครองโดยอาศัยความยินยอมของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งภายใต้ข้อผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ให้ครบถ้วนตามสัญญาก่อนที่จะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่กัน
ในกรณีที่มีการฟ้องคดีเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินระหว่างโจทก์จำเลย และมารดาโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาลกับจำเลยโดยจำเลยให้เงินมารดาโจทก์ และมารดาโจทก์ยอมให้จำเลยเข้าครอบครองทรัพย์พิพาทได้ ดังนี้ ถือว่าเป็นการยอมให้เข้าครอบครองดุจเจ้าของโดยเด็ดขาด แม้มารดาโจทก์จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้ที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลในระหว่างที่โจทก์เป็นผู้เยาว์ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 (4) ก็ตาม แต่เมื่อไม่ได้ความว่ามารดาโจทก์กับจำเลยได้คบคิดกันกระทำการเพื่อให้โจทก์เสียหายเมื่อจำเลยครอบครองทรัพย์พิพาท(ที่ดิน) มาครบ 10 ปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการยอมให้เข้าครอบครองดุจเจ้าของ แม้สัญญายอมความไม่ผูกพันผู้เยาว์ ก็อาจเกิดกรรมสิทธิ์ได้หากเข้าเงื่อนไขครบถ้วน
สัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาลที่มารดาของบุตรผู้เยาว์ทำขึ้นโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น ย่อมไม่ผูกพันบุตรผู้เยาว์
การเข้าครอบครองทรัพย์ตามสัญญาซึ่งจะต้องชำระเงินตอบแทนต่อไป ในบางกรณีอาจถือเป็นการครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของยังมิได้ เพราะเป็นแต่เข้าครอบครองโดยอาศัยความยินยอมของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งภายใต้ข้อผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ให้ครบถ้วนตามสัญญาก่อนที่จะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่กัน
ในกรณีที่มีการฟ้องคดีเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินระหว่างโจทก์จำเลย และมารดาโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาลกับจำเลย โดยจำเลยให้เงินมารดาโจทก์ และมารดาโจทก์ยอมให้จำเลยเข้าครอบครองทรัพย์พิพาทได้ ดังนี้ ถือว่าเป็นการยอมให้เข้าครอบครองดุจเจ้าของโดยเด็ดขาด แม้มารดาโจทก์จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้ที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลในระหว่างที่โจทก์เป็นผู้เยาว์ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(4) ก็ตาม แต่เมื่อไม่ได้ความว่ามารดาโจทก์กับจำเลยได้คบคิดกันกระทำการเพื่อให้โจทก์เสียหาย เมื่อจำเลยครอบครองทรัพย์พิพาท (ที่ดิน) มาครบ 10 ปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้เยาว์และการแก้ไขความบกพร่องทางความสามารถตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เมื่อผู้เยาว์ถูกละเมิด ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ละเมิดได้ แต่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 กล่าวคือ ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้กระทำแทนหรือให้คำอนุญาตหรือให้ความยินยอม บิดาของผู้เยาว์ได้เสนอข้อหาต่อศาลแทนผู้เยาว์โดยยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เยาว์ จึงไม่เป็นบิดาของผู้เยาว์ตามกฎหมาย ไม่มีสิทธิกระทำแทนหรือให้ความยินยอมได้ ในกรณีเช่นนี้เท่ากับว่าผู้เยาว์เสนอข้อหาเอง เป็นการบกพร่องในเรื่องความสามารถเท่านั้น ไม่ใช่ไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อบิดาได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เยาว์แล้ว ก็เป็นบิดาตามกฎหมาย มีอำนาจกระทำแทนหรือให้ความยินยอมในการเสนอข้อหาต่อศาลได้ การบกพร่องในเรื่องความสามารถนี้ แก้ไขให้บริบูรณ์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 56 เมื่อจดทะเบียนสมรสแล้วก็เป็นผู้แทนโดยชอบธรรม เหตุบกพร่องในเรื่องความสามารถก็หมดไป ทำให้การฟ้องคดีแทนเด็กที่บกพร่องมาแต่ต้นเป็นอันบริบูรณ์
จำเลยฎีกาคัดค้านในเรื่องค่าสินไหมทดแทนโดยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงในฎีกาเพียงแต่ขอให้ถือเอาคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมาเป็นข้อสนับสนุนคำฟ้องในชั้นฎีกาเท่านั้น จึงไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 เพราะมิได้กล่าวไว้ชัดแจ้งในฎีกา จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะตัดทอนจำนวนค่าเสียหายให้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้เยาว์และการแก้ไขความบกพร่องทางความสามารถเมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมได้รับการแต่งตั้ง
เมื่อผู้เยาว์ถูกละเมิด ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ละเมิดได้แต่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 กล่าวคือ ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้กระทำแทนหรือให้คำอนุญาตหรือให้ความยินยอม บิดาของผู้เยาว์ได้เสนอข้อหาต่อศาลแทนผู้เยาว์โดยยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เยาว์ จึงไม่เป็นบิดาของผู้เยาว์ตามกฎหมาย ไม่มีสิทธิกระทำแทนหรือให้ความยินยอมได้ ในกรณีเช่นนี้เท่ากับว่าผู้เยาว์เสนอข้อหาเอง เป็นการบกพร่องในเรื่องความสามารถเท่านั้น ไม่ใช่ไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อบิดาได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เยาว์แล้วก็เป็นบิดาตามกฎหมายมีอำนาจกระทำแทนหรือให้ความยินยอมในการเสนอข้อหาต่อศาลได้ การบกพร่องในเรื่องความสามารถนี้ แก้ไขให้บริบูรณ์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 เมื่อจดทะเบียนสมรสแล้วก็เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมเหตุบกพร่องในเรื่องความสามารถก็หมดไป ทำให้การฟ้องคดีแทนเด็กที่บกพร่องมาแต่ต้นเป็นอันบริบูรณ์
จำเลยฎีกาคัดค้านในเรื่องค่าสินไหมทดแทน โดยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงในฎีกาเพียงแต่ขอให้ถือเอาคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมาเป็นข้อสนับสนุนคำฟ้องในชั้นฎีกาเท่านั้น จึงไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 เพราะมิได้กล่าวไว้ชัดแจ้งในฎีกา จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะตัดทอนจำนวนค่าเสียหายให้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2509)
of 46