คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาค้ำประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 80/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันบัญชีเดินสะพัด: ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในหนี้เต็มจำนวนหากสัญญาระบุไม่จำกัดความรับผิด
จำเลยที่ 1 ทำหนังสือสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงินไม่เกิน 20,000 บาท ตามที่โจทก์จะพิจารณาอนุญาต ตามวิธีและประเพณีการเบิกเงินเกินบัญชีของธนาคาร และจำเลยที่ 3 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่ใช่สัญญากู้เพราะจำนวนที่กู้ไม่แน่นอนสุดแท้แต่โจทก์ผู้ให้กู้จะอนุญาต และเมื่อสัญญาค้ำประกันไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าจำเลยที่ 3 รับผิดจำกัดเพียง 20,000 บาท จำเลยที่ 3 ก็ต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 เต็มจำนวนเมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเลิกกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้และสัญญาค้ำประกัน: อำนาจฟ้องจำเลยผู้กู้และผู้ค้ำประกัน
แม้เงินที่จำเลยที่ 1 กู้ไปจากโจทก์จะเป็นเงินของภริยาโจทก์แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้ให้ไว้กับโจทก์ผู้ให้กู้และจำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันให้ไว้กับโจทก์เจ้าหนี้ จำเลยทั้งสองจึงต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าว โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3075/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันที่ไม่ใช่การจัดการสินสมรส ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา
โจทก์ที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของ ท.ต่อจำเลย เป็นการยอมผูกพันตนต่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของ ท.เพื่อชำระหนี้ในเมื่อท. ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้อันเป็นการผูกพันตัวโจทก์ที่ 1 มิได้เกี่ยวกับสินสมรสและหาได้ก่อให้เกิดภารติดพันซึ่งสินสมรสไม่ จึงมิใช่เป็นการจัดการสินสมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1476,1477 อันโจทก์ที่ 2ซึ่งเป็นภริยาจะต้องให้ความยินยอมร่วมกันเป็นหนังสือตามมาตรา 1479 โจทก์ที่ 2 จึงฟ้องขอให้ศาลเพิกถอน สัญญาค้ำประกันดังกล่าวตามมาตรา 1480 วรรคสอง ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2797/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันไม่จำกัดจำนวนเงิน ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท ถือว่าถูกต้องและใช้เป็นพยานหลักฐานได้
ตราสารค้ำประกันตามบัญชีอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 ข้อ 17 บัญญัติว่า "(ก) สำหรับกรณีมิได้จำกัดจำนวนเงินไว้ ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท (ข) สำหรับจำนวนเงินไม่เกิน 1,000 บาท ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท (ค) สำหรับจำนวนเงินเกิน 1,000 บาท แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ค่าอากรแสตมป์ 5 บาท (ง) สำหรับจำนวนเงินเกิน 10,000 บาทขึ้นไป ค่าอากรแสตมป์ 10 บาท"
สำหรับกรณีที่มิได้จำกัดจำนวนเงินไว้นั้น หมายถึงกรณีที่มิได้จำกัดจำนวนเงินที่ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดแทนลูกหนี้ คือลูกหนี้รับผิดอย่างไรผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดแทนอย่างนั้นนั่นเอง กล่าวคือเมื่อผู้ค้ำประกันต้องรับผิดแทนลูกหนี้โดยมิได้จำกัดจำนวนเงินไว้ก็ไม่ต้องพิสูจน์หนี้ของผู้ค้ำประกันต่อไป โดยถือว่าหนี้ของผู้ค้ำประกันมีเท่ากับหนี้ของลูกหนี้ จึงให้เสียค่าอากรแสตมป์เพียง 1 บาท แต่กรณีที่จำกัดจำนวนเงินที่ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดแทนลูกหนี้ไม่ถึงหนี้ของลูกหนี้ ก็ย่อมจำเป็นที่จะต้องพิสูจน์หนี้ของผู้ค้ำประกันต่อไป เป็นการพิสูจน์หนี้ทั้งของลูกหนี้และของผู้ค้ำประกัน เป็นการเพิ่มความยุ่งยากขึ้นอีก จึงให้ปิดอากรแสตมป์เพิ่มขึ้นตามจำนวนหนี้ดังที่บัญญัติไว้ในข้อ (ข) (ค) และ (ง)
หนังสือสัญญาค้ำประกันตามฟ้องมีใจความว่า การที่ผู้เช่าซื้อได้ทำสัญญาเช่าซื้อไว้นั้น ถ้าผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบชดใช้เงินตามสัญญาดังกล่าวแก่บริษัทก็ดี จะต้องรับผิดชดใช้เงินในความเสียหายใดๆ แก่บริษัทก็ดี ข้าพเจ้า (จำเลย) ยอมค้ำประกันและรับผิดชอบเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้เช่าซื้อทุกประการ จึงเป็นกรณีที่มิได้จำกัด จำนวนเงินไว้คือลูกหนี้รับผิดอย่างไรผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดแทน (ร่วมกัน) ลูกหนี้อย่างนั้น ดังบัญญัติไว้ในข้อ (ก) หนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวซึ่งปิดอากรแสตมป์ 1 บาท จึงเป็นตราสารที่ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนตามประมวลรัษฎากร และใช้เป็นพยานหลักฐานได้ตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยในการส่งมอบสินค้าและการใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน
ลูกหนี้ไม่ส่งน้ำตาลแก่ผู้ซื้อตามเวลากำหนด เพราะไม่สามารถตกลงราคากับผู้ผลิตน้ำตาลได้ ต่อมารัฐบาลจึงห้ามส่งน้ำตาลออกไปต่างประเทศไม่เป็นเหตุสุดวิสัยที่จะอ้างขึ้นปัดความรับผิด
ผู้ค้ำประกันลูกหนี้ต่อธนาคารมีเงินฝากในธนาคารเจ้าหนี้ลูกหนี้ผิดนัดผู้ค้ำประกันต้องรับผิดต่อธนาคาร ธนาคารหักเงินของผู้ค้ำประกันที่ฝากไว้กับธนาคารนั้นเมื่อใดก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่พอจ่าย, สัญญาจำนอง/ค้ำประกันไม่สมบูรณ์ ไม่เป็นเหตุให้หนี้ระงับ ศาลยืนตามเดิม
ปัญหาที่ว่าโจทก์นำเช็คที่จำเลยที่ 1 ขายให้ไปเข้าบัญชีหลังวันถึงกำหนดสั่งจ่ายเงินในบัญชีของจำเลยที่ 1 จึงไม่พอจ่าย หนี้ย่อมระงับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดก็ดี ปัญหาที่ว่าสัญญาจำนองที่ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ลงชื่อแทนโจทก์ โดยมิได้ประทับตราของโจทก์ไม่มีผลบังคับก็ดี และปัญหาที่ว่าสัญญาขายลดเช็คสัญญาค้ำประกันลงชื่อจำเลยฝ่ายเดียวเป็นโมฆะก็ดี ล้วนเป็นเรื่องส่วนได้เสียของจำเลยเองมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์เคยทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ด้วยวาจาแล้วหลายครั้ง การที่โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองกำหนดเวลาให้ชำระหนี้จำนวน 1,350,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยภายใน 15 วัน นับแต่ได้รับหนังสือบอกกล่าวนั้น เป็นการบอกกล่าวภายในเวลาอันสมควรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนเลิกแล้วทำสัญญาค้ำประกัน: หุ้นส่วนไม่ต้องรับผิด ผู้จัดการต้องรับผิดเอง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 ที่บัญญัติว่า ห้างหุ้นส่วนแม้จะได้เลิกกันแล้ว ก็ให้ฟังถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีนั้น มิได้หมายความว่า ในระหว่างนั้น ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวจะทำกิจการได้ทุกอย่าง แต่จะทำได้เฉพาะกิจการอันจำเป็นเพื่อการชำระบัญชีเท่านั้น ซึ่งได้แก่กิจการอันเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259
การค้ำประกันหนี้ผู้อื่นไม่ใช่กิจการอันจำเป็นเพื่อการชำระบัญชี ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนแล้ว และอยู่ในระหว่างชำระบัญชีจึงกระทำมิได้และไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการกระทำแทน แต่การที่หุ้นส่วนผู้จัดการทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวแทนห้างหุ้นส่วน เป็นเรื่องตัวแทนกระทำโดยปราศจากอำนาจ หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดตามสัญญาโดยลำพัง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด: ข้อจำกัดการทำสัญญาค้ำประกันหลังเลิกห้าง และความรับผิดของตัวแทนที่ไม่มีอำนาจ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 ที่บัญญัติว่าห้างหุ้นส่วนแม้จะได้เลิกกันแล้ว ก็ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีนั้นมิได้หมายความว่าในระหว่างนั้นห้างหุ้นส่วนดังกล่าวจะทำกิจการได้ทุกอย่าง แต่จะทำได้เฉพาะกิจการอันจำเป็นเพื่อการชำระบัญชีเท่านั้น ซึ่งได้แก่กิจการอันเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1259
การค้ำประกันหนี้ผู้อื่นไม่ใช่กิจการอันจำเป็นเพื่อการชำระบัญชี ห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนแล้วและอยู่ในระหว่างชำระบัญชีจึงกระทำมิได้และไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการกระทำแทนแต่การที่หุ้นส่วนผู้จัดการทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวแทนห้างหุ้นส่วน เป็นเรื่องตัวแทนกระทำโดยปราศจากอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดตามสัญญาโดยลำพัง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในความเสียหายจากการยักยอกเงิน และขอบเขตการตีความสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานเก็บเงินค่ากระแสไฟฟ้ายักยอกเอาเงินไปโดยไม่นำส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นสมุห์บัญชีแล้วจำเลยที่ 3 ไม่ได้ติดตามตรวจสอบเรียกเงินหรือบิลใบเสร็จรับเงินจากจำเลยที่ 1 ตามหน้าที่เพื่อนำมาลงบัญชีเงินสดรับจ่ายประจำวันเสนอให้จำเลยที่ 4 ที่ 5 ปลัดสุขาภิบาลในฐานะกรรมการรักษาเงินทำการตรวจสอบจำเลยที่ 4 ที่ 5 ไม่มีหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 3 โดยตรงจำเลยที่ 4 ที่ 5 ตรวจสอบหลักฐานบัญชีการรับจ่ายเงินตามปกติไม่มีข้อบกพร่อง การที่จำเลยที่ 1 เบียดบังยักยอกเอาเงินของโจทก์ไปจึงไม่เป็นผลอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 4 ที่ 5
ข้อที่ว่าต้องตีความในสัญญาค้ำประกันมิให้เป็นที่เสียหายแก่ผู้ค้ำประกันนั้นเมื่อสัญญาค้ำประกันมีข้อความแจ้งชัดไม่มีข้อจำกัดเฉพาะการขับรถจึงไม่จำเป็นต้องตีความเป็นอย่างอื่นและการที่จำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้จำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาไว้ว่าจะรับผิดชดใช้เงินที่ยักยอกให้แก่โจทก์นั้น ก็หาเข้าลักษณะที่เจ้าหนี้ผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 700 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันจะทำให้จำเลยที่ 8 ในฐานะผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดอีกต่อไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1045/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันความรับผิดของลูกหนี้ทุจริตยักยอกเงินธนาคาร ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามสัญญา
จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานธนาคารโจทก์จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์จำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นผลสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ทุจริตยักยอกเงินที่ผู้จัดการธนาคารสั่งให้จำเลยที่ 1 ไปรับเงินฝากจากลูกค้าซึ่งการรับเงินดังกล่าวเป็นการที่จำเลยที่ 1 รับไว้แทนโจทก์และจำเลยที่ 1 มีหน้าที่นำมามอบให้พนักงานธนาคารโจทก์เพื่อนำเข้าบัญชีของลูกค้าซึ่งต่อมาโจทก์ได้ชดใช้เงินดังกล่าวให้แก่ลูกค้าไปแล้วดังนี้ แม้ขณะจำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้โจทก์ยังมิได้ใช้เงินให้แก่ลูกค้าก็ตามโจทก์ก็มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้
สัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 เข้าทำงานที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อโจทก์มีข้อความว่าถ้าธนาคารโจทก์รับจำเลยที่ 1 เข้าทำงานไม่ว่าในหน้าที่หรือตำแหน่งใดแล้วหากจำเลยที่ 1 ปฏิบัติงานบกพร่องต่อหน้าที่หรือประมาทเลินเล่อหรือกระทำการทุจริตหรือก่อหนี้สินผูกพันกับธนาคารโจทก์อันทำให้ธนาคารโจทก์ได้รับความเสียหายไม่ว่ากรณีใดที่กล่าวมาจำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ธนาคารโจทก์โดยตรงและทันทีทุกกรณีภายในวงเงินไม่เกิน 50,000 บาท ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นพนักงานขับรถยนต์ของธนาคารโจทก์แต่เมื่อโจทก์มอบหมายให้จำเลยที่ 1 ไปรับเงินจากลูกค้าเพื่อนำฝากเข้าบัญชีของลูกค้าจำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่จะต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาฝากเข้าบัญชีลูกค้าเมื่อจำเลยที่ 1 ทุจริตยักยอกเงินนั้นไปจำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดต่อธนาคารตามสัญญาค้ำประกัน
of 50