พบผลลัพธ์ทั้งหมด 314 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5703/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้อง และการหักกลบลบหนี้จากเช็คพิพาท ศาลฎีกาวินิจฉัยการยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความไม่ชัดเจน และคำนวณหนี้คงเหลือ
จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับบริษัท ส. ซึ่งโจทก์เป็นกรรมการตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาบริษัท ส. โจทก์และจำเลยได้ทำบันทึกการโอนสิทธิเรียกร้อง โดยบริษัท ส. โอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยให้แก่โจทก์ และจำเลยได้สั่งจ่ายเช็คธนาคาร ก. สาขาประตูน้ำปทุมวัน ทั้ง 12 ฉบับ เมื่อเช็คถึงกำหนดและโจทก์นำไปเรียกเก็บเงินแล้วธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คและใบคืนเช็ค การที่จำเลยได้ยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความเป็นประเด็นโดยจำเลยให้การเพียงว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องเพราะโจทก์ฟ้องคดีเกินกว่าสองปี ไม่มีรายละเอียดว่าคดีเริ่มนับอายุความเมื่อใด ขาดอายุความเมื่อใด เหตุใดจึงขาดอายุความ เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5131/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ค้ำประกันหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย: มูลหนี้เกิดก่อนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
การที่ผู้คัดค้านที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ที่ลูกหนี้ที่ 1 มีต่อการรถไฟแห่งประเทศไทย ตามสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์และที่ดินเพื่อปลูกสร้างอาคารที่สถานีรถไฟเชียงใหม่และลูกหนี้ที่ 1 ผิดสัญญาเช่ากับการรถไฟแห่งประเทศไทยก่อนที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดเช่นนี้ มูลแห่งหนี้ที่ผู้คัดค้านที่ 2 ต้องรับผิดจึงเกิดก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาด และเมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ชั้นต้นมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ผู้คัดค้านที่ 2 จึงเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 101 และเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในเวลาที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อปรากฏว่าก่อนขอหักกลบลบหนี้ ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ใช้หนี้ให้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทยแล้ว ผู้คัดค้านที่ 2 จึงสามารถนำสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมาหักกับหนี้เงินฝากตามสัญญาฝากทรัพย์ระหว่างลูกหนี้ที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4895/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ต้องมีมูลหนี้เดียวกันและถึงกำหนดชำระ การชำระหนี้ด้วยสิ่งของอื่นต้องได้ความยินยอม
การหักกลบลบหนี้นั้น ป.พ.พ. มาตรา 341 ได้วางหลักเกณฑ์ไว้ว่า ต้องเป็นเรื่องที่บุคคลสองคนต่างมีความผูกพันต่างเป็นหนี้ซึ่งกันและกัน และต้องมีมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกัน กล่าวคือ มีวัตถุแห่งหนี้เหมือนกัน เช่น เงินต่อเงินหรือสิ่งของต่อสิ่งของ และหนี้ทั้งสองฝ่ายต้องถึงกำหนดชำระแล้ว จึงจะนำมาขอหักกลบลบหนี้กันได้ จำเลยเป็นหนี้ค่าจ้างค้างชำระแก่โจทก์ซึ่งเป็นหนี้เงิน แม้จำเลยจะโต้แย้งว่า จำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์แต่ฝ่ายเดียว เพราะโจทก์มีหนี้ที่ต้องส่งคืนวงล้อรถจักรยานยนต์ที่โจทก์ยังไม่ได้ทำการชุบสีให้แก่จำเลยก็ตาม แต่หนี้ดังกล่าวหามีมูลหนี้อันเป็นวัตถุอย่างเดียวกันไม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าหนี้ดังกล่าวถึงกำหนดชำระแล้วแต่อย่างไร กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์เรื่องหักกลบลบหนี้ เพียงแต่เป็นเรื่องที่จำเลยขอชำระหนี้ด้วยสิ่งของอื่นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 321 ซึ่งจำเลยจะทำได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยินยอมตกลงด้วยเท่านั้น แต่ได้ความว่าก่อนฟ้องและหลังฟ้องโจทก์กับจำเลยได้เจรจาตกลงหนี้กันแล้วแต่ไม่สามารถตกลงกันได้ โจทก์จึงยึดหน่วงวงล้อรถจักรยานยนต์ของจำเลยที่ยังอยู่ที่โจทก์ไว้เพื่อให้จำเลยชำระหนี้และจำเลยก็ไม่ได้นำสืบว่า โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยนำวงล้อรถจักรยานยนต์ดังกล่าวตีราคาชำระหนี้แก่โจทก์แต่อย่างไรด้วย จำเลยจึงไม่อาจนำวงล้อรถจักรยานยนต์ที่โจทก์ยึดหน่วงไว้ตีราคาชำระหนี้แก่โจทก์ได้อีกเช่นกัน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังว่า ฟ้องแย้งของจำเลยไม่ต้องด้วยลักษณะหักกลบลบหนี้จึงให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยนั้นชอบแล้วศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย แต่ไม่ตัดสิทธิจำเลยนำฟ้องแย้งไปฟ้องเป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4853/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ค่าหุ้นในคดีล้มละลาย: มาตรา 1119 วรรคสอง ห้ามโดยเด็ดขาด
ในการใช้เงินเป็นค่าหุ้น ป.พ.พ. มาตรา 1119 วรรคสอง บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาดมิให้หักหนี้กับบริษัทโจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นบริษัท จำเลยจึงไม่อาจยกบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 102 มาขอหักหนี้กับหนี้สิทธิไล่เบี้ยตามสัญญาค้ำประกันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3007/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ต้องเป็นบุคคลสองฝ่ายที่มีความผูกพันโดยมูลหนี้เดียวกัน แม้เป็นบริษัทในเครือก็ไม่อาจนำหนี้ของบริษัทอื่นมาหักกลบได้
ผู้ที่จะหักกลบลบหนี้กันได้จะต้องเป็นบุคคลสองคนและมีความผูกพันซึ่งกันและกันโดยมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกัน แม้บริษัท น. จะเป็นบริษัทในเครือเดียวกับจำเลยที่ 1 แต่บริษัท น. ก็เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากไปจากจำเลยที่ 1 มีผู้ถือหุ้นแตกต่างจากกัน การจัดทำงบดุลบัญชีแยกต่างหากจากกัน แม้บริษัท น. จะมีสิทธิเรียกร้องหรือเป็นเจ้าหนี้โจทก์อยู่ จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิที่จะไปนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ ทั้งนี้เพราะหนี้สินระหว่างโจทก์กับบริษัท น. เป็นความผูกพันของโจทก์กับบริษัท น. ส่วนหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นความผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 แยกต่างหากจากกันจะนำมาหักกลบลบหนี้กันไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14758/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ต้องสุทธิ และมีข้อพิพาทเกี่ยวกับเจตนาในการชำระหนี้แทนกัน ทำให้ไม่สามารถหักกลบลบหนี้ได้
แม้โจทก์จะนำสืบรับว่า จำเลยทั้งสองนำเงินจำนวน 370,000 บาท ชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองที่ดินแทนโจทก์ แต่โจทก์ก็นำสืบด้วยว่า จำเลยทั้งสองชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองแทนโจทก์เพื่อขอยืมโฉนดดังกล่าวไปจำนองต่อธนาคาร พ. และโจทก์นำเงินจำนวน 606,000 บาท ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินดังกล่าวจากธนาคารคืนมาแล้วเป็นการที่โจทก์ปฏิเสธว่าจำเลยทั้งสองมิได้ชำระหนี้ดังกล่าวแทนโจทก์ สิทธิเรียกร้องที่จำเลยทั้งสองอ้างขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์จึงยังมีข้อต่อสู้อยู่หาอาจจะเอามาหักกลบลบหนี้ได้ไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 จำเลยทั้งสองจึงนำสิทธิเรียกร้องในเงินจำนวน 370,000 บาท ที่จำเลยทั้งสองชำระแก่ ส. แทนโจทก์มาหักกลบลบหนี้ของโจทก์จำนวน 268,504.05 บาท ที่โจทก์ฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10227/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามสัญญา การหักกลบลบหนี้ และการนำสืบการชำระหนี้ที่มิได้ทำเป็นหนังสือ
โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงกันให้นำหนี้พร้อมดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระโจทก์ ซึ่งเป็นมูลหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมายมาเป็นต้นเงินทำสัญญากันใหม่ ย่อมถือว่าโจทก์ได้ส่งมอบเงินที่กู้ยืมตามสัญญาให้จำเลยที่ 1 โดยชอบแล้ว สัญญากู้ยืมเงินจึงสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมาย
การนำสืบการชำระหนี้โดยการนำเงินฝากเข้าบัญชีให้โจทก์ และการที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเป็นผู้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของโจทก์แทนโจทก์ เป็นการนำสืบการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง กรณีมิใช่การนำสืบการใช้เงินโดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์มาแสดง ซึ่งต้องห้ามมิให้นำสืบตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง จำเลยทั้งสองจึงชอบที่จะนำสืบได้
เมื่อการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ไม่พอชำระหนี้โจทก์ทั้งหมด และไม่มีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น การชำระหนี้จึงต้องชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันชำระหนี้ หากมีเงินเหลือจากการชำระดอกเบี้ยจึงนำไปชำระต้นเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคหนึ่ง
การนำสืบการชำระหนี้โดยการนำเงินฝากเข้าบัญชีให้โจทก์ และการที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเป็นผู้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของโจทก์แทนโจทก์ เป็นการนำสืบการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง กรณีมิใช่การนำสืบการใช้เงินโดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์มาแสดง ซึ่งต้องห้ามมิให้นำสืบตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง จำเลยทั้งสองจึงชอบที่จะนำสืบได้
เมื่อการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ไม่พอชำระหนี้โจทก์ทั้งหมด และไม่มีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น การชำระหนี้จึงต้องชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันชำระหนี้ หากมีเงินเหลือจากการชำระดอกเบี้ยจึงนำไปชำระต้นเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8395/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้, สิทธิเรียกร้องค่าชดเชย, และการบังคับใช้ตามคำพิพากษาในคดีแรงงาน
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 9 กำหนดให้ในกรณีที่นายจ้างจงใจไม่คืนหรือไม่จ่ายเงินประกัน ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าชดเชย หรือค่าชดเชยพิเศษ โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร เมื่อพ้นกำหนดเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ถึงกำหนดคืนหรือจ่ายให้นายจ้างเสียเงินเพิ่มให้แก่ลูกจ้างร้อยละสิบห้าของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลาเจ็ดวัน นอกเหนือจากที่ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดที่กำหนดให้ต้องเสียร้อยละสิบห้าต่อปีอีกด้วย เมื่อค่าจ้างและค่าชดเชยที่จำเลยไม่ได้จ่ายแก่โจทก์ยังมีข้อโต้แย้งระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าจำเลยต้องจ่ายให้โจทก์หรือไม่ และจะนำไปหักกลบลบหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ได้หรือไม่ จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นนายจ้างจงใจไม่จ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องเสียเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ร้อยละสิบห้าของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเจ็ดวันแต่อย่างใด
การอุทธรณ์ซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยยกข้อต่อสู้เรื่องอำนาจศาลว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน ซึ่งจำเลยจะต้องยกเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การเพื่อให้เป็นประเด็นข้อพิพาท เพื่อศาลแรงงานกลางจะได้ส่งปัญหาดังกล่าวไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะพิพากษาคดีและวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางนั้น พ.รบ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง บัญญัติให้เป็นที่สุด เมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหาเรื่องศาลแรงงานกลางไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาเรื่องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้ในคำให้การ แสดงว่าจำเลยยอมรับอำนาจของศาลแรงงานกลางที่จะวินิจฉัยเรื่องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ จำเลยเพิ่งยกปัญหานี้ขึ้นมาในชั้นอุทธรณ์ซึ่งล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาปัญหานี้แล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำฟ้องไว้จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 180 บัญญัติว่า "การแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การที่คู่ความเสนอต่อศาลไว้แล้วให้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้นหรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย" ในคดีแรงงานถือได้ว่าไม่มีการชี้สองสถานเพราะการกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันสืบพยานเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ฉะนั้น โจทก์จะต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน เว้นแต่มีเหตุยกเว้นตามบทบัญญัติข้างต้น
การอุทธรณ์ซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยยกข้อต่อสู้เรื่องอำนาจศาลว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน ซึ่งจำเลยจะต้องยกเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การเพื่อให้เป็นประเด็นข้อพิพาท เพื่อศาลแรงงานกลางจะได้ส่งปัญหาดังกล่าวไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะพิพากษาคดีและวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางนั้น พ.รบ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง บัญญัติให้เป็นที่สุด เมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหาเรื่องศาลแรงงานกลางไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาเรื่องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้ในคำให้การ แสดงว่าจำเลยยอมรับอำนาจของศาลแรงงานกลางที่จะวินิจฉัยเรื่องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ จำเลยเพิ่งยกปัญหานี้ขึ้นมาในชั้นอุทธรณ์ซึ่งล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาปัญหานี้แล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำฟ้องไว้จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 180 บัญญัติว่า "การแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การที่คู่ความเสนอต่อศาลไว้แล้วให้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้นหรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย" ในคดีแรงงานถือได้ว่าไม่มีการชี้สองสถานเพราะการกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันสืบพยานเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ฉะนั้น โจทก์จะต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน เว้นแต่มีเหตุยกเว้นตามบทบัญญัติข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาหย่า: ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นสิทธิเฉพาะตัว หักกลบลบหนี้อื่นไม่ได้ แม้มีหนี้ครัวเรือนร่วมกัน
จำเลยได้เงินจากการออกจากงาน จำเลยย่อมสามารถนำมาชำระแก่โจทก์ตามสัญญาหย่าได้ แต่จำเลยก็หากระทำไม่ กลับอ้างลอย ๆ ว่านำไปชำระหนี้นอกระบบหมด จำเลยจะอ้างเอาเงินที่ได้ไปชำระหนี้ที่จำเลยอ้างว่านอกระบบ ซึ่งหมายความว่าไม่มีมูลที่จะเรียกร้องตามกฎหมายมามีเหตุผลเหนือกว่าการชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาหย่าที่จำเลยมีตามสัญญาที่ตนกระทำอันเป็นหนี้ตามหน้าที่ศีลธรรมอันดีในฐานะบิดาที่จะต้องดูแลบุตรผู้เยาว์หาได้ไม่ ส่วนหนี้ครัวเรือนที่จำเลยอ้างว่าโจทก์มีส่วนรับผิดนั้น เห็นว่า ตามสัญญาหย่ามีข้อตกลงชัดเจนที่จำเลยจะชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าเกี่ยวกับการศึกษาบุตร มีลักษณะเป็นการตกลงเพื่อระงับข้อพิพาทที่จะมีต่อกันในการจัดการทรัพย์สินที่เกี่ยวข้อง หากจำเลยมีข้ออ้างว่าโจทก์กับจำเลยมีหนี้ร่วมกันจริง ก็ควรมีการยกขึ้นพิจารณาระหว่างโจทก์กับจำเลยก่อนที่จะมีข้อตกลงเกี่ยวกับภาระผูกพันที่จำเลยจะรับผิดต่อโจทก์ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามสัญญาหย่าว่าจำเลยจะชำระหนี้แก่โจทก์โดยระบุว่า หนี้สินไม่ประสงค์ให้มีการบันทึก จึงต้องถือว่า หนี้สินระหว่างจำเลยกับโจทก์ ไม่ว่าจะมีหรือไม่ เป็นเรื่องที่ไม่กระทบต่อข้อตกลงที่จำเลยมีต่อโจทก์ตามสัญญาหย่า ทั้งสิทธิในการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูถือเป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่สามารถจำหน่ายจ่ายโอนหรือสละได้ คดีนี้โจทก์ทำข้อตกลงกับจำเลยเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นมารดากระทำการแทนบุตรผู้เยาว์ สิทธิในการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจึงยังเป็นของบุตรผู้เยาว์ จำเลยไม่อาจนำมาอ้างขอหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่โจทก์มีต่อจำเลยได้ ดังนั้นจำเลยจะมาหยิบยกภาระหนี้ดังกล่าวมาอ้างเพื่อขอหักกลบลบหนี้ที่ตนมีต่อโจทก์หาได้ไม่