พบผลลัพธ์ทั้งหมด 479 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันภาษีอากรของคนต่างด้าวมีผลผูกพันเมื่อผู้ค้ำประกันต้องชำระแทนเนื่องจากผู้ถูกค้ำประกันไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
ที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 4อัฏฐ บัญญัติให้คนต่างด้าวซึ่งมีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศเป็นปกติธุระ เกี่ยวกับการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพยื่นคำร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรโดยมีหลักประกันหรือหลักทรัพย์อยู่ในประเทศไทยพอคุ้มค่าภาษีอากรที่ค้างหรือที่จะต้องชำระนั้น ก็เพียงป้องกันไม่ให้รัฐต้องขาดรายได้จากภาษีอากรที่คนต่างด้าวค้างชำระหรือที่จะต้องชำระ เพราะเหตุที่คนต่างด้าวออกจากประเทศไทยไปแล้วไม่กลับเข้ามาในประเทศไทยอีก
จำเลยทำสัญญาค้ำประกัน อ.คนต่างด้าวไว้ต่อโจทก์ เนื่องจากเหตุที่ อ.มีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศ และร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรนั้นเป็นการค้ำประกันการเดินทางไปต่างประเทศของ อ.ว่าเมื่ออ.ไปต่างประเทศแล้วจะต้องเดินทางกลับมาประเทศไทยภายใน 180 วันนับแต่วันออกใบผ่านภาษีอากร ดังนั้น ที่สัญญาค้ำประกันระบุว่า"หากทางราชการจะเรียกร้อง (ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร)เอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก ข้าพเจ้า (จำเลย) ยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วนทั้งสิ้น" นั้น หมายถึงว่าถ้าอ.ไม่เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนั้นนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรหากทางราชการจะเรียกร้องภาษีอากรเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบ มิใช่หมายความว่าแม้ อ.เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวกแล้วจำเลยยังจะต้องรับผิดชำระแทนจนครบถ้วน
อ.คนต่างด้าวได้รับใบผ่านภาษีอากรประเภทเดินทางหลายครั้ง(ระบบ ผ.3ก) มีสิทธิใช้ใบผ่านภาษีอากรเดินทางไปต่างประเทศได้หลายครั้ง แต่ต้องเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว เมื่อ อ.ได้เดินทางไปต่างประเทศแล้วกลับเข้ามาในประเทศไทย หลังจากนั้นก็ได้เดินทางไปต่างประเทศอีกภายใน 180 วันนั้นแล้วไม่ได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยอีกเลย ดังนี้ สัญญาค้ำประกันดังกล่าวหาได้ระงับไปเพราะ อ.กลับเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยขอค้ำประกัน อ.ต่อโจทก์ว่าถ้าอ.มีหน้าที่จะต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรไม่ว่าในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะแทนผู้อื่น หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วนดังนั้นหนี้อากรแสตมป์และเงินเพิ่มที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดบ. โดย อ.หุ้นส่วนผู้จัดการค้างชำระอยู่ก่อนที่จำเลยจะค้ำประกันอ. แม้เจ้าพนักงานประเมินจะแจ้งให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. นำเงินอากรแสตมป์และเงินเพิ่มไปชำระหลังจากที่จำเลยค้ำประกัน อ. จำเลยก็จะต้องรับผิดเพราะหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ อ. ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องชำระให้โจทก์ เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. ที่อ. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการผิดนัดไม่ชำระภาษีอากรต้องถือว่า อ. ผิดนัดด้วย โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้ฟ้องให้จำเลยผู้ค้ำประกันชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ได้ โดยไม่จำต้องทวงถามจำเลยก่อน และไม่จำต้องเรียกร้องหรือทวงถามให้อ. รับผิดเป็นส่วนตัวก่อน
จำเลยทำสัญญาค้ำประกัน อ.คนต่างด้าวไว้ต่อโจทก์ เนื่องจากเหตุที่ อ.มีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศ และร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรนั้นเป็นการค้ำประกันการเดินทางไปต่างประเทศของ อ.ว่าเมื่ออ.ไปต่างประเทศแล้วจะต้องเดินทางกลับมาประเทศไทยภายใน 180 วันนับแต่วันออกใบผ่านภาษีอากร ดังนั้น ที่สัญญาค้ำประกันระบุว่า"หากทางราชการจะเรียกร้อง (ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร)เอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก ข้าพเจ้า (จำเลย) ยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วนทั้งสิ้น" นั้น หมายถึงว่าถ้าอ.ไม่เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนั้นนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรหากทางราชการจะเรียกร้องภาษีอากรเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบ มิใช่หมายความว่าแม้ อ.เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวกแล้วจำเลยยังจะต้องรับผิดชำระแทนจนครบถ้วน
อ.คนต่างด้าวได้รับใบผ่านภาษีอากรประเภทเดินทางหลายครั้ง(ระบบ ผ.3ก) มีสิทธิใช้ใบผ่านภาษีอากรเดินทางไปต่างประเทศได้หลายครั้ง แต่ต้องเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว เมื่อ อ.ได้เดินทางไปต่างประเทศแล้วกลับเข้ามาในประเทศไทย หลังจากนั้นก็ได้เดินทางไปต่างประเทศอีกภายใน 180 วันนั้นแล้วไม่ได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยอีกเลย ดังนี้ สัญญาค้ำประกันดังกล่าวหาได้ระงับไปเพราะ อ.กลับเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยขอค้ำประกัน อ.ต่อโจทก์ว่าถ้าอ.มีหน้าที่จะต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรไม่ว่าในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะแทนผู้อื่น หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วนดังนั้นหนี้อากรแสตมป์และเงินเพิ่มที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดบ. โดย อ.หุ้นส่วนผู้จัดการค้างชำระอยู่ก่อนที่จำเลยจะค้ำประกันอ. แม้เจ้าพนักงานประเมินจะแจ้งให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. นำเงินอากรแสตมป์และเงินเพิ่มไปชำระหลังจากที่จำเลยค้ำประกัน อ. จำเลยก็จะต้องรับผิดเพราะหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ อ. ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องชำระให้โจทก์ เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. ที่อ. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการผิดนัดไม่ชำระภาษีอากรต้องถือว่า อ. ผิดนัดด้วย โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้ฟ้องให้จำเลยผู้ค้ำประกันชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ได้ โดยไม่จำต้องทวงถามจำเลยก่อน และไม่จำต้องเรียกร้องหรือทวงถามให้อ. รับผิดเป็นส่วนตัวก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2142/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขก่อนเรียกร้องสิทธิ และข้อพิพาทนอกสัญญาไม่อยู่ในขอบเขตบังคับคดี
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลว่า จำเลยยอมขายที่ดินพร้อมอาคารพิพาทให้โจทก์โดยปลอดจำนอง ดังนี้ จำเลยจะต้องทำให้ที่ดินและอาคารดังกล่าวปลอดจำนองเสียก่อนจึงจะขอให้โจทก์วางเงินค่าที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ ส่วนปัญหาค่าซ่อมแซมอาคารพิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่าชำรุดทรุดโทรมไปจากเดิม เป็นเรื่องนอกเหนือจากกรณีที่จะต้องบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความศาลจะวินิจฉัยให้หักเงินค่าที่ดินและอาคารพิพาทในชั้นบังคับคดีนี้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงในสัญญาเช่าที่กำหนดเงื่อนไขการเลิกสัญญาโดยไม่ต้องบอกกล่าว ย่อมใช้บังคับได้และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
สัญญาเช่าห้องมีว่า ถ้าผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่า 1 เดือน ถือว่า สัญญาสิ้นสุดโดยไม่ต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาดังนี้ เป็นการยกเว้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 560 ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่าต้องมีการส่งมอบ หรือผู้รับครอบครองอยู่ก่อน การยกให้มีเงื่อนไขไม่สมบูรณ์
ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญใด ๆ การให้จึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่การให้ซึ่งจะต้องมีทั้งผู้ให้และผู้รับและผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น
ผู้ให้มีแต่สิทธิครอบครองในที่พิพาท ดังนั้น ผู้ให้จะโอนการครอบครองให้แก่ผู้รับก็แต่ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครองเว้นแต่ผู้รับจะครอบครองทรัพย์สินนั้นอยู่ก่อนแล้วก็ทำได้โดยเพียงแสดงเจตนา
ขณะที่เจ้ามรดกทำหนังสือยกที่พิพาทให้แก่ผู้รับผู้รับไม่อยู่ได้มาลงชื่อภายหลังและไม่ปรากฏว่าเจ้ามรดกส่งมอบที่พิพาทให้ผู้รับครอบครองหรือผู้รับได้ครอบครองที่พิพาทอยู่ก่อนทั้งหนังสือยกให้นั้นเป็นการยกให้โดยมีเงื่อนไขบังคับก่อน โดยให้มีผลสมบูรณ์ก่อนเจ้ามรดกตาย 3 วัน จึงยังฟังไม่ได้ว่าเจ้ามรดกได้แสดงเจตนาสละและโอนการครอบครองที่พิพาทให้ผู้รับที่พิพาทครึ่งหนึ่งที่เป็นสินสมรสของเจ้ามรดกจึงยังเป็นมรดกของเจ้ามรดกอยู่ เมื่อโจทก์จำเลยและเจ้ามรดกเป็นอิสลามมิกชน มีภูมิลำเนาอยู่ในเขต 4 จังหวัด ดังนั้น ในการวินิจฉัยว่าโจทก์มีส่วนในมรดกเพียงใด จำต้องให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้ชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามและลงลายมือชื่อในคำพิพากษาตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานีนราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489
ผู้ให้มีแต่สิทธิครอบครองในที่พิพาท ดังนั้น ผู้ให้จะโอนการครอบครองให้แก่ผู้รับก็แต่ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครองเว้นแต่ผู้รับจะครอบครองทรัพย์สินนั้นอยู่ก่อนแล้วก็ทำได้โดยเพียงแสดงเจตนา
ขณะที่เจ้ามรดกทำหนังสือยกที่พิพาทให้แก่ผู้รับผู้รับไม่อยู่ได้มาลงชื่อภายหลังและไม่ปรากฏว่าเจ้ามรดกส่งมอบที่พิพาทให้ผู้รับครอบครองหรือผู้รับได้ครอบครองที่พิพาทอยู่ก่อนทั้งหนังสือยกให้นั้นเป็นการยกให้โดยมีเงื่อนไขบังคับก่อน โดยให้มีผลสมบูรณ์ก่อนเจ้ามรดกตาย 3 วัน จึงยังฟังไม่ได้ว่าเจ้ามรดกได้แสดงเจตนาสละและโอนการครอบครองที่พิพาทให้ผู้รับที่พิพาทครึ่งหนึ่งที่เป็นสินสมรสของเจ้ามรดกจึงยังเป็นมรดกของเจ้ามรดกอยู่ เมื่อโจทก์จำเลยและเจ้ามรดกเป็นอิสลามมิกชน มีภูมิลำเนาอยู่ในเขต 4 จังหวัด ดังนั้น ในการวินิจฉัยว่าโจทก์มีส่วนในมรดกเพียงใด จำต้องให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้ชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามและลงลายมือชื่อในคำพิพากษาตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานีนราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 982/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีอาญาที่มีเงื่อนไข เมื่อจำเลยผิดเงื่อนไข โจทก์ไม่มีสิทธิรื้อฟื้นคดีที่ระงับไปแล้ว
ในคดีความผิดอันยอมความได้ ปรากฏจากคำให้การชั้นสอบสวนของเจ้าพนักงานตำรวจที่จำเลยอ้างเป็นพยานว่า เจ้าพนักงานตำรวจได้นำโจทก์ไปพบจำเลยและต่างได้พูดจากกันจนเป็นที่พอใจแล้ว ทั้งสองฝ่ายต่างไม่ติดใจเอาความต่อกัน ในชั้นพิจารณาโจทก์แถลงต่อศาลว่า ตามข้อตกลงที่จะเลิกคดีมีเงื่อนไขว่าจำเลยที่ 1 ที่ 4 จะต้องไม่คุกคามพระในวัดต่อไป แต่หลังจากนั้นได้มีการรุกรานอีกเป็นการผิดข้อตกลง ดังนี้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยต่างตกลงยอมความกันโดยตรงเลิกคดีกันแล้ว สิทธินำคดีมาฟ้องระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2) ตั้งแต่วันที่ยอมความกัน
ในการยอมความที่มีเงื่อนไข หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข โจทก์จะต้องดำเนินคดีกับจำเลยเป็นคดีใหม่ แต่หามีสิทธิรื้อฟื้นคดีที่ยุติแล้วมาฟ้องจำเลยอีกไม่ เพราะสิทธิการฟ้องคดีของโจทก์ระงับไปแล้ว
ในการยอมความที่มีเงื่อนไข หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข โจทก์จะต้องดำเนินคดีกับจำเลยเป็นคดีใหม่ แต่หามีสิทธิรื้อฟื้นคดีที่ยุติแล้วมาฟ้องจำเลยอีกไม่ เพราะสิทธิการฟ้องคดีของโจทก์ระงับไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 982/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีอาญาที่มีเงื่อนไข และผลของการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข สิทธิฟ้องคดีระงับ
ในคดีความผิดอันยอมความได้ปรากฏจากคำให้การชั้นสอบสวนของเจ้าพนักงานตำรวจที่จำเลยอ้างเป็นพยานว่า เจ้าพนักงานตำรวจได้นำโจทก์ไปพบจำเลยและต่างได้พูดจากันจนเป็นที่พอใจแล้ว ทั้งสองฝ่ายต่างไม่ติดใจเอาความต่อกัน ในชั้นพิจารณาโจทก์แถลงต่อศาลว่า. ตามข้อตกลงที่จะเลิกคดีมีเงื่อนไขว่าจำเลยที่ 1 ที่ 4 จะต้องไม่คุกคามพระในวัดต่อไปแต่หลังจากนั้นได้มีการรุกรานอีกเป็นการผิดข้อตกลงดังนี้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยต่างตกลงยอมความกันโดยตรงเลิกคดีกันแล้วสิทธินำคดีมาฟ้องระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ตั้งแต่วันที่ยอมความกัน
ในการยอมความที่มีเงื่อนไข หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข โจทก์จะต้องดำเนินคดีกับจำเลยเป็นคดีใหม่แต่หามีสิทธิรื้อฟื้นคดีที่ยุติแล้วมาฟ้องจำเลยอีกไม่ เพราะสิทธิการฟ้องคดีของโจทก์ระงับไปแล้ว
ในการยอมความที่มีเงื่อนไข หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข โจทก์จะต้องดำเนินคดีกับจำเลยเป็นคดีใหม่แต่หามีสิทธิรื้อฟื้นคดีที่ยุติแล้วมาฟ้องจำเลยอีกไม่ เพราะสิทธิการฟ้องคดีของโจทก์ระงับไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 456/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่นาให้แล้วเรียกคืนภายใต้เงื่อนไขเนรคุณ: ไม่เข้าข่ายผู้ยากไร้จึงไม่สามารถเรียกคืนได้
โจทก์ยกที่นาให้จำเลย ต่อมาโจทก์ขออาศัยทำนาเพื่อขายผลิตผลชำระหนี้ซึ่งโจทก์เป็นหนี้ผู้อื่น จำเลยไม่ยอมโจทก์ขอยืมเงิน จำเลยก็ไม่ให้ ดังนี้ เป็นเรื่องที่จำเลยไม่ช่วยเหลือโจทก์ในการชำระหนี้สินของโจทก์เท่านั้นมิใช่เป็นการที่ผู้รับบอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(3) จึงไม่เป็นเหตุอันจะเรียกถอนคืนการให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขในคดีขับไล่และค่ารื้อถอน
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยจากที่เช่าจำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเลิกสัญญาเช่าและฟ้องแย้งว่าหากศาลพิพากษาขับไล่ขอให้โจทก์ใช้เงินค่ารื้อถอนห้องแถวดังนี้ เป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขศาลรับคำให้การแต่ไม่รับฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแถลงไม่ติดใจสืบพยานโดยมีเงื่อนไข และหน้าที่นำสืบของคู่ความ ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาได้
โจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยาน ในเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบตามประเด็น เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยาน เป็นคำแถลงไม่ติดใจสืบพยานโดยมีเงื่อนไข เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานเป็นการไม่ชอบต้องให้คู่ความสืบพยานต่อไป จึงไม่ต้องด้วยเงื่อนไขที่โจทก์แถลงต่อศาล โจทก์ย่อมนำพยานเข้าสืบตามประเด็นได้
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในเรื่องหน้าที่นำสืบที่ว่าเป็นหน้าที่จำเลยต้องนำสืบก่อนให้ได้ความตามข้อต่อสู้ ซึ่งเป็นคำวินิจฉัยกล่าวถึงวิธีพิจารณาที่ควรจะเป็นสำหรับรูปคดี ไม่ใช่คำชี้ขาดในคดี ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอในคำฟ้องอุทธรณ์
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในเรื่องหน้าที่นำสืบที่ว่าเป็นหน้าที่จำเลยต้องนำสืบก่อนให้ได้ความตามข้อต่อสู้ ซึ่งเป็นคำวินิจฉัยกล่าวถึงวิธีพิจารณาที่ควรจะเป็นสำหรับรูปคดี ไม่ใช่คำชี้ขาดในคดี ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอในคำฟ้องอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแถลงไม่ติดใจสืบพยานโดยมีเงื่อนไข และหน้าที่นำสืบพยานของคู่ความ ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้
โจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยาน ในเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบตามประเด็น เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานเป็นคำแถลงไม่ติดใจสืบพยานโดยมีเงื่อนไข เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานเป็นการไม่ชอบต้องให้คู่ความสืบพยานต่อไปจึงไม่ต้องด้วยเงื่อนไขที่โจทก์แถลงต่อศาล โจทก์ย่อมนำพยานเข้าสืบตามประเด็นได้
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในเรื่องหน้าที่นำสืบที่ว่าเป็นหน้าที่จำเลยต้องนำสืบก่อนให้ได้ความตามข้อต่อสู้ซึ่งเป็นคำวินิจฉัยกล่าวถึงวิธีพิจารณาที่ควรจะเป็นสำหรับรูปคดีไม่ใช่คำชี้ขาดในคดีไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอในคำฟ้องอุทธรณ์
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในเรื่องหน้าที่นำสืบที่ว่าเป็นหน้าที่จำเลยต้องนำสืบก่อนให้ได้ความตามข้อต่อสู้ซึ่งเป็นคำวินิจฉัยกล่าวถึงวิธีพิจารณาที่ควรจะเป็นสำหรับรูปคดีไม่ใช่คำชี้ขาดในคดีไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอในคำฟ้องอุทธรณ์