คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจตนาทุจริต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 431 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1623/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดฉ้อโกง ฟ้องไม่ชัดเจนถือเป็นฟ้องไม่เป็น
ความผิดฐานฉ้อโกงนั้นต้องประกอบด้วยเจตนาทุจริต ถ้าในฟ้องไม่บรรยายว่าจำเลยมีเจตนาทุจริต และไม่บรรยายด้วยข้อความอันรัดกุมเพียงพอให้ได้ความว่า จำเลยมีเจตนาทุจริตแล้ว ฟ้องนั้นก็ไม่เป็นฟ้องอันจะลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 304 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงขายของปลอมต้องแสดงกิริยาหรือวาจาหลอกลวงชัดเจน แม้มีเจตนาทุจริตแต่ไม่มีการหลอกลวงจึงไม่เป็นความผิด
ฟ้องว่าจำเลยเอาสร้อยคอ ซึ่งเป็นของปลอมไปขายโดยจำเลยมีเจตนทุจริตหลอกลวงให้เขาเชื่อในสภาพแห่งสร้อยอันเป็นความเท็จ อันเป็นเหตุให้เขาหลงเชื่อและได้ตกลงซื้อสร้อย ดังนี้ ยังไม่เป็นความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 310 เพราะโจทก์มิได้กล่าวว่าจำเลยหลอกลวงประการใดจะด้วยกิริยา ด้วยวาจา หรือด้วยประการใด และหลอกลวงอย่างไรมิได้กล่าวในฟ้อง จึงต้องพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตจากการหลอกลวงขายของ ศาลพิจารณาจากคำฟ้องที่ระบุการใช้คำเท็จและรับประโยชน์
ฟ้องของโจทก์แม้จะไม่ใช้ถ้อยคำดัง ก.ม.ลักษณะอาญาบัญญัติไว้ในมาตรา 304,306 แต่เมื่อมีข้อความให้เข้าใจได้ดังนั้นก็เป็นการเพียงพอ
โจทก์ฟ้องบรรยายว่าจำเลยบังอาจใช้อุบายประกอบด้วยคำเท็จมากล่าวหลอกลวงบอกขายสายสร้อยคอทองคำ 3 สายว่าเป็นทองคำแท้ แก่เจ้าทรัพย์เป็นเงิน 1250 บาท เจ้าทรัพย์หลงเชื่อคำเท็จของจำเลยว่าเป็นทองดี จึงมอบเงินจำนวน 1250 บาทแก่จำเลยไป จำเลยได้รับเงินแล้วก็เอาไปเป็นประโยชน์ตนเสียซึ่งความจริงไม่ใช่ทองคำอันแท้จริงดังนี้ก็เป็นฟ้องที่มีองค์เกณฑ์ครบตาม ม. 304,310 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตในการหลอกลวงขายของ ศาลพิจารณาจากคำฟ้องที่แสดงถึงความรู้ว่าข้อความเท็จ
ฟ้องของโจทก์แม้จะไม่ใช้ถ้อยคำดัง กฎหมายลักษณะอาญาบัญญัติไว้ในมาตรา 304,306 แต่เมื่อมีข้อความให้เข้าใจได้ดังนั้นก็เป็นการเพียงพอ
โจทก์ฟ้องบรรยายว่าจำเลยบังอาจใช้อุบายประกอบด้วยคำเท็จมากล่าวหลอกลวงบอกขายสายสร้อยคอทองคำ 3 สายว่าเป็นทองคำแท้ แก่เจ้าทรัพย์เป็นเงิน 1250 บาท เจ้าทรัพย์หลงเชื่อคำเท็จของจำเลยว่าเป็นทองดี จึงมอบเงินจำนวน 1250 บาทแก่จำเลยไป จำเลยได้รับเงินแล้ว ก็เอาไปเป็นประโยชน์ตนเสีย ซึ่งความจริงไม่ใช่ทองคำอันแท้จริง ดังนี้ก็เป็นฟ้องที่มีองค์เกณฑ์ครบตาม มาตรา 304,310 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตในความผิดฐานฉ้อโกง ไม่จำเป็นต้องระบุในฟ้องโดยตรง หากพฤติการณ์ตามฟ้องแสดงเจตนาได้ชัดเจน
ฟ้องความผิดฐานฉ้อโกงนั้นจะต้องปรากฎว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตอันเป็นองค์แห่งความผิดอยู่ด้วยแต่หาจำเป็นถึง กับจะต้องระบุถ้อยคำว่า มีเจตนาทุจริตลงในฟ้องโดยตรงเสมอไปไม่ หากฟ้องกล่าวข้อความซึ่งเมื่อพิเคราะห์ทั้งหมดมีความหมายพอให้เข้าใจได้ว่า จำเลยมีเจตนาทุจริต ก็นับว่าเป็นการเพียงพอแล้ว ซึ่งทั้งนี้จะต้องพิเคราะห์ตามฟ้องเป็นเรื่อง ๆ ไป
ฟ้องฐานฉ้อโกงที่ไม่มีคำว่าทุจริตในฟ้อง แต่มีความหมายพอให้เข้าใจได้ว่า จำเลยมีเจตนาทุจริตซึ่งถือว่าเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ฐานฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตในความผิดฉ้อโกง ไม่จำเป็นต้องระบุในฟ้องโดยตรง หากพฤติการณ์แสดงเจตนาหลอกลวงได้ชัดเจน
ฟ้องความผิดฐานฉ้อโกงนั้นจะต้องปรากฏว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตอันเป็นองค์แห่งความผิดอยู่ด้วย แต่หาจำเป็นถึงกับจะต้องระบุถ้อยคำว่า มีเจตนาทุจริตลงในฟ้องโดยตรงเสมอไปไม่ หากฟ้องกล่าวข้อความซึ่งเมื่อพิเคราะห์ทั้งหมดมีความหมายพอให้เข้าใจได้ว่า จำเลยมีเจตนาทุจริต ก็นับว่าเป็นการเพียงพอแล้ว ซึ่งทั้งนี้จะต้องพิเคราะห์ตามฟ้องเป็นเรื่องๆ ไป
ฟ้องฐานฉ้อโกงที่ไม่มีคำว่าทุจริตในฟ้อง แต่มีความหมายพอให้เข้าใจได้ว่า จำเลยมีเจตนาทุจริต ซึ่งถืว่าเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ฐานฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมแปลงใบเสร็จรับเงินโดยเจตนาทุจริตเพื่อหลอกลวงผู้อื่น ถือเป็นความผิดฐานปลอมหนังสือ
จำเลยเป็นเสมียนเทศบาลสังกัดในแผนกสมุหบัญชี มีหน้าที่รับเงินภาษีอากรต่าง ๆ ที่ผู้มีหน้าที่นำมาชำระ ว.ฝากเงินจำเลยมาชำระค่าภาษีโรงเรือน จำเลยเอาเงินใช้เสียแล้วใช้ปลายขั้วแบบพิมพ์ใบเสร็จรับเงินของเทศบาลที่เหลือใช้จากปีก่อนมากรอกข้อความว่า ว.ได้ชำระภาษีโรงเรือนแล้ว จำเลยลงชื่อตนเองในช่องผู้รับเงินและพนักงานเก็บภาษี ซึ่งจำเลยจะเซ็นชื่อช่องพนักงานเก็บภาษีไม่ได้ เพราะไม่ได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเก็บภาษี ดังนี้ เป็นการแสดงชัดแจ้งว่าเจตนากระทำเทียมให้หลงเชื่อว่าเป็นใบเสร็จอันแท้จริง จำเลยย่อมมีผิดฐานปลอมหนังสือตามมาตรา 225.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1755/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกทรัพย์: การส่งมอบทรัพย์สินให้ผู้อื่นเก็บรักษาแล้วนำไปขายต่อ
จำเลยได้รับมอบหมายหัวเทียนรถยนตร์จาก จ. เพื่อนำไปให้ภรรยาของ ต. เก็บไว้ จำเลยได้มีเจตนาทุจริตเอาไปขายเสีย จำเลยมีผิดฐานยักยอก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1652/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกทรัพย์: เจตนาทุจริตในการขายทรัพย์สินของผู้อื่นแล้วเบียดบังเงิน
จำเลยได้รับมอบเข็มขัดนาคของ บ. เพื่อไปจัดการขายแทนโดยกำหนดราคาให้ขาย จำเลยเอาไปขายต่ำกว่าราคาที่กำหนดแล้วกล่าวเท็จกับ บ.ว่ายังไม่ได้ขาย ขอผัดไปอีก สุดท้ายปฏิเสธว่าได้ขายและเอาเงินให้ บ.แล้ว ดังนี้ จำเลยย่อมมีผิดฐานยักยอกเข็มขัดของ บ.ตามที่โจทก์ฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกเงินหุ้นส่วนสลากกินแบ่งฯ ต้องมีเจตนาทุจริตและได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษาเงิน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ จำเลยเข้าหุ้นส่วนกันซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล สลากถูกรางวัลที่ 2 เป็นเงินสี่หมื่นบาท จำเลยรับเงินจากกองสลากกินแบ่งแล้ว จำเลยไม่ยอมจ่ายเงินสองหมื่นส่วนได้ของโจทก์ให้แก่โจทก์ จำเลยเจตนาทุจริตเบียดบังยักยอกเงินจำนวนนี้ ดังนี้ โจทก์ไม่ได้ไว้ใจจำเลยไม่ได้มอบหมายให้จำเลยเป็นผู้ดูแลรักษาหรือเก็บเงินไว้ จึงไม่เป็นคดีอาญา ศาลไม่รับฟ้องไว้พิจารณา
of 44