พบผลลัพธ์ทั้งหมด 541 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3045/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงคำให้การในชั้นอุทธรณ์ต้องยื่นก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา หากยื่นหลังถือเป็นข้อจำกัดตามกฎหมาย
จำเลยที่ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงคำให้การเดิมของตนย่อมทำได้ด้วยการขอแก้หรือเพิ่มคำให้การ ซึ่งจะต้องยื่นคำร้องก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา แต่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคสอง ดังนั้นแม้ศาลอุทธรณ์จะมิได้สั่งคำร้องดังกล่าวก็หาทำให้การพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ต้องเสียไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2484/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดุลพินิจศาลแรงงานในการไม่อนุญาตเลื่อนคดี และข้อจำกัดในการอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ศาลแรงงาน
คำสั่งศาลแรงงานกลางที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดี เป็นการใช้ดุลพินิจของศาลแรงงานกลางอันเป็นข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีขับไล่และการอุทธรณ์ดุลพินิจศาล: ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีค่าเช่าต่ำ
การอนุญาตให้ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควรจึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งการใช้ดุลพินิจดังกล่าว จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์จำเลยไม่มีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหุ้นสหกรณ์: สิทธิเรียกร้องคืนได้ แม้มีข้อจำกัดภายในสหกรณ์
ทรัพย์สินและสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้จะอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาตามมาตรา 285,286แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อหุ้นของสหกรณ์ออมทรัพย์ผู้ร้องที่จำเลยที่ 1 ถืออยู่มิได้อยู่ในบทบัญญัติข้อยกเว้นตามกฎหมายดังกล่าวจึงต้องอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี สำหรับเงินค่าหุ้นนั้น แม้จะเป็นเงินทุนของผู้ร้องตามที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติ สหกรณ์ พ.ศ. 2511 และข้อบังคับของผู้ร้องก็ตามแต่จำเลยที่ 1 ก็ยังมีสิทธิเรียกร้องเอาคืนได้ ส่วนข้อบังคับของผู้ร้องเกี่ยวกับการหักหรือคืนเงินค่าหุ้น ตลอดจนกำหนดว่าสมาชิกของผู้ร้องจะขาย โอน ถอนหุ้นดังกล่าวระหว่างเป็นสมาชิกไม่ได้นั้น ก็เป็นเรื่องภายในระหว่างสมาชิกผู้ร้องเอง มิใช่กฎหมายหามีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ ศาลชั้นต้นชอบที่จะดำเนินการบังคับคดีตามคำสั่งอายัดเดิมไป.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: หุ้นสหกรณ์เป็นทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดีได้ แม้มีข้อจำกัดการโอนหุ้น
ทรัพย์สินและสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 285,286 เมื่อหุ้นของสหกรณ์ออมทรัพย์ผู้ร้องที่จำเลยที่ 1 ถืออยู่มิได้อยู่ในบทบัญญัติข้อยกเว้นตามกฎหมายดังกล่าวจึงต้องอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี สำหรับเงินค่าหุ้นนั้น แม้จะเป็นเงินทุนของผู้ร้องตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 และข้อบังคับของผู้ร้องก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ก็ยังมีสิทธิเรียกร้องเอาคืนได้ส่วนข้อบังคับของผู้ร้องเกี่ยวกับการหักหรือคืนเงินค่าหุ้นตลอดจนกำหนดว่าสมาชิกของผู้ร้องจะขาย โอน ถอนหุ้นดังกล่าวระหว่างเป็นสมาชิกไม่ได้นั้น ก็เป็นเรื่องภายในระหว่างสมาชิกผู้ร้องเอง มิใช่กฎหมายหามีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ ศาลชั้นต้นชอบที่จะดำเนินการบังคับคดีอายัดเงินค่าหุ้นสมาชิกสหกรณ์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6061/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างต่างชาติ การอุทธรณ์นอกเหนือคำวินิจฉัย และข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีแรงงาน
เอกสารที่บริษัทจำเลยมีไปถึงโจทก์ยังต่างประเทศมีข้อความว่า จำเลยขอว่าจ้างโจทก์ให้มาทำงานกับจำเลยในตำแหน่งหัวหน้าแผนกรับผิดชอบแผนกช่างซ่อมเป็นเวลา 2 ปี เงินเดือน 45,000 เหรียญใต้หวันเป็นคำเสนอจ้างโจทก์ให้มาทำงานกับจำเลย เมื่อโจทก์ได้เดินทางเข้ามาทำงานกับจำเลยในประเทศไทยแล้ว ข้อเสนอต่าง ๆ ในเอกสารดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับและผูกพันโจทก์จำเลยให้ต้องปฏิบัติถือได้ว่าโจทก์จำเลยได้มีสัญญาจ้างต่อกันแล้ว ข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่า กำหนดระยะเวลาจ้าง 2 ปีที่กำหนดไว้ในเอกสารท้ายฟ้องขัดต่อกฎหมายนั้น จำเลยมิได้ยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ส่วนข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ลาออกจากงานเอง จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์นั้น ก็ปรากฏว่าจำเลยให้การและศาลแรงกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยให้โจทก์ออกจากงาน อุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยจึงนอกเหนือไปจากคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลาง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง และการลงโทษฐานทำร้ายร่างกายเมื่อพยานหลักฐานไม่เพียงพอ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง ดังนั้น ข้อหาฐานพยายามฆ่าผู้อื่นจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80,83 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยใช้กำลังทำร้ายผู้เสียหายไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 ซึ่งโจทก์หาได้บรรยายฟ้องถึงการกระทำดังกล่าวแต่อย่างใดไม่ จึงลงโทษจำเลยในฐานความผิดดังกล่าวมิได้ ด้วยมิใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่.(ที่มา-ส่งเสริม)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80,83 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยใช้กำลังทำร้ายผู้เสียหายไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 ซึ่งโจทก์หาได้บรรยายฟ้องถึงการกระทำดังกล่าวแต่อย่างใดไม่ จึงลงโทษจำเลยในฐานความผิดดังกล่าวมิได้ ด้วยมิใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอในคดีแรงงาน ศาลต้องยึดตามจำนวนที่ระบุในคำฟ้อง
แม้ศาลแรงงานจะฟังว่าจำเลยต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงิน 64,285.71 บาทก็ตาม แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยจ่ายเงินดังกล่าวเพียง 56,000 บาท ดังนั้นการที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินนั้นแก่โจทก์ 64,285.71 บาทโดยไม่ได้อ้างเหตุอันสมควรเพื่อความเป็นธรรมแต่อย่างใด จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3327/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาเรื่องประกาศกระทรวงสาธารณสุขและข้อจำกัดในการยกเหตุใหม่ในชั้นฎีกา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายกัญชาโดยฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยให้การรับสารภาพโดยมิได้ปฏิเสธว่าจำเลยไม่ทราบถึงประกาศของกระทรวงสาธารณสุขแต่อย่างใดที่จำเลยฎีกาว่า ไม่ปรากฏว่ากระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศว่ากัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 จริงหรือไม่ และจำเลยไม่สามารถทราบประกาศดังกล่าวได้นั้น จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นแม้ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2833/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกสัญญาแชร์เพื่อพิจารณาข้อจำกัดการฎีกา และข้อจำกัดทุนทรัพย์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเล่นแชร์กับโจทก์รวม 3 วงแล้วผิดสัญญาไม่ชำระค่าแชร์ ทุนทรัพย์ในคดีต้องแยกตามสัญญาเล่นแชร์แต่ละวงสำหรับแชร์วงที่ 2 และวงที่ 3 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์มิได้อุทธรณ์จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนแชร์วงแรกทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248