คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทรัพย์มรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 490 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์มรดกยังคงรับผิดชอบหนี้สินของผู้ตาย แม้มีการโอนชื่อในโฉนดเป็นผู้รับมรดก
โฉนดที่พิพาทมีชื่อ พ. เจ้ามรดกเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์อยู่ และ พ.ได้มอบให้เจ้าหนี้ยึดไว้เป็นประกันเงินกู้ ต่อมา พ. ตาย ผู้ร้องและจำเลยได้ไปขอออกโฉนดใหม่ใส่ชื่อผู้ร้องและจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในใบแทนโฉนด ดังนี้ ไม่ทำให้ที่พิพาทนั้นพ้นจากสภาพเป็นทรัพย์ในกองมรดกของ พ. ที่จะต้องรับผิดต่อหนี้สินของ พ.ที่จะต้องชำระให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาล ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอกันส่วนได้ในกองมรดกจนกว่าจะได้จัดการชำระหนี้สินของ พ.ให้เสร็จสิ้นเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีบุกรุก-ลักทรัพย์: ผู้ครอบครองดูแลทรัพย์มรดกมีสิทธิฟ้องได้ แม้ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุก ทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์โดยบรรยายฟ้องว่า ทรัพย์ที่ฟ้องทั้งหมดอยู่ในความครอบครองดูแลรับผิดชอบของโจทก์แม้โจทก์จะรับว่าทรัพย์ที่ฟ้องเป็นทรัพย์มรดกของพี่ชายโจทก์ซึ่งมีบุตรและบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ โจทก์เข้าครอบครองดูแลรักษาทรัพย์ดังกล่าวไว้โดยอาศัยสิทธิที่โจทก์เป็นน้องชายเจ้ามรดกก็ตาม โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายในฐานะเป็นผู้ครอบครองดูแลรักษาทรัพย์เหล่านั้น และมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052-1054/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในทรัพย์มรดก การเช่าที่ดิน และการใช้สิทธิโดยสุจริตของผู้ซื้อ
ร. ทำพินัยกรรมยกที่ดินแปลงพิพาทกับแปลงอื่นอีก 2 แปลงให้ ส. อ. และ ล. แต่ให้ตกเป็นของผู้รับต่อเมื่อ ล. มีอายุครบ 20 ปีคนใดจะได้แปลงไหนให้จับสลากเอาเมื่อ ร. ตายแล้ว มีบุคคลผู้หนึ่งได้เป็นผู้จัดการมรดก แต่ต่อมาขอออกไป ระหว่างที่ยังไม่มีผู้จัดการมรดกคนใหม่ บ. ซึ่งเป็นมารดาของ ส. อ. ล. ได้ให้จำเลยเช่าตึกแถวในที่ดินแปลงพิพาท ซึ่งตึกนี้มีคนสร้างและยกกรรมสิทธิ์ให้แก่ บ. ดังนี้ ตึกแถวย่อมตกติดเป็นของเจ้าของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310 แม้ตามพินัยกรรมจะยังไม่ให้สิทธิในที่ดินแปลงใดตกทอดไปยัง ส. อ. และ ล. ในทันที ตึกแถวนั้นก็คงต้องตกไปเป็นของคนใดคนหนึ่งในสามคนนี้ แต่ก็ไม่ใช่เป็นของ บ. แม้จำเลยจะหลงเชื่อโดยสุจริตว่า บ. เป็นเจ้าของก็ไม่ทำให้จำเลยเกิดสิทธิในการเช่าอันจะใช้ยันเจ้าของที่ดินและตึกอันแท้จริงได้ เพราะ บ. ผู้ให้เช่าไม่ใช่เจ้าของตึกหรือมีสิทธิให้เช่าได้ โจทก์ซึ่งรู้เรื่องอยู่แล้ว รับโอนกรรมสิทธิ์ไปจากเจ้าของแล้วใช้อำนาจกรรมสิทธิ์ปฏิเสธไม่รับรู้การเช่าของจำเลยและฟ้องขับไล่ ดังนี้ จะถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหาได้ไม่ เพราะย่อมถือได้ว่าโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์มา โดยเห็นว่าการเช่าของจำเลยไม่มีผลผูกพันเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง ไม่ใช่ว่าทำไปทั้งที่รู้อยู่ว่าตนไม่มีสิทธิที่จะทำได้
เมื่อ ล. มีอายุครบ 20 ปีแล้ว ศาลตั้งให้ ส. อ. และ ล.เป็นผู้จัดการมรดกของ ร. ส. อ. และ ล. จึงเป็นทั้งผู้จัดการมรดกและทายาทตามพินัยกรรมที่จะรับมรดกที่ดินกับตึกแถวรายนี้ การที่ ส. อ.และ ล. ขายที่ดินพิพาทกับตึกแถวให้แก่โจทก์ไปในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดก จึงเป็นการขายตามความประสงค์ของเจ้าของกรรมสิทธิ์จำเลยไม่อาจอ้างได้ว่าผู้จัดการมรดกไม่มีอำนาจขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของทายาทต่อหนี้สินของกองมรดก
ทายาทอาจถูกเจ้าหนี้กองมรดกฟ้องได้เสมอ แต่ทายาทนั้นไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตนได้รับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการจัดการทรัพย์มรดกจนคดีถึงที่สุด: ศาลเคารพข้อตกลงของคู่ความเหนือบทบัญญัติมาตรา 260
ระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้ง ท. ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์มรดกที่พิพาทได้จนกว่าจะคดีจะถึงที่สุดตามที่คู่ความตกลงกัน เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 การที่คู่ความตกลงกันให้มีการคุ้มครองประโยชน์จนกว่าคดีจะถึงที่สุดนั้น ไม่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแต่ประการใด ข้อตกลงจึงใช้ได้ จะนำบทบัญญัติมาตรา 260 มาใช้บังคับให้เป็นการขัดแย้งกับข้อตกลงของคู่ความไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงคุ้มครองประโยชน์ทรัพย์มรดกจนคดีถึงที่สุด ศาลต้องเคารพ
ระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้ง ท. ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์มรดกที่พิพาทได้จนกว่าคดีจะถึงที่สุดตามที่คู่ความตกลงกัน เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 การที่คู่ความตกลงกันให้มีการคุ้มครองประโยชน์จนกว่าคดีจะถึงที่สุดนั้น ไม่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแต่ประการใด ข้อตกลงจึงใช้ได้จะนำบทบัญญัติมาตรา 260 มาใช้บังคับให้เป็นการขัดแย้งกับข้อตกลงของคู่ความไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1709/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องทรัพย์มรดก: ผู้จัดการมรดกฟ้องชี้ขาดกรรมสิทธิ์ได้ หากอีกฝ่ายโต้แย้งในฐานะทายาท
ผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันโดยศาลตั้ง ผู้ร้องร้องต่อศาลขอให้ศาลชี้ขาดว่าทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเป็นทรัพย์มรดก ผู้คัดค้านว่าเป็นทรัพย์ของ ส. บิดาของตน ดังนี้ การโต้แย้งของผู้คัดค้านเป็นการโต้แย้งในฐานะเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกอง ส. จึงไม่ใช่เป็เรื่องที่มีข้อโต้แย้งกันโดยเฉพาะระหว่างผู้จัดการมรดกร่วมกัน ผู้ร้องจะขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดในคดีของตั้งผู้จัดการว่าทรัพย์สิ่งใดเป็นทรัพย์ของกองมรดกไมได้ เมื่อผู้คัดค้านโต้แย้งสิทธิของกองมรดก ผู้ร้องก็ชอบที่จะฟ้องร้องให้ตามสิทธิของผู้ร้อง
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1622/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสามีฟ้องเรียกทรัพย์มรดกส่วนของภริยาที่เป็นสินบริคณห์ แม้ยังไม่ได้แบ่งมรดก
ทรัยพ์มรดกซึ่งหญิงมีสามีมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งก่อนทำการสมรสกับสามีแม้ทรัพย์มรดกนั้นยังไม่ได้แบ่งปันกันก็ย่อมเป็นสินเดิมของหญิงนั้น และเป็นสินบริคณห์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1462 โจทก์ซึ่งเป็นสามีมีสิทธิฟ้องเรียกมรดกส่วนของภริยาซึ่งเป็นสินบริคณห์ระหว่างสามีภริยาได้ ตามมาตรา 1469 และแม้จำเลยเป็นมารดาของภริยาโจทก์ ก็ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 1534 เพราะจำเลยไม่ใช่บุพการีโจทก์ และมิใช่เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องแทนภริยา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดก, อายุความ, และผลของสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำโดยผู้ใช้อำนาจปกครองเด็ก
จำเลยซึ่งเป็นน้องเจ้ามรดก ไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของเจ้ามรดกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1755
ที่นาพิพาทเป็นทรัพย์ของเจ้ามรดกตกทอดได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุตรกับมารดาเจ้ามรดก โจทก์ทั้งสามเป็นผู้เยาว์ มารดาโจทก์ไม่มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับที่พิพาทได้โดยพลการ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 สัญญาประนีประนอมยอมความ ส.กับมารดาโจทก์ทำไว้ไม่มีผลบังคับแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดกและการทำสัญญาของผู้อำนาจปกครองเด็ก
จำเลยซึ่งเป็นน้องเจ้ามรดก ไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของเจ้ามรดกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755
ที่นาพิพาทเป็นทรัพย์ของเจ้ามรดกตกทอดได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุตรกับมารดาเจ้ามรดก โจทก์ทั้งสามเป็นผู้เยาว์ มารดาโจทก์ไม่มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับที่พิพาทได้โดยพลการ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 สัญญาประนีประนอมที่ ส.กับมารดาโจทก์ทำไว้ไม่มีผลบังคับแก่โจทก์ได้
of 49