พบผลลัพธ์ทั้งหมด 416 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1451/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ vs. แปลงหนี้ใหม่ และอายุความพ่อค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 165
หนังสือสัญญารับใช้เงิน มีข้อความแสดงอยู่ชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ค่าซื้อสินค้าโจทก์อยู่จริง และรับว่าคงค้างชำระอยู่ 2 จำนวน คือ 19,406.61 บาท และ 8,043 บาท ขอผัดชำระไป 6 เดือน ไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่าจะให้มีการเปลี่ยนแปลงสารสำคัญในหนี้เดิมอย่างใด จึงเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ ไม่ใช่แปลงหนี้ใหม่
องค์การ อ.จ.ส.โจทก์จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจัดซื้อและจำหน่ายสินค้า พ.ศ.2497 ซึ่งบัญญัติให้ดำเนินการค้าได้ เมื่อองค์การโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยในฐานะเป็นพ่อค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี ตามฟ้องกล่าวว่า จำเลยชำระหนี้ครั้งสุดท้าย เมื่อเดือนสิงหาคม 2501 แม้นับอายุความใหม่ตั้งแต่วันชำระหนี้ครั้งสุดท้าย อันเป็นวันถือว่าจำเลยรับสภาพหนี้ตามมาตรา 172 จนถึงวันที่ 5 มีนาคม 2507 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ฟ้องก็เกิน 2 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความ
องค์การ อ.จ.ส.โจทก์จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจัดซื้อและจำหน่ายสินค้า พ.ศ.2497 ซึ่งบัญญัติให้ดำเนินการค้าได้ เมื่อองค์การโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยในฐานะเป็นพ่อค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี ตามฟ้องกล่าวว่า จำเลยชำระหนี้ครั้งสุดท้าย เมื่อเดือนสิงหาคม 2501 แม้นับอายุความใหม่ตั้งแต่วันชำระหนี้ครั้งสุดท้าย อันเป็นวันถือว่าจำเลยรับสภาพหนี้ตามมาตรา 172 จนถึงวันที่ 5 มีนาคม 2507 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ฟ้องก็เกิน 2 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งมอบนาถือเป็นการชำระหนี้บางส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 456 วรรค 2 โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับคดีได้
ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าจำเลยได้ส่งมอบนาให้โจทก์ครอบครองตั้งแต่วันตกลงซื้อขายนากันนั้นเป็นข้ออ้างว่าได้ชำระหนี้บางส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรค 2 ซึ่งเป็นมูลให้โจทก์บังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาต่อไปคือ ให้โอนที่พิพาทแก่โจทก์ตามข้อสัญญาได้ กฎหมายมิได้มีข้อจำกัดว่าฝ่ายที่ชำระหนี้เท่านั้นจึงจะฟ้องร้องขอให้ศาลบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในสินสมรสก่อน-หลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: กรณีโจทก์ไม่มีสินเดิม
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 สิทธิในสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย ซึ่งใช้อยู่ก่อนวันประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เมื่อโจทก์ได้จำเลยที่ 1 เป็นสามีโจทก์ไม่มีสินเดิม ตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย โจทก์ไม่มีสิทธิจะได้ส่วนแบ่งในสินสมรส
(อ้างฎีกาที่ 326/2479)
เมื่อฟังว่านาพิพาทเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 และแม้หากจะฟังว่าเรือนและครัวซึ่งปลูกอยู่บนนาพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิจะได้ส่วนแบ่งในสินสมรส จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจขายนาพิพาทพร้อมด้วยเรือนและครัวให้จำเลยที่ 2 ได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
(อ้างฎีกาที่ 326/2479)
เมื่อฟังว่านาพิพาทเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 และแม้หากจะฟังว่าเรือนและครัวซึ่งปลูกอยู่บนนาพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิจะได้ส่วนแบ่งในสินสมรส จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจขายนาพิพาทพร้อมด้วยเรือนและครัวให้จำเลยที่ 2 ได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในสินสมรสกรณีสามีภริยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ และการขายสินเดิมโดยไม่ต้องยินยอม
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 สิทธิในสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งใช้อยู่ก่อนวันประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เมื่อโจทก์ได้จำเลยที่ 1 เป็นสามีโจทก์ไม่มีสินเดิม ตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย โจทก์ไม่มีสิทธิจะได้ส่วนแบ่งในสินสมรส (อ้างฎีกาที่ 326/2479)
เมื่อฟังว่านาพิพาทเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 และแม้หากจะฟังว่าเรือนและครัวซึ่งปลูกอยู่บนนาพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิจะได้ส่วนแบ่งในสินสมรส จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจขายนาพิพาทพร้อมด้วยเรือนและครัวให้จำเลยที่ 2 ได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
เมื่อฟังว่านาพิพาทเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 และแม้หากจะฟังว่าเรือนและครัวซึ่งปลูกอยู่บนนาพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิจะได้ส่วนแบ่งในสินสมรส จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจขายนาพิพาทพร้อมด้วยเรือนและครัวให้จำเลยที่ 2 ได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ทรัพย์ขายฝากก่อนกำหนด: การตีความข้อห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 494, 492 บัญญัติเป็นใจความว่า ท่านห้ามไม่ให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์ที่ขายฝาก ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ เมื่อพ้นกำหนด 10 ปี หรือเมื่อพ้นกำหนดที่กำหนดไว้ในสัญญา ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ทำสัญญาขายฝากที่ดินพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างไว้กับจำเลยมีกำหนด 2 ปี ตามนัยของกฎหมายดังกล่าว เป็นที่เห็นได้ว่ากฎหมายไม่ได้ห้ามโจทก์ใช้สิทธิไถ่ก่อน 2 ปี ดังนี้ ภายในกำหนด 2 ปี โจทก์จะใช้สิทธิไถ่เมื่อใดก็ได้ เมื่อจำเลยไม่ยอมให้ไถ่ก็ต้องถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย ขอไถ่ที่ดินคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ทรัพย์ขายฝากก่อนกำหนด: การตีความมาตรา 494 และ 492 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 494,492 บัญญัติเป็นใจความว่า ท่านห้ามไม่ให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์ที่ขายฝาก ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ เมื่อพ้นกำหนด 10 ปี หรือเมื่อพ้นกำหนดที่กำหนดไว้ในสัญญา ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ทำสัญญาขายฝากที่ดินพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างไว้กับจำเลยมีกำหนด 2 ปี ตามนัยของกฎหมายดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ว่ากฎหมายไม่ได้ห้ามโจทก์ใช้สิทธิไถ่ก่อน 2 ปี ดังนี้ ภายในกำหนด 2 ปี โจทก์จะใช้สิทธิไถ่เมื่อใดก็ได้ เมื่อจำเลยไม่ยอมให้ไถ่ก็ต้องถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย ขอไถ่ที่ดินคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำมั่นสัญญาให้ที่ดินที่ไม่จดทะเบียน ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 526
คำมั่นหรือคำรับรองว่าจะให้ที่ดิน เมื่อมิได้จดทะเบียนไว้ ก็ไม่เข้าเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 526 ผู้รับไม่มีสิทธิเรียกร้องจากผู้ให้แต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องค่าโดยสารเครื่องบิน: 10 ปี ตามมาตรา 164 ไม่ใช่ 2 ปี ตามมาตรา 165(3)
โจทก์ฟ้องเรียกค่าโดยสารเครื่องบินอายุความเรียกร้องมีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มิใช่ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(3)
เมื่อมีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้และระบุไว้ชัดเจนแล้ว ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยตามคลองจารีตประเพณีหรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัติ
เมื่อฎีกาจำเลยไม่ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายซึ่งจำเลยจะยกขึ้นอ้างอิงโดยชัดแจ้ง ศาลก็ไม่รับวินิจฉัยให้.
เมื่อมีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้และระบุไว้ชัดเจนแล้ว ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยตามคลองจารีตประเพณีหรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัติ
เมื่อฎีกาจำเลยไม่ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายซึ่งจำเลยจะยกขึ้นอ้างอิงโดยชัดแจ้ง ศาลก็ไม่รับวินิจฉัยให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องค่าโดยสารเครื่องบิน: ใช้ 10 ปี ตามมาตรา 164 ไม่ใช่ 2 ปี ตามมาตรา 165(3)
โจทก์ฟ้องเรียกค่าโดยสารเครื่องบินอายุความเรียกร้องมีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มิใช่ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(3)
เมื่อมีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้และระบุไว้ชัดเจนแล้ว ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยตามคลองจารีตประเพณีหรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัติ
เมื่อมีฎีกาจำเลยไม่ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายซึ่งจำเลยจะยกขึ้นอ้างอิงโดยชัดแจ้ง ศาลก็ไม่รับวินิจฉัยให้
เมื่อมีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้และระบุไว้ชัดเจนแล้ว ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยตามคลองจารีตประเพณีหรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัติ
เมื่อมีฎีกาจำเลยไม่ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายซึ่งจำเลยจะยกขึ้นอ้างอิงโดยชัดแจ้ง ศาลก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแพ่งจากการยักยอกทรัพย์: การสะดุดหยุด และข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กรมป่าไม้ฟ้องจำเลย 2 คนว่า เป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ยักยอกเอาเงินไป ครั้นเมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 2 กระทำไปตามลำพังแล้ว ในชั้นอุทธรณ์ฎีกาโจทก์กลับอ้างอีกว่า จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อ ปล่อยให้จำเลยที่ 2 ยักยอกเงินไปจะให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดด้วย ข้ออ้างดังนี้ย่อมเป็นการนอกประเด็น
กรมป่าไม้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งว่า จำเลย 2 คนเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ปลอมแปลงเอกสารราชการแล้วยักยอกเงินขอให้บังคับให้จำเลยร่วมกันคืนหรือใช้เงินจำนวนที่ยักยอกไปปรากฏว่าเรื่องนี้อัยการได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาแล้วคดียังไม่ถึงที่สุดต่อมาคดีอาญานั้นถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 เพราะฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ยักยอกเงิน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ปลอมแปลงเอกสารและยักยอกเงินตามลำพัง แต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานและจะลงโทษฐานยักยอกก็ไม่ได้ เพราะไม่มีการร้องทุกข์จึงมีความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารราชการเท่านั้นดังนี้ ต้องถือว่าความเสียหายของโจทก์ ที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยใช้เงินในคดีแพ่งนี้เป็นผลจากการที่จำเลยทำละเมิดโดยยักยอกเงินจะเอาเหตุที่ศาลลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารว่าเป็นมูลแห่งสิทธิเรียกร้องเพื่อมิให้ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหาได้ไม่
บทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสองบัญญัติเพื่อให้มีผลบังคับสำหรับกรณีที่จะมีการฟ้องคดีแพ่งตามมาภายหลังที่ได้พิจารณาพิพากษาคดีอาญาเสร็จเด็ดขาดไปแล้วดังที่บัญญัติไว้ในวรรค 3 และ 4 รวมทั้งกรณีที่มีการฟ้องคดีแพ่งเข้ามาในระหว่างพิจารณาคดีอาญาด้วยคดีนี้อัยการฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาหาว่ายักยอกเงินและศาลพิพากษายกฟ้องจนคดีเสร็จเด็ดขาดไปแล้วกรณีจึงต้องตามบทบัญญัติวรรคสี่
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 นั้นใช้บังคับเฉพาะในกรณีผู้เสียหายฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด แต่คดีนี้เป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกเอาทรัพย์ที่ผู้ทำละเมิดยึดถือครอบครองของเขาไว้ในฐานละเมิดซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 จึงต้องใช้อายุความตามมาตรา 1382 และ 1383
กรมป่าไม้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งว่า จำเลย 2 คนเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ปลอมแปลงเอกสารราชการแล้วยักยอกเงินขอให้บังคับให้จำเลยร่วมกันคืนหรือใช้เงินจำนวนที่ยักยอกไปปรากฏว่าเรื่องนี้อัยการได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาแล้วคดียังไม่ถึงที่สุดต่อมาคดีอาญานั้นถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 เพราะฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ยักยอกเงิน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ปลอมแปลงเอกสารและยักยอกเงินตามลำพัง แต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานและจะลงโทษฐานยักยอกก็ไม่ได้ เพราะไม่มีการร้องทุกข์จึงมีความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารราชการเท่านั้นดังนี้ ต้องถือว่าความเสียหายของโจทก์ ที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยใช้เงินในคดีแพ่งนี้เป็นผลจากการที่จำเลยทำละเมิดโดยยักยอกเงินจะเอาเหตุที่ศาลลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารว่าเป็นมูลแห่งสิทธิเรียกร้องเพื่อมิให้ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหาได้ไม่
บทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสองบัญญัติเพื่อให้มีผลบังคับสำหรับกรณีที่จะมีการฟ้องคดีแพ่งตามมาภายหลังที่ได้พิจารณาพิพากษาคดีอาญาเสร็จเด็ดขาดไปแล้วดังที่บัญญัติไว้ในวรรค 3 และ 4 รวมทั้งกรณีที่มีการฟ้องคดีแพ่งเข้ามาในระหว่างพิจารณาคดีอาญาด้วยคดีนี้อัยการฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาหาว่ายักยอกเงินและศาลพิพากษายกฟ้องจนคดีเสร็จเด็ดขาดไปแล้วกรณีจึงต้องตามบทบัญญัติวรรคสี่
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 นั้นใช้บังคับเฉพาะในกรณีผู้เสียหายฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด แต่คดีนี้เป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกเอาทรัพย์ที่ผู้ทำละเมิดยึดถือครอบครองของเขาไว้ในฐานละเมิดซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 จึงต้องใช้อายุความตามมาตรา 1382 และ 1383