พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 342/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการสั่งพิทักษ์ทรัพย์ต่อการบังคับคดีจำนอง: การบังคับคดีต้องสำเร็จก่อน
เดิมศาลพิพากษาให้จำเลยทำสัญญาจำนองโรงเลื่อยเป็นประกันหนี้โจทก์ถ้าไม่ทำให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาจำเลยได้รับคำบังคับแล้วแต่ก่อนจำเลยได้รับคำบังคับศาลแพ่งสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดในคดีล้มละลาย และหมายตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วดังนี้ โจทก์จะขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไปทำสัญญาจำนองแทนจำเลยไม่ได้เพราะการบังคับคดียังไม่สำเร็จบริบูรณ์ก่อนวันที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จึงใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 110
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1748/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การยกเลิกการพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุด
ลูกหนี้ซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วแต่ศาลยังมิได้พิพากษาให้ล้มละลายนั้น จะต้องให้สั่งยกเลิกการล้มละลายเสียตาม ม.135 (2) โดยอ้างเหตุว่าไม่ควรถูกพิพากษาให้ล้มละลายนั้นไม่ได้ เพราะยังไม่มีการล้มละลายอย่างใดที่จะยกเลิก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และกระบวนการอุทธรณ์ที่ไม่ถูกต้อง
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดในคดีล้มละลายแล้วเจ้าหนี้ต้องไปขอรับชำระหนี้ทางเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมาดำเนินคดีทางศาลหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องไปแล้ว โจทก์จึงยื่นอุทธรณ์แต่เสียค่าธรรมเนียมไม่ครบถ้วน ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมให้ครบ โจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งโดยทำเป็นคำร้องยื่นไปยังศาลอุทธรณ์ตาม มาตรา 234 หาใช่ยื่นฟ้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ เช่นนี้คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม มาตรา 236 วรรคต้น โจทก์จะฎีกาหาได้ไม่
อ้างฎีกาที่ 1223/2498
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องไปแล้ว โจทก์จึงยื่นอุทธรณ์แต่เสียค่าธรรมเนียมไม่ครบถ้วน ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมให้ครบ โจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งโดยทำเป็นคำร้องยื่นไปยังศาลอุทธรณ์ตาม มาตรา 234 หาใช่ยื่นฟ้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ เช่นนี้คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม มาตรา 236 วรรคต้น โจทก์จะฎีกาหาได้ไม่
อ้างฎีกาที่ 1223/2498
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีกับจำเลยที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และกระบวนการอุทธรณ์คำสั่งศาล
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดในคดีล้มละลายแล้วเจ้าหนี้ต้องไปขอรับชำระหนี้ทางเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมาดำเนินคดีทางศาลหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องไปแล้ว โจทก์จึงยื่นอุทธรณ์แต่เสียค่าธรรมเนียมไม่ครบถ้วน ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมให้ครบ โจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งโดยทำเป็นคำร้องยื่นไปยังศาลอุทธรณ์ตาม มาตรา 234 หาใช่ยื่นฟ้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ เช่นนี้คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม มาตรา 236 วรรคต้น โจทก์จะฎีกาหาได้ไม่
อ้างฎีกาที่ 1223/2498
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องไปแล้ว โจทก์จึงยื่นอุทธรณ์แต่เสียค่าธรรมเนียมไม่ครบถ้วน ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมให้ครบ โจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งโดยทำเป็นคำร้องยื่นไปยังศาลอุทธรณ์ตาม มาตรา 234 หาใช่ยื่นฟ้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ เช่นนี้คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม มาตรา 236 วรรคต้น โจทก์จะฎีกาหาได้ไม่
อ้างฎีกาที่ 1223/2498
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8944/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีล้มละลายและการดำเนินคดีต่อหลังศาลฎีกาพิพากษาคดีล้มละลายแล้ว
ระหว่างการพิจารณาคดีนี้ ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เด็ดขาด และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โดยขอให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เพื่อให้โจทก์ไปดำเนินการยื่นคำขอรับชำระหนี้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงเป็นการสั่งจำหน่ายคดีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 ตอนท้าย มิได้ประสงค์ให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปจากศาลเสียทีเดียว คำสั่งจำหน่ายคดีเช่นนี้มิใช่คำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 เมื่อต่อมาศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในคดีล้มละลาย โจทก์ก็กลับมาดำเนินคดีนี้ต่อไปได้
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปโดยไม่ได้ไต่สวน แต่ในวันนัดพร้อม จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไป และศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำร้องดังกล่าวแล้ว ถือว่าศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยื่นคำร้องอ้างว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เด็ดขาดแล้วเท่านั้น ไม่ปรากฏเหตุผลอื่นอีก ศาลชั้นต้นสามารถวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวได้เองตามข้อกฎหมายข้างต้น คดีจึงไม่จำต้องไต่สวน
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปโดยไม่ได้ไต่สวน แต่ในวันนัดพร้อม จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไป และศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำร้องดังกล่าวแล้ว ถือว่าศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยื่นคำร้องอ้างว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เด็ดขาดแล้วเท่านั้น ไม่ปรากฏเหตุผลอื่นอีก ศาลชั้นต้นสามารถวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวได้เองตามข้อกฎหมายข้างต้น คดีจึงไม่จำต้องไต่สวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7223/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค่าปรับนายประกันในคดีอาญา ยื่นคำขอรับชำระหนี้หลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และเกินกำหนดเวลา ย่อมไม่อาจรับชำระได้
มูลหนี้ที่จะนำมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้จะต้องเป็นหนี้เงินที่มูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม ทั้งเจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91 ประกอบมาตรา 94 สำหรับมูลหนี้ในคดีนี้คือมูลหนี้ตามสัญญาประกันที่ลูกหนี้ที่ 2 ได้ทำสัญญาประกันต่อศาลในการขอปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยในคดีอาญาของศาลแขวงธนบุรี ในวงเงินประกัน 330,000 บาท โดยมีที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นหลักประกัน ต่อมาปรากฏว่าเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2549 ลูกหนี้ที่ 2 ไม่ส่งตัวจำเลยมาศาลเพื่อฟังคำพิพากษาศาลฎีกาตามกำหนดนัดซึ่งถือว่าลูกหนี้ที่ 2 ผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลแขวงธนบุรีมีคำสั่งปรับเงินลูกหนี้ที่ 2 เต็มตามสัญญาประกัน มูลแห่งหนี้เงินจึงเกิดขึ้นในวันดังกล่าวภายหลังจากวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 2 เด็ดขาดแล้วเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2546 และมิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แพ้คดีในคดีที่เข้าว่าคดีแพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ที่เจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้นับจากวันคดีถึงที่สุดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 ประกอบมาตรา 93 ดังนี้ เมื่อเจ้าหนี้นำมูลหนี้ค่าปรับนายประกันในคดีอาญาของศาลแขวงธนบุรีมายื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ทั้งหนี้เงินดังกล่าวเกิดขึ้นหลังวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 2 เด็ดขาด ย่อมต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 91 ประกอบมาตรา 94
แม้ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามีการแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคสอง โดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2558 ก็ตาม ก็เป็นบทบัญญัติในส่วนการบังคับหลักประกันที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเจ้าหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องว่ากล่าวกันต่อไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119
แม้ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามีการแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคสอง โดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2558 ก็ตาม ก็เป็นบทบัญญัติในส่วนการบังคับหลักประกันที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเจ้าหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องว่ากล่าวกันต่อไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5752/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้มีประกันในการรับชำระหนี้จากทรัพย์หลักประกันที่ถือกรรมสิทธิ์รวมกัน แม้ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมไม่ได้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้รายที่ 5 ซึ่งยื่นคำขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกัน ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3) และศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยจำนวน 1,087,902.64 บาท โดยให้ได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดที่ดินโฉนดเลขที่ 128812 และ 137866 ตำบลสำโรงใต้ (สำโรง) อำเภอพระประแดง (พระโขนง) จังหวัดสมุทรปราการ เฉพาะส่วนของจำเลยก่อน ส่วนที่ยังขาดอยู่ให้ได้รับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญ หลังจากนั้นผู้ร้องได้นำผู้คัดค้านยึดที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์หลักประกันของจำเลยซึ่งถือกรรมสิทธิ์รวมกับ ว. และผู้คัดค้านนำออกขายทอดตลาดได้ในราคา 940,000 บาท ซึ่งผู้คัดค้านได้ทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน แล้วจ่ายเงินสุทธิในส่วนของจำเลยเป็นเงิน 438,291 บาท ให้แก่ผู้ร้อง และได้กันเงินในส่วนของ ว. ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมไว้จำนวน 467,650 บาท เมื่อพิจารณาตามคำร้องของผู้ร้องที่ยื่นต่อผู้คัดค้านขอให้จ่ายเงินที่กันไว้ดังกล่าวให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยและ ว. ได้นำทรัพย์หลักประกันที่ยึดมาจดทะเบียนจำนองเพื่อประกันหนี้เงินกู้ และหนี้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยและ ว. เป็นหนี้ร่วมกันต่อผู้ร้องโดย ว. เป็นหนี้ผู้ร้องคิดถึงวันที่ 13 ธันวาคม 2545 เป็นเงิน 935,291.23 บาท เมื่อทรัพย์หลักประกันเป็นของจำเลยและ ว. ที่ถือกรรมสิทธิ์รวมกันและผู้คัดค้านใช้อำนาจยึดออกขายทอดตลาดรวมกันโดยแบ่งแยกกันมิได้ ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้จำนองของผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านขอรับชำระหนี้จำนองในกึ่งหนึ่งของทรัพย์ดังกล่าวได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 แม้ ว. จะไม่ได้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดด้วยก็ตามแต่ก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องที่ผู้ร้องในฐานะเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองซึ่งมีบุริมสิทธิที่อาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์หลักประกันดังกล่าวได้ตามบทบัญญัติกฎหมายข้างต้นเพื่อรับชำระหนี้จำนองในกึ่งหนึ่งของทรัพย์หลักประกันที่ผู้คัดค้านยึดไว้ไปเสียทีเดียว โดยไม่จำต้องยื่นฟ้องหรือคำร้องต่อศาลก่อน ซึ่งผู้คัดค้านสามารถส่งสำเนาคำร้องของผู้ร้องให้ ว. ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมมีโอกาสคัดค้านแล้วสอบสวนพิจารณามีคำสั่งต่อไปได้ การที่ผู้คัดค้านและศาลจังหวัดสมุทรปราการมีคำสั่งให้ผู้ร้องไปยื่นคำร้องต่อศาลที่มีอำนาจเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2498/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ล้มละลาย: การพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2, การเพิกถอนกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับจำเลยที่ 5, และการพิสูจน์ความมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลยที่ 3-4
โจทก์ฟ้องกองมรดกของจำเลยที่ 5 โดย ฐ. จำเลยที่ 4 ในฐานะทายาท จำเลยที่ 4 ให้การว่า จำเลยที่ 5 มีบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม ส่วนจำเลยที่ 4 เป็นเพียงพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับจำเลยที่ 5 ไม่มีหน้าที่แก้คดีแทน ตามคำให้การของจำเลยที่ 4 ปฏิเสธว่าจำเลยที่ 4 ไม่ใช่ทายาทหรือผู้จัดการมรดกหรือผู้ปกครองทรัพย์ของจำเลยที่ 5 ที่ตาย หรือว่าตนไม่ยอมรับฐานะเช่นนั้นตามกฎหมาย ศาลจึงต้องไต่สวนให้ได้ความดังกล่าวและมีคำสั่งตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 83 วรรคสอง แต่ศาลล้มละลายกลางมิได้ดำเนินการ คงพิจารณาสืบพยานโจทก์ไป จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลฎีกาสมควรให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับจำเลยที่ 5 เสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 28 (เดิม) และให้ศาลล้มละลายกลางดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องและมีคำพิพากษาใหม่เฉพาะจำเลยที่ 5
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการในวันฟ้องคดี จำเลยที่ 2 จึงเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 ไม่มีจำกัด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070, 1077 (2) ประกอบ 1087 เมื่อศาลพิจารณาและได้ความว่าจำเลยที่ 1 มีหนี้สินล้นพ้นตัวและมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาด โดยที่ฟ้องของโจทก์มีคำขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลายแล้วเช่นนี้ โจทก์ไม่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว ถือได้ว่าโจทก์มีคำขอให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 89 โดยโจทก์ไม่จำต้องมีคำขอให้จำเลยที่ 2 ล้มละลายในภายหลังอีก
คดีนี้นับแต่เสร็จการพิจารณา ศาลล้มละลายกลางนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งวันที่ 13 ธันวาคม 2553 ครั้นถึงวันนัดจำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องอ้างว่าได้เจรจาขอประนอมหนี้กับโจทก์ และขอเลื่อนนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งออกไปอีกหลายนัด ครั้งสุดท้ายศาลล้มละลายกลางนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งวันที่ 19 ธันวาคม 2555 อันเป็นเวลาภายหลังเสร็จการพิจารณานานถึง 2 ปีเศษ ซึ่งเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ได้กระทำโดยเร็วตามที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการในวันฟ้องคดี จำเลยที่ 2 จึงเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 ไม่มีจำกัด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070, 1077 (2) ประกอบ 1087 เมื่อศาลพิจารณาและได้ความว่าจำเลยที่ 1 มีหนี้สินล้นพ้นตัวและมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาด โดยที่ฟ้องของโจทก์มีคำขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลายแล้วเช่นนี้ โจทก์ไม่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว ถือได้ว่าโจทก์มีคำขอให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 89 โดยโจทก์ไม่จำต้องมีคำขอให้จำเลยที่ 2 ล้มละลายในภายหลังอีก
คดีนี้นับแต่เสร็จการพิจารณา ศาลล้มละลายกลางนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งวันที่ 13 ธันวาคม 2553 ครั้นถึงวันนัดจำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องอ้างว่าได้เจรจาขอประนอมหนี้กับโจทก์ และขอเลื่อนนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งออกไปอีกหลายนัด ครั้งสุดท้ายศาลล้มละลายกลางนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งวันที่ 19 ธันวาคม 2555 อันเป็นเวลาภายหลังเสร็จการพิจารณานานถึง 2 ปีเศษ ซึ่งเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ได้กระทำโดยเร็วตามที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9722/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องก่อนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: สิทธิเรียกร้องเป็นของสถาบันการเงินและสามารถโอนได้ภายใต้ พ.ร.ก.บริหารสินทรัพย์
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทเงินทุน บ. เด็ดขาดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2545 แต่ก่อนศาลล้มละลายกลางจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทเงินทุน บ. เด็ดขาด ระหว่างพิจารณาคดีหมายเลขแดงที่ ง.456/2545 ของศาลแพ่ง บริษัทเงินทุน บ. ได้โอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยกับพวกตามมูลหนี้ในคดีแพ่งให้แก่ธนาคาร ท. และศาลแพ่งมีคำสั่งอนุญาตให้ธนาคาร ท. เข้าสวมสิทธิเป็นโจทก์แทนแล้ว บริษัทเงินทุน บ. จึงมิใช่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หากแต่เป็นธนาคาร ท. สิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ ง.456/2545 ของศาลแพ่ง จึงมิใช่ทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกระทำการแทนได้ ธนาคาร ท. ซึ่งเป็นสถาบันการเงินชอบที่จะโอนสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาดังกล่าวอันเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ได้ ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ส่วนที่โจทก์เคยตั้งเรื่องนำยึดทรัพย์ของจำเลยเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2555 แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีให้สอบถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อนนั้นเป็นความรอบคอบของเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งภายหลังเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการยึดทรัพย์ของจำเลยให้ตามที่โจทก์ขอ หาใช่การรับโอนสิทธิเรียกร้องของโจทก์เป็นโมฆะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7413/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดหุ้นหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และความรับผิดในค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์สิน
ก่อนโจทก์นำยึดหุ้นของจำเลยที่ 1 โจทก์ได้นำยึดที่ดินจำนวน 9 แปลง ของจำเลยทั้งห้าไว้ก่อนแล้ว และปรากฏจากคำแถลงของโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 ถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด โจทก์จะไปยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แสดงว่าโจทก์ทราบแล้วว่าจำเลยที่ 1 ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ซึ่งโจทก์ต้องไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่โจทก์ยังคงใช้สิทธิความเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานำยึดหุ้นของจำเลยที่ 1 อีก โจทก์มิได้ตรวจสอบมูลค่าหุ้นของจำเลยที่ 1 ให้ดีก่อนทำการยึดว่ามีความจำเป็นและสมควรยึดไว้เพื่อขายทอดตลาดหรือไม่ จึงนับว่าเป็นความผิดและเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์เอง นอกจากนี้ ผู้แทนโจทก์ยังแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในการยึดหุ้นว่า หากเกิดความเสียหายประการใดยินยอมรับผิดชอบเองทั้งสิ้น และเห็นชอบด้วยกับเจ้าพนักงานบังคับคดีในราคาประเมินหุ้นละ 100 บาท เท่ากับมูลค่าหุ้นที่โจทก์อ้างว่าได้ดูจากที่มีการจดทะเบียนไว้ต่อนายทะเบียน ซึ่งสามารถคำนวณเป็นราคาทรัพย์สินที่ยึดเพื่อเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ ดังนี้ โจทก์จะมาอ้างในภายหลังว่าขณะยึดหุ้นมีมูลค่าติดลบ ไม่มีคนซื้อ เพื่อให้ตนพ้นความรับผิดในค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีหาได้ไม่ เมื่อโจทก์เป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดหุ้นของจำเลยที่ 1 เอง และเห็นชอบด้วยกับราคาประเมินมูลค่าหุ้นดังกล่าว โดยไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติหน้าที่โดยผิดพลาดหรือบกพร่องแต่ประการใด โจทก์จึงต้องเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายร้อยละ 3 ครึ่งของราคาทรัพย์สินที่ยึดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง ประกอบตาราง 5 ข้อ 3 ท้าย ป.วิ.พ. (เดิม)