พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: สิทธิการไล่เบี้ยและการใช้สิทธิของลูกหนี้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 695 ให้สิทธิแก่ลูกหนี้ที่จะอ้างขึ้นเถียงผู้ค้ำประกันซึ่งได้ชำระหนี้แล้ว ไม่ให้ไล่เบี้ยลูกหนี้
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ ในกรณีที่โจทก์ถูกเรียงร้องให้ชำระเงินตามภาระที่โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ลูกหนี้ของโจทก์แล้ว จำเลยจะเป็นผู้ชดใช้ให้โจทก์ จำเลยจึงไม่ใช่ตัวลูกหนี้ แต่เป็นผู้ทำสัญญาผูกพันไว้กับโจทก์อีกส่วนหนึ่งต่างหาก จะใช้สิทธิของลูกหนี้ตามมาตรา 695 ไม่ได้
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ ในกรณีที่โจทก์ถูกเรียงร้องให้ชำระเงินตามภาระที่โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ลูกหนี้ของโจทก์แล้ว จำเลยจะเป็นผู้ชดใช้ให้โจทก์ จำเลยจึงไม่ใช่ตัวลูกหนี้ แต่เป็นผู้ทำสัญญาผูกพันไว้กับโจทก์อีกส่วนหนึ่งต่างหาก จะใช้สิทธิของลูกหนี้ตามมาตรา 695 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2827/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันจำกัดขอบเขตความรับผิด ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดหากผู้เช่าแจ้งรถหายและคืนกุญแจแล้ว
อ.เป็นผู้เช่าและรับรถยนต์ไปจากโจทก์ จำเลยทำหนังสือสัญญาค้ำประกันผู้เช่าให้ไว้แก่โจทก์ ต่อมาคนร้ายลักรถยนต์ที่เช่าไปขณะอยู่ในครอบครองของ อ.ผู้เช่า สัญญาค้ำประกันมีใจความสารสำคัญว่า จำเลยยินดีชดใช้หรือรับผิดชอบให้กับผู้เช่า ในกรณีตามหาผู้เช่าไม่พบ โดยรับผิดชอบตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 1. การเสียหายของรถอันเกิดจากอุบัติเหตุหรือรถชนกันถ้าต่ำกว่า 1,000 บาท จำเลยจะต้องรับผิด 2. ถ้าเกิดรถหายในระหว่างเช่าจำเลยจะต้องรับผิดชอบ ดังนี้จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ก็แต่เฉพาะในกรณีตามหาผู้เช่าไม่พบ และจำกัดเฉพาะเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา 2 ข้อเท่านั้น ข้อเท็จจริงฟังยุติว่า ในวันที่รถยนต์หายนั้น อ.ผู้เช่าไปแจ้งที่บริษัทโจทก์ว่ารถหายและมอบกุญแจรถคืนให้โจทก์แล้ว จึงมิใช่เป็นกรณีตามหาผู้เช่าไม่พบ จำเลยหาจำต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2785/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันและสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี: การคิดดอกเบี้ยทบต้นตามบัญชีเดินสะพัด
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 โดยรับผิดร่วมยอมชำระหนี้ตลอดจนดอกเบี้ยและเงื่อนไขตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ ซึ่งให้ถือยอดเงินตามบัญชีกระแสรายวันและให้เอาดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือน จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในหนี้ที่ค้างชำระพร้อมดอกเบี้ยทบต้น แม้ในช่วงเวลาที่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดแล้ว แต่บัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ยังคงเดินสะพัดอยู่จนกว่าจะเลิกสัญญากัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2773/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของรองอธิบดี, สัญญาค้ำประกัน, สัญญารับสภาพหนี้ที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน, การผิดนัดชำระหนี้
จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องว่า ขณะฟ้องคดีนี้อธิบดีกรมศิลปากรยังมีตัวดำรงตำแหน่งปฏิบัติราชการได้ พ. รองอธิบดีจึงไม่มีอำนาจฟ้องแทนกรมศิลปากร ดังนี้ ปัญหาว่ากรมศิลปากรมีรองอธิบดีกี่คน และปลัดกระทรวงได้แต่งตั้งให้ พ.รองอธิบดีรักษาการแทนตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2512 หรือไม่ จึงไม่มีประเด็นที่โจทก์จะต้องนำสืบ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยื่นฟ้องขณะที่อธิบดีกรมศิลปากรไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ พ.รองอธิบดีกรมศิลปากรรักษาราชการแทนอธิบดีจึงมีอำนาจฟ้องแทนโจทกืได้ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ข้อ 42 วรรคสอง
สัญญาค้ำประกันมีการขีดฆ่าข้อความบางแห่งที่พิมพ์เกินไว้ ซึ่งไม่ใช่ข้อความที่เป็นสารสำคัญ แม้ผู้ขีดฆ่าจะไม่ได้ลงชื่อไว้ก็ไม่เป็นเหตุให้สัญญาค้ำประกันรับฟังไม่ได้ และข้อความในสัญญาค้ำประกันที่ว่า ถ้า อ. ลูกหนี้ ผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยยอมชำระเงินที่ อ. ยังค้างชำระอยู่ให้โจทก์จนครบถ้วนทันทีไม่ว่าจะมีทางเรียกให้ อ. ชำระหนี้ได้หรือไม่ก็ตามนั้น ไม่ขัดต่อกฎหมาย สัญญาค้ำประกันไม่เป็นโมฆะและบังคับได้ โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ในฐานผู้ค้ำประกันได้เมื่อนางอำไพผิดนัดไม่ชำระ
สัญญารับสภาพหนี้ที่จำเลยเข้าค้ำประกัน อ.ต่อโจทก์มีข้อความว่าสัญญาดังกล่าวมีผลใช้บังคับต่อเมื่อกระทรวงการคลังเห็นชอบแล้ว เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนอันเป็นข้อสารสำคัญ ส่วนสัญญาข้อ 2 ที่ อ.จะเริ่มผ่อนชำระเงินตั้งแต่เดือนมกราคม 2516 เป็นต้นไปนั้น เป็นการกำหนดไว้ล่วงหน้าโดยคาดว่ากระทรวงการคลังจะอนุมัติมาก่อน เมื่อปรากฏว่ากระทรวงการคลังตอบอนุมัติ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2516 สัญญารับสภาพหนี้จึงมีผลใช้บังคับเมื่อกระทรวงการคลังอนุมัติ มิใช่พฤติการณ์ที่โจทก์ผ่อนเวลาให้แก่ อ.
สัญญารับสภาพหนี้ อ.ยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์โดยตกลงจำนวนเงินและกำหนดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือนๆ ละ 500 บาท ทุกวันที่ 10 ของเดือน โดยไม่แยกจำนวนหนี้เป็นรายๆ ออกต่างหากจากกัน ดังนี้ เมื่อ อ.ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่งวดแรกตลอดมาถือได้ว่า เป็นการผิดสัญญารับสภาพหนี้ซึ่งต้องชำระหนี้ที่ค้างชำรอยู่ทั้งหมดแก่โจทก์ จำเลยผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดตามจำนวนหนี้ทั้งหมดที่ อ.ต้องรับผิดต่อโจทก์
สัญญาค้ำประกันมีการขีดฆ่าข้อความบางแห่งที่พิมพ์เกินไว้ ซึ่งไม่ใช่ข้อความที่เป็นสารสำคัญ แม้ผู้ขีดฆ่าจะไม่ได้ลงชื่อไว้ก็ไม่เป็นเหตุให้สัญญาค้ำประกันรับฟังไม่ได้ และข้อความในสัญญาค้ำประกันที่ว่า ถ้า อ. ลูกหนี้ ผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยยอมชำระเงินที่ อ. ยังค้างชำระอยู่ให้โจทก์จนครบถ้วนทันทีไม่ว่าจะมีทางเรียกให้ อ. ชำระหนี้ได้หรือไม่ก็ตามนั้น ไม่ขัดต่อกฎหมาย สัญญาค้ำประกันไม่เป็นโมฆะและบังคับได้ โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ในฐานผู้ค้ำประกันได้เมื่อนางอำไพผิดนัดไม่ชำระ
สัญญารับสภาพหนี้ที่จำเลยเข้าค้ำประกัน อ.ต่อโจทก์มีข้อความว่าสัญญาดังกล่าวมีผลใช้บังคับต่อเมื่อกระทรวงการคลังเห็นชอบแล้ว เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนอันเป็นข้อสารสำคัญ ส่วนสัญญาข้อ 2 ที่ อ.จะเริ่มผ่อนชำระเงินตั้งแต่เดือนมกราคม 2516 เป็นต้นไปนั้น เป็นการกำหนดไว้ล่วงหน้าโดยคาดว่ากระทรวงการคลังจะอนุมัติมาก่อน เมื่อปรากฏว่ากระทรวงการคลังตอบอนุมัติ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2516 สัญญารับสภาพหนี้จึงมีผลใช้บังคับเมื่อกระทรวงการคลังอนุมัติ มิใช่พฤติการณ์ที่โจทก์ผ่อนเวลาให้แก่ อ.
สัญญารับสภาพหนี้ อ.ยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์โดยตกลงจำนวนเงินและกำหนดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือนๆ ละ 500 บาท ทุกวันที่ 10 ของเดือน โดยไม่แยกจำนวนหนี้เป็นรายๆ ออกต่างหากจากกัน ดังนี้ เมื่อ อ.ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่งวดแรกตลอดมาถือได้ว่า เป็นการผิดสัญญารับสภาพหนี้ซึ่งต้องชำระหนี้ที่ค้างชำรอยู่ทั้งหมดแก่โจทก์ จำเลยผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดตามจำนวนหนี้ทั้งหมดที่ อ.ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2773/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี, สัญญาค้ำประกัน, สัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน, การผิดสัญญา, และผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน
จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องว่า ขณะฟ้องคดีนี้อธิบดีกรมศิลปากรยังมีตัวดำรงตำแหน่งปฏิบัติราชการได้ พ. รองอธิบดีจึงไม่มีอำนาจฟ้องแทนกรมศิลปากร ดังนี้ ปัญหาว่ากรมศิลปากรมีรองอธิบดีกี่คนและปลัดกระทรวงได้แต่งตั้งให้ พ. รองอธิบดีรักษาการแทนตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2512 หรือไม่ จึงไม่มีประเด็นที่โจทก์จะต้องนำสืบ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยื่นฟ้องขณะที่อธิบดีกรมศิลปากรไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ พ. รองอธิบดีกรมศิลปากรรักษาราชการแทนอธิบดีจึงมีอำนาจฟ้องแทนโจทก์ได้ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวข้อ 42 วรรคสอง
สัญญาค้ำประกันมีการขีดฆ่าข้อความบางแห่งที่พิมพ์เกินไว้ ซึ่งไม่ใช่ข้อความที่เป็นสารสำคัญ แม้ผู้ขีดฆ่าจะไม่ได้ลงชื่อไว้ก็ไม่เป็นเหตุให้สัญญาค้ำประกันรับฟังไม่ได้ และข้อความในสัญญาค้ำประกันที่ว่า ถ้า อ. (ลูกหนี้) ผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยยอมชำระเงินที่ อ. ยังค้างชำระอยู่ให้โจทก์จนครบถ้วนทันทีไม่ว่าจะมีทางเรียกให้ อ. ชำระหนี้ได้หรือไม่ก็ตามนั้น ไม่ขัดต่อกฎหมายสัญญาค้ำประกันไม่เป็นโมฆะและบังคับได้โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันได้เมื่อนางอำไพผิดนัดไม่ชำระ
สัญญารับสภาพหนี้ที่จำเลยเข้าค้ำประกัน อ. ต่อโจทก์มีข้อความว่าสัญญาดังกล่าวมีผลใช้บังคับต่อเมื่อกระทรวงการคลังเห็นชอบแล้วเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนอันเป็นข้อสารสำคัญ ส่วนสัญญาข้อ 2 ที่ อ. จะเริ่มผ่อนชำระเงินตั้งแต่เดือนมกราคม 2516 เป็นต้นไปนั้น เป็นการกำหนดไว้ล่วงหน้าโดยคาดว่ากระทรวงการคลังจะอนุมัติมาก่อน เมื่อปรากฏว่ากระทรวงการคลังตอบอนุมัติเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2516 สัญญารับสภาพหนี้จึงมีผลใช้บังคับเมื่อกระทรวงการคลังอนุมัติมิใช่พฤติการณ์ที่โจทก์ผ่อนเวลาให้แก่ อ.
สัญญารับสภาพหนี้ อ. ยอมชำระหนี้แก่โจทก์โดยตกลงจำนวนเงินและกำหนดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือน ๆ ละ 500 บาท ทุกวันที่ 10 ของเดือนโดยไม่แยกจำนวนหนี้เป็นราย ๆ ออกต่างหากจากกันดังนี้ เมื่อ อ. ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่งวดแรกตลอดมาถือได้ว่าเป็นการผิดสัญญารับสภาพหนี้ซึ่งต้องชำระหนี้ที่ค้างชำระอยู่ทั้งหมดแก่โจทก์จำเลยผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดตามจำนวนหนี้ทั้งหมดที่ อ. ต้องรับผิดต่อโจทก์
สัญญาค้ำประกันมีการขีดฆ่าข้อความบางแห่งที่พิมพ์เกินไว้ ซึ่งไม่ใช่ข้อความที่เป็นสารสำคัญ แม้ผู้ขีดฆ่าจะไม่ได้ลงชื่อไว้ก็ไม่เป็นเหตุให้สัญญาค้ำประกันรับฟังไม่ได้ และข้อความในสัญญาค้ำประกันที่ว่า ถ้า อ. (ลูกหนี้) ผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยยอมชำระเงินที่ อ. ยังค้างชำระอยู่ให้โจทก์จนครบถ้วนทันทีไม่ว่าจะมีทางเรียกให้ อ. ชำระหนี้ได้หรือไม่ก็ตามนั้น ไม่ขัดต่อกฎหมายสัญญาค้ำประกันไม่เป็นโมฆะและบังคับได้โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันได้เมื่อนางอำไพผิดนัดไม่ชำระ
สัญญารับสภาพหนี้ที่จำเลยเข้าค้ำประกัน อ. ต่อโจทก์มีข้อความว่าสัญญาดังกล่าวมีผลใช้บังคับต่อเมื่อกระทรวงการคลังเห็นชอบแล้วเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนอันเป็นข้อสารสำคัญ ส่วนสัญญาข้อ 2 ที่ อ. จะเริ่มผ่อนชำระเงินตั้งแต่เดือนมกราคม 2516 เป็นต้นไปนั้น เป็นการกำหนดไว้ล่วงหน้าโดยคาดว่ากระทรวงการคลังจะอนุมัติมาก่อน เมื่อปรากฏว่ากระทรวงการคลังตอบอนุมัติเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2516 สัญญารับสภาพหนี้จึงมีผลใช้บังคับเมื่อกระทรวงการคลังอนุมัติมิใช่พฤติการณ์ที่โจทก์ผ่อนเวลาให้แก่ อ.
สัญญารับสภาพหนี้ อ. ยอมชำระหนี้แก่โจทก์โดยตกลงจำนวนเงินและกำหนดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือน ๆ ละ 500 บาท ทุกวันที่ 10 ของเดือนโดยไม่แยกจำนวนหนี้เป็นราย ๆ ออกต่างหากจากกันดังนี้ เมื่อ อ. ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่งวดแรกตลอดมาถือได้ว่าเป็นการผิดสัญญารับสภาพหนี้ซึ่งต้องชำระหนี้ที่ค้างชำระอยู่ทั้งหมดแก่โจทก์จำเลยผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดตามจำนวนหนี้ทั้งหมดที่ อ. ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 243/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับรองการชำระหนี้ไม่ใช่สัญญาค้ำประกัน แต่มีผลให้เรียกร้องค่าเสียหายจากผู้รับรองได้
ธนาคารโจทก์ได้ทำหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อองค์การสะพานปลา ยินยอมใช้เงินให้แก่องค์การสะพานปลาในกรณีที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดสัญญา ในการนี้จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาไว้แก่ธนาคารโจทก์มีข้อความว่าตามที่ธนาคารโจทก์ได้ทำหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1ไว้กับองค์การสะพานปลานั้น ถ้าองค์การสะพานปลาเรียกร้องให้ธนาคารโจทก์ชำระเงินจำนวนที่ค้ำประกัน จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชอบให้ธนาคารโจทก์ไล่เบี้ยจากจำเลยที่ 2 ได้ในจำนวนเงินที่ชำระไปนั้น เอกสารดังกล่าวมิใช่สัญญาค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 หากแต่เป็นสัญญาชนิดหนึ่งเท่านั้น จึงไม่เป็นตราสารที่ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามมาตรา 104 แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2151/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย, การบอกเลิกสัญญา, ค่าปรับ, และการชำระค่าเสียหายจากสัญญาค้ำประกัน
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด การฟ้องคดีไม่จำเป็นต้องบรรยายมาในคำฟ้องด้วยว่า โจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าอะไร เพราะวัตถุประสงค์ของโจทก์จะประกอบกิจการค้าอะไรมิใช่ข้อหาอันกฎหมายบังคับต้องบรรยายให้ชัดแจ้งตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 โจทก์บรรยายฟ้องข้อหาว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้ว ซึ่งจำเลยก็ให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้องฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญาซื้อขายค่าความนิยมและกิจการซักรีด ไม่ใช่ตราสารหรือเอกสารตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ในประมวลรัษฎากร ซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องปิดอากรแสตมป์จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์และรับฟังเป็นพยานหลักฐานฟ้องคดีได้
โจทก์จำเลยมีข้อสัญญากันว่า หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่างวดติดต่อกัน 3 งวด โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและจำเลยยินยอมเสียค่าปรับจำนวนหนึ่งกับชดใช้ค่าเสียหายทั้งสิ้นเมื่อจำเลยเป็นฝ่าย ผิดสัญญาโดยไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลง โจทก์ก็มีสิทธิเลิกสัญญาจำเลยนอกจากที่จะต้องใช้ค่างวดที่ค้างชำระ และค่าซ่อมแซมทรัพย์สินอันเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งแล้วจำเลยจะต้องเสียค่าปรับหรือเบี้ยปรับอันเป็นค่าเสียหาย อีกส่วนหนึ่งที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าตามข้อกำหนดในสัญญาด้วย แต่เมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับตามสัญญาส่วนนี้กำหนดไว้สูงไป ก็ชอบที่จะลดเบี้ยปรับลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
สัญญาซื้อขายค่าความนิยมและกิจการซักรีด ไม่ใช่ตราสารหรือเอกสารตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ในประมวลรัษฎากร ซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องปิดอากรแสตมป์จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์และรับฟังเป็นพยานหลักฐานฟ้องคดีได้
โจทก์จำเลยมีข้อสัญญากันว่า หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่างวดติดต่อกัน 3 งวด โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและจำเลยยินยอมเสียค่าปรับจำนวนหนึ่งกับชดใช้ค่าเสียหายทั้งสิ้นเมื่อจำเลยเป็นฝ่าย ผิดสัญญาโดยไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลง โจทก์ก็มีสิทธิเลิกสัญญาจำเลยนอกจากที่จะต้องใช้ค่างวดที่ค้างชำระ และค่าซ่อมแซมทรัพย์สินอันเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งแล้วจำเลยจะต้องเสียค่าปรับหรือเบี้ยปรับอันเป็นค่าเสียหาย อีกส่วนหนึ่งที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าตามข้อกำหนดในสัญญาด้วย แต่เมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับตามสัญญาส่วนนี้กำหนดไว้สูงไป ก็ชอบที่จะลดเบี้ยปรับลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2119/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาค้ำประกันการขายลดตั๋วเงิน: ฟ้องคดีภายใน 10 ปีนับจากวันครบกำหนดตามสัญญา
เมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์ และให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันการขายลดตั๋วเงินดังกล่าว หาได้ฟ้องจำเลยให้รับผิดในมูลหนี้ตามตั๋วแลกเงินไม่สัญญาขายลดตั๋วเงินไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะดังนั้น จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือมีกำหนดอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันยังคงมีผล แม้มีการทำสัญญายอมความและมีผู้ค้ำประกันรายใหม่ เพราะจำเลยยังไม่ได้ชำระหนี้ตามเงื่อนไข
ผู้ร้องค้ำประกันลูกหนี้ตามคำพิพากษาชั้นทุเลาการบังคับคดีระหว่างลูกหนี้อุทธรณ์ซึ่งตามสัญญามีผลจนคดีถึงที่สุด โดยนำโฉนดมาวางประกัน ชั้นฎีกาถือหลักประกันเดิม ระหว่างฎีกาโจทก์จำเลยยอมความกันแบ่งชำระหนี้ 18 งวด มีผู้อื่นเข้าค้ำประกันอีกด้วย สัญญาข้อ 8 ยอมคืนโฉนดต่อเมื่อลูกหนี้ชำระหนี้งวดที่ 7 แล้ว เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังไม่ได้ชำระเงินงวดที่ 7 และเนื่องจากโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยฝ่ายเดียว จำเลยไม่มีสิทธิที่จะสละและไม่ได้สิทธิอะไรจากสัญญา กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 หนี้เดิมจึงยังคงมีอยู่ดังนี้ ผู้ร้องในฐานะผู้ค้ำประกันจึงยังต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน เหตุที่โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยมีผู้ค้ำประกันตามสัญญาดังกล่าวอีก ไม่มีผลทำให้ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันยังคงมีผล แม้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยผู้ค้ำประกันเดิมยังต้องรับผิดชอบหนี้
ผู้ร้องค้ำประกันลูกหนี้ตามคำพิพากษาชั้นทุเลาการบังคับคดีระหว่างลูกหนี้อุทธรณ์ซึ่งตามสัญญามีผลจนคดีถึงที่สุด โดยนำโฉนดมาวางประกัน ชั้นฎีกาถือหลักประกันเดิม ระหว่างฎีกาโจทก์จำเลยยอมความกันแบ่งชำระหนี้ 18 งวด มีผู้อื่นเข้าค้ำประกันอีกด้วย สัญญาข้อ 8 ยอมคืนโฉนดต่อเมื่อลูกหนี้ชำระหนี้งวดที่ 7 แล้ว เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังไม่ได้ชำระเงินงวดที่ 7 และเนื่องจากโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยฝ่ายเดียว จำเลยไม่มีสิทธิที่จะสละและไม่ได้สิทธิอะไรจากสัญญา กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 852 หนี้เดิมจึงยังคงมีอยู่ ดังนี้ ผู้ร้องในฐานะผู้ค้ำประกันจึงยังต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน เหตุที่โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยมีผู้ค้ำประกันตามสัญญาดังกล่าวอีก ไม่มีผลทำให้ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเปลี่ยนแปลงไป