คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนี้สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธหนี้ในคดีล้มละลาย: ต้องยื่นคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนด หากเลยกำหนดต้องรับผิดชอบหนี้
มาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ใช้สิทธิเรียกร้องแก่บุคคลที่เป็นลูกหนี้ของผู้ล้มละลายโดยเฉพาะ ผู้ที่ได้รับหนังสือทวงหนี้จะโต้แย้งหรือคัดค้านประการใด ก็ต้องร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนด 14 วัน และถ้าตนได้รับความเสียหายจากคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลในกำหนด 14 วันได้ แต่เมื่อผู้ร้องไม่โต้แย้ง จนศาลได้ออกคำบังคับผู้ร้องให้ชำระหนี้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ผู้ร้องจึงมีหน้าที่ต้องชำระและจะมาขออนุญาตปฏิเสธหนี้ต่อศาลไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการยึดทรัพย์: การยึดทรัพย์ทั้งแปลงเพื่อชำระหนี้เป็นไปตามกฎหมาย หากจำเลยไม่คัดค้านหรือเพิกเฉย
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 34,000 บาทเศษ และดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ในเงินต้น 30,000 บาท จำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาเลย เจ้าพนักงานจึงต้องยึดที่ทั้งแปลงราคาประมาณ 100,000 บาท แม้ต่อมาจำเลยจะได้ผ่อนชำระหนี้ไปถึง 35,000 บาท หากจำเลยเห็นว่า เจ้าพนักงานบังคับคดียึดสวนยางของจำเลยทั้งแปลงมากเกินความจำเป็น ก็ชอบที่จะร้องขอให้เจ้าพนักงานแบ่งยึดแต่พอควร หากจำเลยเห็นควรแบ่งขายให้พอดีกับหนี้สินที่ค้าง จำเลยก็น่าจะได้แถลงให้ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ ในวันขาย จำเลยได้มองให้ทนายความมาระวังผลประโยชน์ของจำเลย ทนายความมิได้ทักท้วงในเรื่องนี้ แสดงว่าทนายจำเลยก็เห็นชอบด้วย จะยกเป็นเหตุคัดค้านเมื่อขายทอดตลาดสำเร็จแล้วย่อมไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน การกำหนดอำนาจสอบสวน
จำเลยชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เพียง 10,000 บาทแล้วจำเลยแก้ไขจำนวนเงินในใบรับเงินที่เจ้าหนี้เซ็นชื่อเป็นผู้รับเงิน โดยแก้ 10,000 บาท เป็น 70,000 บาท ต่อมาจำเลยคัดสำเนาใบรับเงินที่ปลอมนั้นมาแสดงต่อศาลทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหายเพราะถ้าศาลหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงแล้ว เจ้าหนี้จะต้องขาดเงินที่ควรได้รับชำระหนี้ไป 60,000 บาทการปลอมของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 264 แล้ว และเอกสารนี้เป็นใบรับเงินชำระหนี้แสดงว่าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ในจำนวนเงินนี้ระงับไปแล้วจำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามมาตรา 265 และการที่จำเลยคัดสำเนาเอกสารที่ปลอมแสดงต่อศาลเป็นการอ้างถึงเอกสารที่ปลอม จึงเป็นความผิดตามมาตรา 268 ด้วยต้องลงโทษจำเลยตามมาตรา 268 ตามอัตราโทษในมาตรา 265
คำบรรยายฟ้องที่แสดงว่าวันเวลาที่ระบุไว้นั้นหมายถึงวันเวลาที่ปลอมกับที่ใช้เอกสารปลอมด้วย
จำเลยที่ 2 ชำระเงินให้เจ้าหนี้และเจ้าหนี้ออกใบรับเงินที่บ้านในท้องที่บุบผาราม.จำเลยที่1และที่2อยู่ที่เทเวศร์ จำเลยที่ 1 ปลอมใบรับเงินนั้นที่ไหนไม่ปรากฏ แต่เอามาใช้อ้างที่ศาลแพ่ง จำเลยที่ 1 ถูกจับในท้องที่นางเลิ้งส่วนจำเลยที่2ถูกจับที่สถานีตำรวจบุบผาราม เมื่อเป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดได้กระทำในท้องที่ใด แต่จำเลยที่ 2 ถูกจับที่สถานีตำรวจบุบผารามเช่นนี้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจบุบผารามจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ได้และย่อมสอบสวนจำเลยที่ 1 ได้ด้วย เพราะมีข้อหาว่าร่วมกันกระทำผิดในคดีนี้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1907/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนโดยไม่ชำระบัญชีและการสิ้นสภาพนิติบุคคลเมื่อไม่มีหนี้สิน
หุ้นส่วนขอจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยไม่ชำระบัญชี โดยอ้างว่าห้างหุ้นส่วนไม่มีหนี้สินและทรัพย์สินใด ๆ กันแล้ว นายทะเบียนได้จดทะเบียนเลิกห้างให้ ห้างหุ้นส่วนนั้นสิ้นสภาพนิติบุคคลนับตั้งแต่วันจดทะเบียน แม้ภายหลังปรากฎว่าห้างหุ้นส่วนนั้นไม่ได้ชำระบัญชี และยังมีหนี้สินอยู่ ก็ไม่ทำให้ห้างนั้นคงมีสภาพเป็นนิติบุคคลต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1907/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนโดยไม่ชำระบัญชีและการสิ้นสภาพนิติบุคคล
หุ้นส่วนขอจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดโดยไม่ชำระภาษีโดยอ้างว่าห้างหุ้นส่วนไม่มีหนี้สินและทรัพย์สินใดๆแล้ว นายทะเบียนได้จดทะเบียนเลิกห้างให้ ห้างหุ้นส่วนนั้นสิ้นสภาพนิติบุคคลนับตั้งแต่วันจดทะเบียน แม้ภายหลังปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนนั้นไม่ได้ชำระบัญชี และยังมีหนี้สินอยู่ ก็ไม่ทำให้ห้างนั้นคงมีสภาพเป็นนิติบุคคลต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1805-1806/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเชิดตัวแทนก่อหนี้: ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบหนี้ที่ตัวแทนซื้อเชื่อ
การที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำสัญญารับเหมาก่อสร้างสถานที่แห่งหนึ่ง แม้จะจ้างเหมาให้จำเลยที่ 2 สร้างอีกต่อหนึ่งก็ตาม แต่ระหว่างก่อสร้างได้ปักป้ายว่าตนเป็นเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างและบางครั้งก็ไปตรวจงานเองหรือมอบให้คนอื่น ไปตรวจแทน การส่งมอบงานและรับเงินแต่ละงวดจำเลยที่ 1 ก็ทำเองโดยตรงเช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เชิดจำเลยที่ 2 ออกแสดงเป็นตัวแทนแล้ว จึงต้องรับผิดในหนี้ที่จำเลยที่ 2 ไปซื้อเชื่อวัสดุก่อสร้างต่อบุคคลภายนอกด้วย
สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์เป็นเงินเกินกว่าห้าร้อยบาท เมื่อผู้ซื้อได้รับของไปแล้ว ย่อมฟ้องร้องบังคับคดีกันได้โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ฉะนั้น การตั้งตัวแทนก็ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703-1704/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเลิกคดีล้มละลายไม่ปลดหนี้ เจ้าหนี้ยังฟ้องได้
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 136 คำสั่งยกเลิกการล้มละลายตาม มาตรา 135(1) หรือ (2) ไม่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินแต่อย่างใด คำว่า "หนี้สิน" มิได้หมายความเฉพาะหนี้ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้ในคดีล้มละลายแล้วเท่านั้น ดังนั้น แม้เจ้าหนี้จะมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้ในคดีล้มละลายที่ยกเลิกนั้นตามมาตรา 27 และตามกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ในมาตรา 91เจ้าหนี้ก็ยังมีสิทธิฟ้องลูกหนี้เกี่ยวกับหนี้สินนั้นเป็นคดีล้มละลายคดีใหม่ หรือคดีแพ่งธรรมดาอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 806/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินเดือนเพื่อชำระหนี้: จำเลยมีสิทธิตามสัญญา แม้ไม่ฟ้องแย้ง
โจทก์พ้นจากตำแหน่งนายกเทศมนตรีฟ้องบังคับให้เทศบาลจำเลยจ่ายเงินเดือนเงินสะสมและค่าป่วยการสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งโจทก์มีสิทธิจะได้รับ จำเลยให้การและแถลงว่าการที่ไม่จ่ายเงินตามฟ้องให้โจทก์เพราะโจทก์ยังเป็นลูกหนี้จำเลยอยู่ตามใบยืม โดยมีข้อสัญยากันไว้ว่าในการยืมเงิน ถ้าไม่ใช้ก็ยมอให้หักเงินเดือนหรือเงินอื่นใดของผู้ยืมใช้จนครบได้ โจทก์แถลงรับว่าได้มีข้อสัญญาระบุความตกลงยินยอมกันไว้เช่นนั้นจริง แต่เถียงว่าได้ชำระหนี้สินแก่จำเลยหมดแล้วแม่มีติดค้าง ดังนี้ ถ้าหากโจทก์ยังมีหนี้สินติดอยู่จริงดังจำเลยต่อสู้ จำเลยย่อมมีสิทธิตามสัญญาที่จะหัดเงินตามฟ้องเพื่อชำระาหนี้ได้หาจำต้องฟ้องแย้งขอหักหนี้เข้ามาอีกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 806/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิหักเงินเดือนชำระหนี้ - การหักเงินเดือนเพื่อชำระหนี้จากการยืมเงินที่มีข้อตกลง
โจทก์พ้นจากตำแหน่งนายกเทศมนตรี ฟ้องบังคับให้เทศบาลจำเลยจ่ายเงินเดือน ฯลฯ ซึ่งโจทก์มีสิทธิจะได้รับจำเลยให้การและแถลงว่า การที่ไม่จ่ายเงินตามฟ้อง เพราะโจทก์ยังเป็นลูกหนี้จำเลยอยู่ตามใบยืมโดยมีข้อสัญญากันไว้ในการยืมเงินว่า ถ้าไม่ใช้ก็ยอมให้หักเงินเดือนหรือเงินอื่นใดของผู้ยืมใช้จนครบได้โจทก์แถลงว่าได้มีข้อสัญญาระบุความตกลงยินยอมไว้เช่นนั้นจริง แต่เถียงว่าได้ชำระแก่จำเลยหมดแล้วดังนี้ถ้าหากโจทก์ยังมีหนี้สินติดอยู่จริง ดังจำเลยต่อสู้ จำเลยย่อมมีสิทธิตามสัญญาที่จะหักเงินตามฟ้อง เพื่อชำระหนี้ได้ หาจำต้องฟ้องแย้งขอหักหนี้เข้ามาอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ชำระบัญชีเริ่มต้นเมื่อจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี และการรับผิดของผู้ชำระบัญชีในหนี้สิน
ในคดีฟ้องให้บริษัทจำกัดชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1272 ที่ว่า ต้องฟ้องภายในกำหนด 2 ปีนับแต่วันที่ถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีนั้น อายุความต้องเริ่มนับแต่วันที่นายทะเบียนสั่งรับจดทะเบียนแล้ว เพราะคำสั่งเช่นนี้ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้บุคคลทั้งปวงรับรู้ มิใช่เริ่มนับแต่วันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "แต่จำเลยมิได้แสดงแก่เจ้าพนักงานกองทะเบียนและในหลักฐานการชำระบัญชีว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ค่ากระสอบของโจทก์ดังกล่าวแล้วข้างต้น ซึ่งโจทก์ถือว่าจำเลยปิดบังหนี้สินรายนี้ ทั้งจำเลยมิได้ชำระเงินค่ากระสอบนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงจำเป็นต้องยื่นฟ้องขอคำบังคับของศาลให้จำเลบชำระหนี้ดังกล่าวแล้วให้แก่โจทก์ต่อไป" นั้น เป็นเรื่องผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ จะถือว่าโจทก์กล่าวหาจำเลยให้รับผิดฐานละเมิดยังไม่ได้ เพราะการกล่าวหาให้รับผิดฐานละเมิดจะต้องกล่าวแสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ต้องเสียหาย
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7,8/2504
of 48