คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อนาจาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4593/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระทำอนาจารต่อหน้าธารกำนัล แม้ผู้เสียหายไม่ติดใจฟ้อง สิทธิโจทก์ยังไม่ระงับ
จำเลยกระทำอนาจารจับหน้าอกผู้เสียหายในร้านอาหารซึ่งมีลูกค้านั่งรับประทานอาหารอยู่ที่โต๊ะอื่นด้วย และมี น. พนักงานร้านอาหารนั้นเห็นจำเลยจับหน้าอกผู้เสียหายขณะ น. เสิร์ฟอาหารอยู่โต๊ะอื่น จึงเป็นการกระทำต่อหน้าธารกำนัล และมิใช่ความผิดฐานกระทำอนาจารที่จะยอมความได้ ตาม ป.อ. มาตรา 281 ประกอบมาตรา 278 แม้ผู้เสียหายแถลงไม่ติดใจเอาความแก่จำเลยแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ก็ยังไม่ระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กเพื่อการอนาจาร: การพิจารณาจากผู้ดูแล และอำนาจศาลในการลงโทษตามข้อเท็จจริง
การพรากเด็กอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม คือการพรากไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล แม้ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายจะไม่ได้พักอาศัยอยู่กับบิดามารดา เนื่องจากไปทำงานเป็นพนักงานในร้านอาหารสาวสระแก้วที่จังหวัดชุมพรก็ตาม แต่บิดาของผู้เสียหายได้มอบหมายให้ พ. ซึ่งเป็นเจ้าของร้านอาหารสาวสระแก้วเป็นผู้ดูแลผู้เสียหาย การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปที่บ้านของจำเลยและต่อมาได้กระทำชำเราผู้เสียหายจึงเป็นการพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารแล้ว
แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะขอให้ลงโทษจำเลยฐานพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยพรากผู้เสียหายไปเสียจากผู้ดูแลเพื่อการอนาจารก็ตาม ข้อแตกต่างดังกล่าวก็มิใช่ข้อสาระสำคัญแต่อย่างใด ทั้งจำเลยได้โต้เถียงข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีว่าจำเลยไม่ใช่คนร้ายที่กระทำความผิดตามฟ้อง จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ในข้อดังกล่าว ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กเพื่อการอนาจาร แม้ผู้เสียหายไม่ได้อยู่กับบิดามารดา แต่ยังอยู่ภายใต้การดูแลของผู้อื่น
การพรากเด็กอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม คือการพรากเด็กไปเสียจากบิดา มารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล แม้ขณะเกิดเหตุเด็กหญิง ว. จะไม่ได้พักอาศัยอยู่กับบิดา มารดา เนื่องจากไปทำงานเป็นพนักงานในร้านอาหาร ส. ที่จังหวัดชุมพรก็ตาม แต่บิดาของเด็กหญิง ว. ได้มอบหมายให้ พ. ซึ่งเป็นเจ้าของร้านอาหาร ส. เป็นผู้ดูแลเด็กหญิง ว. การที่จำเลยพาเด็กหญิง ว. ไปที่บ้านของจำเลยและกระทำชำเราเด็กหญิง ว. จึงเป็นการพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารแล้ว
แม้คดีนี้ตามฟ้องของโจทก์จะเป็นการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดา มารดา เพื่อการอนาจาร แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากผู้ดูแล เพื่อการอนาจารก็ตาม ข้อแตกต่างดังกล่าวก็มิใช่ข้อสาระสำคัญแต่อย่างใด อีกทั้งจำเลยโต้เถียงข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีเพียงว่าจำเลยไม่ใช่คนร้ายที่กระทำความผิดตามฟ้อง จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ในข้อดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10189/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กและอนาจาร: พยานหลักฐานสนับสนุนคำเบิกความของผู้เสียหายเชื่อถือได้
จำเลยถูกกล่าวหาว่า กระทำความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนโดยเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง และกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีโดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคแรก อันเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน เมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น บุคคลซึ่งมิใช่ผู้เสียหายสามารถกล่าวโทษต่อเจ้าหน้าที่ว่า มีบุคคลรู้ตัวหรือไม่ก็ดีได้กระทำความผิดขึ้น และเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดได้ ดังนั้น ต. เจ้าหน้าที่มูลนิธิคุ้มครองเด็กจึงสามารถกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยกระทำความผิดต่อผู้เสียหายได้ โดยไม่จำต้องอาศัยการมอบอำนาจจาก ภ. และ ฉ. แต่อย่างใดพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจทำการสอบสวนคดีได้ การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9890/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ครูทำอนาจารนักเรียนในความดูแล ศาลตัดสินผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 ประกอบ 285
จำเลยเป็นครูสอนวิชาคอมพิวเตอร์ในสายชั้นเรียนให้แก่ผู้เสียหาย จำเลยใช้ผู้เสียหายให้นำผ้าไปซักในห้องน้ำเกิดเหตุ เป็นที่เห็นได้ว่าขณะนั้นผู้เสียหายเป็นศิษย์อยู่ในความดูแลของจำเลย ทั้งต้องเชื่อฟังจำเลยด้วย เมื่อจำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหายในขณะนั้น จำเลยจึงต้องมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคแรก ประกอบมาตรา 285

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9725/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนเด็กและการพรากผู้เยาว์: อำนาจปกครองมารดาและการกระทำอนาจาร
เมื่อผู้เสียหายที่ 1 เป็นผู้เยาว์ยังไม่บรรลุนิติภาวะและพักอาศัยอยู่กับผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นมารดา ผู้เสียหายที่ 1 ย่อมอยู่ใต้อำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 การที่จำเลยดึงผู้เสียหายที่ 1 เข้าไปในห้องพักของจำเลยแล้วข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 รวม 2 ครั้ง เป็นการกระทำอันมีเจตนาล่วงล้ำอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 แล้ว เพราะจำเลยนำสืบรับว่ามีบุตรและภริยาอยู่แล้ว ย่อมไม่อยู่ในสถานะที่จะเลี้ยงดูผู้เสียหายที่ 1 ฉันสามีภริยาได้ การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการพรากผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากมารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร รวม 2 กระทง ส่วนการที่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ในห้องน้ำของโรงเรียนที่เกิดเหตุระหว่างที่ผู้เสียหายที่ 2 มีกิจธุระจึงให้ผู้เสียหายที่ 1 ไปอยู่กับจำเลยนั้น จำเลยไม่ได้กระทำการใดอันจะเป็นการพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปจากอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 คงมีเจตนาที่จะกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 เพียงอย่างเดียว การกระทำของจำเลยในครั้งนี้จึงไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อการอนาจาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4547/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: พาผู้เยาว์ไปอนาจารและกระทำอนาจารเป็นกรรมต่อเนื่อง
การที่จำเลยพาผู้เสียหายที่ 3 อายุ 16 ปีเศษ ไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงแล้วจำเลยได้กระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 3 ในขณะเดียวกันนั้น เป็นการกระทำต่อเนื่องกันโดยมีความมุ่งหมายเพียงประการเดียวที่จะกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 3 การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90 ต้องลงโทษตามมาตรา 284 วรรคแรก ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดหาใช่เป็นความผิดคนละกรรมต่างกันไม่ แม้โจทก์จะแยกบรรยายการกระทำความผิดของจำเลยมาในฟ้องเป็นข้อ ข. และข้อ ค. เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นความผิดคนละกรรมต่างกัน และจำเลยให้การรับสารภาพก็ตาม ศาลก็จะลงโทษจำเลยหลายกรรมเป็นกระทงความผิดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2492/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร: กฎหมายคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดา แม้ผู้เยาว์จะสมัครใจ
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตาม ป.อ. มาตรา 317 ถึงมาตรา 319 กฎหมายมุ่งคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล มิใช่ตัวผู้เยาว์ผู้ถูกพราก ทั้งนี้เพื่อมิให้ผู้ใดมาก่อการรบกวนหรือกระทำการใดๆ อันเป็นการกระทบกระทั่งต่ออำนาจปกครองไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยปริยาย ไม่ว่าผู้เยาว์จะไปอยู่ที่แห่งใด หากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลยังเอาใจใส่อยู่ ผู้เยาว์ย่อมอยู่ในอำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลตลอดเวลา นอกจากนี้กฎหมายมิได้จำกัดว่าพรากโดยวิธีการอย่างใดและไม่ว่าผู้เยาว์จะเป็นฝ่ายออกจากบ้านไปเองโดยมีผู้ชักนำ หรือไม่มีผู้ชักนำก็ตาม ก็ย่อมเป็นความผิดทั้งสิ้น การที่ผู้เยาว์ไปหาจำเลยที่บ้าน ไม่ว่าใครจะเป็นฝ่ายนัดหมายชักชวนกันก่อนแล้วจำเลยร่วมประเวณีกับผู้เยาว์ โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือความยินยอมจากบิดามารดาของผู้เยาว์ย่อมทำให้อำนาจปกครองดูแลบุตรผู้เยาว์ถูกพรากจากไปโดยปริยาย และการที่ผู้เยาว์โทรศัพท์หาจำเลยว่าจะหนีออกจากบ้านไปพัทยาและนัดพบจำเลย เมื่อพบกันจำเลยไม่ยอมให้ผู้เยาว์ไปตามลำพัง แต่จำเลยขอไปด้วย โดยเปิดห้องพักอยู่ด้วยกัน 2 คืน ผู้เยาว์เป็นคนชำระค่าห้องพักและค่าใช้จ่าย ทั้งผู้เยาว์ยังให้เงินจำเลยเป็นค่าใช้จ่ายในการหลบหนีด้วยก็ตาม แต่จำเลยได้ร่วมประเวณีกับผู้เสียหายทุกคืน พฤติการณ์จำเลยมิใช่การไปเป็นเพื่อนแต่เป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารทั้งสองกรณี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7695/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีพรากผู้เยาว์และพาผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร แม้กระทำในคราวเดียวกัน
ความผิดฐานพาผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย และฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย แม้จำเลยกระทำในคราวเดียวกัน แต่ก็เป็นความผิดต่อทั้งผู้เยาว์และมารดาของผู้เยาว์ ถือได้ว่ามีเจตนากระทำความผิดให้เกิดผลเป็นกรรมในความผิดต่างฐานต่างหากจากกันจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า ความผิดสองฐานดังกล่าวเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายบท ลงโทษฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 นั้น เป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่ไม่อาจกำหนดโทษจำเลยเพิ่มเติมได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7673/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กเพื่อการอนาจาร: การกระทำโดยสมัครใจและเจตนา รวมถึงอำนาจการวินิจฉัยของศาล
การวินิจฉัยว่าการกระทำเป็นความผิดฐานใดหรือไม่ เป็นการปรับข้อเท็จจริงเข้าสู่ข้อกฎหมาย เป็นปัญหาข้อกฎหมายและเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 5 จึงมีอำนาจวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมา ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
ความผิดฐานพรากเด็กมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลที่มีต่อเด็กไม่ให้ผู้ใดพรากเด็กไปเสียจากความปกครองดูแล เมื่อขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 มีอายุเพียง 12 ปีเศษ จึงต้องอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 การที่วันที่ 10 วันที่ 12 และวันที่ 16 เมษายน 2547 จำเลยซึ่งเคยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 มาแล้วหลายครั้ง ได้นัดให้ผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งพบกันขณะผู้เสียหายที่ 1 เดินไปส่งเพื่อนให้ไปพบจำเลยที่โรงเรียน จ. และกวักมือเรียกผู้เสียหายที่ 1 จากสนามบาสเกตบอลให้เข้าไปหาจำเลยแล้วพาผู้เสียหายที่ 1 ไปกระทำชำเรา และจำเลยขับรถจักรยานยนต์เข้าไปหาผู้เสียหายที่ 1 ในสนามแบดมินตันโรงเรียน จ. บอกให้ไปพบจำเลยที่แท็งก์น้ำด้านหลังแล้วพาผู้เสียหายที่ 1 ไปกระทำชำเรา แม้ในเบื้องต้นผู้เสียหายที่ 1 จะออกจากบ้านไปเองก็ถือไม่ได้ว่าพ้นจากอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 และแม้ผู้เสียหายที่ 1 จะสมัครใจไปกับจำเลยก็ถือเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 และเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันควร การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
จำเลยนั่งดื่มสุรากับเพื่อนที่บ้าน ว. ผู้เสียหายที่ 1 ไปที่บ้าน ว. และไปเข้าห้องน้ำ โดยจำเลยไม่ได้นัดแนะหรือบอกให้ผู้เสียหายที่ 1 ทำเช่นนั้น จำเลยเพียงฉวยโอกาสตามเข้าไปขอกระทำชำเราโดยผู้เสียหายที่ 1 ยินยอม อันเป็นการมุ่งที่จะกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 เพียงอย่างเดียว โดยมิได้เจตนาจะล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
of 36