พบผลลัพธ์ทั้งหมด 507 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 709/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักกันผู้กระทำผิดและการพิจารณาโทษจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 14 และ 41
จำเลยต้องโทษฐานลักทรัพย์ศาลจำคุก 6 เดือน ต่อมาจำเลยต้องโทษฐานทำร้ายร่างกาย ต่อสู้เจ้าพนักงานและเมาสุรา ศาลรวมกะทงลงโทษจำคุก 1 ปี แต่ฐานทำร้ายร่างกายนั้นศาลวางโทษจำคุก 4 เดือน ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จึงนำมากักกันจำเลยไม่ได้คงเหลือโทษฐานลักทรัพย์ครั้งเดียว ที่เป็นโทษฐานที่ระบุไว้ในมาตรา 41 ประมวลกฎหมายอาญา และมีกำหนดโทษจำคุกถึง 6 เดือน ศาลจึงมีอำนาจตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 14 ที่จะสั่งตามที่เห็นสมควร ศาลจึงอาจสั่งให้ยกเลิกการกักกันให้จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษจำคุกสำหรับความผิดเจ้าพนักงานปลอมหนังสือ และการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงที่ขัดกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏ
ในความผิดฐานเจ้าพนักงานปลอมหนังสือแม้กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 229 และ 230 กำหนดโทษจำคุก ตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไปจนถึง 10 ปีก็จริง แต่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161 กำหนดโทษว่า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ซึ่งไม่กำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ เมื่อกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะศาลทำการพิจารณาเป็นเช่นนี้ ในการวินิจฉัยกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 จึงต้องถือเอาตามนั้น แม้จะไม่ได้ระบุว่า มาตรา ใดตรงกับมาตรา ของกฎหมายเดิมมาตราไหน แต่ก็อาจเห็นจากบทบัญญัติของกฎหมายเก่า และใหม่ได้อยู่ในตัวแล้ว เมื่อจำเลยรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจึงสั่งไม่ให้สืบพยาน เช่นนี้ ย่อมเป็นการชอบแล้ว เพราะการที่ศาลจะต้องฟังพยานโจทก์หรือไม่ เป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2503)
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี จำเลยจะฎีกาว่า จำเลยมีเหตุบรรเทาโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 โดยบิดาจำเลยได้นำเงินส่วนตัวมอบให้ผู้เสียหายหมดสิ้นแล้ว และว่าการที่ศาลมิให้จำเลยสืบพยาน ทำให้ศาลไม่ทราบถึงข้อควรคำนึงตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ดังนี้ หาได้ไม่ เพราะการฎีกาดังกล่าวขัดกับที่ปรากฏในรายงานพิจารณาที่ว่า จำเลยแถลงว่าจำเลยไม่สามารถหาเงินมาชำระแก่เจ้าทุกข์ ได้ จำเลยขอให้ศาลพิพากษาไป การที่จำเลยบิดเบือนข้อเท็จจริงให้เป็นปัญหาข้อกฎหมายจึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้าม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี จำเลยจะฎีกาว่า จำเลยมีเหตุบรรเทาโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 โดยบิดาจำเลยได้นำเงินส่วนตัวมอบให้ผู้เสียหายหมดสิ้นแล้ว และว่าการที่ศาลมิให้จำเลยสืบพยาน ทำให้ศาลไม่ทราบถึงข้อควรคำนึงตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ดังนี้ หาได้ไม่ เพราะการฎีกาดังกล่าวขัดกับที่ปรากฏในรายงานพิจารณาที่ว่า จำเลยแถลงว่าจำเลยไม่สามารถหาเงินมาชำระแก่เจ้าทุกข์ ได้ จำเลยขอให้ศาลพิพากษาไป การที่จำเลยบิดเบือนข้อเท็จจริงให้เป็นปัญหาข้อกฎหมายจึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้าม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 978/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอแก้โทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3(1) ต้องเกิดก่อนใช้กฎหมายใหม่
ที่จำเลยจะร้องขอให้ศาลกำหนดโทษจำเลยเสียใหม่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3(1) นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ศาลพิพากษาลงโทษจำเลย และคดีถึงที่สุดไปแล้วก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายอาญา คือ วันที่ 1 ม.ค. 2500 ถ้าคดีของจำเลยมาถึงที่สุดลงเมื่อประมวลกฎหมายอาญาได้ออกใช้เสียแล้วกรณีก็ไม่อยู่ในบังคับ มาตรา 3(1) แห่งประมวลกฎหมายอาญาที่ศาลจะแก้กำหนดโทษเสียใหม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยถึงความหนักเบาของโทษตามกฎหมายเก่าใหม่แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษ ม.92 กับผู้ที่รอการลงโทษ: โทษที่รอการลงโทษไม่ถือเป็นโทษที่กำลังรับอยู่
ประมวลกฎหมายอาญา ม.92 ที่บัญญัติว่า "ผู้ใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก ถ้าและได้กระทำความผิดใด ๆ อีกในระหว่างที่ยังจะต้องรับโทษอยู่ก็ดี ฯลฯ" นั้น คำว่า รับโทษในประโยคหลัง หมายความถึง ได้รับโทษจำคุกในประโยคแรกนั่นเอง โทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้จึงไม่เป็นโทษที่กำลังรับอยู่หรือยังจะต้องรับอยู่ ตามความหมายในมาตรานี้ จะนำมาเป็นเหตุเพิ่มโทษ ตาม ม.92 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษตามมาตรา 92 เมื่อมีความผิดขณะรอการลงโทษ: โทษที่รอการลงโทษไม่นับเป็นโทษที่กำลังรับอยู่
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา92 ที่บัญญัติว่า "ผู้ใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก ถ้าและได้กระทำความผิดใดๆอีกในระหว่างที่ยังจะต้องรับโทษอยู่ก็ดี ฯลฯ" นั้น คำว่ารับโทษในประโยคหลัง หมายความถึง ได้รับโทษจำคุกในประโยคแรกนั่นเอง โทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้จึงไม่เป็นโทษที่กำลังรับอยู่หรือยังจะต้องรับอยู่ตามความหมายในมาตรานี้จะนำมาเป็นเหตุเพิ่มโทษตาม มาตรา92 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษยักยอกทรัพย์: เกณฑ์อัตราโทษขั้นต่ำและบทแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 เดิมบัญญัติถึงกรณีที่จะต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยให้ถือเกณฑ์อัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไปแต่ที่แก้ไขใหม่ได้เปลี่ยนหลักเดิมเป็นถือเกณฑ์อัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้นแม้ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 131 ที่แก้ไข มีโทษขั้นสูงจำคุกตลอดชีวิต หรือ 20 ปีแต่ก็มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไปเมื่อจำเลยรับสารภาพก็ไม่ต้องสืบพยานประกอบ
โจทก์ฟ้องและอ้างประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าหมายความถึงประมวลกฎหมายอาญาซึ่งประกาศใช้โดย พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 นั่นเอง
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดกว่ากฎหมายลักษณะอาญา มาตรา131 ที่แก้ไข (เฉพาะข้อนี้โดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2502 ควรเทียบดูกับฎีกาที่ 1292/2500 ซึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ และฎีกาที่1814/2500)
โจทก์ฟ้องและอ้างประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าหมายความถึงประมวลกฎหมายอาญาซึ่งประกาศใช้โดย พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 นั่นเอง
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดกว่ากฎหมายลักษณะอาญา มาตรา131 ที่แก้ไข (เฉพาะข้อนี้โดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2502 ควรเทียบดูกับฎีกาที่ 1292/2500 ซึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ และฎีกาที่1814/2500)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1040/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพในคดีอาญาที่กฎหมายกำหนดโทษต่ำกว่า 5 ปี ศาลไม่ต้องสืบพยานและลงโทษจำเลยได้
คดีอาญาที่จำเลยรับสารภาพ ศาลจะต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่า จำเลยได้กระทำผิดจริง ต้องเป็นคดีที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉุดคร่า ข่มขืน และกักขัง: ศาลฎีกายืนโทษฐานข่มขืน กระทงหนักจำคุก
จำเลยฉุดคร่าพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร แล้วข่มขืนกระทำชำเรา และหน่วงเหนี่ยวกักขังหญิงนั้นไว้ เป็นความผิด 3 กระทงตาม มาตรา 276,284,310 และศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยกระทงที่หนักที่สุดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โทษจำคุกตลอดชีวิตไม่นับโทษต่อจากคดีอื่น แม้มีโทษค้างอยู่ก่อนแล้ว
เมื่อจำเลยต้องโทษในคดีหลังถึงจำคุกตลอดชีวิตแล้ว ก็ไม่ต้องนับโทษต่อจากคดีก่อนให้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โทษจำคุกรอลงอาญาและผลกระทบหลังพ.ร.บ.ล้างมลทินฯ: การนำโทษเดิมมารวมกับโทษใหม่
ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแต่ให้รอลงอาญาไว้ก่อนใช้ พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ พ.ศ. 2499 ต่อมาภายหลังเมื่อใช้ พ.ร.บ.ล้างมลทินฯแล้วจำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกในคดีใหม่ ย่อมนำเอาโทษจำคุกที่รอการลงอาญาไว้ในคดีก่อนมาบวกกับโทษในคดีใหม่นี้ได้