พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,483 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8977/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งอนุญาตให้สวมสิทธิเป็นคู่ความระหว่างพิจารณาคดี ต้องห้ามอุทธรณ์จนกว่ามีคำพิพากษา
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์จนกว่าศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8590-8591/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินชำระหนี้คดีแรงงานระหว่างอุทธรณ์ ไม่ถือเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษา จึงยังต้องเสียดอกเบี้ย
ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพร้อมดอกเบี้ยจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2547 จำเลยยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา แม้ว่าวันที่ 25 พฤศจิกายน 2547 จำเลยจะนำต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางวางต่อศาลแรงงานกลาง แต่จำเลยก็มิได้ยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์ ทั้งจำเลยยังได้ระบุในคำขอวางเงินว่านำมาวางไว้เพื่อชำระหนี้โจทก์ถ้าจำเลยแพ้คดีในชั้นฎีกา ถือได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยวางเงินต่อศาลโดยไม่ยอมรับผิด จึงไม่เป็นเหตุระงับการเสียดอกเบี้ยหากจำเลยมีความรับผิดตามกฎหมายจะต้องเสีย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 136 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8321/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์ ผู้ร้องต้องโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาภายในเวลา หากไม่ทำสิทธิอุทธรณ์ระงับ
คำร้องขอขยายระยะเวลาของผู้ร้องที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 เป็นอำนาจและดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งตามที่เห็นสมควร คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินของผู้ร้อง ฉบับลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2548 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณานอกเหนือจากคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227, 228 ผู้ร้องจะต้องโต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อไป เว้นแต่ผู้ร้องจะไม่มีโอกาสที่จะโต้แย้งได้ การที่ทนายผู้ร้องได้ลงชื่อรับทราบในคำร้องฉบับดังกล่าวเพื่อให้มาฟังคำสั่งในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2548 กรณีย่อมต้องถือว่า ผู้ร้องได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2548 ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2548 ให้จำหน่ายคดีของผู้ร้องออกจากสารบบความ อันเป็นเวลาหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งถึง 4 วัน ผู้ร้องย่อมมีโอกาสเพียงพอที่จะโต้แย้งคัดค้านคำสั่งนี้ได้ แต่ผู้ร้องก็มิได้โต้แย้ง เป็นการไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8308/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเพิ่มเติมเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้าง และผลของการไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์
ในครั้งแรกที่มีการรังวัดการเวนคืนที่ดินและคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้ตารางละ 35,000 บาท โจทก์พอใจและไม่ได้อุทธรณ์ภายในกำหนด ทำให้โจทก์หมดสิทธิที่จะฟ้องคดีต่อศาล ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้างทำให้ต้องเวนคืนเนื้อที่ดินเพิ่มขึ้น เมื่อโจทก์เห็นว่าเงินค่าทดแทนที่ดินในเนื้อที่ที่ต้องเวนคืนเพิ่มขึ้นใหม่นี้ไม่เป็นธรรม โจทก์ก็สามารถใช้สิทธิอุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วนนี้เพิ่มต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย แต่โจทก์จะอ้างความเสียหายจากเนื้อที่ที่ต้องเวนคืนเพิ่มขึ้นใหม่มาเป็นเหตุอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดินจากการเวนคืนโดยการดำเนินการของจำเลยในครั้งแรกที่โจทก์พอใจไปแล้วด้วยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8277/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลและการดำเนินการตามคำร้องขอเป็นคนอนาถา หากไม่ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย ศาลไม่รับอุทธรณ์
จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นสั่งว่า ยื่นอุทธรณ์เกิน 7 วัน นับแต่วันอ่านคำสั่ง ขัด ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย (เดิม) จึงไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ให้ยกคำร้อง มีผลเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น โดยวินิจฉัยถึงเหตุเดียวกัน คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. 236 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงฎีกาไม่ได้
การดำเนินกระบวนพิจารณานับตั้งแต่จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์นั้น เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างว่าเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคท้าย (เดิม)
การดำเนินกระบวนพิจารณานับตั้งแต่จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์นั้น เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างว่าเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคท้าย (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8040/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการพิพากษาชดใช้ค่าเสียหายในชั้นอุทธรณ์ต้องไม่เกินคำฟ้องเดิม และประเด็นการหักเงินค่าสินไหมทดแทนที่ไม่ยกขึ้นว่ากันในชั้นอุทธรณ์
การที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 จำนวน 180,000 บาท และแก่โจทก์ที่ 3 จำนวน 198,000 บาท โดยบรรยายฟ้องอุทธรณ์ว่าโจทก์ที่ 2 ขอถือทุนทรัพย์ในศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นเงิน 180,000 บาท ส่วนโจทก์ที่ 3 ขอถือทุนทรัพย์ในศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นเงิน 198,000 บาท จึงรับฟังได้ว่าค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวเป็นทุนทรัพย์ที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 เรียกร้องขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาเพิ่มขึ้นจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้บางส่วนแล้ว ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 300,000 บาท และแก่โจทก์ที่ 3 เป็นเงิน 330,000 บาท จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลภายในกำหนดระยะเวลา ทำให้คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่ไม่รับอุทธรณ์เป็นที่สุด
เดิมจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยยื่นอุทธรณ์พร้อมกับคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงิน และมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2549 ซึ่งจำเลยทราบคำสั่งในวันดังกล่าวแล้ว หากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 234 โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง แต่จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2549 จึงเกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเพราะเหตุดังกล่าว จึงมีผลเป็นการไม่รับอุทธรณ์ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลภายในกำหนดตามกฎหมาย ทำให้คำสั่งศาลชั้นต้นมีผลผูกพันและไม่รับฎีกา
เดิมจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยยื่นอุทธรณ์พร้อมกับคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงิน และมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2549 ซึ่งจำเลยทราบคำสั่งในวันดังกล่าวแล้ว หากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยก็ต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 โดยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง แต่จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2549 จึงเกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเพราะเหตุดังกล่าว จึงมีผลเป็นการไม่รับอุทธรณ์ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น ย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 236 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6961/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงหักบัญชีหนี้บัตรเครดิตจากเงินฝาก และข้อจำกัดการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225
แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่เมื่อจำเลยรับสำเนาคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาของโจทก์แล้วไม่ค้าน และศาลชั้นต้นส่งสำนวนมายังศาลฎีกา พออนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว
จำเลยหักบัญชีสะสมทรัพย์ของโจทก์เพื่อชำระหนี้บัตรเครดิตที่โจทก์ค้างชำระ เป็นการใช้สิทธิตามข้อตกลงตามคำขอเป็นผู้ถือบัตรเครดิตที่ระบุว่า "ในกรณีผู้ถือบัตรค้างชำระเงิน... ผู้ถือบัตรยินยอมให้ธนาคารนำภาระหนี้บัตรเครดิตที่คงค้างไปหักบัญชีเงินฝากของผู้ถือบัตรทุกประเภทที่มีอยู่กับธนาคารได้ตามที่ธนาคารเห็นสมควรโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ถือบัตรอีก..." หาใช่เป็นการหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 โดยไม่มีข้อตกลงระหว่างกันไม่ จำเลยจึงมีสิทธิที่จะหักบัญชีสะสมทรัพย์ของโจทก์ได้ แม้หนี้บัตรเครดิตจะขาดอายุความแล้วก็ตามนอกจากนี้ ข้อสัญญาดังกล่าวยังเป็นข้อตกลงที่เกี่ยวกับประโยชน์ระหว่างคู่สัญญาไม่มีผลกระทบต่อบุคคลภายนอกและไม่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
จำเลยหักบัญชีสะสมทรัพย์ของโจทก์เพื่อชำระหนี้บัตรเครดิตที่โจทก์ค้างชำระ เป็นการใช้สิทธิตามข้อตกลงตามคำขอเป็นผู้ถือบัตรเครดิตที่ระบุว่า "ในกรณีผู้ถือบัตรค้างชำระเงิน... ผู้ถือบัตรยินยอมให้ธนาคารนำภาระหนี้บัตรเครดิตที่คงค้างไปหักบัญชีเงินฝากของผู้ถือบัตรทุกประเภทที่มีอยู่กับธนาคารได้ตามที่ธนาคารเห็นสมควรโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ถือบัตรอีก..." หาใช่เป็นการหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 โดยไม่มีข้อตกลงระหว่างกันไม่ จำเลยจึงมีสิทธิที่จะหักบัญชีสะสมทรัพย์ของโจทก์ได้ แม้หนี้บัตรเครดิตจะขาดอายุความแล้วก็ตามนอกจากนี้ ข้อสัญญาดังกล่าวยังเป็นข้อตกลงที่เกี่ยวกับประโยชน์ระหว่างคู่สัญญาไม่มีผลกระทบต่อบุคคลภายนอกและไม่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6557/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์จำกัดเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงเกินขอบเขต เป็นการละเมิดอำนาจและต้องห้ามตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นให้เหตุผลในคำพิพากษาว่า การที่โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทมาโดยตลอด เป็นการครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ มิใช่ครอบครองตามสัญญาจะซื้อจะขายอันจะเป็นการครอบครองแทนจำเลยที่ 1 เมื่อครอบครองโดยสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 จำเลยทั้งห้าอุทธรณ์ แต่ขออุทธรณ์เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายว่าเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายเลิกกันแล้ว คู่ความจะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมหรือไม่ มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่า ไม่ชอบอย่างไร การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายให้จำเลยทั้งห้า แต่ได้ก้าวล่วงไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่โจทก์ยังไม่ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินโดยบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 1 ว่าไม่มีเจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น และเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายก่อน ทั้งที่อุทธรร์ของจำเลยทั้งห้าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 จึงไม่ชอบ