คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อจำกัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 541 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาคดี: ข้อจำกัดและข้อยกเว้นในการอุทธรณ์ก่อนมีคำพิพากษา
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบและนัดฟังคำพิพากษาในเวลาอีก 20 วัน ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำสั่งก่อนวันนัดไม่ได้ เพราะเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) และจะขอให้พิจารณาใหม่ก็ไม่ได้เพราะศาลชั้นต้นมิได้สั่งว่าผู้ร้องขาดนัดพิจารณา.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1164/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 218 และ 249: ข้อจำกัดในการฎีกาเรื่องข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย 2 กรรมรวมจำคุกจำเลยที่ 1, ที่2 และที่ 3 คนละ 5 ปี และปรับคนละ 1,000 บาท ลงโทษปรับจำเลยที่ 4 เป็นเงิน 11,000 บาท ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันคืนเงิน 1,997,400 บาท แก่ผู้เสียหายศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยทั้งสี่ใช้เงินแก่ผู้เสียหายเพียง 1,985,400 บาท เป็นการแก้ไขเล็กน้อย คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ที่จำเลยฎีกาว่าไม่มีพยานโจทก์ยืนยันถึงการกระทำผิดของจำเลยนั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ที่จำเลยฎีกาว่าศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ข้อหนึ่งของจำเลยเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยอุทธรณ์ในข้อดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 มาตรา 7,27 มิใช่มาตรา 7,28 ตามที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 7,28 ทั้งมาตรา 27 และ 28 ต่างก็เป็นบทลงโทษของมาตรา 7 ซึ่งกำหนดโทษไว้เท่ากัน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 57/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีล้มละลาย: จำนวนทุนทรัพย์เกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
ในคดีล้มละลายที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายชื่อผู้ร้องออกจากบัญชีลูกหนี้ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยืนยันและเรียกให้ชำระหนี้นั้น ถือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ หากหนี้ซึ่งเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทมีจำนวนไม่เกิน 20,000 บาท ย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้ จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาจึงไม่อาจรับไว้พิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5744/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีหมิ่นประมาทขัดต่อข้อจำกัดการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามกฎหมายศาลแขวง
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดพิพากษายกฟ้อง คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 โจทก์อุทธรณ์ว่า การกระทำของจำเลยและข้อความที่ร้องเรียนเป็นการร้องเรียนโดยทุจริต ไม่เป็นการป้องกันตนหรือส่วนได้เสียแห่งตน เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้ตามอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการมิชอบต้องถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดโจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5744/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีหมิ่นประมาทขัดต่อข้อจำกัดการอุทธรณ์ในศาลแขวง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา326,328 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดพิพากษายกฟ้อง คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499 มาตรา 22 โจทก์อุทธรณ์ว่า การกระทำของจำเลยและข้อความที่ร้องเรียนเป็นการร้องเรียนโดยทุจริต ไม่เป็นการป้องกันตนหรือส่วนได้เสียแห่งตน เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้ตามอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการมิชอบต้องถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าจำเลยมิได้กระทำความผิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 57/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีล้มละลายที่มีทุนทรัพย์น้อยกว่า 20,000 บาท ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาต้องปฏิบัติตาม
ในคดีล้มละลายที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายชื่อผู้ร้องออกจากบัญชีลูกหนี้ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยืนยันและเรียกให้ชำระหนี้นั้น ถือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ หากหนี้ซึ่งเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทมีจำนวนไม่เกิน 20,000 บาท ย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้ จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาจึงไม่อาจรับไว้พิจารณาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5256/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีแรงงาน และคำพิพากษาที่ไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงาน
จำเลยให้การว่าโจทก์รับเงินค่าระวางของจำนวน 600 บาทจากพนักงานของจำเลยแล้วทด เงินไว้เป็นเวลา 7 วัน เป็นการทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบของบริษัทจำเลยอย่างร้ายแรงศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ทุจริตเงินค่าระวางของจำนวน 600 บาทหรือไม่ และโจทก์มีสิทธิได้รับเงินตามฟ้องหรือไม่ดังนี้ ปัญหาว่าการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ จึงมิได้เป็นข้อพิพาทในคดี เมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทุจริตเงินค่าระวางดังกล่าวอุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงจึงมิใช่เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 นั้น ศาลแรงงานต้องพิจารณาว่าลูกจ้างกับนายจ้างอาจทำงานร่วมกันต่อไปได้หรือไม่เป็นประการแรก หากไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปจึงจะพิจารณากำหนดค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้ให้ลูกจ้างเป็นประการที่สอง ศาลแรงงานพึงพิพากษาเพียงประการเดียว การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หากไม่สามารถรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานได้ก็ให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้างอันเป็นการพิพากษาสองประการโดยมีเงื่อนไขนั้น ย่อมเป็นการไม่ชอบ และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ แต่การพิจารณาถึงเหตุสองประการดังกล่าวเป็นดุลพินิจ ของศาลแรงงาน จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4545/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ดอกเบี้ยค่าจ้าง: ประเด็นใหม่ต้องยกขึ้นในศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างที่จำเลยไม่ชำระและเงินเพิ่มร้อยละสิบห้าของค่าจ้างที่ค้างชำระทุกเจ็ดวันนับแต่วันถึงกำหนดจ่ายจากจำเลย มิได้ขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยร้อยละสิบห้าต่อปีของค่าจ้างค้างชำระ ดังนี้ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าเมื่อจำเลยไม่ชำระค่าจ้าง จเลยต้องจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีของค่าจ้างค้างจ่ายนับแต่วันค้างชำระเป็นต้นไป เว้นแต่จะนำค่าจ้างไปมอบแก่อธิบดีกรมแรงงานหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายเพื่อให้ลูกจ้างรับไป จึงจะไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย นั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 31.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4477/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์โทษปรับ และการนับโทษต่อเมื่อจำเลยปฏิเสธ
ในข้อหาที่ศาลชั้นต้นลงโทษปรับ 100 บาทนั้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาต้องยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์และศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลยว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อหรือไม่จึงนับโทษต่อให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4263/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการขอพิจารณาคดีใหม่: สิทธิและข้อจำกัดตามกฎหมาย
จำเลยยื่นคำขอพิจารณาใหม่ ระหว่างพิจารณาคดีฝ่ายเดียวมาแล้วศาลชั้นต้นยกคำร้อง เพราะเห็นว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านและไม่ได้อุทธรณ์ คำสั่งของศาลชั้นต้นครั้นศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว จำเลยกลับยื่นคำขอพิจารณาคดีใหม่อีกเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 (3) ประกอบด้วยมาตรา 207 (3) จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะร้องขอพิจารณาคดีใหม่อีกจำเลยชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเท่านั้น
of 55