คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คู่ความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 557 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1995/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีหลังจำเลยเสียชีวิต: ศาลต้องจัดให้มีคู่ความแทนที่ก่อนพิจารณาต่อ
ศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว แต่โจทก์ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 26 กันยายน2522 ขอให้ศาลชั้นต้นแก้คำบังคับโดยให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลที่โจทก์ต้องเสียเพิ่มด้วย ซึ่งต่อมาได้มีอุทธรณ์ฎีกาคำร้องดังกล่าวโดยทนายจำเลยเป็นผู้ฎีกาและปรากฏข้อเท็จจริงในชั้นฎีกาว่าจำเลยถึงแก่กรรมไปแล้วเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2522โดยทนายจำเลยก็ทราบแต่ยังไม่มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนที่ ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์คดีก็กลับมีกรณีที่จะต้องตั้งต้นพิจารณาในชั้นอุทธรณ์ขึ้นใหม่ โดยต้องจัดให้มีผู้เข้ามาเป็นคู่ความเสียก่อนเช่นนี้ การดำเนินกระบวนพิจารณาตั้งแต่ชั้นสั่งรับอุทธรณ์เป็นต้นมา จึงยังไม่ถูกต้องและทนายจำเลยย่อมหมดสภาพเป็นทนายจำเลยที่จะยื่นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1994/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสิทธิการดำเนินคดีแทนจำเลยหลังเสียชีวิต และการหาคู่ความใหม่
จำเลยตาย แม้ทนายจำเลยจะมีอำนาจยื่นอุทธรณ์แทนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 828 ทำให้คดีกลับมีกรณีที่จะต้องตั้งต้นพิจารณาชั้นอุทธรณ์ขึ้นใหม่แต่เมื่อจำเลยตายแล้ว ทนายจำเลยย่อมหมดสภาพเป็นทนายจำเลย จึงทำให้คดีมีแต่โจทก์ฝ่ายเดียว ฝ่ายจำเลยยังไม่มีผู้เข้าเป็นคู่ความดำเนินคดีแทน จึงต้องจัดหาผู้เข้ามาเป็นคู่ความดำเนินคดีแทนจำเลยเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1709/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเบิกความเท็จ: ผู้เสียหายต้องเป็นคู่ความในคดีที่ถูกเบิกความเท็จ
ความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177,181 เป็นความผิดในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 3 หมวด 1 ว่าด้วยความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรมซึ่งกฎหมายมุ่งคุ้มครองเจ้าพนักงานในการยุติธรรมและคู่ความให้ได้รับผลในทางความยุติธรรมเป็นสำคัญ ไม่เกี่ยวกับบุคคลนอกคดีนอกจากนี้ยังต้องพิจารณาอีกด้วยว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลยหรือไม่
โจทก์ในคดีนี้ (เป็นทนายความจำเลย) ไม่ได้ถูกฟ้องคดีอาญาเรื่องบุกรุกทำให้เสียทรัพย์และเสื่อมเสียเสรีภาพนั้นด้วย ฉะนั้น แม้จำเลยจะเบิกความในคดีนั้นว่าอย่างไรก็ไม่มีทางที่โจทก์จะได้รับความเสียหายจากคำเบิกความของจำเลยได้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรงจากคำเบิกความของจำเลย ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานเบิกความเท็จได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 880/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาด: ศาลได้ไต่สวนแล้วเมื่อสอบถามคู่ความและมีคำสั่ง
ผู้ร้องขอให้นำทรัพย์ที่โจทก์ยึดไว้ออกขายทอดตลาด ศาลอนุญาตและประกาศขายทอดตลาด ถึงวันขายโจทก์ผู้นำยึดยื่นคำร้องว่าผู้ร้องทำการฉ้อฉลเพื่อให้มีการขายทอดตลาดศาลให้งดการขายและนัดไต่สวนคำร้อง ในวันที่โจทก์ยื่นคำร้องศาลสอบถามโจทก์จำเลยและผู้ร้อง แล้วสั่งว่าเหตุผลของโจทก์ยังไม่พอฟังที่จะให้งดการขายทอดตลาดได้ เช่นนี้แสดงว่าได้ไต่สวนคำร้องของโจทก์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คู่ความผูกพันตามคำพิพากษา: แม้ระบุฐานะผู้จัดการมรดก แต่ฟ้องฐานะทายาทก็ต้องผูกพันตามคำพิพากษา
แม้ในช่องคู่ความในคดีเดิม โจทก์จะระบุว่าจำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. เป็นจำเลย แต่ตามเนื้อหาของคำฟ้อง แสดงว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะทายาทผู้ครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายด้วย ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าวจึงเป็นคู่ความในฐานะส่วนตัวต้องผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าว ผู้ร้องจะมาอ้างในคดีใหม่อีกว่าทรัพย์พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2549/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานข้ามฝ่าย - การไม่คัดค้านพยานคู่ความในชั้นสืบพยานทำให้ไม่อาจยกขึ้นเป็นเหตุโต้แย้งภายหลังได้
จำเลยตอบคำถามค้านว่า เคยขายไม้ซุงให้ผู้อื่น ในช่วงที่ทำสัญญาขายไม้ให้โจทก์ พยานไม่เคยขายไม้ให้ใครคำเบิกความดังกล่าวพอถือได้ว่าโจทก์ได้ถามค้านพยานจำเลยในเรื่องจำเลยกู้เงินโจทก์ไปทำไม้เสาเข็มส่งผู้สร้างหมู่บ้านจัดสรร ไม่เกี่ยวกับเงินวางมัดจำตามสัญญาซื้อไม้
ตอนที่โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบพยานภายหลังนำพยานเข้าสืบไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คัดค้านการนำสืบพยานของโจทก์เสียในขณะที่พยานเบิกความตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา89 วรรค 2จำเลยจะมาคัดค้านภายหลังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2420/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการอนุญาตให้ถอนฟ้อง พิจารณาความสุจริตและผลกระทบต่อคู่ความ
แม้จำเลยจะไม่ยอมให้โจทก์ถอนฟ้อง แต่การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาล โดยพิจารณาจากพฤติการณ์และเหตุผลอื่นๆ โดยทั่วไปประกอบ เช่น ความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์ และผลได้ผลเสียของคู่ความเป็นต้น
จำเลยอ้างว่าใบมอบอำนาจตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้องไม่สมบูรณ์ หากพิจารณาคดีไปแล้ว ศาลต้องยกฟ้องโจทก์เพราะเหตุนี้ ก็มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลยกฟ้องเพราะได้วินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาท โจทก์ย่อมนำคดีมาฟ้องใหม่ได้ ทั้งคำฟ้องก็ชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่โจทก์มายื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้อง ขอเพิ่มเอกสารหมายเลข 4 ท้ายฟ้องจากเดิม 1 แผ่น เป็น 24 แผ่น ภายหลังที่มีการชี้สองสถานแล้วนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะไม่อนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง โจทก์ก็มีสิทธิที่จะอ้างอิงเอกสารเหล่านี้ในชั้นพิจารณาได้ เพราะเป็นเอกสารที่แสดงรายละเอียดประกอบเอกสารหมายเลข 4 ท้ายฟ้อง หากโจทก์จะถอนฟ้องหรือดำเนินคดีนี้ต่อไปโดยไม่ถอนฟ้อง ก็หาทำให้จำเลยได้เปรียบหรือเสียเปรียบแตกต่างจากกันไม่ จึงควรอนุญาตให้ถอนฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2420/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลอนุญาตถอนฟ้อง: พิจารณาความสุจริตและผลกระทบต่อคู่ความ
แม้จำเลยจะไม่ยอมให้โจทก์ถอนฟ้อง แต่การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาล โดยพิจารณาจากพฤติการณ์และเหตุผลอื่น ๆ โดยทั่วไปประกอบเช่น ความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์. และผลได้ผลเสียของคู่ความเป็นต้น
จำเลยอ้างว่าใบมอบอำนาจตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้องไม่สมบูรณ์หากพิจารณาคดีไปแล้ว ศาลต้องยกฟ้องโจทก์เพราะเหตุนี้ก็มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลยกฟ้องเพราะได้วินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาท โจทก์ย่อมนำคดีมาฟ้องใหม่ได้ ทั้งคำฟ้องก็ชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่โจทก์มายื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้อง ขอเพิ่มเอกสารหมายเลข 4 ท้ายฟ้องจากเดิม 1 แผ่นเป็น 24 แผ่น ภายหลังที่มีการชี้สองสถานแล้วนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะไม่อนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง โจทก์ก็มีสิทธิที่จะอ้างอิงเอกสารเหล่านี้ในชั้นพิจารณาได้ เพราะเป็นเอกสารที่แสดงรายละเอียดประกอบเอกสารหมายเลข 4ท้ายฟ้อง หากโจทก์จะถอนฟ้องหรือดำเนินคดีนี้ต่อไปโดยไม่ถอนฟ้อง ก็หาทำให้จำเลยได้เปรียบหรือเสียเปรียบแตกต่างจากกันไม่ จึงควรอนุญาตให้ถอนฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2144/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งถอนสัญชาติ: จำเลยที่ 1 ไม่เป็นคู่ความ ศาลไม่อาจบังคับตามคำขอ
โจทก์ฟ้อง ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นจำเลยที่ 1 และม.อธิบดีกรมตำรวจเป็นจำเลยที่ 2 ขอให้พิพากษาว่าคำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่ให้ถอนสัญชาติไทยของโจทก์เป็นคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายและให้เพิกถอนเสีย ศาลชั้นต้นรับฟ้องเฉพาะเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ไม่รับฟ้องที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 คำสั่งศาลชั้นต้นถึงที่สุด ดังนี้ คำสั่งถอนสัญชาติของโจทก์เป็นคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรงมหาดไทย แต่คดีคงมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจเป็นจำเลยแต่ผู้เดียว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้เป็นคู่ความด้วย ไม่มีโอกาสโต้แย้งข้อกล่าวหาของโจทก์ ศาลจึงจะพิพากษาว่าคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิชอบด้วยกฎหมายและให้เพิกถอนเสียตามคำขอของโจทก์หาได้ไม่ แม้จะสืบพยานต่อไปและข้อเท็จจริงได้ความตามที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการถอนสัญชาติด้วย และเป็นผู้เสนอต่อคณะกรรมการถอนสัญชาติว่าควรถอนสัญชาติไทยของโจทก์โดยมิได้สืบสวนข้อเท็จจริงก่อน ก็หาเป็นเหตุให้ศาลอาจพิพากษาบังคับตามคำขอของโจทก์ได้ไม่ คดีจึงไม่ต้องสืบพยานต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1713-1714/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำท้าพิสูจน์ลายมือชื่อที่มีผลเฉพาะคู่ความที่ตกลงกัน และหน้าที่การนำสืบพยานของโจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ทำไว้ ก่อนสืบพยาน โจทก์กับจำเลยที่ 1ตกลงท้าพิสูจน์ลายมือของจำเลยที่ 2 ในเอกสารที่ตกลงกันโดยจำเลยที่ 2 มิได้ตกลงตามคำท้าด้วย หากผลปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายแพ้ตามคำท้า ข้อตกลงท้ากันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 คงมีผลบังคับเฉพาะในระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลบังคับถึงจำเลยที่ 2 ด้วยไม่เพราะกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 1กระทำไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่ความร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1) โจทก์ย่อมมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ตามที่โจทก์กล่าวอ้างดังนั้น คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงต้องมีการสืบพยานกันต่อไป
of 56