คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทรัพย์มรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 490 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดกของทายาท: การครอบครองทรัพย์มรดกและการฟ้องเรียกคืนกรรมสิทธิ์
นาพิพาทเป็นสินสมรสระหว่าง ก. กับ ม.เมื่อ ก. กับ ม. มีชีวิตอยู่ ให้โจทก์จำเลยอาศัยทำกิน ดังนี้ เมื่อ ก. ตาย นาพิพาทส่วนที่เป็นของ ก. ย่อมเป็นมรดกตกได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุตรทันที โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในนาพิพาทตามส่วนที่ตนจะได้รับมรดกตามกฎหมายโดยไม่จำต้องมีการแสดงเจตนาเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือ และภายหลังที่ ก. ตายโจทก์ยังคงทำนาพิพาทอยู่ตามเดิม จึงเป็นกรณีทายาทครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 แม้โจทก์จะฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่ ก. เจ้ามรดกตายคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องเรียกเอากรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เป็นของโจทก์แต่ถูกจำเลยยื้อแย่งไปเอากลับคืนมาแม้จะต้องมีการเพิกถอนการโอนยกให้ระหว่าง ม. กับจำเลย เพราะ ม. ไม่มีสิทธิเอานาพิพาทส่วนที่เป็นของโจทก์ไปโอนให้ก็ตาม แต่กรณีก็ไม่ใช่เรื่องเพิกถอนการฉ้อฉลจะนำเอาอายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เสียงข้างมากของผู้จัดการมรดกมีผลผูกพัน การจัดการทรัพย์มรดกต้องเป็นไปตามเสียงข้างมาก แม้ผู้จัดการมรดกส่วนน้อยไม่ยินยอม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726 นั้น การทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกต้องเป็นไปตามเสียงข้างมาก และเสียงข้างมากดังกล่าวนี้มิได้มีกฎหมายบังคับว่าต้องจัดให้มีการประชุมผู้จัดการมรดกเพื่อปรึกษาออกเสียงกันโดยตรงในกรณีที่ผู้จัดการมรดกเห็นควรดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งในการจัดการมรดกและปรากฏว่าได้แจ้งไปยังผู้จัดการมรดกทุกคนแล้ว มีผู้เห็นด้วยเป็นส่วนมาก ความเห็นส่วนข้างมากนั้นก็ถือได้ว่าเป็นเสียงข้างมากตกเป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะต้องจัดการไปตามนั้นผู้จัดการมรดกส่วนข้างมากก็อาจดำเนินการไปในนามของผู้จัดการมรดกทั้งคณะได้การรวบรวมทรัพย์มรดกก็ตาม ก็เป็นการจัดการมรดก บุคคลภายนอกหากได้ทราบความเห็นหรือเสียงข้างมากที่ให้เรียกทรัพย์มรดกนั้นแล้วก็ต้องรับรู้และยินยอมให้ผู้จัดการมรดกส่วนข้างมากรับทรัพย์มรดกไปจะเกี่ยงให้ผู้จัดการมรดกส่วนข้างมากนำผู้จัดการมรดกส่วนข้างน้อยเข้ามาร่วมจัดการด้วยหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นเห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นละเมิดแต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าไม่เป็นละเมิดจะถือได้อย่างมากเพียงแต่เป็นการผิดสัญญาซึ่งเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2,3 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 แล้วพิพากษายืนในข้อที่ให้จำเลยที่ 2, 3ร่วมเสียค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นด้วยนั้นเป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 และไม่มีเหตุอันสมควรที่ศาลฎีกาจะแก้ไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดกหลังบังคับคดี: บุคคลภายนอกไม่อาจเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาถึงที่สุดได้
ทรัพย์ซึ่งคู่ความในฐานะทายาทพิพาทกันอ้างว่าเป็นมรดกของผู้ตาย และคู่ความตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันให้ขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันในระหว่างคู่ความ ซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว ในชั้นบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์เพื่อปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ บุคคลภายนอกจะร้องขอเข้ามาในคดีอ้างว่ามีส่วนเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ขายทอดตลาดอยู่ครึ่งหนึ่ง และขอรับเงินส่วนแบ่งจากการขายทอดตลาดโดยคู่ความเดิมไม่ยินยอม หาได้ไม่ เพราะเป็นกรณีที่บุคคลภายนอกนั้นตั้งประเด็นขึ้นใหม่พิพาทกับคู่ความเดิมเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
หากบุคคลภายนอกมีสิทธิในทรัพย์ที่ขายทอดตลาดอย่างไรหรือถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายประการใด ก็ชอบที่จะฟ้องร้องเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดกหลังขายทอดตลาด: ผู้อ้างสิทธิใหม่ต้องฟ้องคดีใหม่ ไม่สามารถแทรกแซงคดีเดิมได้
ทรัพย์ซึ่งคู่ความในฐานะทายาทพิพาทกันอ้างว่าเป็นมรดกของผู้ตาย. และคู่ความตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันให้ขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันในระหว่างคู่ความ. ซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว. ในชั้นบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์เพื่อปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ. บุคคลภายนอกจะร้องขอเข้ามาในคดีอ้างว่ามีส่วนเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ขายทอดตลาดอยู่ครึ่งหนึ่ง. และขอรับเงินส่วนแบ่งจากการขายทอดตลาดโดยคู่ความเดิม.ไม่.ยินยอม. หาได้ไม่. เพราะเป็นกรณีที่บุคคลภายนอกนั้นตั้งประเด็นขึ้นใหม่พิพาทกับคู่ความเดิมเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้ว.
หากบุคคลภายนอกมีสิทธิในทรัพย์ที่ขายทอดตลาดอย่างไร.หรือถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายประการใด ก็ชอบที่จะฟ้องร้องเป็นคดีใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากบุคคลภายนอกทายาท ไม่เป็นฟ้องซ้ำ แม้มีคดีก่อนหน้านี้ แต่ทรัพย์สินเป็นของจำเลย
มรดกมีห้องแถว 3 ห้อง ปลูกอยู่ในที่ดินเช่าจากวัด ทายาทเป็นโจทก์ฟ้องเรียกห้องนี้ 2 ห้องจากจำเลยซึ่งไม่ใช่ทายาท ในที่สุดตกลงกันโดยแบ่งกันคนละห้อง แต่โจทก์แถลงไว้ด้วยว่า จะฟ้องเรียกห้องที่ 3 จากจำเลยอีก คดีนั้นถึงที่สุด
ต่อมาโจทก์มาฟ้องเรียกห้องที่ 3 จากจำเลยอีก โจทก์อ้างว่าเป็นมรดกของผู้ตาย ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะจำเลยไม่ใช่ทายาท และทรัพย์ที่เรียกเป็นคนละอันกับในคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากผู้ไม่ใช่ทายาท และประเด็นฟ้องซ้ำ
มรดกมีห้องแถว 3 ห้อง ปลูกอยู่ในที่ดินเช่าจากวัด ทายาทเป็นโจทก์ฟ้องเรียกห้องนี้ 2 ห้องจากจำเลยซึ่งไม่ใช่ทายาท ในที่สุดตกลงกันโดยแบ่งกันคนละห้อง แต่โจทก์แถลงไว้ด้วยว่าจะฟ้องเรียกห้องที่ 3 จากจำเลยอีก คดีนั้นถึงที่สุด
ต่อมาโจทก์มาฟ้องเรียกห้องที่ 3 จากจำเลยอีก โจทก์อ้างว่าเป็นมรดกของผู้ตาย ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะจำเลยไม่ใช่ทายาท และทรัพย์ที่เรียกเป็นคนละอันกับในคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1372/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการร้องขอข้อมูลทรัพย์มรดก: ต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกที่ศาลวินิจฉัยแล้ว
ยื่นฟ้องขอแบ่งมรดกไว้ แต่คดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลยังถือไม่ได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกนั้น จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลเรียกผู้จัดการมรดกมาสอบถามถึงเรื่องทรัพย์มรดก
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1730 ประกอบกับมาตรา 1565 ให้อำนาจศาลเรียกผู้จัดการมรดกมาแถลงถึงความเป็นอยู่แห่งทรัพย์มรดกแต่การที่จะเรียกผู้จัดการมรดกมาแถลงหรือไม่เป็นเรื่องของศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1024/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความขาดเมื่อทายาทปล่อยให้บิดาครอบครองทรัพย์มรดกในฐานะเจ้าของหลังบรรลุนิติภาวะ
มารดาถึงแก่กรรม บรรดาบุตรรวมทั้งโจทก์และโจทก์ร่วมอยู่ในปกครองของบิดา บิดาได้ครอบครองทรัพย์ทั้งหมดแต่ผู้เดียวตลอดมาโดยบุตรทุกคนไม่ได้เกี่ยวข้องทรัพย์ทั้งหมดอยู่ในอำนาจจัดการของบิดาแต่ผู้เดียว แสดงว่าบิดาถือตนเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวตลอดมา บิดาได้แบ่งสินเดิมของมารดาให้แก่บุตรทุกคนเท่า ๆ กัน แต่สินสมรสไม่แบ่งบิดาได้ยุบร้านค้าเดิมมาเปิดร้านค้าใหม่กู้เงินบุคคลภายนอกมาลงทุนโดยไม่มีบุตรคนใดเกี่ยวข้อง พฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่าบิดามิได้ครอบครองทรัพย์สินแทนบุตรแต่ประการใด กลับมีพฤติการณ์แสดงว่าบุตรปล่อยให้บิดาครอบครองอย่างเจ้าของ และเมือโจทก์และโจทก์ร่วมบรรลุนิติภาวะแล้ว อำนาจการปกครองโจทก์และโจทก์ร่วมของบิดาก็สิ้นสุดลงอำนาจการครอบครองทรัพย์ของโจทก์และโจทก์ร่วมก็สิ้นไปด้วย โจทก์กับโจทก์ร่วมมีสิทธิเรียกร้องขอแบ่งทรัพย์มรดกของมารดาอันเป็นส่วนแบ่งของตนจากบิดาได้ แต่โจทก์และโจทก์ร่วมก็มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องขอให้บังคับ จนล่วงเลยมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว คดีของโจทก์และโจทก์ร่วมจึงขาดอายุความ (อ้างฎีกาที่ 114/2482)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก: ข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินที่เป็นทรัพย์มรดกและส่วนได้
ฟ้องขอแบ่งมรดกซึ่งประกอบด้วยที่ดิน 3 แปลง โดยอ้างว่ามีส่วนได้ราคา 4,000 บาท ศาลชั้นต้นฟังว่าที่ดินทั้ง 3 แปลงไม่ใช่ทรัพย์มรดก พิพากษายกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่าที่ดิน 2 แปลงเป็นทรัพย์มรดก พิพากษาให้แบ่งที่ดินทั้งสองให้โจทก์
จำเลยฎีกาว่าที่ดินทั้งสองแปลงนี้ไม่ใช่ทรัพย์มรดก ศาลฎีการับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้ (คงถือว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความเป็นทรัพย์มรดก: ที่ดินสินสมรสที่อ้างเป็นกองมรดก
ฟ้องขอแบ่งมรดกซึ่งประกอบด้วยที่ดิน 3 แปลง โดยอ้างว่ามีส่วนได้ราคา 4,000 บาท ศาลชั้นต้นฟังว่าที่ดินทั้ง 3 แปลงไม่ใช่ทรัพย์มรดก พิพากษายกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่าที่ดิน 2 แปลงเป็นทรัพย์มรดกพิพากษาให้แบ่งที่ดินทั้งสองให้โจทก์
จำเลยฎีกาว่าที่ดินทั้งสองแปลงนี้ไม่ใช่ทรัพย์มรดกศาลฎีการับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้ (คงถือว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาก)
of 49