คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทุจริต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 532 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ร่วมกับผู้อื่นหลอกลวงให้ลงชื่อในสัญญา ก่อให้เกิดความเสียหาย
นายอำเภอสั่งให้จำเลยที่ 1 จัดการเรื่องเพิกถอนการร้องขอขายที่ดินจัดการใส่ชื่อบุตรโจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของที่ดินจำเลยที่ 1 ก็ไม่ยอมปฏิบัติ กลับพูดจาเป็นทำนองขู่เข็ญโจทก์ ยิ่งกว่านั้นยังร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 พูดหลอกลวงโจทก์ให้ลงชื่อเป็นพยานในสัญญากู้เงินระหว่างจำเลยที่ 2 ที่ 3 โดยบอกว่าเป็นการถอนเรื่องการซื้อขาย โอนชื่อให้เด็กได้จึงเป็นการส่อแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 ว่า ตั้งใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เพราะโจทก์โอนที่ดินให้บุตรไม่ได้ และถ้าโจทก์ไม่ทราบถึงการหลอกลวงของจำเลยทั้งสามคนหลงเชื่อตามเมื่อเวลาเนิ่นนานออกไป สิทธิที่โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตามสัญญาหย่าอาจขาดอายุความได้ นอกจากนั้น จำเลยทั้งสามยังร่วมกันก่อให้เกิดภาระผูกพันกับที่ดินโดยนำที่ดินไปเป็นหลักประกันในสัญญากู้เงินและการกระทำของจำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต จำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1แต่มิได้เป็นเจ้าพนักงานจึงมีความผิดฐานสนับสนุนการกระทำผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ร่วมกับผู้อื่นหลอกลวงให้ลงนามในสัญญา ทำให้เกิดความเสียหาย
นายอำเภอสั่งให้จำเลยที่ 1 จัดการเรื่องเพิกถอนการร้องขอขายที่ดินจัดการใส่ชื่อบุตรโจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของที่ดิน. จำเลยที่ 1 ก็ไม่ยอมปฏิบัติ. กลับพูดจาเป็นทำนองขู่เข็ญโจทก์. ยิ่งกว่านั้นยังร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 พูดหลอกลวงโจทก์ให้ลงชื่อเป็นพยานในสัญญากู้เงินระหว่างจำเลยที่ 2 ที่ 3. โดยบอกว่าเป็นการถอนเรื่องการซื้อขาย โอนชื่อให้เด็กได้. จึงเป็นการส่อแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 ว่า ตั้งใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ. และเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เพราะโจทก์โอนที่ดินให้บุตรไม่ได้. และถ้าโจทก์ไม่ทราบถึงการหลอกลวงของจำเลยทั้งสามคนหลงเชื่อตาม.เมื่อเวลาเนิ่นนานออกไป สิทธิที่โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตามสัญญาหย่าอาจขาดอายุความได้. นอกจากนั้น จำเลยทั้งสามยังร่วมกันก่อให้เกิดภาระผูกพันกับที่ดิน โดยนำที่ดินไปเป็นหลักประกันในสัญญากู้เงิน. และการกระทำของจำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต. จำเลยที่ 2 ที่ 3ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1. แต่มิได้เป็นเจ้าพนักงาน. จึงมีความผิดฐานสนับสนุนการกระทำผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438-439/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่งจากการทุจริต, ความรับผิดของหัวหน้าส่วนราชการต่อการทุจริตของลูกน้อง, การพิสูจน์ความรับผิดทางแพ่งจากคดีอาญา
กระทรวงการคลังฟ้องคดีเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยฐานละเมิดเกี่ยวกับเงินภาษีอากรของกรมสรรพากรซึ่งถูกยักยอกไป อายุความเริ่มนับแต่วันที่อธิบดีกรมสรรพากรรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
เมื่อปรากฏการทุจริตยักยอกเงินภาษีอากร และกรมสรรพากรได้ตั้งกรรมการขึ้นสอบสวนพฤติการณ์ ย่อมถือได้ว่าอธิบดีกรมสรรพากร ได้รู้ถึงการละเมิดแล้วต่อมาสรรพากรจังหวัดซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งได้เสนอรายงานให้อธิบดีกรมสรรพากรทราบเรื่องการทุจริตและการจับกุมผู้อยู่ในข่ายสงสัยว่าจะสมคบกันทุจริต ซึ่งมีจำเลยรวมอยู่ในพวกที่ถูกจับด้วยนั้น. และต่อมาบุคคลเหล่านี้ก็ได้ถูกผู้ว่าคดีฟ้องกล่าวโทษเป็นคดีอาญาขึ้น. ต้องถือว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วตั้งแต่วันที่ได้รับรายงานจากสรรพากรจังหวัด
คณะกรรมการซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรตั้งขึ้นสอบสวนการทุจริตรายงานว่าตรวจพบการทุจริตเพิ่มเติมอีก แต่กรรมการเห็นไม่ลงรอยกันในตัวผู้ต้องรับผิด อธิบดีกรมสรรพากรจึงสั่งให้รองอธิบดีพิจารณา รองอธิบดีพิจารณาแล้วเสนอความเห็นว่าควรให้กองวิทยาการ กรมตำรวจ พิสูจน์ลายมือผู้ทุจริตให้แน่นอนก่อน อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้นำเข้าประชุมปรึกษา กรรมการในที่ประชุมก็เห็นไม่ตรงกัน อธิบดีกรมสรรพากรจึงตั้งกรรมการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง คณะกรรมการพิจารณาแล้ว เสนอรายงานต่ออธิบดี สำหรับการทุจริตครั้งหลังนี้ถือได้ว่าอธิบดีกรมสรรพากรเพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่ได้รับรายงานของคณะกรรมการชุดหลัง
การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดจากผู้ที่มิได้กระทำผิดทางอาญานั้น อยู่ในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก แม้จะมีการฟ้องผู้กระทำละเมิดเป็นคดีอาญาด้วย แต่ศาลพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดอาญาตามมาตรา 448 วรรคสอง ต้องใช้อายุความตามวรรคแรก เช่นเดียวกัน
จำเลยซึ่งถูกฟ้องคดีอาญาว่ายักยอกเงินของโจทก์ เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องคดีอาญาว่า คดียังไม่พอจะให้ศาลชี้ขาดว่าจำเลยได้กระทำผิดตามฟ้อง ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลต้องถือข้อเท็จจริงตาม และหากข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งฟังไม่ได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้มีการยักยอกเงินของโจทก์ จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินที่มีผู้ยักยอกไปให้แก่โจทก์
จำเลยเป็นหัวหน้าส่วนราชการแผนกสรรพากรประจำอำเภอมีตำแหน่งสมุหบัญชีโท มีหน้าที่รับผิดชอบในเงินภาษีอากรตลอดจนตรวจนับเงินสดและเช็คที่มีผู้นำมาชำระค่าภาษีอากรทุกวัน หากจำเลยไม่ปล่อยปละละเลยและควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาโดยใกล้ชิด และถ้าไม่ปลีกตัวออกจากการเป็นกรรมการถือกุญแจเก็บรักษาเงินผลประโยชน์ตามระเบียบของกรมสรรพากร จำเลยอื่นก็จะไม่มีโอกาสยักยอกเอาเงินภาษีอากรของโจทก์ไปได้ ดังนี้ จำเลยต้องร่วมรับผิดกับจำเลยอื่นชดใช้เงินให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438-439/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่งจากการทุจริต-ยักยอกทรัพย์ การรับผิดของหัวหน้าหน่วยงาน และการพิสูจน์ความรับผิด
กระทรวงการคลังฟ้องคดีเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยฐานละเมิดเกี่ยวกับเงินภาษีอากรของกรมสรรพากรซึ่งถูกยักยอกไปอายุความเริ่มนับแต่วันที่อธิบดีกรมสรรพากรรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
เมื่อปรากฏการทุจริตยักยอกเงินภาษีอากร และกรมสรรพากรได้ตั้งกรรมการขึ้นสอบสวนพฤติการณ์ย่อมถือได้ว่าอธิบดีกรมสรรพากร ได้รู้ถึงการละเมิดแล้วต่อมาสรรพากรจังหวัดซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งได้เสนอรายงานให้อธิบดีกรมสรรพากรทราบเรื่องการทุจริตและการจับกุมผู้อยู่ในข่ายสงสัยว่าจะสมคบกันทุจริต ซึ่งมีจำเลยรวมอยู่ในพวกที่ถูกจับด้วยนั้นและต่อมาบุคคลเหล่านี้ก็ได้ถูกผู้ว่าคดีฟ้องกล่าวโทษเป็นคดีอาญาขึ้น ต้องถือว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วตั้งแต่วันที่ได้รับรายงานจากสรรพากรจังหวัด
คณะกรรมการซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรตั้งขึ้นสอบสวนการทุจริตรายงานว่าตรวจพบการทุจริตเพิ่มเติมอีกแต่กรรมการเห็นไม่ลงรอยกันในตัวผู้ต้องรับผิดอธิบดีกรมสรรพากรจึงสั่งให้รองอธิบดีพิจารณา รองอธิบดีพิจารณาแล้วเสนอความเห็นว่าควรให้กองวิทยาการ กรมตำรวจ พิสูจน์ลายมือผู้ทุจริตให้แน่นอนก่อนอธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้นำเข้าประชุมปรึกษา กรรมการในที่ประชุมก็เห็นไม่ตรงกัน อธิบดีกรมสรรพากรจึงตั้งกรรมการพิจารณาอีกครั้งหนึ่งคณะกรรมการพิจารณาแล้ว เสนอรายงานต่ออธิบดี สำหรับการทุจริตครั้งหลังนี้ถือได้ว่าอธิบดีกรมสรรพากรเพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่ได้รับรายงานของคณะกรรมการชุดหลัง
การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดจากผู้ที่มิได้กระทำผิดทางอาญานั้น อยู่ในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรกแม้จะมีการฟ้องผู้กระทำละเมิดเป็นคดีอาญาด้วย แต่ศาลพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดอาญาตามมาตรา 448 วรรคสอง ต้องใช้อายุความตามวรรคแรก เช่นเดียวกัน
จำเลยซึ่งถูกฟ้องคดีอาญาว่ายักยอกเงินของโจทก์เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องคดีอาญาว่า คดียังไม่พอจะให้ศาลชี้ขาดว่าจำเลยได้กระทำผิดตามฟ้องในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลต้องถือข้อเท็จจริงตามและหากข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งฟังไม่ได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้มีการยักยอกเงินของโจทก์จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินที่มีผู้ยักยอกไปให้แก่โจทก์
จำเลยเป็นหัวหน้าส่วนราชการแผนกสรรพากรประจำอำเภอมีตำแหน่งสมุหบัญชีโท มีหน้าที่รับผิดชอบในเงินภาษีอากรตลอดจนตรวจนับเงินสดและเช็คที่มีผู้นำมาชำระค่าภาษีอากรทุกวันหากจำเลยไม่ปล่อยปละละเลยและควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาโดยใกล้ชิดและถ้าไม่ปลีกตัวออกจากการเป็นกรรมการถือกุญแจเก็บรักษาเงินผลประโยชน์ตามระเบียบของกรมสรรพากรจำเลยอื่นก็จะไม่มีโอกาสยักยอกเอาเงินภาษีอากรของโจทก์ไปได้ ดังนี้ จำเลยต้องร่วมรับผิดกับจำเลยอื่นชดใช้เงินให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438-439/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่งกรณีทุจริตเงินภาษี และความรับผิดของข้าราชการต่อการยักยอกเงินของผู้อื่น
กระทรวงการคลังฟ้องคดีเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยฐานละเมิดเกี่ยวกับเงินภาษีอากรของกรมสรรพากรซึ่งถูกยักยอกไป.อายุความเริ่มนับแต่วันที่อธิบดีกรมสรรพากรรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน.
เมื่อปรากฏการทุจริตยักยอกเงินภาษีอากร และกรมสรรพากรได้ตั้งกรรมการขึ้นสอบสวนพฤติการณ์. ย่อมถือได้ว่าอธิบดีกรมสรรพากร ได้รู้ถึงการละเมิดแล้ว. ต่อมาสรรพากรจังหวัดซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งได้เสนอรายงานให้อธิบดีกรมสรรพากรทราบเรื่องการทุจริตและการจับกุมผู้อยู่ในข่ายสงสัยว่าจะสมคบกันทุจริต ซึ่งมีจำเลยรวมอยู่ในพวกที่ถูกจับด้วยนั้น. และต่อมาบุคคลเหล่านี้ก็ได้ถูกผู้ว่าคดีฟ้องกล่าวโทษเป็นคดีอาญาขึ้น. ต้องถือว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วตั้งแต่วันที่ได้รับรายงานจากสรรพากรจังหวัด.
คณะกรรมการซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรตั้งขึ้นสอบสวนการทุจริตรายงานว่าตรวจพบการทุจริตเพิ่มเติมอีก. แต่กรรมการเห็นไม่ลงรอยกันในตัวผู้ต้องรับผิด. อธิบดีกรมสรรพากรจึงสั่งให้รองอธิบดีพิจารณา. รองอธิบดีพิจารณาแล้วเสนอความเห็นว่าควรให้กองวิทยาการ กรมตำรวจ พิสูจน์ลายมือผู้ทุจริตให้แน่นอนก่อน. อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้นำเข้าประชุมปรึกษา กรรมการในที่ประชุมก็เห็นไม่ตรงกัน. อธิบดีกรมสรรพากรจึงตั้งกรรมการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง. คณะกรรมการพิจารณาแล้ว เสนอรายงานต่ออธิบดี. สำหรับการทุจริตครั้งหลังนี้ถือได้ว่าอธิบดีกรมสรรพากรเพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่ได้รับรายงานของคณะกรรมการชุดหลัง.
การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดจากผู้ที่มิได้กระทำผิดทางอาญานั้น อยู่ในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก. แม้จะมีการฟ้องผู้กระทำละเมิดเป็นคดีอาญาด้วย แต่ศาลพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว. ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดอาญาตามมาตรา 448 วรรคสอง. ต้องใช้อายุความตามวรรคแรก เช่นเดียวกัน.
จำเลยซึ่งถูกฟ้องคดีอาญาว่ายักยอกเงินของโจทก์. เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องคดีอาญาว่า คดียังไม่พอจะให้ศาลชี้ขาดว่าจำเลยได้กระทำผิดตามฟ้อง. ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง.ศาลต้องถือข้อเท็จจริงตาม. และหากข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งฟังไม่ได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้มีการยักยอกเงินของโจทก์. จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินที่มีผู้ยักยอกไปให้แก่โจทก์.
จำเลยเป็นหัวหน้าส่วนราชการแผนกสรรพากรประจำอำเภอมีตำแหน่งสมุหบัญชีโท. มีหน้าที่รับผิดชอบในเงินภาษีอากรตลอดจนตรวจนับเงินสดและเช็คที่มีผู้นำมาชำระค่าภาษีอากรทุกวัน.หากจำเลยไม่ปล่อยปละละเลยและควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาโดยใกล้ชิด. และถ้าไม่ปลีกตัวออกจากการเป็นกรรมการถือกุญแจเก็บรักษาเงินผลประโยชน์ตามระเบียบของกรมสรรพากร. จำเลยอื่นก็จะไม่มีโอกาสยักยอกเอาเงินภาษีอากรของโจทก์ไปได้. ดังนี้ จำเลยต้องร่วมรับผิดกับจำเลยอื่นชดใช้เงินให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานยักยอกน้ำมันราชการ: การเบียดบังทรัพย์สินของรัฐโดยทุจริต
จำเลยเป็นพลทหารเรือประจำการ มีหน้าที่เป็นพลขับรถยนต์ของราชการทหารเรือ จึงเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการใช้และรักษาน้ำมันรถที่จำเลยทำหน้าที่ขับนั้นด้วย การที่จำเลยยอมให้บุคคลอื่นดูดเอาน้ำมันในรถไป แล้วรับเงินจากบุคคลนั้นเป็นค่าตอบแทนเอาเป็นประโยชน์ส่วนตัว ย่อมเป็นการเบียดบังน้ำมันของทางราชการไปโดยทุจริต เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องเป็นหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยตรง การออกใบเบิกทางเกินอำนาจไม่ถือเป็นความผิด
การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติโดยมิชอบ หรือโดยทุจริตอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 นั้นจะต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติเฉพาะแต่ตามหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงตามที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่นั้นๆ เท่านั้น ถ้าการปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติที่ไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของพนักงานผู้นั้นโดยตรงแล้ว ก็ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ต้องเป็นหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยตรงเท่านั้น
การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติโดยมิชอบ. หรือโดยทุจริตอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 นั้น.จะต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติเฉพาะแต่ตามหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงตามที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่นั้นๆ เท่านั้น. ถ้าการปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติที่ไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของพนักงานผู้นั้นโดยตรงแล้ว. ก็ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันตัวระหว่างฎีกาคดีทุจริต: ศาลยืนราคาประกัน 100,000 บาท ไม่เกินควร
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502มาตรา 4. ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงถึงตลอดชีวิตและปรับไม่เกิน 40,000 บาท. ให้จำคุกจำเลย 7 ปีและให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ด้วย. จำเลยฎีกาและร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างฎีกา. ศาลอนุญาตให้ประกันตีราคา 100,000 บาท. การปล่อยชั่วคราวโดยให้ประกันตัวจำเลยระหว่างฎีกาเป็นราคา 100,000 บาทในกรณีเช่นนี้.ไม่เป็นการเรียกประกันเกินควร. และไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 28 แต่อย่างไร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินธรณีสงฆ์โมฆะ: การสมยอมทุจริตและขาดนิติสัมพันธ์ที่ถูกต้อง
เดิมกรมการศาสนาเป็นผู้ดูแลและจัดการผลประโยชน์ที่ดินธรณีสงฆ์ของวัดจำเลย เมื่อกรมการศาสนาฟ้อง ส.และว.ขอเลิกการเช่า ได้มีผู้อื่นยื่นคำเสนอขอเช่าที่ดินแปลงนี้หลายราย แต่กรมการศาสนามิได้พิจารณาให้ผู้ใดเช่า กรมการศาสนาได้บอกปัดข้อเสนอของโจทก์และผู้แทนชาวตลาด ไม่ยอมทำสัญญาเช่าให้โจทก์กับพวกตามความเห็นของพระพุทธิวงศาจารย์ผู้รักษาการเจ้าอาวาส ซึ่งพระพุทธิวงศาจารย์ก็มิได้มีปฏิกิริยาคัดค้านอำนาจของกรมการศาสนาแต่ประการใด คงรับรองอำนาจของกรมการศาสนาว่ามีอำนาจเด็ดขาดที่จะให้เช่าหรือไม่ให้เช่าที่พิพาท จึงถือไม่ได้ว่ากรมการศาสนาร่วมกับพระพุทธิวงศาจารย์ได้ตกลงให้โจทก์กับพวกเช่าที่ดินพิพาท เมื่อกรมการศาสนาผู้มีอำนาจจัดการให้เช่าที่ดินพิพาทไม่ยอมทำสัญญาเช่าให้โจทก์ ข้อเสนอเช่าของโจทก์ย่อมตกไป โจทก์และวัดจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์อย่างใดต่อกัน แม้สัญญาเช่าฉบับนี้จะได้ทำกันภายหลังที่พระพุทธิวงศาจารย์ถอนอำนาจจัดการผลประโยชน์จากกรมการศาสนามาจัดการเองในฐานะผู้รักษาการเจ้าอาวาสและมีอำนาจที่จะทำสัญญาให้เช่าที่พิพาทได้ก็ดี
จ.มีผลประโยชน์ร่วมกับพวกโจทก์หากได้เช่าตลาดพิพาทเป็นเวลานานปี แต่พระพุทธิวงศาจารย์ กลับตั้งให้จ.เป็นไวยาวัจกรของวัด มอบอำนาจให้จ.ทำสัญญาเช่าฉบับพิพาทกับโจทก์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2505 และเก็บค่าเช่าในนามของวัดจำเลย จนกระทั่งพระพุทธิวงศาจารย์พ้นจากตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2507 และไม่ยอมมอบงานให้แก่พระครูวินัยธรนวนเจ้าอาวาสองค์ใหม่ ต่อมาวันที่ 2 สิงหาคม 2507 พระพุทธิวงศาจารย์จึงได้มอบงานในหน้าที่ให้พระครูวินัยธรนวน จึงได้ปรากฏสัญญาเช่าฉบับพิพาทขึ้นว่า พระพุทธิวงศาจารย์ได้มอบอำนาจให้ จ. ทำสัญญาเช่ากับโจทก์แล้วแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2505 พฤติการณ์ดังนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าสัญญาเช่าฉบับนี้เกิดจากพระพุทธิวงศาจารย์และ จ.สมยอมกับโจทก์ทำขึ้นโดยไม่สุจริต เพราะโจทก์เองก็รู้แล้วว่าเป็นทางให้วัดจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและตลาดได้รับความเสียหาย สัญญาเช่าฉบับลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2505 ระหว่างโจทก์กับพระพุทธิวงศาจารย์จึงไม่ผูกพันวัดจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจนำสัญญาเช่าซึ่งเกิดจากการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของโจทก์มาฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาหรือบังคับให้จดทะเบียนสัญญาเช่าตามฟ้องได้
of 54