คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประเด็นข้อพิพาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 517 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 195/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การที่จำเลยไม่ได้ยกประเด็นการครอบครองปรปักษ์ในคำให้การ ทำให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นนี้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยและบริวารออกไปจากบ้านพิพาท จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ จึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์แล้วหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ จึงไม่ชอบแม้จำเลยฎีกาต่อมา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1030/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีแพ่ง: การนำสืบข้อเท็จจริงตามประเด็นที่ศาลกำหนด และผลของการพิพากษาคดีก่อน
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยมีสิทธิเบิกเงินสะสมของโจทก์เพื่อชดใช้เงินของทางราชการที่ขาดหายไปหรือไม่ การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ตรวจสอบควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชา อันเป็นการทำละเมิดซึ่งโจทก์ต้องรับผิดชดใช้เงินดังกล่าว ทำให้จำเลยมีสิทธิเบิกเงินสะสมของโจทก์เพื่อชดใช้เงินของทางราชการที่ขาดหายไป เป็นการนำสืบตามข้อต่อสู้ของจำเลย ไม่เป็นการนอกประเด็น
คดีเดิมมีประเด็นว่า โจทก์ทำละเมิดโดยร่วมกับ ส. โดยจงใจเบียดบังค่าภาษีอากร เงินรายได้อื่น และเงินทุนไปรษณีย์ของทางราชการหรือไม่ ส่วนคดีหลังมีประเด็นว่าโจทก์ทำละเมิดโดยละเว้นปฏิบัติการตามหน้าที่ไม่ควบคุม ส. ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาในการปฏิบัติงาน เป็นเหตุให้ ส. เบียดบังเอาเงินของทางราชการไปหรือไม่ แม้ศาลจะวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ทำละเมิดในคดีแรกและคดีถึงที่สุดแล้วก็เป็นคนละประเด็นกับคดีหลังซึ่งศาลยังมิได้วินิจฉัย ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่โจทก์ไม่ต้องรับผิดในคดีก่อนจึงหาผูกพันคดีหลังไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6114/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีร้ายแรง: ศาลต้องวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่กำหนด และต้องพิจารณาข้อบังคับการทำงาน
คดีมีประเด็นว่า โจทก์ทุจริตต่อหน้าที่หรือทำร้ายผู้บังคับบัญชาอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย เป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า คดีฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และโจทก์ทำร้าย ป.ผู้บังคับบัญชาของโจทก์เนื่องจากถูก ป.ตำหนิเกี่ยวกับการทำงาน จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็น แต่ที่วินิจฉัยต่อไปว่าการที่โจทก์ทำร้ายร่างกาย ป.ดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(1) ซึ่งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น และที่วินิจฉัยว่าพฤติการณ์น่าเชื่อว่าโจทก์มีเจตนาทำร้ายร่างกาย ป.ผู้บังคับบัญชานั้น ศาลแรงงานกลางก็ไม่ได้วินิจฉัยว่าระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในเรื่องนี้มีว่าอย่างไร และไม่ปรากฏว่าคู่ความได้อ้างส่งข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานต่อศาล จึงเป็นเรื่องที่ศาลแรงงานกลางไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความว่าด้วยการพิจารณาพิพากษา มีเหตุสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5068/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีแรงงาน: จำเลยต้องให้การชัดเจนเพื่อสร้างประเด็นข้อพิพาท ศาลวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ได้
กรณีที่จำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือ หากจำเลยประสงค์จะให้ศาลวินิจฉัยปัญหาข้อใดเป็นคุณแก่ตน ก็ต้องกล่าวข้อเท็จจริงเป็นข้อต่อสู้ไว้ให้ชัดแจ้งในคำให้การเพื่อให้คดีมีประเด็นข้อพิพาทไว้ คำให้การที่ว่า "โจทก์ฟ้องคดีไม่สุจริต ทั้งนี้ก่อนออกจากบริษัท จำเลยโดยความเมตตาโจทก์ ได้มอบเงิน 19,000 บาทให้โจทก์และผลประโยชน์อื่น ๆ แก่โจทก์ โดยจำเลยมิจำเป็นต้องให้โจทก์แต่ประการใด แต่ทั้งนี้เพื่อเห็นแก่มนุษยธรรม" เป็นคำให้การที่ไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ได้สละสิทธิเรียกร้องเงินตามฟ้องของโจทก์หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4382/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: การยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และการพิจารณาประเด็นข้อพิพาท
การเลิกจ้างอาจเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 และอาจเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาความคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ก็ได้ โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยสั่งไล่โจทก์ออกจากงานโดยโจทก์ไม่มีความผิดการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เป็นการละเมิดและเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม จึงเป็นคดีที่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่า การเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 49 หาใช่เป็นเรื่องตามมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ไม่ แม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มาก่อนก็ตามโจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4371/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาในประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินและห้องแถวพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 2 ให้การเพียงว่าจำเลยที่ 2 ไม่เคยรู้จักกับโจทก์ จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 1 ได้โอนขายที่ดินและห้องแถวพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยจำเลยทั้งสองรู้อยู่ว่าทำให้โจทก์เสียเปรียบดังโจทก์ฟ้องหรือไม่และศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทนี้ไว้ ซึ่งจำเลยที่ 2ก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฎีกาประเด็นนี้เพราะเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแต่ในศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้การด้วยวาจาในคดีแรงงาน เพียงพอต่อการสร้างประเด็นข้อพิพาท แม้ไม่ได้ทำตามรูปแบบการให้การเป็นหนังสือ
คดีแรงงานจำเลยมีสิทธิให้การด้วยวาจาได้ กฎหมายจึงมิได้ถือเคร่งครัดเช่นการให้การเป็นหนังสือในคดีแพ่งธรรมดา เพื่อให้คดีได้เสร็จสิ้นไปด้วยความรวดเร็วตามเจตนารมณ์ของวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ดังนั้นที่จำเลยให้การด้วยวาจาซึ่งศาลแรงงานกลางได้บันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า คำฟ้องอื่นของโจทก์ไม่เป็นความจริงและจำเลยขอปฏิเสธว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์จึงเป็นการเพียงพอที่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทที่จำเลยจะนำสืบได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์หรือไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้การด้วยวาจาในคดีแรงงาน: เพียงพอต่อการสร้างประเด็นข้อพิพาทตามเจตนารมณ์ของวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 35 วรรคแรกและมาตรา 39 ประกอบด้วยข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานฯ ข้อ 2 และ ข้อ 9 แสดงว่าการที่จำเลยมีสิทธิให้การด้วยวาจานั้นกฎหมายมิได้ถือเคร่งครัดเช่นการให้การเป็นหนังสือในคดีแพ่งธรรมดา ทั้งนี้เพื่อให้คดีได้เสร็จสิ้นไปโดยรวดเร็วตามเจตนารมณ์ของวิธีพิจารณาคดีแรงงานดังนั้น ที่จำเลยให้การต่อศาลแรงงานกลางด้วยวาจา ซึ่งศาลแรงงานกลางได้บันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า คำฟ้องอื่นของโจทก์ไม่เป็นความจริง และจำเลยขอปฏิเสธว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ จึงเป็นการเพียงพอที่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์หรือไม่แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้การด้วยวาจาในคดีแรงงานเพียงพอต่อการสร้างประเด็นข้อพิพาท แม้ไม่ได้ทำตามแบบฟอร์มการให้การในคดีแพ่ง
คดีแรงงานจำเลยมีสิทธิให้การด้วยวาจาได้ กฎหมายจึงมิได้ถือเคร่งครัดเช่นการให้การเป็นหนังสือในคดีแพ่งธรรมดา เพื่อให้คดีได้เสร็จสิ้นไปด้วยความรวดเร็วตามเจตนารมณ์ของวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ดังนั้นที่จำเลยให้การด้วยวาจาซึ่งศาลแรงงานกลางได้บันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า คำฟ้องอื่นของโจทก์ไม่เป็นความจริงและจำเลยขอปฏิเสธว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์จึงเป็นการเพียงพอที่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทที่จำเลยจะนำสืบได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์หรือไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกประเด็นข้อพิพาทใหม่ในชั้นอุทธรณ์ฎีกา จำเลยต้องยกข้อต่อสู้ในคำให้การตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอ้างว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาจากเจ้าของเดิม ซึ่งจำเลยปลูกบ้านบนที่ดินดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิเจ้าของเดิม เมื่อจำเลยเห็นว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทโดยไม่สุจริตและไม่ได้เสียค่าตอบแทนจำเลยจะต้องกล่าวไว้ในคำให้การเพื่อตั้งประเด็นพิพาทไว้จึงจะชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสองแม้โจทก์จะให้การแก้ฟ้องแย้งโดยยกเรื่องซื้อที่พิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนขึ้นมาด้วย ก็เป็นเพียงยืนยันคำฟ้องของโจทก์ว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทจากเจ้าของเดิมโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น หาเป็นผลให้เกิดประเด็นขึ้นมาใหม่ไม่ ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทโดยไม่มีประเด็นข้อนี้จำเลยก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน จำเลยจึงจะโต้แย้งว่าควรมีประเด็นข้อนี้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
of 52