พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องเพิกถอนการขายทอดตลาด ต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการ
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และมาตรา 24 ได้กล่าวไว้ชัดแจ้งว่า เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ห้ามมิให้ลูกหนี้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตน ไม่ว่าในชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดี การร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดเป็นการต่อสู้คดีใด ๆ หรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างหนึ่งอันเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยที่ 2 ถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4448/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาหลังพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิดำเนินคดีแทนจำเลย
เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลย ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดให้ยกเลิกหรือเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่โจทก์จำเลยทำมาก่อนหน้านี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาต่อจากจำเลย และมีสิทธิเช่นเดียวกับจำเลยซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายหนึ่งตามบทบัญญัติของกฎหมาย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่งทนายความยื่นคำให้การใหม่ จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3106/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการเข้าว่าคดีแพ่งของลูกหนี้ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และการจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 ซึ่งบัญญัติว่า เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้ (1) จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป (2) เก็บรวบรวมและรับเงิน หรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น และ (3) ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ อันเป็นบทบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการจัดการและเก็บรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาให้ได้มากที่สุด เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ในการขอรับชำระหนี้และมาตรา 25 ซึ่งบัญญัติว่า ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแพ่งทั้งปวงอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ศาลมีอำนาจงดการพิจารณาคดีแพ่งนั้นไว้ หรือจะสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้ ในกรณีที่มีคดีแพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งกฎหมายบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องเข้าว่าคดีแทนลูกหนี้ผู้ถูกฟ้องนั้น ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่าการที่จะให้มีการพิจารณาคดีต่อไปจะยังประโยชน์แก่การจัดการและเก็บรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มากยิ่งกว่าและมิได้ร้องขอให้งดการพิจารณาคดีไว้แล้ว ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้ หาใช่ว่าศาลจะต้องงดการพิจารณาคดีและจำหน่ายคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ทั้งหมดออกจากสารบบความได้เพียงสถานเดียว ซึ่งข้อเท็จจริงในคดีนี้ก็ได้ความว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประสงค์ที่จะให้ศาลพิจารณาคดีต่อไป โดยยื่นคำร้องขอเข้าว่าความแทนจำเลยร่วมที่ 1 และขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อไปกับยื่นคำให้การมาพร้อมด้วยเช่นนี้ จึงต้องถือว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เข้าว่าความแทนจำเลยร่วมที่ 1 ลูกหนี้ตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้ครบถ้วนแล้ว แม้ผลของคดีอาจทำให้ที่ดินทั้ง 5 แปลง ต้องกลับไปเป็นของจำเลยร่วมที่ 1 ก็เรียกไม่ได้ว่าเป็นเรื่องที่โจทก์จัดการและเก็บรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือฟ้องร้องคดีอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ อันเป็นการก้าวก่ายอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (2) (3) แต่อย่างใด เพราะคดีนี้ โจทก์ได้มีการดำเนินคดีฟ้องร้องก่อนที่จำเลยร่วมที่ 1 จะถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด การที่ศาลชั้นต้นมิได้จำหน่ายคดีของโจทก์ออกจากสารบบความ จึงหาเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15638/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้และการรับสภาพหนี้หลังขาดอายุความ กรณีฟ้องขอพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ร้องนำสืบเพียงการรับโอนสิทธิเรียกร้องของผู้ร้องและการเป็นหนี้ค้างชำระของลูกหนี้ที่ 1 ถึงที่ 5 และ ส. ลูกหนี้ที่ตายหลังจากผู้ร้องรับโอนสิทธิเรียกร้องรายนี้มาเท่านั้น มิได้นำสืบถึงมูลหนี้เดิมเพื่อให้รับฟังได้ว่าฝ่ายลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้เดิมในหนี้ประเภทใด และผิดนัดผิดสัญญาต่อเจ้าหนี้เดิมเมื่อใดหรือชำระหนี้ครั้งสุดท้ายก่อนผู้ร้องรับโอนสิทธิเรียกร้องเมื่อใด ซึ่งแม้หากนับอายุความตั้งแต่ขณะนั้นตามแต่กรณีจนถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ แต่ฝ่ายลูกหนี้ยื่นคำคัดค้านโต้แย้งว่า มูลหนี้เดิมเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี หนังสือรับรองการขายตั๋วสัญญาใช้เงิน สัญญาค้ำประกันและจำนอง ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ อายุความจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ฝ่ายลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้แก่ธนาคารเจ้าหนี้เดิมตั้งแต่ปี 2537 และโต้แย้งด้วยว่า การที่ฝ่ายลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งก็คือทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้และบันทึกข้อตกลงแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาปรับโครงสร้างหนี้เมื่อปี 2548 และปี 2549 เป็นการรับสภาพความรับผิดหลังจากหนี้ขาดอายุความแล้ว อายุความมีกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิดตาม มาตรา 193/35 หนี้ตามคำร้องของผู้ร้องขาดอายุความแล้ว ดังนี้ หากข้อเท็จจริงเป็นดังที่ฝ่ายลูกหนี้คัดค้านดังกล่าว คดีของผู้ร้องย่อมขาดอายุความตามที่ฝ่ายลูกหนี้คัดค้าน เมื่อผู้ร้องมิได้นำสืบว่า เจ้าหนี้เดิมและผู้ร้องอาจบังคับสิทธิเรียกร้องจากฝ่ายลูกหนี้ตั้งแต่เมื่อใดหรือมีเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเพื่อแสดงให้เห็นว่าคดีของผู้ร้องไม่ขาดอายุความจึงต้องฟังว่าสิทธิเรียกร้องของผู้ร้องขาดอายุความ ผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 เด็ดขาด กับพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของ ส. ลูกหนี้ที่ตายตาม พ.ร.ก. บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 และมาตรา 82
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15320/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย สิทธิในการดำเนินคดีและข้อจำกัดตามกฎหมายล้มละลาย
หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านพิพาทของโจทก์และเรียกค่าเสียหายจากการที่โจทก์ไม่อาจนำที่ดินและบ้านพิพาทออกให้เช่าซึ่งจะได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ 60,000 บาท คิดถึงวันฟ้องเป็นเวลา 1 เดือน เป็นเงิน 60,000 บาท พร้อมทั้งค่าเสียหายในอัตราเดือนละ 60,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา จำเลยไม่ได้ผิดสัญญาต่อโจทก์ ขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนสิทธิการเช่าที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลย ดังนี้ คดีโจทก์ในส่วนที่ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นทรัพย์สินของโจทก์ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยโดยตรง จึงไม่อยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะดำเนินคดีแทนจำเลยตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) จำเลยย่อมมีอำนาจต่อสู้คดีได้โดยลำพัง สำหรับค่าเสียหายที่โจทก์เรียกมานั้นโจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าเป็นค่าเสียหายนับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 พร้อมทั้งค่าเสียหายนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท เมื่อปรากฏว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2554 ค่าเสียหายดังกล่าวจึงเป็นมูลหนี้อันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่เกิดขึ้นภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว โจทก์ไม่อาจนำมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 27, 91 และ 94 โจทก์ชอบที่จะฟ้องจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ในคดีล้มละลายได้โดยตรง ไม่อาจฟ้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นจำเลยแทนลูกหนี้หรือเข้าดำเนินคดีนี้แทนลูกหนี้ จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ด้วยตนเอง แต่ในส่วนฟ้องแย้งของจำเลยนั้น เป็นการขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนสิทธิการเช่าที่ดินและบ้านพิพาทตามสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาอันเป็นประโยชน์ในทางทรัพย์สินของจำเลย กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยใช้สิทธิฟ้องร้องเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยระหว่างจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 (3) ที่ศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งและพิพากษาตามฟ้องแย้งจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15320/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีล้มละลาย: สิทธิในการฟ้องร้องของลูกหนี้ที่อยู่ภายใต้การพิทักษ์ทรัพย์ และข้อจำกัดในการดำเนินคดี
หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2554 แล้ว โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านพิพาทของโจทก์และเรียกค่าเสียหายจากการที่โจทก์ไม่อาจนำที่ดินและบ้านพิพาทออกให้เช่าซึ่งจะได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ 60,000 บาท คิดถึงวันฟ้องเป็นเวลา 1 เดือน เป็นเงิน 60,000 บาท พร้อมทั้งค่าเสียหายในอัตราเดือนละ 60,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา จำเลยไม่ได้ผิดสัญญาต่อโจทก์ ขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนสิทธิการเช่าที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลย ดังนี้คดีโจทก์ในส่วนที่ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นทรัพย์สินของโจทก์ ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยโดยตรงจึงไม่อยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะดำเนินคดีแทนจำเลยตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) จำเลยย่อมมีอำนาจต่อสู้คดีได้โดยลำพัง สำหรับค่าเสียหายที่โจทก์เรียกมานั้นโจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าเป็นค่าเสียหายนับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 พร้อมทั้งค่าเสียหายนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท เมื่อปรากฏว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2554 ค่าเสียหายดังกล่าวจึงเป็นมูลหนี้อันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่เกิดขึ้นภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว โจทก์ไม่อาจนำมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 27, 91 และ 94 โจทก์ชอบที่จะฟ้องจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ในคดีล้มละลายไม่อาจฟ้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นจำเลยแทนลูกหนี้หรือเข้าดำเนินคดีนี้แทนลูกหนี้ จำเลยย่อมมีอำนาจต่อสู้คดีได้โดยลำพังทั้งมีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ด้วยตนเอง แต่ในส่วนฟ้องแย้งของจำเลยนั้น เป็นการขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนสิทธิการเช่าที่ดินและบ้านพิพาทตามสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาอันเป็นประโยชน์ในทางทรัพย์สินของจำเลย กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยใช้สิทธิฟ้องร้องเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยระหว่างจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 (3) ที่ศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งและพิพากษาตามฟ้องแย้งจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15145/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: ข้อจำกัดหนี้ที่เกิดขึ้นหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อเนื่องจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้คงมีสิทธิริบบรรดาเงินค่าเช่าซื้อที่ลูกหนี้ได้ชำระไปแล้ว และกลับเข้าครอบครองรถที่เช่าซื้อ โดยลูกหนี้มีหน้าที่ส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืนแก่เจ้าหนี้ในสภาพเรียบร้อยและใช้การได้ดี หากไม่คืนเจ้าหนี้ย่อมได้รับความเสียหายเพราะขาดประโยชน์เนื่องจากไม่ได้รับรถที่เช่าซื้อคืน เจ้าหนี้ไม่อาจเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระค่าปรับเพราะเหตุที่ลูกหนี้ชำระค่าเช่าซื้อล่าช้าก่อนสัญญาเช่าซื้อเลิกกันได้อีก แต่เนื่องจากหนี้ที่เจ้าหนี้อาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้นั้น ต้องเป็นหนี้เงินซึ่งมูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 การที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดโดยอ้างว่าเป็นค่าขาดราคารถ (ที่ถูก ค่าขาดประโยชน์) จึงเป็นการขอรับชำระหนี้ค่าเสียหายเพราะลูกหนี้ไม่ส่งมอบรถคืนแก่เจ้าหนี้อันถือได้ว่ามูลหนี้เกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามบทบัญญัติดังกล่าว สำหรับสิทธิของเจ้าหนี้ในการติดตามเอารถคืนจากลูกหนี้มิใช่หนี้เงินอันพึงขอรับชำระหนี้ได้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 และมาตรา 91 ส่วนคำขอรับชำระหนี้กรณีหากคืนรถไม่ได้เจ้าหนี้เรียกร้องให้ลูกหนี้ชดใช้ราคาแทนเท่าจำนวนเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระตามสัญญาเช่าซื้อนั้น ก็เกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด มิใช่หนี้อันพึงขอรับชำระในคดีล้มละลายได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14858/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดจำนองหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นโมฆะ ผู้พิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเพิกถอนได้
เมื่อศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาด จำเลยที่ 2 จึงต้องห้ามมิให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตน ตามมาตรา 22 และ 24 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ร่วมกับร้อยเอก ท. จดทะเบียนจำนองที่ดินให้แก่ผู้คัดค้าน ภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาด จึงเป็นการกระทำที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย การจดทะเบียนจำนองในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 ผู้คัดค้านและจำเลยที่ 2 จึงไม่อาจอ้างอิงแสวงสิทธิจากนิติกรรมที่เสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมดังกล่าว แม้ผู้คัดค้านรับจำนองไว้โดยสุจริตก็ไม่ทำให้นิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะกลับมีผลสมบูรณ์ขึ้นมาได้ ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่เคยรับทราบและให้ความยินยอมในการจดทะเบียนจำนองของจำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้าง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 เพื่อขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมดังกล่าวได้ ซึ่งการยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างเช่นนี้ มิใช่เป็นการบังคับสิทธิเรียกร้อง ตามมาตรา 193/9 จึงไม่ตกอยู่ในบังคับบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องกำหนดอายุความที่จะบังคับให้ผู้ร้องต้องใช้สิทธิภายในกำหนดอายุความแต่อย่างใด และการที่ผู้ร้องขอเพิกถอนนิติกรรมการจำนองโดยยังไม่เพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมอื่นก็ไม่เป็นการทำให้ผู้คัดค้านเสียสิทธิ เนื่องจากสิทธิของผู้คัดค้านมีอยู่โดยชอบอย่างไร ผู้คัดค้านก็ยังบังคับตามสิทธิของผู้คัดค้านได้ ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมการจำนองที่ดินระหว่างจำเลยที่ 2 และผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14086/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนคำร้องพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและการใช้บทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในคดีล้มละลาย
แม้ พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ บัญญัติไว้ว่า ถ้าลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันไม่ให้ความร่วมมือกับ บสท. ในการปรับโครงสร้างหนี้ตามที่ บสท. สั่ง โดยที่ตนอยู่ในฐานะที่จะดำเนินการได้ หรือยักย้ายถ่ายเทหรือปิดปังซ่อนเร้นทรัพย์สินของตน ให้ บสท. ดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันแล้วแต่กรณี โดยไม่ต้องดำเนินการไต่สวน และให้ศาลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายต่อไปโดยเร็วก็ตาม แต่ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องได้รับโอนหนี้สินของลูกหนี้ทั้งสองซึ่งเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพมาจากธนาคาร ท. เจ้าหนี้เดิมในมูลหนี้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ซึ่งผู้ร้องไม่มีหลักฐานแห่งหนี้มาแสดง โดยขอนำเสนอในชั้นไต่สวนคำร้อง ประกอบกับคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ทั้งสองเด็ดขาดย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่และเสรีภาพของลูกหนี้ทั้งสองโดยตรง อีกทั้งบทบัญญัติของมาตรา 58 วรรคสี่ ดังกล่าว มิได้บังคับให้ศาลต้องมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด โดยห้ามมิให้ศาลไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง จึงสมควรที่ศาลจะทำการไต่สวนเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่แน่ชัดตามคำร้องก่อนที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดโดยทันที ดังนั้น การที่ศาลล้มละลายกลางทำการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องจึงไม่เป็นการขัดต่อกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 3 บัญญัตินิยามคำว่า "คดีล้มละลาย" หมายความว่า คดีตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย..." ซึ่งนอกจากคดีที่ฟ้องหรือร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 แล้วยังหมายความรวมถึงการร้องขอให้ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันล้มละลายตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ ด้วย ทั้งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง และมาตรา 14 บัญญัติให้ศาลล้มละลายมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีล้มละลายโดยกระบวนพิจารณาในศาลล้มละลายให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายและข้อกำหนดคดีล้มละลายตามมาตรา 19 ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติและข้อกำหนดดังกล่าว ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง...มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งสอดคล้องกับ พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ ที่กำหนดให้ศาลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายต่อไปโดยเร็ว ซึ่งตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายและข้อกำหนดคดีล้มละลายไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการนำสืบและการรับฟังพยานเอกสารไว้จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 90 และมาตรา 93 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้คู่ความที่อ้างอิงเอกสารเป็นพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของตนจะต้องส่งสำเนาเอกสารนั้นให้คู่ความฝ่ายอื่นก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และการอ้างเอกสารเป็นพยานนั้นให้ยอมรับฟังได้แต่ต้นฉบับเอกสารเท่านั้น แต่ผู้ร้องนำสืบอ้างส่งเอกสารแห่งหนี้เป็นสำเนาเอกสารโดยมิได้ส่งสำเนาให้แก่ลูกหนี้ทั้งสองก่อนวันสืบพยานและส่งต้นฉบับเอกสารต่อศาล ทั้งการที่ผู้ร้องแถลงต่อศาลว่าต้นฉบับเอกสารอยู่ที่เจ้าหนี้เดิม ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 93 (1) ถึง (3) ที่จะให้รับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวแทนต้นฉบับเอกสารได้
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 3 บัญญัตินิยามคำว่า "คดีล้มละลาย" หมายความว่า คดีตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย..." ซึ่งนอกจากคดีที่ฟ้องหรือร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 แล้วยังหมายความรวมถึงการร้องขอให้ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันล้มละลายตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ ด้วย ทั้งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง และมาตรา 14 บัญญัติให้ศาลล้มละลายมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีล้มละลายโดยกระบวนพิจารณาในศาลล้มละลายให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายและข้อกำหนดคดีล้มละลายตามมาตรา 19 ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติและข้อกำหนดดังกล่าว ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง...มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งสอดคล้องกับ พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ ที่กำหนดให้ศาลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายต่อไปโดยเร็ว ซึ่งตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายและข้อกำหนดคดีล้มละลายไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการนำสืบและการรับฟังพยานเอกสารไว้จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 90 และมาตรา 93 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้คู่ความที่อ้างอิงเอกสารเป็นพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของตนจะต้องส่งสำเนาเอกสารนั้นให้คู่ความฝ่ายอื่นก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และการอ้างเอกสารเป็นพยานนั้นให้ยอมรับฟังได้แต่ต้นฉบับเอกสารเท่านั้น แต่ผู้ร้องนำสืบอ้างส่งเอกสารแห่งหนี้เป็นสำเนาเอกสารโดยมิได้ส่งสำเนาให้แก่ลูกหนี้ทั้งสองก่อนวันสืบพยานและส่งต้นฉบับเอกสารต่อศาล ทั้งการที่ผู้ร้องแถลงต่อศาลว่าต้นฉบับเอกสารอยู่ที่เจ้าหนี้เดิม ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 93 (1) ถึง (3) ที่จะให้รับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวแทนต้นฉบับเอกสารได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12506/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิทักษ์ทรัพย์หลังการชำระบัญชี: ศาลฎีกาตัดสินกลับคำสั่งไม่รับคำร้อง และมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
ในคดีฟ้องเรียกหนี้สินซึ่งห้างหุ้นส่วนหรือผู้ชำระบัญชีเป็นลูกหนี้อยู่ในฐานเช่นนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1272 เมื่อปรากฏจากหนังสือรับรอง ของผู้ร้องว่า นายทะเบียนจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีของลูกหนี้ที่ 1 เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2552 และผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2553 จึงไม่เกิน 2 ปีนับแต่วันที่ 7 มกราคม 2552 อันเป็นวันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดได้
ผู้ร้องมีหนังสือแจ้งให้ลูกหนี้ที่ 1 ติดต่อและเสนอแผนปรับโครงสร้างหนี้หลายครั้ง ตามหนังสือเรื่องบอกกล่าวให้ชำระหนี้หรือปรับโครงสร้างหนี้ ใบตอบรับในประเทศและประกาศหนังสือพิมพ์ แต่ลูกหนี้ที่ 1 เพิกเฉย ไม่ติดต่อไม่ชำระหนี้และไม่เสนอแผนปรับโครงสร้างหนี้ต่อผู้ร้อง พฤติการณ์ของลูกหนี้ที่ 1 ดังกล่าวถือว่าลูกหนี้ที่ 1 ไม่ให้ความร่วมมือกับผู้ร้องในการปรับโครงสร้างหนี้ตามที่ผู้ร้องสั่งโดยที่ลูกหนี้ที่ 1 อยู่ในฐานะที่จะดำเนินการได้ เมื่อ ณ วันยื่นคำร้อง (วันที่ 5 เมษายน 2553) ลูกหนี้ที่ 1 มีภาระหนี้ค้างชำระผู้ร้อง 24,530,708 บาท และลูกหนี้ที่ 1 ไม่ยื่นคำคัดค้านและขาดนัดพิจารณา กรณีจึงเห็นควรมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาด
ผู้ร้องมีหนังสือแจ้งให้ลูกหนี้ที่ 1 ติดต่อและเสนอแผนปรับโครงสร้างหนี้หลายครั้ง ตามหนังสือเรื่องบอกกล่าวให้ชำระหนี้หรือปรับโครงสร้างหนี้ ใบตอบรับในประเทศและประกาศหนังสือพิมพ์ แต่ลูกหนี้ที่ 1 เพิกเฉย ไม่ติดต่อไม่ชำระหนี้และไม่เสนอแผนปรับโครงสร้างหนี้ต่อผู้ร้อง พฤติการณ์ของลูกหนี้ที่ 1 ดังกล่าวถือว่าลูกหนี้ที่ 1 ไม่ให้ความร่วมมือกับผู้ร้องในการปรับโครงสร้างหนี้ตามที่ผู้ร้องสั่งโดยที่ลูกหนี้ที่ 1 อยู่ในฐานะที่จะดำเนินการได้ เมื่อ ณ วันยื่นคำร้อง (วันที่ 5 เมษายน 2553) ลูกหนี้ที่ 1 มีภาระหนี้ค้างชำระผู้ร้อง 24,530,708 บาท และลูกหนี้ที่ 1 ไม่ยื่นคำคัดค้านและขาดนัดพิจารณา กรณีจึงเห็นควรมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาด