คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาค้ำประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันภาษีอากรของคนต่างด้าวมีผลผูกพันเมื่อผู้ค้ำประกันต้องชำระแทนเนื่องจากผู้ถูกค้ำประกันไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
ที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 4อัฏฐ บัญญัติให้คนต่างด้าวซึ่งมีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศเป็นปกติธุระ เกี่ยวกับการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพยื่นคำร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรโดยมีหลักประกันหรือหลักทรัพย์อยู่ในประเทศไทยพอคุ้มค่าภาษีอากรที่ค้างหรือที่จะต้องชำระนั้น ก็เพียงป้องกันไม่ให้รัฐต้องขาดรายได้จากภาษีอากรที่คนต่างด้าวค้างชำระหรือที่จะต้องชำระ เพราะเหตุที่คนต่างด้าวออกจากประเทศไทยไปแล้วไม่กลับเข้ามาในประเทศไทยอีก
จำเลยทำสัญญาค้ำประกัน อ.คนต่างด้าวไว้ต่อโจทก์ เนื่องจากเหตุที่ อ.มีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศ และร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรนั้นเป็นการค้ำประกันการเดินทางไปต่างประเทศของ อ.ว่าเมื่ออ.ไปต่างประเทศแล้วจะต้องเดินทางกลับมาประเทศไทยภายใน 180 วันนับแต่วันออกใบผ่านภาษีอากร ดังนั้น ที่สัญญาค้ำประกันระบุว่า"หากทางราชการจะเรียกร้อง (ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร)เอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก ข้าพเจ้า (จำเลย) ยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วนทั้งสิ้น" นั้น หมายถึงว่าถ้าอ.ไม่เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนั้นนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรหากทางราชการจะเรียกร้องภาษีอากรเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบ มิใช่หมายความว่าแม้ อ.เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวกแล้วจำเลยยังจะต้องรับผิดชำระแทนจนครบถ้วน
อ.คนต่างด้าวได้รับใบผ่านภาษีอากรประเภทเดินทางหลายครั้ง(ระบบ ผ.3ก) มีสิทธิใช้ใบผ่านภาษีอากรเดินทางไปต่างประเทศได้หลายครั้ง แต่ต้องเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว เมื่อ อ.ได้เดินทางไปต่างประเทศแล้วกลับเข้ามาในประเทศไทย หลังจากนั้นก็ได้เดินทางไปต่างประเทศอีกภายใน 180 วันนั้นแล้วไม่ได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยอีกเลย ดังนี้ สัญญาค้ำประกันดังกล่าวหาได้ระงับไปเพราะ อ.กลับเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยขอค้ำประกัน อ.ต่อโจทก์ว่าถ้าอ.มีหน้าที่จะต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรไม่ว่าในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะแทนผู้อื่น หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วนดังนั้นหนี้อากรแสตมป์และเงินเพิ่มที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดบ. โดย อ.หุ้นส่วนผู้จัดการค้างชำระอยู่ก่อนที่จำเลยจะค้ำประกันอ. แม้เจ้าพนักงานประเมินจะแจ้งให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. นำเงินอากรแสตมป์และเงินเพิ่มไปชำระหลังจากที่จำเลยค้ำประกัน อ. จำเลยก็จะต้องรับผิดเพราะหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ อ. ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องชำระให้โจทก์ เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. ที่อ. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการผิดนัดไม่ชำระภาษีอากรต้องถือว่า อ. ผิดนัดด้วย โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้ฟ้องให้จำเลยผู้ค้ำประกันชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ได้ โดยไม่จำต้องทวงถามจำเลยก่อน และไม่จำต้องเรียกร้องหรือทวงถามให้อ. รับผิดเป็นส่วนตัวก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันแม้ไม่มีอากรแสตมป์ แต่จำเลยรับสารภาพได้ ถือเป็นหลักฐานได้ และการลดหนี้ไม่ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ
แม้สัญญาค้ำประกันมิได้ปิดอากรแสตมป์ ซึ่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ห้ามมิให้ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง แต่จำเลยได้ให้การและนำสืบรับเข้ามาว่าได้ลงชื่อในสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจริง ศาลจึงไม่จำเป็นต้องใช้สัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐานประกอบการพิจารณาคดี
จำเลยค้ำประกัน ธ.ที่ทำงานกับโจทก์ 100,000 บาท ธ.ยักยอกทรัพย์ของโจทก์ โจทก์จำเลยยอมความกัน โจทก์ลดจำนวนเงินลงเหลือ 380,000 บาท ธ.ยอมใช้เงินโดยชำระในวันนั้นส่วนหนึ่ง ที่เหลือมี น.น้อง ธ.และภริยา ธ.ออกเช็คลงวันล่วงหน้าให้กับทำสัญญาค้ำประกันให้ด้วย โจทก์ถอนคำร้องทุกข์ ศาลจำหน่ายคดีที่ ธ.ถูกฟ้องเรื่องยักยอกเช็คของน.และ ธ.รับเงินไม่ได้ โจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาค้ำประกันได้ การที่โจทก์ลดหนี้ให้ ธ. และ ธ.ยังไม่ได้ใช้หนี้ หนี้เดิมยังไม่ระงับ และ ธ.ไม่ได้สละสิทธิหรือได้สิทธิอะไรจากโจทก์ ไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ หนี้เดิมยังอยู่ โจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาค้ำประกันเดิมให้จำเลยรับผิด 100,000 บาทได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันยังคงมีผล แม้มีการลดหนี้และทำสัญญาประนีประนอม เพราะหนี้เดิมยังไม่ระงับ
แม้สัญญาค้ำประกันมิได้ปิดอากรแสตมป์ ซึ่งตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 ห้ามมิให้ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งแต่จำเลยได้ให้การและนำสืบรับเข้ามาว่าได้ลงชื่อในสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจริง ศาลจึงไม่จำเป็นต้องใช้สัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐานประกอบการพิจารณาคดี
จำเลยค้ำประกัน ธ.ที่ทำงานกับโจทก์100,000บาทธ. ยักยอกทรัพย์ของโจทก์ โจทก์จำเลยยอมความกัน โจทก์ลดจำนวนเงินลงเหลือ 380,000 บาท ธ.ยอมใช้เงินโดยชำระในวันนั้นส่วนหนึ่งที่เหลือมีน.น้องธ. และภริยาธ. ออกเช็คลงวันล่วงหน้าให้กับทำสัญญาค้ำประกันให้ด้วย โจทก์ถอนคำร้องทุกข์ ศาลจำหน่ายคดีที่ ธ.ถูกฟ้องเรื่องยักยอกเช็คของน.และธ. รับเงินไม่ได้ โจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาค้ำประกันได้ การที่โจทก์ลดหนี้ให้ธ.และธ.ยังไม่ได้ใช้หนี้หนี้เดิมยังไม่ระงับและธ.ไม่ได้สละสิทธิหรือได้สิทธิอะไรจากโจทก์ ไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ หนี้เดิมยังอยู่ โจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาค้ำประกันเดิมให้จำเลยรับผิด 100,000 บาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 216/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค้ำประกันและอายุความ: ผู้ค้ำประกันต้องชำระหนี้แทนโจทก์ภายใน 10 ปีนับจากวันทำสัญญาค้ำประกัน คดีไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 ขายลดตั๋วเงินแก่ธนาคาร โจทก์ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อธนาคาร จำเลยที่ 2 จำนองที่ดินและค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์โจทก์ใช้หนี้แก่ธนาคารตามที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดต่อธนาคารไป จำเลยที่ 2 ต้องใช้หนี้นั้นแก่โจทก์ อายุความระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์มีกำหนด 10 ปี นับแต่วันทำสัญญาค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันไม่ติดอากรแสตมป์ใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ แม้โจทก์เป็นหน่วยงานรัฐ
โจทก์เป็นส่วนราชการของรัฐบาลฟ้องบังคับตามสัญญาค้ำประกันที่ไม่ปิดอากรแสตมป์ เมื่อตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 17 (ก) กำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นผู้ต้องเสียค่าอากรแสตมป์และขีดฆ่าอากรแสตมป์ หาใช่ฝ่ายที่ต้องเสียอากรเป็นรัฐบาลอันจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรตามความหมายในมาตรา 121 แห่งประมวลรัษฎากรไม่
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันยอมใช้เงินแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งผิดสัญญาได้รับทุนจากระทรวงกลาโหมโจทก์ไปศึกษาต่างประเทศแล้วกลับมารับราชการไม่ครบกำหนดสัญญา เมื่อสัญญาค้ำประกันมิได้ปิดอากรแสตมป์ให้บริบูรณ์ ย่อมจะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
แม้จำเลยที่ 2 จะขาดนัด โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชอบสัญญาค้ำประกันจริง เมื่อเอกสารสัญญาค้ำประกันใช้เป็นหลักฐานในคดีมิได้คดีย่อมไม่มีทางที่จะให้จำที่ 2 รับผิดตามฟ้องโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันไม่ปิดอากรแสตมป์ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ แม้โจทก์เป็นหน่วยงานรัฐ
โจทก์เป็นส่วนราชการของรัฐบาลฟ้องบังคับตามสัญญาค้ำประกันที่ไม่ปิดอากรแสตมป์ เมื่อตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 17(ก) กำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นผู้ต้องเสียค่าอากรแสตมป์และขีดฆ่าอากรแสตมป์ หาใช่ฝ่ายที่ต้องเสียอากรเป็นรัฐบาลอันจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรตามความหมายในมาตรา 121 แห่งประมวลรัษฎากรไม่
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันยอมใช้เงินแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งผิดสัญญาได้รับทุนจากกระทรวงกลาโหมโจทก์ไปศึกษาต่างประเทศแล้วกลับมารับราชการไม่ครบกำหนดตามสัญญา เมื่อสัญญาค้ำประกันมิได้ปิดอากรแสตมป์ให้บริบูรณ์ ย่อมจะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
แม้จำเลยที่ 2 จะขาดนัด โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันจริงเมื่อเอกสารสัญญาค้ำประกันใช้เป็นหลักฐานในคดีมิได้คดีย่อมไม่มีทางที่จะให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามฟ้องโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1448/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายสุราและผลผูกพันของสัญญาค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดสัญญา
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญากันว่าจำเลยที่ 1 ต้องทำสุราออกขายไม่น้อยกว่าเดือนละ 9,192 เท และยอมเสียภาษีสุราไม่น้อยกว่าเดือนละ 9,192 เท เดือนใดเสียภาษีสุราต่ำกว่าจำนวนดังกล่าวนี้ จำเลยที่ 1 ยอมเสียค่าปรับเท่ากับสุรา ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาทันที และจำเลยที่ 1 ยินยอมชดใช้เงินค่าภาษีหรือเงินอื่นใดที่ค้างชำระให้แก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถทำสุราออกขายได้ตามจำนวนดังกล่าว และค้างชำระเงินค่าปรับเป็นจำนวนนับล้านบาท โจทก์ยอมได้รับความเสียหาย จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยผลแห่งข้อสัญญา หาใช่ว่าจะต้องเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับ หรือคำสั่งซึ่งออกตามกฎหมายเฉพาะกฎหมายสุราจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ไม่
เบี้ยปรับตามสัญญาก็คือ ค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้าเพื่อชดใช้แก่กันหากอีกฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้
กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในสัญญาเป็นผู้ค้ำประกันและประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 2 เห็นได้ชัดว่ากระทำในฐานะกรรมการผู้จัดการซึ่งเป็นตัวแทนหรือตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 มิใช่กระทำในฐานะส่วนตัว และยังปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับรองการทำสัญญาดังกล่าวของกรรมการผู้จัดการ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญา แม้ข้อบังคับของจำเลยที่ 2 จะมีว่ากรรมการจะต้องลงนามร่วมกัน 2 คน จึงจะทำการแทนบริษัทได้ ก็เป็นเรื่องการจำกัดอำนาจกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 อันเป็นคนละกรณีกับการกระทำโดยทางตัวแทน
ในกรณีที่การบอกเลิกสัญญาไม่ทำให้หนี้ที่เกิดขึ้นอยู่ก่อนแล้วระงับสิ้นลง จนกว่าลูกหนี้จะชำระหนี้นั้น แม้เจ้าหนี้ได้บอกเลิกสัญญากับลูกหนี้ก็หาทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 762/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันที่ไม่มีความยินยอมของลูกหนี้ ยังคงมีผลผูกพันบังคับค้ำประกันได้
สัญญาค้ำประกันไม่มีข้อความว่าลูกหนี้ยินยอมด้วยเจ้าหนี้ ก็บังคับผู้ค้ำประกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้จัดการธนาคารต่อการยักยอกเงินของพนักงาน: ละเมิด ไม่ใช่สัญญาค้ำประกัน
จำเลยเป็นผู้จัดการธนาคารออมสินสาขา ขออนุมัติให้พนักงานบัญชีใต้บังคับบัญชาลงรายการในแบบบัญชีรับจ่ายแทนโดยขอรับผิดชอบโดยไม่มีข้อโต้แย้งเมื่อมีการทุจริตผิดพลาด เจ้าหน้าที่ของธนาคารโจทก์อนุมัติ ดังนี้เป็นการปฏิบัติภายในวงงาน ไม่ใช่มุ่งผูกนิติสัมพันธ์ก่อสิทธิ ไม่เป็นสัญญาค้ำประกัน การที่พนักงานบัญชียักยอกเงินไป จำเลยรับผิดในฐานละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2637/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันการติดต่อขอใบอนุญาตลงทุน: จำเลยต้องคืนเงินเมื่อไม่สามารถดำเนินการตามสัญญาได้
จำเลยทำสัญญารับจะติดต่อทางการให้ออกใบอนุญาตส่งเสริมการลงทุนให้โจทก์จนเป็นผลสำเร็จ โดยโจทก์จะให้ค่าตอบแทนแก่จำเลย 300,000 บาท โจทก์ได้จ่ายเงินล่วงหน้าให้จำเลยไปแล้ว 100,000 บาท จำเลยได้ออกเช็คพิพาทจำนวนเงิน 100,000 บาทให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันโดยมีข้อตกลงว่าถ้าจำเลยทำการไม่สำเร็จจะคืนเช็คดังกล่าวให้จำเลย และจำเลยจะต้องคืนเงิน 100,000 บาท ให้โจทก์ ปรากฏว่าขณะโจทก์ยื่นขอรับทุนนั้น ตามเงื่อนไขของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนโจทก์จะต้องทำสัญญาและนำเงินสดหรือพันธบัตรรัฐบาลไปวางเป็นจำนวนเงิน 250,000 บาท ต่อเมื่อได้รับอนุมัติตามคำขอแล้ว แต่ต่อมาคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขใหม่ และแจ้งตามเงื่อนไขใหม่นี้ให้โจทก์นำเงินหรือสัญญาค้ำประกันของธนาคารไปวางเป็นมูลค่า 9,000,000 บาท ภายในวันที่กำหนดก่อนได้รับอนุมัติคำขอ ดังนี้จำนวนเงินที่โจทก์ต้องวางสูงกว่าเดิมมาก และภายในเวลาจำกัด ทั้งไม่แน่นอนว่าจะได้รับอนุมัติหรือไม่ การที่โจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขใหม่ของคณะกรรมการที่แจ้งมาดังกล่าว ไม่ใช่ความผิดโดยตรงของโจทก์ ถือว่าจำเลยไม่สามารถติดต่อให้โจทก์ได้มาซึ่งใบอนุญาตส่งเสริมการลงทุนตามสัญญาจำเลยต้องคืนเงิน 100,000 บาท ให้โจทก์ เช็คพิพาทจึงมีมูลหนี้ เมื่อโจทก์นำเช็คพิพาทไปขึ้นเงินไม่ได้ จำเลยจึงต้องชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้โจทก์
of 50