พบผลลัพธ์ทั้งหมด 479 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสัญญาเช่าเดิมด้วยบันทึกเพิ่มเติม และการโอนสิทธิการเช่าตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน
สัญญาเช่าฉบับเดิมห้ามมิให้โอนสิทธิการเช่า หรือให้เช่าช่วงหรือให้ผู้อื่นเข้าครอบครองสถานที่เช่าก่อนได้รับอนุญาตจากจำเลยผู้ให้เช่าเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมาโจทก์(ผู้เช่า) กับจำเลยได้ทำบันทึกเพิ่มเติมสัญญาเช่าฉบับเดิม โดยกำหนดข้อตกลงกันขึ้นใหม่ ให้ผู้เช่าโอนสิทธิการเช่าได้โดยต้องขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าเสียก่อนและในกรณีโอนสิทธิการเช่าให้ผู้อื่น นอกจากผู้สืบสันดานหรือบุตรของผู้สืบสันดานของผู้เช่าแล้วผู้เช่าจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอน.หรือการเปลี่ยนแปลงสัญญาเช่าภายในวงเงินไม่เกิน 30,000 บาท ทั้งนี้แล้วแต่อัธยาศัยของผู้ให้เช่า ดังนี้การที่โจทก์ (ผู้เช่า) ขอโอนสิทธิการเช่าให้นางน้อย แม้ให้นางน้อยเข้าอยู่ในสถานที่เช่าก่อนได้รับอนุญาต จึงไม่ผิดเงื่อนไขแห่งสัญญาเช่าเพิ่มเติม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดำเนินคดีของนิติบุคคลยังคงมีอยู่แม้ผู้แทนเสียชีวิต และการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดต้องเป็นไปตามเงื่อนไข
นิติบุคคลเป็นโจทก์มีผู้แทนนิติบุคคลเป็นผู้ลงนามแต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีแทนโจทก์ไว้แล้วในนามนิติบุคคล หาใช่แต่งตั้งเป็นส่วนตัว แม้ต่อมาผู้แทนนั้นถึงแก่อสัญกรรมไปแล้วการแต่งตั้งทนายเป็นผู้ดำเนินคดีแทนหาได้สิ้นสุดไปไม่ ทนายโจทก์ยังคงมีอำนาจดำเนินคดีต่อไปได้ (ตามนัยฎีกาที่ 480/2502)
การที่จำเลยซื้อเรือนได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลประกาศขายทอดตลาดมีเงื่อนไขอยู่ว่า ผู้ใดซื้อได้ให้รื้อไป จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินให้เช่าปลูกได้ต่อไปโดยมิได้มีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือหาได้ไม่
การที่จำเลยซื้อเรือนได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลประกาศขายทอดตลาดมีเงื่อนไขอยู่ว่า ผู้ใดซื้อได้ให้รื้อไป จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินให้เช่าปลูกได้ต่อไปโดยมิได้มีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายยังไม่เกิดขึ้นเมื่อเงื่อนไขไม่ตกลงกัน และผู้เสนอขายเพิ่มราคา
โจทก์เสนอขายและติดตั้งเครื่องปรับอากาศแก่จำเลยจำเลยมีหนังสือถึงโจทก์แสดงความประสงค์จะทำสัญญากับโจทก์แต่โจทก์จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ โดยโจทก์จะต้องยื่นแบบรูปเครื่องปรับอากาศและการติดตั้งพร้อมด้วยร่างสัญญาเพื่อให้จำเลยพิจารณาเห็นชอบเสียก่อน ถ้าโจทก์ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวได้จึงให้โจทก์ส่งคำสั่งไปยังตัวการผู้ขายเครื่องปรับอากาศ คำสนองของจำเลยดังกล่าว เป็นคำสนองอันมีข้อจำกัด ถือว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับทั้งเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ด้วยในตัว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 359 วรรคสอง แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของจำเลยแม้จำเลยเพียงฝ่ายเดียวได้แสดงไว้ว่า เงื่อนไขในสัญญาเป็นสารสำคัญอันจะต้องตกลงกันหมดทุกข้อ เมื่อโจทก์จำเลยยังไม่ตกลงกันหมดทุกข้อ จึงถือว่าโจทก์จำเลยยังมิได้มีสัญญาต่อกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366
โจทก์ส่งแบบแปลนให้จำเลยเพื่อเพิ่มเติมคำเสนอของโจทก์ให้สมบูรณ์ เพื่อจำเลยจะได้พิจารณาสนองรับหรือไม่ แต่โจทก์กลับเสนอราคาเพิ่มสูงขึ้นจากที่จำเลยกำหนด และไม่ยอมลดให้จำเลยย่อมมีสิทธิไม่ซื้อ หรือไม่สนองรับได้
โจทก์ส่งแบบแปลนให้จำเลยเพื่อเพิ่มเติมคำเสนอของโจทก์ให้สมบูรณ์ เพื่อจำเลยจะได้พิจารณาสนองรับหรือไม่ แต่โจทก์กลับเสนอราคาเพิ่มสูงขึ้นจากที่จำเลยกำหนด และไม่ยอมลดให้จำเลยย่อมมีสิทธิไม่ซื้อ หรือไม่สนองรับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบตามเงื่อนไข เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่แจ้งผู้สู้ราคา
ศาลซึ่งได้รับมอบหมายจากศาลซึ่งพิจารณาพิพากษาคดี ให้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์และขายทอดตลาดแทนนั้น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดโดยไม่ชอบ และความไม่ถูกต้องของการบังคับคดีปรากฏขึ้นต่อศาลโดยชัดแจ้งศาลซึ่งดำเนินการบังคับคดีแทนนั้นย่อมมีอำนาจสั่งไต่สวนและมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่กระทำโดยไม่ชอบนั้นเสียได้ เพื่อให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามที่เห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 หาเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 302 ไม่
เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งเงื่อนไขให้ผู้เข้าสู้ราคาทุกคนทราบก่อนขายทอดตลาดทรัพย์ว่า. ในการสู้ราคาจะนับหนึ่งถึงสามก่อนเคาะไม้ตกลงขาย เมื่อมีผู้เสนอราคาเจ้าพนักงานบังคับคดีกลับเคาะไม้ตกลงขายไปทีเดียว โดยไม่นับหนึ่งถึงสามเสียก่อน เป็นการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข การขายทอดตลาดนั้นจึงไม่ชอบ แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะเคาะไม้ตกลงขายให้แก่ผู้สู้ราคาสูงสุด ก็หาเป็นเหตุให้การขายทอดตลาดนั้นสมบูรณ์ตามกฎหมายไม่
(วรรคแรก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 27/2515)
เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งเงื่อนไขให้ผู้เข้าสู้ราคาทุกคนทราบก่อนขายทอดตลาดทรัพย์ว่า. ในการสู้ราคาจะนับหนึ่งถึงสามก่อนเคาะไม้ตกลงขาย เมื่อมีผู้เสนอราคาเจ้าพนักงานบังคับคดีกลับเคาะไม้ตกลงขายไปทีเดียว โดยไม่นับหนึ่งถึงสามเสียก่อน เป็นการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข การขายทอดตลาดนั้นจึงไม่ชอบ แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะเคาะไม้ตกลงขายให้แก่ผู้สู้ราคาสูงสุด ก็หาเป็นเหตุให้การขายทอดตลาดนั้นสมบูรณ์ตามกฎหมายไม่
(วรรคแรก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 27/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1693/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะเช่าที่ดินเพื่อสร้างสถานีบริการน้ำมัน: สิทธิและข้อจำกัดเมื่อเงื่อนไขไม่สมบูรณ์
จำเลยทำสัญญาให้โจทก์มีสิทธิเช่าที่ดินของจำเลยเพื่อสร้างสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน โดยให้โจทก์มีสิทธิจะทำสัญญาเช่าเมื่อใดก็ได้ภายในหกเดือน และในกรณีที่ยังไม่ทราบผลว่าจะได้รับอนุญาตให้ตั้งได้หรือไม่ จำเลยยอมต่ออายุสัญญาให้อีกจนกว่าจะทราบผล โดยมีเงื่อนไขว่าถ้าตกลงเช่ากันแล้ว จะเช่ามีกำหนดยี่สิบปี ค่าเช่าเดือนละ สองพันบาท และโจทก์ต้องให้ค่าหน้าดินตามจำนวนที่กำหนดด้วย สัญญานี้เป็นเพียงสัญญาหรือข้อตกลงจะให้เช่าที่ดินเพื่อสร้างสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันเท่านั้น เพราะเมื่อจะบังคับกันตามสัญญานี้ จะต้องมีการทำสัญญาเช่ากันใหม่อีกชั้นหนึ่ง โดยต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญานี้มิใช่สัญญาเช่าจึงไม่ถูกบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ
แม้สัญญาหรือข้อตกลงจะให้เช่าที่ดินเพื่อสร้างสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน จะได้ทำเป็นหนังสือ และ ไม่ปรากฏชัดว่าตกลงเช่าที่ดินเพื่อตั้งสถานีบริการจำหน่าย น้ำมันของบริษัทใด จำเลยก็มีสิทธินำสืบว่า เป็นสัญญา หรือข้อตกลงที่จะตั้งสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันของบริษัทเอสโซ่แสตนดาร์ดประเทศไทย จำกัด โดยเฉพาะได้
แม้สัญญาจะให้เช่าที่ดินจะมีเงื่อนไขว่า จำเลยยินยอมต่อสัญญาให้โจทก์อีกจนกว่าจะทราบคำสั่งจากทางราชการว่า จะอนุญาตให้ตั้งสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันของบริษัทเอสโซ่แสตนดาร์ดประเทศไทยจำกัด ได้หรือไม่ แต่เมื่อบริษัทดังกล่าวบอกปัดข้อเสนอของโจทก์ที่จะให้บริษัทเช่าที่ดินเพื่อตั้งสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน ย่อมไม่มีทางที่ โจทก์จะบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อตกลงได้ เพราะเงื่อนไขนั้นไม่มีทางสัมฤทธิ์ผลเสียแล้ว
แม้สัญญาหรือข้อตกลงจะให้เช่าที่ดินเพื่อสร้างสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน จะได้ทำเป็นหนังสือ และ ไม่ปรากฏชัดว่าตกลงเช่าที่ดินเพื่อตั้งสถานีบริการจำหน่าย น้ำมันของบริษัทใด จำเลยก็มีสิทธินำสืบว่า เป็นสัญญา หรือข้อตกลงที่จะตั้งสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันของบริษัทเอสโซ่แสตนดาร์ดประเทศไทย จำกัด โดยเฉพาะได้
แม้สัญญาจะให้เช่าที่ดินจะมีเงื่อนไขว่า จำเลยยินยอมต่อสัญญาให้โจทก์อีกจนกว่าจะทราบคำสั่งจากทางราชการว่า จะอนุญาตให้ตั้งสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันของบริษัทเอสโซ่แสตนดาร์ดประเทศไทยจำกัด ได้หรือไม่ แต่เมื่อบริษัทดังกล่าวบอกปัดข้อเสนอของโจทก์ที่จะให้บริษัทเช่าที่ดินเพื่อตั้งสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน ย่อมไม่มีทางที่ โจทก์จะบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อตกลงได้ เพราะเงื่อนไขนั้นไม่มีทางสัมฤทธิ์ผลเสียแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีเงื่อนไข สัญญาต่างตอบแทน การชำระหนี้เป็นเงื่อนไขก่อนบังคับตามสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาแบ่งที่ดินมรดกโดยจำเลยยอมแบ่งให้โจทก์เพื่อไม่ต้องเป็นความกัน ดังนี้ เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ใช่สัญญายกให้โดยเสน่หา
ข้อความในสัญญามีว่าโจทก์จะต้องแบ่งครึ่งหนึ่งของที่ดินที่ได้รับให้แก่บุตรโจทก์ด้วยแล้วลงลายมือชื่อโจทก์ จำเลย พยาน และผู้เขียน แต่โจทก์จำเลยยังตกลงกันอีกด้วยว่า บุตรของโจทก์จะต้องเสียเงิน 2,000 บาทให้แก่จำเลย จำเลยจึงจะโอนที่ดินให้และบอกให้ผู้เขียนสัญญาเขียนข้อตกลงนี้ลงในสัญญาในขณะนั้นเองผู้เขียนจึงเขียนข้อตกลงนี้ไว้ใต้ลายมือชื่อที่ได้ลงกันไว้นั้น แล้วผู้เขียนลงลายมือชื่อกำกับข้อความตอนท้ายนี้ไว้คนเดียว ดังนี้ ก็ต้องถือว่าข้อความตอนท้ายนี้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประนีประนอมยอมความ และสัญญานี้มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนด้วย ตราบใดที่ฝ่ายโจทก์ยังไม่ได้ปฏิบัติการชำระหนี้.โดยให้เงินแก่จำเลย 2,000 บาทโจทก์ก็จะฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ยังไม่ได้
ข้อความในสัญญามีว่าโจทก์จะต้องแบ่งครึ่งหนึ่งของที่ดินที่ได้รับให้แก่บุตรโจทก์ด้วยแล้วลงลายมือชื่อโจทก์ จำเลย พยาน และผู้เขียน แต่โจทก์จำเลยยังตกลงกันอีกด้วยว่า บุตรของโจทก์จะต้องเสียเงิน 2,000 บาทให้แก่จำเลย จำเลยจึงจะโอนที่ดินให้และบอกให้ผู้เขียนสัญญาเขียนข้อตกลงนี้ลงในสัญญาในขณะนั้นเองผู้เขียนจึงเขียนข้อตกลงนี้ไว้ใต้ลายมือชื่อที่ได้ลงกันไว้นั้น แล้วผู้เขียนลงลายมือชื่อกำกับข้อความตอนท้ายนี้ไว้คนเดียว ดังนี้ ก็ต้องถือว่าข้อความตอนท้ายนี้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประนีประนอมยอมความ และสัญญานี้มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนด้วย ตราบใดที่ฝ่ายโจทก์ยังไม่ได้ปฏิบัติการชำระหนี้.โดยให้เงินแก่จำเลย 2,000 บาทโจทก์ก็จะฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ยังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914-927/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัย: การไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการแจ้งและสลักหลังกรมธรรม์ประกันภัยเพิ่มเติม ทำให้บริษัทประกันภัยหลุดพ้นความรับผิด
โจทก์เอาประกันภัยไว้กับจำเลย ข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัยมีว่าผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งให้จำเลยทราบถึงการประกันซึ่งได้มีไว้แล้ว หรือซึ่งจะมีขึ้นภายหลังในทรัพย์สินซึ่งเอาประกันรายนี้ และเว้นไว้แต่จะได้มีการแจ้งดังกล่าว และจำเลยหรือผู้แทนได้บันทึกหรือสลักหลังไว้ซึ่งรายการเอาประกันนั้นไว้ในกรมธรรม์ฉบับนี้ก่อนเกิดความพินาศหรือความเสียหาย มิฉะนั้นผลประโยชน์ซึ่งจะได้รับตามกรมธรรม์ฉบับนี้เป็นอันล้มล้างไป ดังนี้ เมื่อโจทก์นำเอาทรัพย์สินที่เอาประกันไว้กับจำเลยนั้นไปเอาประกันภัยไว้กับผู้อื่นเพิ่มขึ้นอีก และแจ้งให้จำเลยทราบเท่านั้น แต่ไม่ได้ไปติดต่อกับจำเลยเพื่อสลักหลังกรมธรรม์ซึ่งรายการประกันภัยเพิ่ม การไม่ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขทั้ง 2 ประการในกรมธรรม์ ย่อมมีผลทำให้จำเลยหลุดพ้นความรับผิดตามที่ได้ตกลงกันไว้หาจำต้องให้จำเลยบอกเลิกสัญญากับโจทก์เสียก่อนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นซองประกวดราคาถือเป็นการยอมรับเงื่อนไข การถอนซองหลังยื่นถือเป็นการผิดสัญญา
การยื่นซองประกวดราคาการก่อสร้างมีเงื่อนไขหลายประการที่โจทก์ (องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย) วางไว้ เมื่อโจทก์ได้ออกประกาศแจ้งความเรียกประกวดราคา ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ายื่นของประกวดราคาต่อโจทก์จึงเท่ากับว่าจำเลยได้ยอมรับที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขของโจทก์ทุกประการ ต่อมาจำเลยยื่นหนังสือต่อโจทก์มีข้อความว่า "เนื่องจากความผิดพลาดในการคิดคำนวณราคาคลาดเคลื่อนและตกหล่นไปบ้างบางรายการ ซึ่งหากไม่เช่นนั้นแล้วข้าพเจ้า (จำเลย) ก็จะต้องเสนอราคาสูงกว่านี้อีกมาก ฯลฯ โดยข้าพเจ้าไม่มีเจตนาแต่อย่างใดเลยและก็เกินแก่การแก้ไขได้ ดังนั้น...ฯลฯ... ขอท่านได้โปรดพิจารณากรุณาผ่อนผันให้ข้าพเจ้าได้สละสิทธิการเสนอราคางานรายนี้ โดยยกเว้นไม่ต้องพิจารณาราคาที่ข้าพเจ้าเสนอในครั้งนี้ เสมือนหนึ่งว่าข้าพเจ้ามิได้ยื่นประกวดราคาครั้งนี้ด้วยแต่อย่างใด...ฯลฯ... "หนังสือของจำเลยดังกล่าวจึงเห็นได้ชัดว่าเป็นหนังสือสละสิทธิการเสนอราคา และขณะเดียวกันก็เป็นหนังสือที่แสดงการขอถอนของประกวดราคาต่อโจทก์ด้วย เพราะมีถ้อยคำว่า "เสมือนหนึ่งว่าข้าพเจ้ามิได้ยื่นประกวดราคาครั้งนี้ด้วยแต่อย่างใด" เงื่อนไขในการยื่นซองประกวดราคาต่อโจทก์ซึ่งกำหนดไว้ว่า ซองของผู้เสนอราคาทุกรายที่ได้ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ขององค์การโทรศัพท์ฯ แล้ว ย่อมถือว่าเป็นสิทธิขององค์การโทรศัพท์ฯ จะถอนคืนไปมิได้ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น และถ้าผู้ใดสละสิทธิการเสนอราคาหรือขอถอนซองประกวดราคาภายหลังยื่นซองประกวดราคาแล้ว ถือว่าผู้นั้นผิดเงื่อนไขการประกวดราคา ซึ่งองค์การโทรศัพท์ฯ จะริบเงินมัดจำตามรายการนี้ได้ทันที
คำฟ้องของโจทก์แม้จะกล่าวว่าฟ้องธนาคารไทยพัฒนา จำกัด สาขาวัดตึกก็ต้องถือว่าโจทก์ฟ้องธนาคารไทยพัฒนา จำกัด นั่นเอง เพราะบริษัทจำกัด นอกจากสำนักงานแห่งใหญ่แล้ว จะมีสำนักงานสาขาที่ใดอีกก็ได้ และสาขาของบริษัทใดก็คือส่วนหนึ่งของบริษัทนั้นนั่นเอง จึงไม่ต้องมีการจดทะเบียนให้สาขาเป็นบริษัทขึ้นอีก
คำฟ้องของโจทก์แม้จะกล่าวว่าฟ้องธนาคารไทยพัฒนา จำกัด สาขาวัดตึกก็ต้องถือว่าโจทก์ฟ้องธนาคารไทยพัฒนา จำกัด นั่นเอง เพราะบริษัทจำกัด นอกจากสำนักงานแห่งใหญ่แล้ว จะมีสำนักงานสาขาที่ใดอีกก็ได้ และสาขาของบริษัทใดก็คือส่วนหนึ่งของบริษัทนั้นนั่นเอง จึงไม่ต้องมีการจดทะเบียนให้สาขาเป็นบริษัทขึ้นอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1893/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้อง: สมบูรณ์แม้มีผู้โอนลงลายมือชื่อเดียว, มีเงื่อนไขก็โอนได้, สุจริตมีค่าตอบแทน
การโอนสิทธิเรียกร้องนั้น เพียงทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนฝ่ายเดียวก็สมบูรณ์.หาจำต้องลงลายมือชื่อผู้รับโอนด้วยไม่. แต่การโอนนั้นจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือลูกหนี้ยินยอมด้วยในการโอน โดยได้ทำคำบอกกล่าวหรือความยินยอมเป็นหนังสือ.
การโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลานั้น ย่อมโอนกันได้ หาต้องห้ามตามกฎหมายไม่. เพราะสิทธิที่โอนมีอยู่อย่างไรเท่าใด ผู้รับโอนก็รับโอนไปเพียงนั้นเท่านั้น.
จำเลยโอนสิทธิที่จะได้รับค่าระวางเรือส่วนลดจากบริษัทเรือให้แก่ธนาคารผู้ร้อง. เพื่อที่จำเลยจะได้เบิกเงินเกินบัญชีจากผู้ร้องต่อไปอีกตามข้อตกลงระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ได้กระทำขึ้นหลังจากที่ผู้ร้องได้แสดงเจตนาจะปิดบัญชีไม่ยอมให้จำเลยเบิก. เพราะจำเลยยังเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีอยู่ถึงหนึ่งล้านบาทเศษ และเกินยอดสูงสุดที่ได้ตกลงกันไว้ก่อน. ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นการโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน.
การโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลานั้น ย่อมโอนกันได้ หาต้องห้ามตามกฎหมายไม่. เพราะสิทธิที่โอนมีอยู่อย่างไรเท่าใด ผู้รับโอนก็รับโอนไปเพียงนั้นเท่านั้น.
จำเลยโอนสิทธิที่จะได้รับค่าระวางเรือส่วนลดจากบริษัทเรือให้แก่ธนาคารผู้ร้อง. เพื่อที่จำเลยจะได้เบิกเงินเกินบัญชีจากผู้ร้องต่อไปอีกตามข้อตกลงระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ได้กระทำขึ้นหลังจากที่ผู้ร้องได้แสดงเจตนาจะปิดบัญชีไม่ยอมให้จำเลยเบิก. เพราะจำเลยยังเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีอยู่ถึงหนึ่งล้านบาทเศษ และเกินยอดสูงสุดที่ได้ตกลงกันไว้ก่อน. ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นการโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาให้ที่ดินมีเงื่อนไข หากผู้รับไม่ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ ผู้ให้มีสิทธิเรียกคืนได้ ศาลฎีกาตัดสินว่าการดำเนินกิจการโรงเรียนเป็นการปฏิบัติตามวัตถุประสงค์แล้ว
สัญญาให้ที่ดินมีความว่า ผู้ให้ยอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้รับ โดยความรักเสน่หา เพื่อวัตถุประสงค์ให้จัดทำเป็นอาคารและสถานศึกษา ถ้าผู้รับไม่ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ ผู้ให้มีสิทธิเรียกที่ดินคืนได้ ดังนี้ การที่ผู้รับดำเนินกิจการโรงเรียนตั้งแต่ได้รับให้เป็นต้นมาจนผู้ให้ถึงแก่กรรมนั้น เป็นการปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของสัญญาให้กรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงพิพาทแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหามีสิทธิฟ้องเรียกคืนที่ดินแปลงพิพาทไม่