พบผลลัพธ์ทั้งหมด 486 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนเช่าช่วง สิทธิหน้าที่โอนได้ แม้ไม่ได้จดทะเบียน
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน ตกลงให้ อ. ปลูกสร้างตึกในที่ดินด้วยทุนทรัพย์ของ อ. โดย อ. ยอมเสียค่าหน้าดินให้โจทก์ และโจทก์ตกลงให้ อ. เช่าตึกดังกล่าวมีกำหนด 8 ปี และให้สิทธิแก่ อ. ให้เช่าช่วงและเรียกเงินช่วยค่าก่อสร้างได้ด้วย เมื่อปลูกสร้างตึกเสร็จ อ. ให้ ญ. เป็นผู้เช่าช่วงห้องรายพิพาท แต่ ญ. โอนสิทธิการเช่าให้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าต่อ อ. จำเลยที่ 1 เสียเงินค่าก่อสร้างให้ อ. โดยมีกำหนดเวลาเช่า 8 ปี ต่อมา อ. โอนหนี้รายนี้ทั้งสิทธิและหน้าที่แก่ น. น. โอนสิทธิต่าง ๆ ที่ได้มาจาก อ. ให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าเช่าห้องรายพิพาทแก่โจทก์ ดังนี้ สัญญาเช่าระหว่าง อ. กับจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นสัญญาเช่าธรรมดา แต่เป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งคู่สัญญาต่างมีสิทธิและหน้าที่จะต้องปฏิบัติ การชำระหนี้ต่อกันตามข้อตกลง อ.ซึ่งได้รับเงินช่วยค่าก่อสร้างจากจำเลยที่ 1 ย่อมมีข้อผูกพันหรือหน้าที่ที่จะให้จำเลยที่ 1 เช่ามีกำหนด 8 ปี แม้จะไม่ได้จดทะเบียนการเช่าก็ตาม สัญญาเช่าระหว่าง อ. กับจำเลยที่ 1 จึงมีผลผูกพันโจทก์ตามระยะเวลาที่ อ. กับจำเลยที่ 1 ตกลงกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิครอบครองที่ดินจากการแสดงเจตนาขายฝาก แม้สัญญาโมฆะ สิทธิครอบครองย่อมตกแก่ผู้รับโอน
ทำหนังสือขายฝากที่ดินมือเปล่าโดยไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มีข้อความว่า ถ้าไม่ไถ่คืนภายใน 1 ปีก็ขาด แม้สัญญาขายฝากนั้นจะเป็นโมฆะก็ตาม แต่ก็เป็นที่เห็นได้ชัดว่า คู่กรณีได้มีเจตนาขายฝากที่พิพาทต่อกันโดยแสดงเจตนาว่า ถ้าไม่ไถ่คืนภายใน 1 ปี ก็ขาด เมื่อผู้ขายฝากมอบสิทธิครอบครองในที่ที่ขายฝากนั้นให้ผู้ซื้อครอบครองตั้งแต่วันขายฝากตลอดมา ก็ถือได้ว่าเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันแสดงเจตนาขายฝาก ผู้ขายยอมสละสิทธิครอบครองซึ่งมีอยู่ในที่ที่ขายฝากให้โจทก์โดยเด็ดขาดตั้งแต่วันนั้นแล้ว
ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า เจ้าของมีแต่เพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น การโอนไปซึ่งการครอบครองย่อมโอนไปได้โดยการส่งมอบทรัพย์ที่ครอบครอง.
ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า เจ้าของมีแต่เพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น การโอนไปซึ่งการครอบครองย่อมโอนไปได้โดยการส่งมอบทรัพย์ที่ครอบครอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า แม้เป็นสามีภรรยาก็ไม่สามารถอ้างสิทธิร่วมกันได้
สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่าแต่ผู้เดียว แม้ภรรยาจะเป็นผู้เช่า สามีก็เป็นบุคคลภายนอก จะเข้ามามีสิทธิด้วยตามสัญญาเช่าไม่ได้ และถือไม่ได้ว่าสามีหรือภรรยาซึ่งลงชื่อในสัญญาเช่า ได้ทำการเพื่อทั้งสองฝ่าย
แม้จะถือว่าสิทธิการเช่าเป็นทรัพย์สิน แต่ก็เป็นสิทธิตามสัญญาอันเป็นสิทธิเฉพาะตัว การโอนสิทธิการเช่าของภรรยาให้แก่บุคคลอื่น ย่อมเป็นสิทธิของภรรยาแต่ผู้เดียวไม่ต้องรับความยินยอมจากสามี
แม้จะถือว่าสิทธิการเช่าเป็นทรัพย์สิน แต่ก็เป็นสิทธิตามสัญญาอันเป็นสิทธิเฉพาะตัว การโอนสิทธิการเช่าของภรรยาให้แก่บุคคลอื่น ย่อมเป็นสิทธิของภรรยาแต่ผู้เดียวไม่ต้องรับความยินยอมจากสามี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าระงับเมื่อทรัพย์สินถูกทำลาย และผลของการชดเชยค่าเสียหายด้วยการโอนสิทธิครอบครอง
เมื่อตึกแถวซึ่งเป็นวัตถุแห่งการเช่าซึ่งโจทก์เช่าจากจำเลยถูกเพลิงไหม้หมดสิ้นสัญญาเช่าก็ย่อมระงับไป
เมื่อการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็ไม่ได้ลูกหนี้ก็หามีสิทธิรับชำระหนี้ตอบแทนไม่
เมื่อจำเลยผู้ให้เช่าให้การต่อสู้คดีไว้อีกว่าหลังจากเกิดเพลิงไหม้ตึกแถวแล้วโจทก์ได้ให้จำเลยโอนสิทธิการครอบครองพื้นที่จัดสร้างอาคารในบริเวณตลาดชั่วคราวของจำเลยให้โจทก์เป็นผู้ใช้ประโยชน์เป็นการชดเชยตึกแถวที่เช่าช่วงที่ถูกเพลิงไหม้ จำเลยก็ยอมตามที่โจทก์เรียกร้อง โจทก์ได้ครอบครองที่ดินใช้ประโยชน์ปลูกสร้างตลาดชั่วคราว จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินค่าเช่าคืนหรือค่าเสียหายใดๆจากจำเลยได้ เป็นประเด็นอีกประเด็นหนึ่ง จึงจำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไป
เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงที่ศาลฎีกาจะรับฟังมาวินิจฉัยข้อกฎหมายได้ อาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ข้อ 3(ข) ประกอบมาตรา 247 ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาของศาลล่าง ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานต่อไปได้
เมื่อการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็ไม่ได้ลูกหนี้ก็หามีสิทธิรับชำระหนี้ตอบแทนไม่
เมื่อจำเลยผู้ให้เช่าให้การต่อสู้คดีไว้อีกว่าหลังจากเกิดเพลิงไหม้ตึกแถวแล้วโจทก์ได้ให้จำเลยโอนสิทธิการครอบครองพื้นที่จัดสร้างอาคารในบริเวณตลาดชั่วคราวของจำเลยให้โจทก์เป็นผู้ใช้ประโยชน์เป็นการชดเชยตึกแถวที่เช่าช่วงที่ถูกเพลิงไหม้ จำเลยก็ยอมตามที่โจทก์เรียกร้อง โจทก์ได้ครอบครองที่ดินใช้ประโยชน์ปลูกสร้างตลาดชั่วคราว จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินค่าเช่าคืนหรือค่าเสียหายใดๆจากจำเลยได้ เป็นประเด็นอีกประเด็นหนึ่ง จึงจำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไป
เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงที่ศาลฎีกาจะรับฟังมาวินิจฉัยข้อกฎหมายได้ อาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ข้อ 3(ข) ประกอบมาตรา 247 ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาของศาลล่าง ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1002/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าผสมสัญญาต่างตอบแทน การโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าแก่ผู้ซื้อ
ปัญหาที่ว่า ผู้ให้เช่าเพิ่งมาขีดฆ่าข้อความในสัญญาเช่าฉบับของจำเลยภายหลังที่ผู้ให้เช่าขายตึกพิพาทให้โจทก์แล้วนั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
การที่จำเลยนำสืบว่าได้ออกเงินช่วยค่าก่อสร้างให้แก่ผู้ให้เช่าอันจะพึงถือว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนนั้น เป็นการนำสืบถึงเหตุที่ทำให้จำเลยมีสิทธิในการเช่านานถึง 15 ปี เพราะจำเลยได้ออกเงินช่วยค่าก่อสร้างตึกพิพาทเป็นการตอบแทนจึงเท่ากับเป็นการนำสืบหักล้างว่าสัญญาเช่านั้นไม่ใช่สัญญาเช่าธรรมดา แต่เป็นสัญญาต่างตอบแทน ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 94 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
สัญญาต่างตอบแทนเป็นสัญญาที่กฎหมายไม่บังคับไม่ต้องมีเอกสารมาแสดงหรือบังคับให้จดทะเบียนแต่อย่างใด
เมื่อผู้ให้เช่าโอนขายตึกพิพาทให้โจทก์และได้บอกให้ทราบว่าผู้เช่าได้ออกเงินช่วยค่าก่อสร้างโจทก์จะต้องให้ผู้เช่าได้อยู่จนครบกำหนด 15 ปี อย่าขับไล่ มิฉะนั้นจะไม่ยอมขาย และโจทก์ก็ตกลงด้วย เช่นนี้ กรณีที่โจทก์ยอมรับข้อผูกพันที่ผู้ให้เช่ามีต่อผู้เช่า เท่ากับว่าโจทก์ได้ทำสัญญาตกลงจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอก เมื่อจำเลยคงถือตามสัญญาเช่าเดิม และได้ชำระค่าเช่าให้ทุกเดือน จึงเป็นการแสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญาตามมาตรา 374 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว คู่สัญญาหาอาจเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่ ตามมาตรา 375 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2509)
การที่จำเลยนำสืบว่าได้ออกเงินช่วยค่าก่อสร้างให้แก่ผู้ให้เช่าอันจะพึงถือว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนนั้น เป็นการนำสืบถึงเหตุที่ทำให้จำเลยมีสิทธิในการเช่านานถึง 15 ปี เพราะจำเลยได้ออกเงินช่วยค่าก่อสร้างตึกพิพาทเป็นการตอบแทนจึงเท่ากับเป็นการนำสืบหักล้างว่าสัญญาเช่านั้นไม่ใช่สัญญาเช่าธรรมดา แต่เป็นสัญญาต่างตอบแทน ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 94 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
สัญญาต่างตอบแทนเป็นสัญญาที่กฎหมายไม่บังคับไม่ต้องมีเอกสารมาแสดงหรือบังคับให้จดทะเบียนแต่อย่างใด
เมื่อผู้ให้เช่าโอนขายตึกพิพาทให้โจทก์และได้บอกให้ทราบว่าผู้เช่าได้ออกเงินช่วยค่าก่อสร้างโจทก์จะต้องให้ผู้เช่าได้อยู่จนครบกำหนด 15 ปี อย่าขับไล่ มิฉะนั้นจะไม่ยอมขาย และโจทก์ก็ตกลงด้วย เช่นนี้ กรณีที่โจทก์ยอมรับข้อผูกพันที่ผู้ให้เช่ามีต่อผู้เช่า เท่ากับว่าโจทก์ได้ทำสัญญาตกลงจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอก เมื่อจำเลยคงถือตามสัญญาเช่าเดิม และได้ชำระค่าเช่าให้ทุกเดือน จึงเป็นการแสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญาตามมาตรา 374 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว คู่สัญญาหาอาจเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่ ตามมาตรา 375 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าเป็นสินสมรส การโอนสิทธิการเช่าต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า สามีไม่สามารถบอกเลิกการโอนได้
สิทธิการเช่าซึ่งได้แก่สิทธิที่จะได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่าซึ่งหญิงมีสามีได้มาระหว่างสมรส ย่อมเป็นสินบริคณห์ ซึ่งภรรยาถ้าทำการผูกพันสิทธิการเช่าโดยมิได้รับอนุญาตจากสามีแล้ว สามีอาจบอกล้างเสียได้ แต่จะต้องไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ให้เช่าด้วย เพราะสิทธิการเช่าจะต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมาย และสัญญาเช่า
การที่ภรรยาซึ่งเป็นผู้เช่าได้สิทธิการเช่ามาในระหว่างสมรส และโอนสิทธิการเช่าให้บุคคลอื่นโดยผู้ให้เช่ายินยอมด้วย ในเมื่อการเช่าทรัพย์เป็นสิทธิเฉพาะตัว ถ้าภรรยาซึ่งเป็นผู้เช่าบอกเลิกสัญญาเช่านั้นไม่ได้ ฉะนั้น สามีย่อมจะบอกล้างการโอนการเช่าดังกล่าวเพื่อให้กลับมีสภาพคงคืนตามสัญญาเช่าเดิมก็ไม่ได้ดุจกัน
การที่ภรรยาซึ่งเป็นผู้เช่าได้สิทธิการเช่ามาในระหว่างสมรส และโอนสิทธิการเช่าให้บุคคลอื่นโดยผู้ให้เช่ายินยอมด้วย ในเมื่อการเช่าทรัพย์เป็นสิทธิเฉพาะตัว ถ้าภรรยาซึ่งเป็นผู้เช่าบอกเลิกสัญญาเช่านั้นไม่ได้ ฉะนั้น สามีย่อมจะบอกล้างการโอนการเช่าดังกล่าวเพื่อให้กลับมีสภาพคงคืนตามสัญญาเช่าเดิมก็ไม่ได้ดุจกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าเมื่อมีการซื้อฝากและตัวแทนเชิด ศาลพิจารณาถึงผลผูกพันของสัญญาเช่าต่อผู้รับซื้อฝาก
จำเลยบอกเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์ โจทก์มีหนังสือยอมตกลงเลิกสัญญาเช่ากับจำเลย ถือว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับแล้ว
จำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 1 เป็นแม่ลูกกันและอยู่บ้านเดียวกัน จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาให้เช่าตึกแถวซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ และจำเลยที่ 1 ได้ยอมตนผูกพันและปฏิบัติตนตามสัญญาเช่าที่จำเลยที่ 2 ทำกับผู้เช่า ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนไปทำสัญญาเช่ากับผู้เช่า สัญญาเช่านั้นจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย
โจทก์รับซื้อฝากตึกพิพาทจากจำเลย ทั้ง ๆ ที่รู้ดีแล้วว่าตึกพิพาทนั้นจำเลยได้ให้คนเช่าอยู่ โจทก์จึงต้องรับโอนตึกพิพาทนั้นไปทั้งสิทธิและหน้าที่ สัญญาเช่าจึงมีผลผูกพันโจทก์ด้วย เมื่อยังไม่ครบกำหนดตามสัญญาเช่าโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้เช่า
เมื่อจำเลยต่อสู้ว่า จำเลยทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 2 และมีผลผูกพันโจทก์ สัญญาเช่านั้นมีผลผูกพันโจทก์หรือไม่ ศาลจะต้องวินิจฉัยถึงมูลฐานซึ่งเป็นต้นเหตุให้จำเลยที่ 2 ไปทำสัญญาเช่า การที่ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 2 ให้ไปทำสัญญาเช่าจึงไม่เป็นเรื่องนอกประเด็น
โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยออกไปจากทรัพย์พิพาท ปรากฏว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยระงับแล้ว และจำเลยมิได้เกี่ยวข้องกับทรัพย์พิพาท ก็ไม่จำต้องพิพากษาบังคับ.
จำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 1 เป็นแม่ลูกกันและอยู่บ้านเดียวกัน จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาให้เช่าตึกแถวซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ และจำเลยที่ 1 ได้ยอมตนผูกพันและปฏิบัติตนตามสัญญาเช่าที่จำเลยที่ 2 ทำกับผู้เช่า ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนไปทำสัญญาเช่ากับผู้เช่า สัญญาเช่านั้นจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย
โจทก์รับซื้อฝากตึกพิพาทจากจำเลย ทั้ง ๆ ที่รู้ดีแล้วว่าตึกพิพาทนั้นจำเลยได้ให้คนเช่าอยู่ โจทก์จึงต้องรับโอนตึกพิพาทนั้นไปทั้งสิทธิและหน้าที่ สัญญาเช่าจึงมีผลผูกพันโจทก์ด้วย เมื่อยังไม่ครบกำหนดตามสัญญาเช่าโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้เช่า
เมื่อจำเลยต่อสู้ว่า จำเลยทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 2 และมีผลผูกพันโจทก์ สัญญาเช่านั้นมีผลผูกพันโจทก์หรือไม่ ศาลจะต้องวินิจฉัยถึงมูลฐานซึ่งเป็นต้นเหตุให้จำเลยที่ 2 ไปทำสัญญาเช่า การที่ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 2 ให้ไปทำสัญญาเช่าจึงไม่เป็นเรื่องนอกประเด็น
โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยออกไปจากทรัพย์พิพาท ปรากฏว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยระงับแล้ว และจำเลยมิได้เกี่ยวข้องกับทรัพย์พิพาท ก็ไม่จำต้องพิพากษาบังคับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมคบกันแสดงเจตนาลวง ทำสัญญาไม่สุจริต เพื่อขัดขวางการโอนสิทธิในที่ดิน และการทำสัญญาโดยมิได้เป็นหนี้จริง
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์แล้ว จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาแบ่งซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยให้ราคาสูงกว่า แล้วจำเลยที่ 2 สมยอมกันทำสัญญายอมความเพื่อให้จำเลยที่ 2 ใช้สิทธิอันไม่สุจริตนำสัญญาไปฟ้องศาลเพื่อขายทอดตลาด อันเป็นเหตุให้โจทกืบังคับคดีไม่ได้ เมื่อโจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 3 สมยอมกับจำเลยที่ 1 ทำหลักฐานแห่งหนี้ขึ้นฟ้องจำเลยที่ 1 โดยมิได้เป็นหนี้กันจริง แล้วยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินที่จะได้จากการขายทอดตลาดที่ดินแปลงนี้ การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ในคดีแพ่งแดงที่ 107/2503 จำเลยที่ 2 นำยึดที่พิพาทเพื่อขายทอดตลาด โจทก์ข้องขัดทรัพย์ว่าที่พิพาทเป็นของโจทกื อ้างว่าโจทก์อยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิที่พิพาทได้ก่อนจำเลยที่ 2 ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยทั้ง 3 สมคบกันแสดงเจตนาลวง โดยจำเลยที่ 2 ใช้เล่ห์เพทุบายแย่งซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 และทำสัญญายอมความกันโดยไม่สุจริต เพื่อยึดที่พิพาทมาขายทอดตลาด ขอให้ศาลเพิกถอนสัญญายอมที่นำมาฟ้อง สภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตลอดจนคำขอบังคับเป็นคนละอย่างต่างกัน ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำฟ้องของโจทก์บรรยายถึงการกระทำของจำเลยทั้ง 3 ว่า ได้สมคบกันแสดงเจตนาลวง ทำสัญญาขึ้นโดยไม่สุจริต เพื่อขัดขวางมิให้โจทก์ได้รับโอนที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 ในเมื่อโจทกืชนะคดีจำเลยที่ 1 เป็นการเพียงพอจะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม.
ในคดีแพ่งแดงที่ 107/2503 จำเลยที่ 2 นำยึดที่พิพาทเพื่อขายทอดตลาด โจทก์ข้องขัดทรัพย์ว่าที่พิพาทเป็นของโจทกื อ้างว่าโจทก์อยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิที่พิพาทได้ก่อนจำเลยที่ 2 ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยทั้ง 3 สมคบกันแสดงเจตนาลวง โดยจำเลยที่ 2 ใช้เล่ห์เพทุบายแย่งซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 และทำสัญญายอมความกันโดยไม่สุจริต เพื่อยึดที่พิพาทมาขายทอดตลาด ขอให้ศาลเพิกถอนสัญญายอมที่นำมาฟ้อง สภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตลอดจนคำขอบังคับเป็นคนละอย่างต่างกัน ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำฟ้องของโจทก์บรรยายถึงการกระทำของจำเลยทั้ง 3 ว่า ได้สมคบกันแสดงเจตนาลวง ทำสัญญาขึ้นโดยไม่สุจริต เพื่อขัดขวางมิให้โจทก์ได้รับโอนที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 ในเมื่อโจทกืชนะคดีจำเลยที่ 1 เป็นการเพียงพอจะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 843/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ตามอายุความครอบครองปรปักษ์ และผลของการโอนสิทธิโดยไม่สุจริต
จำเลยครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของโดยสงบและเปิดเผยมากว่า 10 ปี จำเลยจึงเป็นผู้ได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยมิได้เสียค่าตอบแทนและการโอนรับมรดกของโจทก์มีพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าโจทก์ได้กระทำไปโดยไม่สุจริต ถึงแม้โจทก์จะได้รับโอนมาทางทะเบียน โจทก์ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท
ข้อที่จำเลยขอให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์นั้น เป็นเรื่องพิมพ์ผิดพลาด เมื่ออ่านคำให้การของจำเลยโดยตลอดแล้ว ถือได้ว่าจำเลยขอให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลย
โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยมิได้เสียค่าตอบแทนและการโอนรับมรดกของโจทก์มีพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าโจทก์ได้กระทำไปโดยไม่สุจริต ถึงแม้โจทก์จะได้รับโอนมาทางทะเบียน โจทก์ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท
ข้อที่จำเลยขอให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์นั้น เป็นเรื่องพิมพ์ผิดพลาด เมื่ออ่านคำให้การของจำเลยโดยตลอดแล้ว ถือได้ว่าจำเลยขอให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 843/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์และผลของการโอนสิทธิโดยไม่สุจริต
จำเลยครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของโดยสงบและเปิดเผยมากว่า 10 ปีจำเลยจึงเป็นผู้ได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
โจทก์รับโอนที่พิพาทมาโดยมิได้เสียค่าตอบแทนและการโอนรับมรดกของโจทก์มีพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าโจทก์ได้กระทำไปโดยไม่สุจริตถึงแม้โจทก์จะได้รับ โอนมาทางทะเบียนโจทก์ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท
ข้อที่จำเลยขอให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์นั้นเป็นเรื่องพิมพ์ผิดพลาดเมื่ออ่านคำให้การของจำเลยโดยตลอดแล้วถือได้ว่าจำเลยขอให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลย
โจทก์รับโอนที่พิพาทมาโดยมิได้เสียค่าตอบแทนและการโอนรับมรดกของโจทก์มีพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าโจทก์ได้กระทำไปโดยไม่สุจริตถึงแม้โจทก์จะได้รับ โอนมาทางทะเบียนโจทก์ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท
ข้อที่จำเลยขอให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์นั้นเป็นเรื่องพิมพ์ผิดพลาดเมื่ออ่านคำให้การของจำเลยโดยตลอดแล้วถือได้ว่าจำเลยขอให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลย