คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อุทธรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,483 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4875/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองประโยชน์ระหว่างอุทธรณ์ในคดีครอบครองปรปักษ์ ศาลฎีกายืนคำสั่งยกคำร้องคุ้มครองประโยชน์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินของผู้ร้อง แม้ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว หากศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งให้รับคำร้องขอ คดีก็ต้องกลับไปสู่ศาลชั้นต้นเพื่อพิจารณาและมีคำสั่งต่อไป ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่อาจมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามคำขอท้ายคำร้องขอของผู้ร้องได้ ทั้งการสั่งห้ามจำหน่าย จ่าย โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามคำร้องขออาจกระทบต่อสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความในคดี กรณีจึงยังไม่มีเหตุจะสั่งให้คุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องในระหว่างอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4868/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาที่ต้องห้ามตามกฎหมาย: บริวารในคดีขับไล่และอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
คดีเดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสี่พร้อมบริวารออกจากที่ดินพิพาท พร้อมกับเรียกค่าเสียหายเนื่องจากขาดประโยชน์จากการนำที่ดินพิพาทออกให้เช่า แม้จำเลยทั้งสี่จะให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ แต่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 เช่าที่ดินพิพาทของโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 อยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1 และพิพากษาให้ขับไล่จำเลยทั้งสี่พร้อมบริวารออกจากที่ดินพิพาทพร้อมกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เดือนละ 300 บาท จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ฎีกา แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 และศาลฎีกายกอุทธรณ์และฎีกาของจำเลยทั้งสี่ตามลำดับ เนื่องจากเป็นอุทธรณ์และฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท คู่ความในคดีดังกล่าวจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง
เมื่อคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับแก่บริวารของจำเลยทั้งสี่ผู้ถูกฟ้องขับไล่และศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ขับไล่ผู้ร้องในฐานะบริวารของจำเลยทั้งสี่ออกจากที่ดินพิพาท ผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสาม ผู้ร้องฎีกาว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องมิใช่บริวารของจำเลยทั้งสี่ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 474/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่วางค่าขึ้นศาลทำให้คำร้องขอทำคดีอนาถาเป็นอันตก และอุทธรณ์ไม่อาจพิจารณาได้
จำเลยอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาล ศาลชั้นต้นอนุญาต แต่จำเลยไม่วางเงินภายในกำหนด หลังจากนั้นจำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องพร้อมกับมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ แต่มิได้ดำเนินการทำให้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง และมาตรา 234 เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยไม่อาจขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้แล้ว จำเลยก็ไม่อาจขอดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอพิจารณาคำขออุทธรณ์ใหม่ vs. การอุทธรณ์คำสั่งศาล - เลือกใช้สิทธิทางกฎหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลย หากจำเลยไม่พอใจย่อมมีสิทธิที่จะดำเนินการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ หรือวรรคห้าโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจน หรืออุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ซึ่งแม้มีสิทธิที่จะเลือกดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งได้ แต่เมื่อจำเลยได้เลือกอุทธรณ์คำสั่งตามมาตรา 156 วรรคห้าแล้ว จำเลยจะกลับมาขอให้ศาลพิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตามมาตรา 156 วรรคสี่ อีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 457/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายต้องส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยคัดค้านก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ
โจทก์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นและยื่นคำร้องขออุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์คำสั่งว่า "รับฎีกาคำสั่ง สำเนาให้จำเลย ให้โจทก์นำส่ง การส่งไม่มีผู้รับให้ปิดหมาย" และสั่งในคำร้องขออุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่า "อนุญาต" โดยไม่ได้สั่งให้ส่งสำเนาคำร้องแก่จำเลย ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ดังกล่าวแก่จำเลยอุทธรณ์เพื่อให้จำเลยอุทธรณ์มีโอกาสคัดค้านก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4493/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ที่เกินกำหนดระยะเวลา 15 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย โดยจำเลยยื่นอุทธรณ์วันที่ 20 กรกฎาคม 2548 และท้ายอุทธรณ์มีข้อความว่า รอฟังคำสั่งอยู่ แต่ไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยในวันเดียวกันกับที่จำเลยยื่นอุทธรณ์ ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์นั้น จำเลยต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 แต่จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2548 เกินกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ และเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย โดยเห็นว่าจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่ง คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 6 ดังกล่าวจึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 6 ที่ให้เป็นที่สุดนั้น ไม่จำต้องคำนึงว่าในการมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวจะต้องเป็นกรณีวินิจฉัยเฉพาะเนื้อหาอุทธรณ์เท่านั้น เพราะการที่ศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์อาจมาจากสาเหตุอื่น โดยไม่ต้องวินิจฉัยเนื้อหาอุทธรณ์ว่าต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ก็ได้ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 6 จึงเป็นอันถังที่สุดตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งฎีกาคำสั่งของจำเลยมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยนั้นเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4437/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ การขยายเวลา และสาธารณสมบัติของแผ่นดิน: อำนาจฟ้องคดีเช่าที่ดิน
การอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเป็นสิทธิของคู่ความแต่ละคนที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อประโยชน์แก่คดีของตน การขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อันเป็นกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งเมื่อได้กระทำโดยคู่ความร่วมคนหนึ่งย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ของคู่ความร่วมคนนั้นไม่มีผลไปถึงคู่ความร่วมคนอื่นที่มิได้ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ด้วย กรณีมิใช่เรื่องที่จะนำมาตรา 59 (1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับได้
โจทก์ที่ 1 ลงชื่อในคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เพียงคนเดียว และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แก่โจทก์ที่ 1 จึงเป็นประโยชน์แก่โจทก์ที่ 1 แต่เพียงผู้เดียวที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยาย แม้โจทก์ทั้งสองได้แต่งตั้งทนายความคนเดียวกันให้มีอำนาจอุทธรณ์และทนายโจทก์ทั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์ภายในระยะเวลายื่นอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นขยายให้ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 ที่มิได้ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไว้ ย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์
ส. บิดาโจทก์ทั้งสองได้อุทิศที่ดินพิพาทให้แก่มัสยิดเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอิสลาม ต่อมาได้มีการก่อสร้างมัสยิดลงบนที่ดินดังกล่าวรวมทั้งบางส่วนได้ทำเป็นสุสานฝังศพผู้นับถือศาสนาอิสลาม การอุทิศที่ดินรวมทั้งที่ดินพิพาทเป็นการอุทิศเพื่อประโยชน์แก่ชาวบ้านผู้นับถือศาสนาอิสลามหรืออิสลามนิกชนโดยทั่วไป มิได้จำกัดแต่เพียงเพื่อประโยชน์แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือคณะบุคคลใดคณะบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ ถือได้ว่าที่ดินดังกล่าวตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันนับแต่เวลาที่อุทิศแล้ว แม้โจทก์ทั้งสองจะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินดังกล่าว โจทก์ทั้งสองก็ไม่มีอำนาจนำที่ดินดังกล่าวรวมทั้งที่ดินพิพาทให้จำเลยเช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4311/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย และการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกประเด็น
คดีฟ้องขับไล่จำเลยในฐานะผู้เช่าออกจากที่ดินอันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องเพียงปีละ 100 บาท ไม่มีการต่อสู้กรรมสิทธิ์ อุทธรณ์และฎีกาของจำเลยเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นถึงพฤติการณ์แห่งคดีว่ามีเหตุให้งดการบังคับคดีไว้ได้หรือไม่เพียงใด จึงเป็นอุทธรณ์และฎีกาในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4074/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีฟอกเงิน: การดำเนินคดีแพ่ง, หน้าที่นำส่งสำเนาอุทธรณ์, และการสั่งค่าฤชาธรรมเนียม
การดำเนินคดีเกี่ยวกับการร้องขอให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดินซึ่งเป็นคดีแพ่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 59 บังคับให้ยื่นต่อศาลแพ่ง และจะต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับในการดำเนินกระบวนพิจารณา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านนำส่งสำเนาอุทธรณ์ ผู้คัดค้านจึงมีหน้าที่ดำเนินการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 59 วรรคสอง ให้พนักงานอัยการได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงในการดำเนินคดีเกี่ยวกับการร้องขอให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดิน แต่เมื่อถือว่าเป็นคดีแพ่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินโดยไม่ได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมจึงไม่ชอบ เพราะแม้ไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดและแม้จะให้เป็นพับกันไป ก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742-3743/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายเพื่ออุทธรณ์มติ คชก. ถือเป็นเหตุอันสมควร ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
การจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 62 การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมติ คชก.ตำบล หรือ คชก.จังหวัด ที่ห้ามมิให้ผู้นั้นขัดขวางการทำนาของผู้มีสิทธิในนาหรือที่ให้ผู้นั้นออกจากนาจะต้องไม่มีเหตุอันสมควร แต่ คชก.ตำบล มีหนังสือแจ้งมติให้จำเลยทราบ ซึ่งจำเลยก็ยังโต้แย้งอยู่ว่าไม่ได้รับหนังสือดังกล่าว แต่ภายหลัง ว. ผู้เสียหายกลับไปร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลย ทั้งที่วันดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างที่จำเลยจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ต่อ คชก.จังหวัดได้ และจำเลยก็ได้อุทธรณ์โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อประธาน คชก.ตำบล ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 56 วรรคแรก และหลังจาก คชก.จังหวัด มีคำวินิจฉัยยืนตามมติ คชก.ตำบลแล้ว จำเลยก็ยังได้ยื่นฟ้องต่อศาล แสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ การที่จำเลยยังไม่ออกจากที่นาพิพาทจึงเป็นกรณีมีเหตุอันสมควร การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด
of 349