พบผลลัพธ์ทั้งหมด 392 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่: ความผิดตามกฎหมายอาญา
ฆ่าเจ้าพนักงานประจำหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่และการทำร้ายร่างกายธรรมดา ความผิดตามกฎหมายอาญา
ทำร้ายเจ้าพนักงานทำการตามหน้าที่ วิธีพิจารณาอาญา ปลัดอำเภอซึ่งขณะออกไปตรวจจับผู้ร้ายเป็นเจ้าพนักงานทำการตามหน้าที่ พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์ ศาลเดิมลงโทษ 7 ปี ฐานทำร้ายเจ้าพนักงานสาหัสตาม ม.257 ศาลอุทธรณ์แก้ว่าทำร้ายคนธรรมดาไม่สาหัสตาม ม.254 จำคุก 2 ปี ฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการลงโทษเรียงกะทงตามกฎหมายอาญา
อำนาจศาลที่จะลงโทษเรียงกะทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 796/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรุนแรงทางกายภาพระดับใดเข้าข่าย 'บาดเจ็บ' ตามกฎหมายอาญา
ชิงทรัพย์เพียงหนังถลอกโลหิตซึบเท่านั้นไม่นับว่าถึงบาดเจ็บ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8660/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์: การกระทำผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์และการทำซ้ำ จำเป็นต้องลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุดตามกฎหมายอาญา
การกระทำที่จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 78 ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง และมาตรา 81 ประกอบมาตรา 47 วรรคหนึ่ง ผู้กระทำความผิดต้องมีหน้าที่นำภาพยนตร์และวีดิทัศน์ที่จะนำออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายในราชอาณาจักรไปผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ก่อน แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ดังกล่าว การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายฟ้องย่อมไม่อาจเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 25 วรรคหนึ่ง และมาตรา 47 วรรคหนึ่ง อันจะเป็นความผิดตามมาตรา 78 และมาตรา 81 ได้ ฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานนี้จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบ แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานนี้ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำซ้ำ ดัดแปลง โดยผลิตแผ่นดีวีดี วีซีดี และเอ็มพี 3 งานดนตรีกรรม ภาพยนตร์ วีดิทัศน์ สิ่งบันทึกเสียง และโสตทัศนวัสดุของผู้เสียหายทั้งยี่สิบสี่โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายทั้งยี่สิบสี่ แล้วนำออกขาย เสนอขาย และมีไว้เพื่อขายแก่บุคคลทั่วไปอันเป็นการกระทำเพื่อแสวงหากำไรในทางการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่างานดังกล่าวเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายทั้งยี่สิบสี่และโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายทั้งยี่สิบสี่ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (1) และ 28 (1) กับความผิดตามมาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องรวมกันมาในข้อเดียวกัน แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษเป็นกรรมเดียว จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (1) และ 28 (1) ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90 ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) เท่านั้น ไม่ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำซ้ำ ดัดแปลง โดยผลิตแผ่นดีวีดี วีซีดี และเอ็มพี 3 งานดนตรีกรรม ภาพยนตร์ วีดิทัศน์ สิ่งบันทึกเสียง และโสตทัศนวัสดุของผู้เสียหายทั้งยี่สิบสี่โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายทั้งยี่สิบสี่ แล้วนำออกขาย เสนอขาย และมีไว้เพื่อขายแก่บุคคลทั่วไปอันเป็นการกระทำเพื่อแสวงหากำไรในทางการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่างานดังกล่าวเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายทั้งยี่สิบสี่และโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายทั้งยี่สิบสี่ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (1) และ 28 (1) กับความผิดตามมาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องรวมกันมาในข้อเดียวกัน แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษเป็นกรรมเดียว จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (1) และ 28 (1) ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90 ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) เท่านั้น ไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4347/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะเจ้าพนักงาน: ลูกจ้างเทศบาลไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญา ต้องลงโทษในฐานะผู้สนับสนุน
จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างประจำ ตำแหน่งนักการ เทศบาลตำบลจักราช มิใช่ข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งหรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ซึ่งมีกฎหมายระบุไว้โดยเฉพาะให้ถือเป็นเจ้าพนักงาน จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมาย เนื่องจาก ป.อ. มาตรา 147, 151, 161 เป็นบทบัญญัติที่ลงโทษแก่บุคคลผู้กระทำความผิดที่เป็นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่เท่านั้น แม้จำเลยที่ 2 จะร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดต่อบทบัญญัติดังกล่าว ก็จะลงโทษจำเลยที่ 2 อย่างเจ้าพนักงานไม่ได้ คงลงโทษจำเลยที่ 2 ได้แต่เพียงในฐานะผู้สนับสนุนตาม ป.อ. มาตรา 86 เท่านั้น ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14921/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปรับบทลงโทษอาญา: เลือกใช้กฎหมายที่มีโทษปรับสูงกว่า แม้ศาลไม่ได้ลงโทษปรับ
ป.อ. มาตรา 282 วรรคแรก มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท ส่วน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท แม้ความผิดทั้งสองฐานจะมีระวางโทษจำคุกเท่ากัน แต่ความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ดังนี้ ความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง จึงมีระวางโทษปรับหนักกว่าความผิดตาม ป.อ. มาตรา 282 วรรคแรก แม้ศาลไม่ได้ลงโทษปรับจำเลยทั้งสองก็ตาม เมื่อความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง เป็นกฎหมายบทที่มีโทษปรับหนักกว่าความผิดตาม ป.อ. มาตรา 282 วรรคแรก ศาลจึงต้องใช้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดปรับบทลงโทษแก่จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12315/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินของบุคคลที่มิได้กระทำผิด: หลักการและข้อยกเว้นตามกฎหมายอาญาและป่าสงวน
กฎหมายที่มีโทษทางอาญา เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติ การริบทรัพย์สินเป็นโทษทางอาญาประการหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 18 (5) ดังนั้น การริบทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นที่มิได้กระทำความผิด ย่อมมีผลเท่ากับลงโทษผู้ที่มิได้กระทำความผิดซึ่งกระทำมิได้ แม้ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 35 ที่โจทก์อ้างบัญญัติให้ริบเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ หรือเครื่องจักรกลใด ๆ ซึ่งบุคคลใช้หรือได้มาโดยการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่คำนึงว่าเป็นของผู้กระทำความผิด หรือมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ก็มิได้มีบทบัญญัติบังคับให้กระทำเช่นนั้นเพียงแต่ให้ริบเสียก่อนเท่านั้น ส่วนการขอคืนทรัพย์สินที่ถูกริบย่อมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา อันเป็นหลักทั่วไป ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถไถของกลางและไม่รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด จึงให้คืนของกลางแก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6368/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและกระสุนปืน แม้ใช้ร่วมกันได้ ก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
การมีอาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 55, 78 วรรคหนึ่ง ส่วนการมีกระสุนปืนที่สามารถใช้ร่วมกันได้ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นความผิดตามมาตรา 7, 72 วรรคหนึ่ง การที่กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตรา ย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่ามีความประสงค์จะแยกความผิดสองฐานนี้ออกจากกัน แม้ว่าจำเลยจะมีอาวุธปืนและกระสุนปืนไว้ในครอบครองในเวลาเดียวกัน อาวุธปืนและกระสุนปืนใช้ร่วมกันได้ การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้องจึงไม่อาจแก้ไขให้เรียงกระทงลงโทษในส่วนนี้ได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้กฎหมายอาญาที่แก้ไขใหม่หลังคดีถึงที่สุด จำเลยต้องใช้สิทธิคัดค้านในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาเท่านั้น
ตาม ป.อ. มาตรา 3 แบ่งการบังคับใช้กฎหมายได้ 2 กรณีคือ กรณีที่คดียังอยู่ระหว่างการพิจารณา ศาลมีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย หากศาลบังคับใช้แล้ว คู่ความไม่เห็นด้วยต้องอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านไปยังศาลสูง ส่วนอีกกรณีหนึ่งตามมาตรา 3 (1) กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับใช้เมื่อคดีถึงที่สุดไปแล้ว คดีของจำเลยที่ 1 เข้ากรณีแรก เนื่องจากกฎหมายแก้ไขใหม่ขณะคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาว่ากฎหมายใหม่ไม่เป็นคุณ คงใช้กฎหมายขณะกระทำความผิด หากจำเลยที่ 1 ไม่เห็นด้วยก็ต้องฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ฎีกา จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิร้องขอให้พิจารณาได้อีก เพราะกรณีตามมาตรา 3 (1) เป็นกรณีที่คดีถึงที่สุดก่อนที่จะมีกฎหมายแก้ไขใหม่ออกบังคับใช้ คำร้องของจำเลยที่ 1 จึงไม่เข้าเงื่อนไขที่ร้องขอให้ศาลกำหนดโทษจำเลยที่ 1 ใหม่ได้