คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ที่ดินพิพาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 507 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาเดิม: โจทก์ฟ้องซ้ำไม่ได้เมื่อคำพิพากษาเดิมวินิจฉัยกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้ว
จำเลยเคยยื่นคำร้องในคดีก่อนอ้างว่าที่พิพาทเป็นที่ดินในโฉนดของโจทก์ซึ่งจำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านว่าจำเลยมิได้ครอบครองรุกล้ำเข้ามาในที่ดินโฉนดของโจทก์ ความจริงจำเลยเข้าไปอาศัยและทำนาโดยอาศัยสิทธิการเช่าของบุคคลอื่นที่เช่าที่ดินไปจากโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยมิได้ครอบครองรุกล้ำเข้าไปในเขตโฉนดของโจทก์ โดยต่างคนต่างครอบครองตามแนวเขตที่ดินของตนไม่ปรปักษ์กันดังนี้ คำพิพากษาคดีก่อนจะชอบหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์จึงต้องผูกพันในคำพิพากษานั้นว่า ที่พิพาทไม่ได้อยู่ในเขตโฉนดของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 การที่โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีหลังและนำสืบว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ขอให้ขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายจึงรับฟังไม่ได้
แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้อง แต่เมื่อคำพิพากษาวินิจฉัยมีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลย จำเลยย่อมอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2673/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แม้มี น.ส.3 ผู้ครอบครองทำประโยชน์ย่อมมีสิทธิเหนือกว่า
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 มุ่งบัญญัติถึงสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งได้มีการออกโฉนดเป็นกรรมสิทธิแก่ผู้หนึ่งผู้ใดแล้ว หนังสือรับรองการทำประโยชน์หาใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินทางทะเบียนดังเช่นโฉนดที่ดินไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมิได้เป็นฝ่ายครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาท แม้จะอ้างว่าได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่พิพาทมาก็ตาม จะใช้ยันกับโจทก์ซึ่งได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมาหาได้ไม่
เมื่อปรากฏแก่ศาลฎีกาว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ได้พิพากษาให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2515 นั้นผิดพลาดไป เพราะวันที่แท้จริงนั้นเป็นวันที่ 18 มิถุนายน 2516 ศาลฎีกาก็ชอบที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดนี้เสียให้ถูกต้องโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 143 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 249/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ทายาทสืบสิทธิในที่ดินพิพาทจากคำพิพากษาเดิม แม้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือกรรมสิทธิ์
ช.ฟ้องค.ขอแบ่งที่ดินพิพาทคนละครึ่งศาลพิพากษาให้แบ่งที่ดินแก่ช.และค.เท่าที่ครอบครองอยู่เป็นส่วนสัดคดีถึงที่สุดแล้วช.และค. ถึงแก่กรรมโจทก์ซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ ช. มาฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกของ ค.ให้แบ่งที่พิพาทคนละครึ่งอีกโดยอ้างว่าช. มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทร่วมกับ ค.มิได้กล่าวอ้างสิทธิของตนเองต่างหากจากช. ดังนี้ทั้งโจทก์และจำเลยจึงเป็นผู้สืบสิทธิในที่พิพาทมาจาก ช.และค. ฟ้องของโจทก์จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุเดียวกันกับคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดแล้ว เป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
ในคดีก่อน เหตุที่ยังมิได้มีการแบ่งแยกที่พิพาทตามคำพิพากษาก็เนื่องจากช. มิได้นำโฉนดที่ดินไปมอบต่อเจ้าพนักงานที่ดิน จึงทำให้การรังวัดที่ดินขัดข้องไม่ใช่กรณีที่ ค.มิได้บังคับให้ช. ปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 10 ปี ดังนั้น แม้จะล่วงพ้นเวลา 10 ปีแล้ว แต่การแบ่งแยกที่พิพาทยังไม่เสร็จ ก็หาทำให้คำพิพากษาในคดีเดิมสิ้นผลบังคับไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินพิพาทติดกัน เจ้าของร่วมตามสันนิษฐานกฎหมาย หากต่างฝ่ายไม่พิสูจน์การครอบครอง
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ห้ามจำเลยเกี่ยวข้อง ปรากฏว่าที่พิพาทตามแผนที่วิวาทเป็นรูปสามเหลี่ยม อยู่บนคันนาด้านเหนือหมายอักษร ก. มีหลักไม้แก่นปักอยู่เป็นจุดรวม ในชั้นพิจารณาโจทก์จำเลยท้าดื่มน้ำสาบานกันว่าแต่ละฝ่ายปั้นคันนาพิพาทขึ้นก่อน เมื่อดื่มน้ำสาบานกันตามคำท้าแล้ว จึงขอให้ศาลชี้ขาดว่าที่พิพาทเป็นของฝ่ายใด ประเด็นเดียว โดยต่างไม่สืบพยานกันและแถลงรับกันว่าที่พิพาทอยู่บนคันนาซึ่งเป็นเขตที่ดินของที่ดินโจทก์จำเลยที่อยู่ติดต่อกัน และต่างฝ่ายต่างถือว่าเป็นเขตของตน ดังนี้ เมื่อที่พิพาทเป็นคันนากั้นเขตที่ดินของโจทก์จำเลยติดต่อกัน และต่างไม่นำสืบพยานว่าใครเป็นฝ่ายครอบครองก็ต้องถือว่าเป็นเจ้าของร่วมกันตามข้อสันนิษฐานของ ป.พ.พ.มาตรา 1344 และศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งที่พิพาทคนละครึ่งโดยลากเส้นจากหมายอักษร ก.มายังจุดแบ่งครึ่งด้านทิศใต้และให้ด้านที่ติดต่อกับที่ดินของฝ่ายใดเป็นของฝ่ายนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินพิพาทติดกัน เจ้าของไม่ชัดเจน ศาลถือเป็นเจ้าของร่วมและแบ่งตามแนวคันนา
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ห้ามจำเลยเกี่ยวข้อง ปรากฏว่าที่พิพาทตามแผนที่วิวาทเป็นรูปสามเหลี่ยมอยู่บนคันนาด้านเหนือหมายอักษร ก. มีหลักไม้แก่นปักอยู่เป็นจุดรวมในชั้นพิจารณาโจทก์จำเลยท้าดื่มน้ำสาบานกันว่าแต่ละฝ่ายเป็นฝ่ายปั้นคันนาพิพาทขึ้นก่อน เมื่อดื่มน้ำสาบานกันตามคำท้าแล้วจึงขอให้ศาลชี้ขาดว่าที่พิพาทเป็นของฝ่ายใดประเด็นเดียวโดยต่างไม่สืบพยานกันและแถลงรับกันว่าที่พิพาทอยู่บนคันนาซึ่งเป็นเขตที่ดินของที่ดินโจทก์จำเลยที่อยู่ติดต่อกัน และต่างฝ่ายต่างถือว่าเป็นเขตของตน ดังนี้เมื่อที่พิพาทเป็นคันนากั้นเขตที่ดินของโจทก์จำเลยติดต่อกัน และต่างไม่นำสืบพยานว่าใครเป็นฝ่ายครอบครองก็ต้องถือว่าเป็นเจ้าของร่วมกันตามข้อสันนิษฐานของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1344 และศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งที่พิพาทคนละครึ่งโดยลากเส้นจากหมายอักษร ก. มายังจุดแบ่งครึ่งด้านทิศใต้และให้ด้านที่ติดต่อกับที่ดินของฝ่ายใดเป็นของฝ่ายนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดิน การมีชื่อใน น.ส.3 ไม่ทำให้ได้สิทธิครอบครอง
โจทก์เป็นผู้ครอบครองที่พิพาท จำเลยเพียงแต่มีชื่อใน น.ส. 3 โดยมิได้ครอบครองไม่ทำให้จำเลยได้สิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 70/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินจากการซื้อขายทอดตลาด: สุจริตของผู้ซื้อและการหมดสิทธิของเจ้าของเดิม
ที่พิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งหน้าที่ดินมีโฉนดของโจทก์ ส.เคยปลูกเรือนอยู่ในที่พิพาทและแจ้งการครอบครองไว้ว่าเป็นที่ของตน ต่อมา ส. ถูกเจ้าหนี้ฟ้องบังคับให้ชำระหนี้เงินกู้และถูกศาลบังคับคดียึดที่พิพาทประกาศขายทอดตลาด จ. เป็นผู้ซื้อได้และชำระราคาที่ดินแล้ว ต่อมา จ. ขายที่พิพาทให้จำเลยจำเลยเข้าครอบครองปลูกบ้านอยู่ โจทก์จึงมาฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่พิพาท ดังนี้ ปัญหาที่ว่าจ. ได้สิทธิในที่พิพาทหรือไม่นั้นอยู่ที่ว่า จ. ซื้อที่พิพาทโดยสุจริตหรือไม่ โจทก์เพียงแต่อ้างว่าไม่ทราบว่ามีการยึดที่พิพาทขายทอดตลาด แต่โจทก์หาได้กล่าวอ้างหรือนำสืบให้เห็นว่า จ. ได้ซื้อที่พิพาทไว้โดยไม่สุจริตแต่อย่างใดไม่โจทก์เพิ่งคัดค้านเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดที่พิพาทภายหลังที่ศาลมีคำสั่งขายที่พิพาทให้ จ. ไปหลายปีแล้ว ไม่เป็นพฤติการณ์ให้ฟังได้ว่า จ. ซื้อที่พิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยไม่สุจริต จ. ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 และได้ขายที่พิพาทให้จำเลยเข้าครอบครองแล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิในที่ดินพิพาทและไม่มีทางชนะคดีจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตที่ดินพิพาท: ศาลใช้แผนที่กลางเป็นหลัก หากพิพากษาไม่เกินเนื้อที่ในแผนที่ ไม่ถือว่าเกินคำขอ
โจทก์กล่าวในฟ้องว่าที่ดินของโจทก์เนื้อที่ประมาณ 3 ไร่โดยระบุความกว้างยาว และอาณาเขตติดต่อมาในคำฟ้องด้วยชั้นพิจารณาคู่ความตกลงขอให้ศาลสั่งเจ้าหน้าที่ทำแผนที่กลางคู่ความทั้งสองฝ่ายตรวจดูแผนที่ดังกล่าวแล้วรับว่าถูกต้อง ดังนี้เมื่อมีการทำแผนที่กลางเนื้อที่มากขึ้นหรือน้อยลงจากคำฟ้องอย่างไรก็ต้องถือตามแผนที่กลาง และถ้าศาลพิพากษาให้ฝ่ายชนะคดีได้ที่ดินไม่เกินจำนวนตามแผนที่กลางระบุไว้ ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการพิจารณาคดีเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2370/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาท: การถอนอุทธรณ์ทำให้ข้อต่อสู้ยุติ การฎีกาต้องประเด็นที่เคยต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สิทธิในที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่งเป็นของโจทก์อีกครึ่งหนึ่งเป็นทรัพย์มรดกของสามีโจทก์ซึ่งตกทอดไปยังทายาทซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 7 คน คือ ตัวโจทก์เองและบุตรโจทก์อีก 6 คน(รวมทั้งสามีจำเลยด้วย) การที่สามีจำเลยเอาที่พิพาทไปขายฝากก. ได้นั้น ก็เพราะสามีจำเลยขอยืมที่พิพาทไปจากโจทก์โจทก์มิได้ยกที่พิพาทให้แก่สามีจำเลยจริงๆ กรณีเป็นดังนี้ จึงเท่ากับว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วว่า ที่พิพาทไม่ใช่ทรัพย์สินที่สามีจำเลยหาได้ร่วมกันมาดังที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ ฉะนั้น เมื่อจำเลยถอนอุทธรณ์เสียแล้ว ข้อต่อสู้ของจำเลยจึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จำเลยไม่ได้ฎีกาโต้แย้งในประเด็นที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ศาลชั้นต้น คงฎีกาแต่เพียงข้อเดียวว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลย ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ไม่ได้ เพราะไม่ใช่เป็นฎีกาในประเด็นที่คู่ความได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาทที่อยู่ในเขตป่าคุ้มครอง การดำเนินการตามกฎหมายคุ้มครองป่าไม้ และการหักล้างกฎหมายด้วยการอ้างสิทธิครอบครอง
ที่พิพาทอยู่ในเขตป่าคุ้มครองตามพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าปากคลองบางพระฯ ให้เป็นป่าคุ้มครอง พ.ศ.2492 ซึ่งต่อมาได้กลายสภาพมาเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 36 ก่อนที่จะออกพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว รัฐบาลได้ดำเนินการถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 5,6 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่าพ.ศ.2481ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ขณะนั้น กล่าวคือได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสำรวจสอบสวนเขตป่าที่จะจัดให้เป็นป่าคุ้มครองและปิดประกาศโฆษณาระบุท้องที่ซึ่งจะทำการสำรวจไว้ ณ ท้องที่ตามที่กฎหมายกำหนด ได้มีการประชุมชี้แจงต่อราษฎร มีราษฎรยื่นคำร้องคัดค้านหลายรายรวมทั้งบิดาโจทก์ด้วย ครั้นคณะกรรมการประกาศกำหนดวันที่จะดำเนินการสำรวจสอบสวนเขตป่า มีผู้ร้องมาให้การตามนัดบ้างไม่มาบ้าง ผู้ที่ไม่มานั้นปรากฏว่าหลายรายได้ตายไปแล้วและละเลยทอดทิ้ง ไม่ติดใจในสิทธิ แต่คณะกรรมการก็ได้แจ้งให้ผู้ร้องหรือทายาททราบอีก แต่บิดาโจทก์หรือตัวโจทก์ซึ่งอ้างว่าได้รับมรดกที่พิพาทมาครอบครองอยู่ขณะนั้น ไม่ไปให้คณะกรรมการทำการสอบสวน คณะกรรมการทำการสอบสวนเห็นสมควรให้คงอาศัยทำกินในเขตป่าคุ้มครองต่อไปตามเดิมก็มีและกันที่ดินของผู้ร้องออกจากป่าคุ้มครองก็มีส่วนรายใดที่ไม่ได้ให้คณะกรรมการทำการสอบสวนนั้นคณะกรรมการได้จัดที่ดินของบุคคลเหล่านั้นเข้าเป็นป่าคุ้มครอง แล้วรายงานเสนอเรื่องราวไปยังกระทรวงเกษตร จนรัฐบาลได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าคุ้มครองประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อ พ.ศ.2492 แล้ว ดังนี้ โจทก์จะอ้างว่าที่พิพาทซึ่งอยู่ในเขตป่าคุ้มครองดังกล่าวเป็นของบิดาโจทก์ซึ่งโจทก์ได้รับมรดกครอบครองมาเพื่อหักล้างกฎหมายหาได้ ไม่ แม้โจทก์จะได้แจ้งการครอบครองที่พิพาทไว้ก็เป็นเวลาภายหลังพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ที่พิพาทเป็นป่าคุ้มครองแล้ว. จึงไม่ก่อให้สิทธิอย่างใดแก่โจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่พิพาท ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่กระทรวงเกษตรหรือบุคคลซึ่งได้รับอนุมัติจากกระทรวงเกษตรให้เข้าทำประโยชน์ในที่พิพาท
of 51