คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประมวลกฎหมายแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 416 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสซ้อน: การจดทะเบียนสมรสที่ขัดแย้งกับคู่สมรสเดิมตามกฎหมายลักษณะผัวเมียและประมวลกฎหมายแพ่งฯ
โจทก์กับ ส. เป็นสามีภริยากันอยู่ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียครั้นเมื่อส. ตายกระทรวงกลาโหมก็จ่ายบำนาญตกทอดให้แก่โจทก์ตลอดมาต่อมาจำเลยไปคัดค้าน กระทรวงกลาโหมจึงงดจ่ายปรากฏว่า ก่อนส.ตาย ส. ได้สมรสกับจำเลยโดยจดทะเบียนสมรสการจดทะเบียนสมรสเช่นนี้ย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1445(3),1490 โจทก์จึงฟ้องจำเลยขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนทะเบียนสมรสนั้นเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การชำระเกินและผลทางกฎหมาย
สัญญากู้มีข้อสัญญาว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่กู้แก่ผู้ให้กู้ตามกฎหมายย่อมถือว่ามีอัตราร้อยละ7 ครึ่งต่อปี เพราะกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 และจะรับฟังพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงอัตราดังกล่าวนี้ไม่ได้แม้ใบรับเงินที่ผู้ให้กู้ออกให้แก่ผู้กู้จะปรากฏอัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 15 ต่อปี หรือเกินกว่านั้น ก็ไม่เป็นหลักฐานที่หักล้างว่าไม่ใช่ร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี เพราะมิได้มีลายมือชื่อของผู้กู้ซึ่งเป็นฝ่ายต้องรับผิดในหนี้
เมื่อตามข้อสัญญาต้องถือว่าดอกเบี้ยมีอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีและผู้กู้ก็เข้าใจเช่นนั้นถ้าผู้กู้ชำระดอกเบี้ยให้ผู้ให้กู้เกินกว่าอัตราดังกล่าวโดยไม่มีความเข้าใจผิดและไม่ปรากฏว่าผู้ให้กู้บังคับเรียกร้องเอา ก็ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 จะเรียกส่วนที่ชำระเกินไปนั้นคืนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อสลากที่ถูกรางวัลในท้องตลาด: พิจารณาความหมาย 'ท้องตลาด' ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1332
ร้านค้าทองทำการค้าสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วย แต่ขายส่งไม่ขายปลีก และรับซื้อสลากที่ถูกรางวัลด้วย โดยซื้อจากเอกชนผู้นำมาขายเป็นราย ๆ ไป ทั้งไม่ได้ความชัดว่าร้านทองนี้ตั้งอยู่ในที่ชุมนุมการค้า ดังนี้ ไม่พอที่จะรับฟังได้ว่าร้านนี้อยู่ในท้องตลาดตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 การที่ร้านนี้รับซื้อสลากจากผู้นำมาขาย ไม่เรียกว่าซื้อในท้องตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294-295/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๕ จำเป็นต้องระบุฐานะลูกจ้างในคำฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์รับส่งบรรทุกของและคนโดยสารในนามของบริษัทจำเลยที่ 3 เพื่อการค้ากำไรร่วมกันนั้น เป็นคำฟ้องที่ไม่มีทางให้เข้าใจว่าจำเลยที่ 3 มีฐานะเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ได้เลย แม้ข้อเท็จจริงที่ได้ความตามที่คู่ความนำสืบจะปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ก็ตาม ก็เป็นข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็น จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1584/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ที่ดินมือเปล่าต้องพิสูจน์สภาพ 'บ้านสวน' ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งฯ หากถูกแย่งการครอบครองต้องฟ้องภายใน 1 ปี
ผู้ที่อ้างสิทธิตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จบทที่ 42 จำต้องแสดงให้เห็นว่าที่ดินนั้นเป็นที่บ้านที่สวนตามความหมายในกฎหมายบทนั้น ถ้าไม่มีข้อเท็จจริงให้เห็นได้ว่าเป็นที่บ้านที่สวนมาก่อน ประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว ก็จำต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันว่าด้วยที่ดินมือเปล่า
การที่จำเลยร้องเรียนต่อคณะกรรมการพิจารณากรณีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินว่าโจทก์บุกรุกแย่งการครอบครองที่ดินมือเปล่านั้น ไม่ทำให้การครอบครองของโจทก์สะดุดหยุดลง ฉะนั้น หากจำเลยมิได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเสียภายใน 1 ปี จำเลยก็ย่อมหมดสิทธิเรียกร้องคืนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1584/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินมือเปล่า การแย่งการครอบครอง และการหมดสิทธิเรียกร้องคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ผู้ที่อ้างสิทธิตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จบทที่ 42 จำต้องแสดงให้เห็นว่าที่ดินนั้นเป็นที่บ้านที่สวนตามความหมายในบทนั้น ถ้าไม่มีข้อเท็จจริงให้เห็นได้ว่าเป็นที่บ้านที่สวน มาก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วก็จำต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันว่าด้วยที่ดินมือเปล่า
การที่จำเลยร้องเรียนต่อคณะกรรมการพิจารณากรณีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินว่าโจทก์บุกรุกแย่งการครอบครองที่ดินมือเปล่านั้น ไม่ทำให้การครอบครองของโจทก์สะดุดหยุดลง ฉะนั้น หากจำเลยมิได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเสียภายใน 1 ปีจำเลยก็ย่อมหมดสิทธิเรียกร้องคืนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายรถยนต์มีเงื่อนไข การพ้นวิสัย และผลกระทบต่อสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ขายรถยนต์เฟี้ยตให้จำเลยราคา 55,000 บาท โดยให้จำเลยชำระราคาด้วยเงินสด 20,000 บาท กับรถยนต์ออสตินของจำเลยตีราคา 35,000 บาท โจทก์จำเลยส่งมอบรถยนต์และเงินสดให้แก่กันแล้ว และตกลงจะไปโอนทะเบียนรถยนต์ให้กันเมื่อโจทก์ผ่อนชำระราคาครบ และรับโอนทะเบียนมาจากกรมสวัสดิการฯ แล้ว ดังนี้ แสดงว่าทั้งสองฝ่ายยังไม่มีเจตนาโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ให้กันจนกว่าการจะได้เป็นไปตามเงื่อนไขแล้ว
ระหว่างที่เงื่อนไขยังไม่สำเร็จ รถยนต์เฟี้ยตซึ่งอยู่ในครอบครองของจำเลยถูกเพลิงไหม้ใช้การไม่ได้ โดยไม่ใช่ความผิดของฝ่ายใด เป็นการพ้นวิสัยที่โจทก์จะโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์เฟี้ยตให้จำเลยได้ ดังนี้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะเรียกร้องให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ออสตินให้โจทก์ได้ เพราะเป็นสัญญาต่างตอบแทนกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 372 วรรคแรก เมื่อกรรมสิทธิ์ยังไม่โอนมายังโจทก์ ก็ไม่เรียกว่าเป็นสัญญามีวัตถุประสงค์เป็นการก่อให้เกิดหรือโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์นั้นตามมาตรา 370 และมาตรา 371 ก็บัญญัติว่า สัญญาต่างตอบแทน ถ้ามีเงื่อนไขบังคับก่อนและทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญานั้นสูญหรือทำลายลงในระหว่างที่เงื่อนไขยังไม่สำเร็จ จะนำมาตรา 370 มาใช้บังคับไม่ได้อีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์โดยไม่สุจริตและการคุ้มครองผู้รับโอนที่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การร้องทุกข์หรือการฟ้องคดีกล่าวหาว่าจำเลยหลอกลวงให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้จำเลยนั้น ไม่ถือว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138
หากฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริต ทั้งได้มีการจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1329 และ มาตรา 1300 แล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เดิมจะขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนนั้นไม่ได้ (ทั้งนี้ มิพักต้องคำนึงถึงว่าผู้โอนทรัพย์สินให้จะได้ทรัพย์สินนั้นมาโดยนิติกรรมอันเป็นโมฆียะและนิติกรรมนั้นถูกบอกล้างในภายหลังหรือหาไม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1239/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมรดกตามพินัยกรรมและการถูกจำกัดสิทธิรับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1605
ทายาทที่จะถูกกำจัดมิให้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1605 ต้องเป็นผู้ปิดบังหรือยักย้ายทรัพย์มรดกแต่การที่ทายาทคนหนึ่งไปขอประกาศรับมรดกโดยไม่ระบุลงไปในบัญชีเครือญาติว่ายังมีบุคคลอื่นเป็นทายาทอีกด้วยนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก
เมื่อเจ้าพนักงานโอนโฉนดให้แก่ทายาทผู้ขอรับมรดกดังกล่าวแล้ว ภายหลังทายาทนั้นขอแบ่งที่ดินมรดกเพื่อจะขายและเอาเรือนที่ปลูกอยู่ในที่ดินนั้นไปประกันเงินกู้ ดังนี้ ไม่ใช่กรณียักย้ายหรือปิดบังมรดก
โจทก์และจำเลยต่างก็เป็นบุตรของผู้ตาย ผู้ตายทำพินัยกรรมยกที่ดินกับเรือนให้จำเลยและยกโคกระบือให้โจทก์ ดังนี้ จะนำเรื่องจำกัดมิให้รับมรดกตามมาตรา 1605 วรรคแรกมาใช้บังคับแก่การกระทำของจำเลยเกี่ยวกับที่ดินและเรือนมรดก หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของภรรยาต่อหนี้ที่สามีก่อขึ้นระหว่างสมรส: พิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การที่สามีไปก่อหนี้ขึ้นระหว่างอยู่กินเป็นสามีภรรยาและภรรยาจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแต่ไหน เพียงใดนั้น ไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัว ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ5 มาตรา 4 แต่เป็นปัญหาที่ภรรยาจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกร่วมกับสามีต่างหาก จะเทียบกับเรื่องแบ่งสินสมรสก็ไม่ได้ เพราะนั่นเป็นเรื่องภายใน ไม่ได้เกี่ยวข้องถึงความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
เป็นสามีภรรยากันตามกฎหมายเก่า สามีไปก่อหนี้ขึ้นเมื่อใช้บรรพ 5 แล้ว การที่ภรรยาจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพียงใดนั้น ต้องวินิจฉัยไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ใช่ตามกฎหมายเก่า
หนี้ซึ่งก่อขึ้นระหว่างสมรสจะถือว่า เป็นหนี้ร่วมกันระหว่างสามีภรรยาได้ก็ต้องเป็นกรณีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1482 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
of 42