พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1192/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับรองเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าซื้อ แม้จำเลยไม่ได้ลงนาม ก็มีผลผูกพันโจทก์
โจทก์ทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ยี่ห้อมาสด้าแบบเก๋งจากบริษัทจำเลย และยังได้ทำหนังสือรับรองให้จำเลยยึดถือไว้มีความตอนแรกว่า"...นอกจากข้าพเจ้าจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวแล้วข้าพเจ้าขอรับรองต่อบริษัทฯ ตามเงื่อนไขแห่งข้อความต่อไปนี้อีกด้วยคือ..."และข้อ 2 แห่งหนังสือรับรองก็ว่า "เนื่องจากราคาค่าเช่าซื้อรถยนต์ที่เช่าซื้อนี้บริษัทฯ ได้คิดให้ข้าพเจ้าในราคาต่ำกว่าราคาที่ขายทั่วไป ดังนั้นในระหว่างอายุแห่งสัญญาเช่าซื้อยังไม่ครบกำหนด ข้าพเจ้าจะไม่นำรถคันที่เช่าซื้อนี้โอนให้แก่บุคคลภายนอกไม่ว่าโดยนิตินัยหรือพฤตินัยเป็นอันขาด และหากข้าพเจ้าจะต้องออกจากงานของบริษัทไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม ข้าพเจ้าจะต้องจัดการชำระค่าเช่าซื้อที่ติดค้างทั้งหมดแก่บริษัทฯ ทันที หรือจะต้องเพิ่มราคาค่าเช่าซื้อตามจำนวนที่บริษัทฯ ได้ลดให้และจัดหาหลักประกันให้แก่บริษัทฯ จนเป็นที่พอใจแล้วแต่กรณี" และในข้อ 3มีข้อความว่า "ให้ถือเอาเงื่อนไขแห่งหนังสือนี้ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งแห่งสัญญาเช่าซื้อฉบับลงวันที่ 11 เดือยเมษายน พ.ศ. 2512 โดยเป็นสารสำคัญอันเป็นเหตุให้บริษัทฯ บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ เดือนเมษายนพ.ศ. 2512 โดยเป็นสารสำคัญอันเป็นเหตุให้บริษัทฯ บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ ในกรณีที่ข้าพเจ้าปฏิบัติผิดสัญญานี้" จากข้อความในหนังสือรับรองดังกล่าวแล้วนี้ ล้วนแต่เป็นเงื่อนไขที่โจทก์สมัครใจยินยอมผูกพันตนกับจำเลยเองและยอมรับเอาผลที่จะเกิดจากการแสดงเจตนาตามข้อความในหนังสือรับรองนั้น ดังนั้นโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหนังสือรับรองดังกล่าว แม้จำเลยจะมิได้เซ็นชื่อในหนังสือนั้นก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยตกลงกับโจทก์ตามนั้น เพราะจำเลยเป็นฝ่ายยึดถือหนังสือรับรองนี้ไว้ และยังถือได้อีกว่าหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นเงื่อนไขอันหนึ่งของสัญญาเช่าซื้อด้วยเมื่อสัญญาเช่าซื้อสมบูรณ์ ข้อความตามหนังสือรับรองก็ใช้บังคับได้ไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำบังคับศาลย่อมมีผลผูกพัน แม้มีการเปลี่ยนแปลงสถานะของโจทก์ภายหลังคำพิพากษาถึงที่สุด
เมื่อศาลพิพากษาคดีถึงที่สุด ให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนของจำเลยออกไปจากที่ดินของโจทก์ และจำเลยได้ทราบคำบังคับแล้ว จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามคำบังคับของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 โดยรื้อถอนโรงเรือนออกไป จำเลยจะยกเอาผลแห่งคำพิพากษาในคดีอื่นซึ่งไม่มีผลเปลี่ยนแปลงแก้ไขกลับหรืองดคำพิพากษาในคดีนี้มาเป็นเหตุให้ศาลงดหรือเพิกถอนคำบังคับเสียหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1435/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งทนายความหลายคนและการผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
เมื่อกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นดำเนินมา มิใช่เป็นกรณีการพิจารณาโดยขาดนัด คู่ความจะร้องขอให้มีการพิจารณาคดีใหม่ตามมาตรา 207 ไม่ได้
เดิมบริษัทจำกัดจำเลย โดย ช. กรรมการผู้จัดการ ได้แต่งตั้งทนายความคนหนึ่งแล้วต่อมาบริษัทจำเลยได้เปลี่ยนกรรมการบริษัทใหม่บริษัทจำเลยโดยกรรมการชุดใหม่จึงได้แต่งตั้งทนายความอีกคนหนึ่งทนายความแต่ละคนดังกล่าวต่างมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ดังนี้ เมื่อทนายความคนหลังได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ และศาลพิพากษาคดีไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว ย่อมเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย และผูกพันบริษัทจำเลย บริษัทจำเลยโดยทนายความคนแรกจะร้องขอให้พิจารณาใหม่ โดยเหตุที่ทนายความคนแรกไม่ได้รู้เห็นในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวนั้นด้วยหาได้ไม่
เดิมบริษัทจำกัดจำเลย โดย ช. กรรมการผู้จัดการ ได้แต่งตั้งทนายความคนหนึ่งแล้วต่อมาบริษัทจำเลยได้เปลี่ยนกรรมการบริษัทใหม่บริษัทจำเลยโดยกรรมการชุดใหม่จึงได้แต่งตั้งทนายความอีกคนหนึ่งทนายความแต่ละคนดังกล่าวต่างมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ดังนี้ เมื่อทนายความคนหลังได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ และศาลพิพากษาคดีไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว ย่อมเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย และผูกพันบริษัทจำเลย บริษัทจำเลยโดยทนายความคนแรกจะร้องขอให้พิจารณาใหม่ โดยเหตุที่ทนายความคนแรกไม่ได้รู้เห็นในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวนั้นด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1435/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งทนายความสองคนและการผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลตัดสินว่าการทำสัญญาโดยทนายความที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ย่อมผูกพันจำเลย
เมื่อกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นดำเนินมามิใช่เป็นกรณีการพิจารณาโดยขาดนัด คู่ความจะร้องขอให้มีการพิจารณาคดีใหม่ตามมาตรา 207 ไม่ได้
เดิมบริษัทจำกัดจำเลย โดย ช. กรรมการผู้จัดการ ได้แต่งตั้งทนายความคนหนึ่งแล้วต่อมาบริษัทจำเลยได้เปลี่ยนกรรมการบริษัทใหม่บริษัทจำเลยโดยกรรมการชุดใหม่จึงได้แต่งตั้งทนายความอีกคนหนึ่งทนายความแต่ละคนดังกล่าวต่างมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ดังนี้ เมื่อทนายความคนหลังได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ และศาลพิพากษาคดีไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้วย่อมเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย และผูกพันบริษัทจำเลย บริษัทจำเลยโดยทนายความคนแรกจะร้องขอให้พิจารณาใหม่โดยเหตุที่ทนายความคนแรกไม่ได้รู้เห็นในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวนั้นด้วยหาได้ไม่
เดิมบริษัทจำกัดจำเลย โดย ช. กรรมการผู้จัดการ ได้แต่งตั้งทนายความคนหนึ่งแล้วต่อมาบริษัทจำเลยได้เปลี่ยนกรรมการบริษัทใหม่บริษัทจำเลยโดยกรรมการชุดใหม่จึงได้แต่งตั้งทนายความอีกคนหนึ่งทนายความแต่ละคนดังกล่าวต่างมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ดังนี้ เมื่อทนายความคนหลังได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ และศาลพิพากษาคดีไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้วย่อมเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย และผูกพันบริษัทจำเลย บริษัทจำเลยโดยทนายความคนแรกจะร้องขอให้พิจารณาใหม่โดยเหตุที่ทนายความคนแรกไม่ได้รู้เห็นในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวนั้นด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายผูกพันบริษัท แม้ไม่มีการลงชื่อกรรมการครบถ้วน หากผู้จัดการลงนามในนามบริษัท
แม้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจะมิได้ลงชื่อกรรมการ 2 นาย และประทับตราบริษัทช้อบังคับ แต่มีข้อความระบุคู่สัญญาไว้ชัดเจนว่าเป็นที่ทำขึ้นระหว่าง ล.ผู้ขายฝ่ายหนึ่ง กับบริษัทโจทก์โดย ส.เป็นผู้จัดการ ผู้ซื้อฝ่ายหนึ่ง ดังนี้ แสดงว่า ส.ทำสัญญาในนามบริษัทโจทก์นั่นเอง หาได้ทำเป็นส่วนตัวไม่ ถือได้ว่าโจทก์เป็นคู่สัญญา สัญญาจะซื้อจะขายผูกพันบริษัทโจทก์ (อ้างฎีกาที่ 362/2512)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่บริษัทลงนามโดยผู้จัดการ แม้ไม่เป็นไปตามข้อบังคับ ก็ผูกพันบริษัทได้
หนังสือสัญญาจะซื้อขายระบุว่าบริษัทโจทก์โดย ส. ผู้จัดการเป็นผู้ซื้อ แสดงว่า ส. ทำสัญญาในนามบริษัทโจทก์โจทก์จึงเป็นคู่สัญญา แม้หนังสือสัญญานั้น กรรมการของบริษัทโจทก์ 2 นาย จะไม่ได้ลงชื่อ และไม่ได้ประทับตราของบริษัทตามข้อบังคับ สัญญาก็ผูกพันบริษัทโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2488/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงให้ศาลชี้ขาดที่พิพาท: ไม่เป็นประนีประนอม & ผูกพันตามคำชี้ขาด
การที่คู่ความตกลงกันให้ศาลไปตรวจดูที่พิพาท แล้วให้ศาลชี้ขาดตามที่เห็นสมควรโดยคู่ความยินยอมตามที่ศาลชี้ขาดนั้นหาใช่เป็นการตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 ไม่ เพราะศาลยังต้องชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีอีกว่าที่พิพาทควรจะเป็นของใครเพียงใด คดีจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 แต่เมื่อศาลตรวจดูที่พิพาทแล้ว เห็นว่า ไม่อาจชี้ชัดลงไปได้ว่าเป็นของฝ่ายใด จึงพิพากษาให้แบ่งที่พิพาทออกเป็นสองส่วน ให้โจทก์จำเลยได้ฝ่ายละส่วน โจทก์จะอุทธรณ์ว่าที่พิพาทมีลักษณะเหมือนของโจทก์ ควรให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้อง ดังนี้หาได้ไม่ เพราะเท่ากับไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของศาลตามที่ตกลงไว้นั่นเอง เมื่อไม่ปรากฏว่าคำชี้ขาดของศาลชั้นต้นเป็นไปโดยมิชอบ ศาลสูงก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงให้เป็นอย่างอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบรายละเอียดการกระทำของจำเลยที่ผูกพันรับผิดตามสัญญาซื้อสินค้าเชื่อ ไม่ถือเป็นการสืบนอกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขายใบขอซื้อสินค้าเชื่อซึ่งจำเลยลงชื่อไว้ให้โจทก์และรับเงินไปจากโจทก์ โดยจำเลยรับรองว่าหากโจทก์นำใบขอซื้อสินค้าเชื่อนั้นไปขึ้นสินค้าไม่ได้ จำเลยยอมคืนเงินให้ ชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบว่า ภริยาจำเลยเป็นผู้นำใบขอซื้อสินค้าเชื่อของจำเลยไปขายให้โจทก์และรับเงินไปจากโจทก์ ทั้งนี้โดยจำเลยบอกโจทก์ว่าจำเลยต้องขับรถไม่มีเวลามาติดต่อ จึงใช้ให้ภริยาจำเลยมาติดต่อ และจำเลยรับรองกับโจทก์ว่าถ้าโจทก์ไปรับสินค้าไม่ได้ จำเลยจะคืนเงินให้การนำสืบของโจทก์ดังกล่าวนี้เป็นการสืบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยที่จำเลยได้มาขายสิทธิตามใบขอซื้อสินค้าเชื่อของตน อันเป็นมูลเหตุแห่งหนี้ที่จำเลยได้เข้าตกลงยินยอมผูกพันรับผิดต่อโจทก์ด้วยตัวของจำเลยเอง จึงเกี่ยวแก่ประเด็นแห่งคดีโดยตรง โจทก์มีสิทธินำสืบได้ หาเป็นการสืบนอกฟ้องไม่
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 36/2515)
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 36/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้สิทธิในทรัพย์สินจะเปลี่ยนแปลงภายหลัง เบี้ยปรับลดได้ตามสมควร
ล. ซึ่งได้รับสิทธิเข้าทำการก่อสร้างอาคารในที่ดินของกระทรวงการคลังและมีสิทธิให้เช่าช่วงได้ ทำสัญญาให้โจทก์เข้าก่อสร้างและได้รับผลประโยชน์แทน จำเลยบุกรุกเข้าไปอยู่ในอาคารรายพิพาทที่โจทก์มีสิทธิจากการก่อสร้างโจทก์ดำเนินคดีหาว่าจำเลยบุกรุก แล้วโจทก์จำเลยตกลงกันโดยจำเลยยอมชำระเงินให้โจทก์บางส่วนก่อน และจะชำระให้อีกจำนวนหนึ่งภายในกำหนดสามเดือนหากถึงกำหนดไม่ชำระให้ถือว่าตกลงเลิกสัญญา ให้โจทก์คืนเงินที่รับไว้จากจำเลยให้แก่จำเลยในวันที่จำเลยออกไปจากอาคาร และหากจำเลยไม่ยอมออกไปต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์วันละหนึ่งร้อยบาทจนกว่าจะได้ออกไป ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวแล้วถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีผลบังคับตามกฎหมาย
แม้ต่อมาจะปรากฏว่ากระทรวงการคลังบอกริบเอาอาคารรายพิพาท เป็นของกระทรวงการคลัง ล. หรือโจทก์หมดสิทธิที่จะถือเอาประโยชน์จากอาคารนั้นไปแล้วหรือไม่ก็ตามก็ไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งสมบูรณ์อยู่ก่อนแล้วนั้นต้องเสียไป เพราะเป็นเรื่องผูกมัดระหว่างโจทก์จำเลยเท่านั้น การที่ต้องชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว หาใช่เป็นการพ้นวิสัยไม่
สัญญาระหว่าง ล. กับโจทก์ ที่ ล. ให้โจทก์เข้าก่อสร้างแทนแล้วให้ได้ผลประโยชน์ในการทำแทนนั้น โดยแท้จะมีผลอย่างใดก็ตามแต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์เข้าทำการก่อสร้างให้กับ ล. แทนที่ ล. จะต้องทำเอง และ ล. ทำสัญญายกประโยชน์ที่จะได้จากการก่อสร้างนั้นให้โจทก์ เมื่อโจทก์ได้ทำและครอบครองอยู่อย่างน้อยที่สุดก็เป็นการทำแทนหรือเพื่อจะส่งมอบแก่ ล.ซึ่งโจทก์จะใช้อ้างบังคับให้ ล. มอบประโยชน์จากการที่ทำเสร็จนั้นให้แก่โจทก์ตามสัญญา แต่จำเลยได้แย่งเข้าอยู่ในอาคารที่ก่อสร้างโดยพลการเป็นการขัดขวางเรื่องการส่งมอบนั้นเสีย ย่อมเกิดข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลย เมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน (ระงับข้อพิพาท)ย่อมมีผลบังคับได้ จะยกเอาสัญญาภายในระหว่าง ล. กับโจทก์มาเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์ที่ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นมิได้
จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์เพราะกลัวโทษทัณฑ์จากคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องหาว่าบุกรุกนั้นความกลัวเช่นว่านี้ไม่ทำให้สัญญาที่ทำไว้ตกเป็นโมฆียะหรือเสียไป เพราะโจทก์ได้ดำเนินการฟ้องร้องคดีต่อโรงศาลยุติธรรมโดยสุจริตอย่างตรงไปตรงมา
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยกำหนดไว้ว่า หากจำเลยไม่ออกไปจากอาคารรายพิพาทต้องใช้ค่าเสียหายให้โจทก์วันละหนึ่งร้อยบาทจนกว่าจะออกไป ค่าเสียหายนี้พอนับเนื่องได้ว่าเป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่ง ซึ่งศาลมีอำนาจลดลงได้เมื่อเห็นสมควร
แม้ต่อมาจะปรากฏว่ากระทรวงการคลังบอกริบเอาอาคารรายพิพาท เป็นของกระทรวงการคลัง ล. หรือโจทก์หมดสิทธิที่จะถือเอาประโยชน์จากอาคารนั้นไปแล้วหรือไม่ก็ตามก็ไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งสมบูรณ์อยู่ก่อนแล้วนั้นต้องเสียไป เพราะเป็นเรื่องผูกมัดระหว่างโจทก์จำเลยเท่านั้น การที่ต้องชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว หาใช่เป็นการพ้นวิสัยไม่
สัญญาระหว่าง ล. กับโจทก์ ที่ ล. ให้โจทก์เข้าก่อสร้างแทนแล้วให้ได้ผลประโยชน์ในการทำแทนนั้น โดยแท้จะมีผลอย่างใดก็ตามแต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์เข้าทำการก่อสร้างให้กับ ล. แทนที่ ล. จะต้องทำเอง และ ล. ทำสัญญายกประโยชน์ที่จะได้จากการก่อสร้างนั้นให้โจทก์ เมื่อโจทก์ได้ทำและครอบครองอยู่อย่างน้อยที่สุดก็เป็นการทำแทนหรือเพื่อจะส่งมอบแก่ ล.ซึ่งโจทก์จะใช้อ้างบังคับให้ ล. มอบประโยชน์จากการที่ทำเสร็จนั้นให้แก่โจทก์ตามสัญญา แต่จำเลยได้แย่งเข้าอยู่ในอาคารที่ก่อสร้างโดยพลการเป็นการขัดขวางเรื่องการส่งมอบนั้นเสีย ย่อมเกิดข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลย เมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน (ระงับข้อพิพาท)ย่อมมีผลบังคับได้ จะยกเอาสัญญาภายในระหว่าง ล. กับโจทก์มาเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์ที่ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นมิได้
จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์เพราะกลัวโทษทัณฑ์จากคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องหาว่าบุกรุกนั้นความกลัวเช่นว่านี้ไม่ทำให้สัญญาที่ทำไว้ตกเป็นโมฆียะหรือเสียไป เพราะโจทก์ได้ดำเนินการฟ้องร้องคดีต่อโรงศาลยุติธรรมโดยสุจริตอย่างตรงไปตรงมา
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยกำหนดไว้ว่า หากจำเลยไม่ออกไปจากอาคารรายพิพาทต้องใช้ค่าเสียหายให้โจทก์วันละหนึ่งร้อยบาทจนกว่าจะออกไป ค่าเสียหายนี้พอนับเนื่องได้ว่าเป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่ง ซึ่งศาลมีอำนาจลดลงได้เมื่อเห็นสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 633/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันบังคับใช้ได้ หากเกิดจากข้อพิพาทและมีลงชื่อรับรอง
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินราชพัสดุจากกระทรวงการคลัง แต่เข้าครอบครองที่ดินไม่ได้เพราะจำเลยถือสิทธิครอบครองอยู่ก่อนโจทก์จึงแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน แล้วโจทก์จำเลยตกลงกันว่าจำเลยยอมรื้อบ้านเรือนออกไปภายใน 15 วัน และโจทก์จำเลยลงชื่อไว้ในบันทึกข้อตกลง ถือได้ว่าบันทึกดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ได้