พบผลลัพธ์ทั้งหมด 346 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2778/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลายของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด และขอบเขตความรับผิดของอดีตหุ้นส่วนผู้จัดการ
ในวันที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ล้มละลาย จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการอันเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 อยู่ ซึ่งจำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 อย่างไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070 ประกอบมาตรา 1077 (2) และการที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วนจำกัดแล้วเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจมีคำขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 89 จำเลยที่ 2 จะต่อสู้ว่าตนเองมิได้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหาได้ไม่
ในวันที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ล้มละลาย จำเลยที่ 3 ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่อาจฟ้องให้จำเลยที่ 3 ล้มละลายตามห้าง ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 89 ได้
มูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนที่จำเลยที่ 3 จะออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าวภายในกำหนด 2 ปี นับแต่ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการตาม ป.พ.พ. มาตรา 1068 ประกอบมาตรา 1080 จำเลยที่ 3 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2545 ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ย่อมมีจำกัดเพียงสองปีนับแต่วันดังกล่าวถึงวันที่ 28 มกราคม 2547 การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2548 จึงเกินกำหนดเวลา 2 ปี แล้วจำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1068 ประกอบมาตรา 1080 โจทก์จึงไม่อาจนำมาฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีล้มละลายได้
ในวันที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ล้มละลาย จำเลยที่ 3 ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่อาจฟ้องให้จำเลยที่ 3 ล้มละลายตามห้าง ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 89 ได้
มูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนที่จำเลยที่ 3 จะออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าวภายในกำหนด 2 ปี นับแต่ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการตาม ป.พ.พ. มาตรา 1068 ประกอบมาตรา 1080 จำเลยที่ 3 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2545 ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ย่อมมีจำกัดเพียงสองปีนับแต่วันดังกล่าวถึงวันที่ 28 มกราคม 2547 การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2548 จึงเกินกำหนดเวลา 2 ปี แล้วจำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1068 ประกอบมาตรา 1080 โจทก์จึงไม่อาจนำมาฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8680/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างหุ้นส่วน และอำนาจในการฟ้องเลิกห้างโดยตรง
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มีผู้เป็นหุ้นส่วนเพียง 2 คน คือ โจทก์และจำเลย และเกิดมีกรณีพิพาทเกี่ยวกับการเงินของห้าง โดยโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยไม่ได้นำเงินค่าเวนคืนที่ดินที่ห้างได้รับจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยในงวดที่ 3 ลงบัญชีเป็นรายรับของห้าง โจทก์จึงฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดฯและยักยอกทรัพย์ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ แม้คดีที่โจทก์ฟ้อง ศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษายกฟ้อง และห้างยังมีทรัพย์สินอยู่เป็นจำนวนมากก็ตาม แต่จากพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ไว้วางใจกัน มีกรณีพิพาทเกี่ยวกับการเงินของห้างจนถึงขั้นฟ้องร้องกล่าวหากันเป็นคดีอาญาไม่ปรองดองกัน หากจะเปลี่ยนตัวหุ้นส่วนผู้จัดการก็ไม่มีทางทำได้ เพราะมีจำเลยคนเดียวที่เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด จึงมีเหตุทำให้ห้างเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (3) ประกอบมาตรา 1080 ศาลย่อมพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกันเสียได้
เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายขอให้เลิกห้าง อันเป็นการเลิกสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับจำเลยได้โดยตรง โดยไม่จำต้องฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เป็นจำเลยด้วย
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 คน โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดกับจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด และเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ แต่เนื่องจากโจทก์กับจำเลยไม่ไว้วางใจกัน และมีกรณีพิพาทขัดแย้งกันอยู่ หากตั้งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือให้ร่วมกันเป็นผู้ชำระบัญชีคงไม่ร่วมมือกัน และเป็นอุปสรรคแก่การชำระบัญชีแน่นอน จึงสมควรตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดีกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นคนกลางทำหน้าที่เป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.
เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายขอให้เลิกห้าง อันเป็นการเลิกสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับจำเลยได้โดยตรง โดยไม่จำต้องฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เป็นจำเลยด้วย
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 คน โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดกับจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด และเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ แต่เนื่องจากโจทก์กับจำเลยไม่ไว้วางใจกัน และมีกรณีพิพาทขัดแย้งกันอยู่ หากตั้งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือให้ร่วมกันเป็นผู้ชำระบัญชีคงไม่ร่วมมือกัน และเป็นอุปสรรคแก่การชำระบัญชีแน่นอน จึงสมควรตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดีกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นคนกลางทำหน้าที่เป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8680/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด: ความขัดแย้งระหว่างหุ้นส่วน, ขาดความไว้วางใจ, และการดำเนินงานที่เหลือวิสัย
ห้างหุ้นส่วนจำกัดมีผู้เป็นหุ้นส่วนสองคน คือโจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด และจำเลยเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ของห้างจนถึงขั้นฟ้องร้องเป็นคดีอาญา ไม่ปรองดองกัน หากจะเปลี่ยนตัวหุ้นส่วนผู้จัดการก็ไม่มีทางทำได้ เพราะมีจำเลยคนเดียวที่เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด จึงมีเหตุทำให้ห้างเหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ต่อไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (3) ประกอบมาตรา 1080 ศาลย่อมพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกันได้
เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายขอให้เลิกห้าง อันเป็นการเลิกสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับจำเลยได้โดยตรง โดยไม่จำต้องฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นจำเลยด้วย
เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายขอให้เลิกห้าง อันเป็นการเลิกสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับจำเลยได้โดยตรง โดยไม่จำต้องฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นจำเลยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8367/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้และธุรกิจเฉพาะ: การยกเลิกหุ้นส่วนและการคืนเงินลงทุน ไม่ใช่การขายทรัพย์สิน
สำหรับข้อหาที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 25 ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 238 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 แต่เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลภาษีอากรกลางฟังมาดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงเดียวกันกับข้อหาอื่นที่มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันเกินกว่า 50,000 บาท ซึ่งไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง และทุกข้อหาตามฟ้องเกิดจากการที่โจทก์ได้รับเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับพิพาทเพียงฉบับเดียว แต่โจทก์ได้รับเงินเป็นงวดๆ และถูกประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นรายเดือนที่ได้รับเงินมาและถูกประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปีภาษีที่ได้รับเงินมานั้น หากโจทก์ผู้ถูกเรียกเก็บภาษีไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะหรือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์ต้องเสียภาษีดังกล่าว ย่อมเป็นการประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งปัญหาว่าบุคคลใดต้องเสียภาษีหรือได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยให้โจทก์ต้องเสียภาษีโดยรับฟังข้อเท็จจริงผิดไปจากพยานหลักฐานในสำนวนและเป็นกรณีที่โจทก์อุทธรณ์ข้อเท็จจริงเดียวกันนั้นได้สำหรับข้อหาที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจึงมีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงที่ศาลภาษีอากรกลางรับฟังมาสำหรับข้อหาที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 246 และ 142 (5) ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
โจทก์กับ ส. ตกลงเป็นหุ้นส่วนซื้อที่ดิน ต่อมา จ. สามีของ ส. จดทะเบียนซื้อขายที่ดินดังกล่าวและนำที่ดินนั้นไปจดทะเบียนจำนองโดยไม่ปรากฏว่า จ. เป็นตัวแทนของโจทก์และ ส. แต่อย่างใด ต่อมาโจทก์กับ ส. ขัดแย้งกันในการดำเนินงานหุ้นส่วน โจทก์กับ ส. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกเลิกห้างหุ้นส่วนโดยตกลงคืนเงินทุนของโจทก์ เงินที่โจทก์ได้รับมาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นเงินทุนของโจทก์เอง มิใช่ค่าตอบแทนการโอนสิทธิการเป็นหุ้นส่วนซึ่งจะถือได้ว่าเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ส่วนของที่ดินให้แก่ ส. จึงมิใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่ง ป.รัษฎากร และมิใช่รายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีธุรกิจเฉพาะตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แต่อย่างใด
โจทก์กับ ส. ตกลงเป็นหุ้นส่วนซื้อที่ดิน ต่อมา จ. สามีของ ส. จดทะเบียนซื้อขายที่ดินดังกล่าวและนำที่ดินนั้นไปจดทะเบียนจำนองโดยไม่ปรากฏว่า จ. เป็นตัวแทนของโจทก์และ ส. แต่อย่างใด ต่อมาโจทก์กับ ส. ขัดแย้งกันในการดำเนินงานหุ้นส่วน โจทก์กับ ส. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกเลิกห้างหุ้นส่วนโดยตกลงคืนเงินทุนของโจทก์ เงินที่โจทก์ได้รับมาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นเงินทุนของโจทก์เอง มิใช่ค่าตอบแทนการโอนสิทธิการเป็นหุ้นส่วนซึ่งจะถือได้ว่าเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ส่วนของที่ดินให้แก่ ส. จึงมิใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่ง ป.รัษฎากร และมิใช่รายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีธุรกิจเฉพาะตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4537/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ห้างหุ้นส่วนจำกัด: ความรับผิดของหุ้นส่วนและบุคคลภายนอกที่เข้าไปดำเนินกิจการ
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มิใช่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ การที่จำเลยที่ 4 เข้าไปดำเนินกิจการของห้างจำเลยที่ 1 ไม่มีผลให้จำเลยที่ 4 กลายเป็นหุ้นส่วนของจำเลยที่ 1 และต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ด้วย และแม้จำเลยที่ 4 จะยินยอมโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของตนระคนกับชื่อของห้างจำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เสมือนเป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1054 ประกอบมาตรา 1080
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4245/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนลงทุนกิจการน้ำดื่ม เลิกห้างหุ้นส่วน แบ่งทุนคืนได้ แม้ไม่มีการชำระบัญชี
โจทก์และจำเลยต่างมีปัญหาด้านการเงิน ประสงค์จะเลิกกิจการห้างหุ้นส่วนกัน จำเลยกลับท้าให้โจทก์ฟ้องคดีและให้การต่อสู้คดีปฏิเสธการเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์เช่นนี้ ถือได้ว่ามีเหตุทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (3) ดังนั้น โจทก์มีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนได้
แม้โจทก์จะไม่ได้มีคำขอท้ายฟ้องให้ศาลสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วน แต่ก็เห็นความประสงค์ของโจทก์ได้ว่าต้องการให้สั่งเลิกห้างหุ้นส่วนจึงได้ขอแบ่งทุน เมื่อไม่ปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนนี้มีลูกหนี้ เจ้าหนี้หรือผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกเงินทดรองและค่าใช้จ่ายของตนไปเพื่อจัดการค้าของห้าง สินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนมีเพียงอาคารและเครื่องทำน้ำดื่มเท่านั้น กิจการทำน้ำดื่มก็เพิ่งจะเริ่มต้นยังไม่ปรากฏกำไรหรือขาดทุนในการดำเนินกิจการ หากจะให้มีการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนก็คงจะไม่ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้นแต่ประการใด จึงสมควรพิพากษาแบ่งทุนให้โจทก์ได้โดยไม่ต้องชำระบัญชี
แม้โจทก์จะไม่ได้มีคำขอท้ายฟ้องให้ศาลสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วน แต่ก็เห็นความประสงค์ของโจทก์ได้ว่าต้องการให้สั่งเลิกห้างหุ้นส่วนจึงได้ขอแบ่งทุน เมื่อไม่ปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนนี้มีลูกหนี้ เจ้าหนี้หรือผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกเงินทดรองและค่าใช้จ่ายของตนไปเพื่อจัดการค้าของห้าง สินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนมีเพียงอาคารและเครื่องทำน้ำดื่มเท่านั้น กิจการทำน้ำดื่มก็เพิ่งจะเริ่มต้นยังไม่ปรากฏกำไรหรือขาดทุนในการดำเนินกิจการ หากจะให้มีการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนก็คงจะไม่ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้นแต่ประการใด จึงสมควรพิพากษาแบ่งทุนให้โจทก์ได้โดยไม่ต้องชำระบัญชี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนโรงงานรับเงินแล้วไม่แบ่งให้หุ้นส่วน ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก เป็นเรื่องแพ่ง
เงินที่จำเลยรับมาในฐานะเป็นผู้บริหารกิจการประกอบกิจการโรงงาน ทั้งจำเลยเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์ร่วมประกอบกิจการนั้น โจทก์ร่วมจะมีสิทธิได้เงินดังกล่าวหรือไม่ เพียงใด ก็ต้องอาศัยสัญญาหุ้นส่วนที่มีต่อกันเท่านั้น การที่จำเลยไม่ส่งเงินดังกล่าวให้โจทก์ร่วมก็เป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมจะเรียกร้องเอาแก่จำเลยในทางแพ่ง จึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอกตาม ป.อ.มาตรา 352 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15130/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนซื้อขายที่ดิน, การแบ่งกำไร, เงินทดรองจ่าย, การชำระบัญชี, สิทธิเรียกร้อง
โจทก์และจำเลยเข้าเป็นหุ้นส่วนกันซื้อที่ดินทั้งสองแปลงมาเพื่อขายเอากำไรแบ่งกัน โดยนำเงินที่ลงหุ้นกันจำนวน 2,110,000 บาท และเงินส่วนตัวโจทก์อีก 600,000 บาท มาชำระค่าที่ดินเพิ่มเติม เช่นนี้ เงินจำนวน 600,000 บาท จึงเป็นเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายแทนห้างหุ้นส่วนสามัญไปก่อน หาใช่เป็นเงินที่โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมอันจะต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือไม่
การเข้าหุ้นซื้อที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์และจำเลยมาเพื่อขายนั้น เป็นการเข้าหุ้นกันเฉพาะเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดเพียงอย่างเดียว เมื่อขายที่ดินทั้งสองแปลงได้แล้ว การเป็นหุ้นส่วนระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเลิกกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1055 (3) และหลังจากขายที่ดินแล้วจำเลยได้แบ่งกำไรจากการขายที่ดินให้แก่โจทก์จำนวน 1,500,000 บาท และมีการทำบัญชีไว้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยได้มีการคิดบัญชีกันเรียบร้อยแล้ว ไม่มีทรัพย์สินในระหว่างหุ้นส่วนหรือหนี้สินใดที่จะต้องจัดการกันอีก ถือได้ว่ามีการตกลงกันให้การจัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1061 หาใช่ต้องจัดให้มีการชำระบัญชีเสมอไปไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเงินกำไรและเงินทดรองจ่ายแทนห้างหุ้นส่วนสามัญจากจำเลยได้
การเข้าหุ้นซื้อที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์และจำเลยมาเพื่อขายนั้น เป็นการเข้าหุ้นกันเฉพาะเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดเพียงอย่างเดียว เมื่อขายที่ดินทั้งสองแปลงได้แล้ว การเป็นหุ้นส่วนระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเลิกกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1055 (3) และหลังจากขายที่ดินแล้วจำเลยได้แบ่งกำไรจากการขายที่ดินให้แก่โจทก์จำนวน 1,500,000 บาท และมีการทำบัญชีไว้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยได้มีการคิดบัญชีกันเรียบร้อยแล้ว ไม่มีทรัพย์สินในระหว่างหุ้นส่วนหรือหนี้สินใดที่จะต้องจัดการกันอีก ถือได้ว่ามีการตกลงกันให้การจัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1061 หาใช่ต้องจัดให้มีการชำระบัญชีเสมอไปไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเงินกำไรและเงินทดรองจ่ายแทนห้างหุ้นส่วนสามัญจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10068/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทหุ้นส่วน-เลิกห้างหุ้นส่วน: ความไม่ไว้วางใจและความเป็นไปไม่ได้ในการดำเนินกิจการต่อ
การที่โจทก์และจำเลยทั้งหกมีข้อพิพาทต่อกันหลายคดี รวมถึงการดำเนินกิจการโรงรับจำนำ ฮ. โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาให้โจทก์นำเงินรายได้ประจำวันของโรงรับจำนำ ฮ. มาวางศาล และขอให้ตั้งจำเลยที่ 3 เป็นผู้ตรวจบัญชี แสดงให้เห็นว่าผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ปรองดองกันและไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ทั้งการเป็นหุ้นส่วนกันนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนเองจึงไม่สามารถบังคับให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขายหุ้นส่วนของฝ่ายนั้นให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งได้ กรณีเหลือวิสัยที่ห้างหุ้นส่วนจะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ จึงมีเหตุที่ศาลจะพิพากษาให้เลิกห้างหุ้นส่วนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4228/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำละเมิดจากการสำแดงเท็จเพื่อรับเงินชดเชยภาษีอากร และความรับผิดชอบของหุ้นส่วนผู้จัดการ
การที่จำเลยที่ 1 สำแดงข้อความอันเป็นเท็จในใบขนสินค้าขาออกฉบับพิพาท โดยไม่มีการส่งออกไปต่างประเทศจริง จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปบัตรภาษีและไม่มีสิทธิโอนสิทธิตามบัตรภาษีให้บุคคลอื่น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการจงใจกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามมูลค่าบัตรภาษีให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 คือวันที่จำเลยที่ 3 รับบัตรภาษีพิพาทไปจากโจทก์ มิใช่นับแต่วันที่มีการนำบัตรภาษีไปชำระค่าภาษีอากร จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย