คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อนาจาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กเพื่ออนาจาร และการปรับบทความผิดตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม มุ่งคุ้มครองอำนาจปกครองดูแลของผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก มิให้ถูกผู้ใดล่วงละเมิดได้ ข้อสาระสำคัญจึงอยู่ที่ว่าขณะมีการกระทำความผิด เด็กนั้นอยู่ในความปกครองดูแลของผู้หนึ่งผู้ใดหรือไม่ หากปรากฏว่าเด็กอยู่ในอำนาจปกครองดูแลไม่ว่าเป็นของบุคคลหนึ่งบุคคลใดแล้ว ผู้ใดก็ไม่อาจมารบกวนหรือทำให้อำนาจปกครองของบุคคลนั้นต้องถูกกระทบกระเทือนโดยปราศจากความรู้เห็นยินยอมของบุคคลดังกล่าวได้
ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 อายุ 6 ปีเศษ อยู่ในอำนาจปกครองดูแลของ ห. เพียงแต่เดินผ่านหน้าบ้านของจำเลยจะไปตาม ต. กลับมารับประทานอาหารที่บ้าน เหตุที่แวะไปหาจำเลยเพราะจำเลยเรียกผู้เสียหายที่ 1 ให้เข้าไปหาที่แคร่หน้าบ้านจำเลยแล้วล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้เสียหายที่ 1 จึงถือได้ว่าเป็นการพรากเด็กออกจากอำนาจปกครองที่มีอยู่เหนือผู้เสียหายที่ 1 เป็นเหตุให้อำนาจปกครองถูกกระทบกระเทือนแล้ว แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายที่ 1 อยู่ในความปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 2 มิใช่ ห. ตามที่พิจารณาได้ความก็ตาม ข้อแตกต่างดังกล่าวก็ไม่ถือเป็นข้อสำคัญอันกระทบต่อสาระอันเป็นเนื้อหาขององค์ประกอบความผิด ศาลชอบจะลงโทษจำเลยไปตามข้อเท็จจริงซึ่งพิจารณาได้ความดังกล่าวนั้นได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพรากเด็กเพื่ออนาจาร: อำนาจปกครองดูแลเป็นสำคัญ แม้ผู้ดูแลเปลี่ยนไป ศาลปรับบทความผิดฐานกระทำอนาจาร
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม มุ่งคุ้มครองอำนาจปกครองดูแลของผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก มิให้ถูกผู้ใดล่วงละเมิดได้ ข้อสาระสำคัญจึงอยู่ที่ว่าขณะมีการกระทำความผิด เด็กนั้นอยู่ในความปกครองดูแลของผู้หนึ่งผู้ใดหรือไม่ หากปรากฏว่าเด็กอยู่ในอำนาจปกครองดูแลไม่ว่าเป็นของบุคคลหนึ่งบุคคลใดแล้ว ผู้ใดก็ไม่อาจมารบกวนหรือทำให้อำนาจปกครองของบุคคลนั้นต้องถูกกระทบกระเทือนโดยปราศจากความรู้เห็นยินยอมของบุคคลดังกล่าวได้
ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 อายุ 6 ปีเศษ อยู่ในอำนาจปกครองดูแลของ ห. เพียงแต่เดินผ่านหน้าบ้านของจำเลยจะไปตาม ต. กลับมารับประทานอาหารที่บ้าน เหตุที่แวะไปหาจำเลยเพราะจำเลยเรียกผู้เสียหายที่ 1 ให้เข้าไปหาที่แคร่หน้าบ้านจำเลยแล้วล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้เสียหายที่ 1 จึงถือได้ว่าเป็นการพรากเด็กออกจากอำนาจปกครองที่มีอยู่เหนือผู้เสียหายที่ 1 เป็นเหตุให้อำนาจปกครองถูกกระทบกระเทือนแล้ว แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายที่ 1 อยู่ในความปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 2 มิใช่ ห. ตามที่พิจารณาได้ความก็ตาม ข้อแตกต่างดังกล่าวก็ไม่ถือเป็นข้อสำคัญอันกระทบต่อสาระอันเป็นเนื้อหาขององค์ประกอบความผิด ศาลชอบจะลงโทษจำเลยไปตามข้อเท็จจริงซึ่งพิจารณาได้ความดังกล่าวนั้นได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี ความผิดฐานกระทำชำเรา พาเด็กไปเพื่ออนาจาร และพรากเด็กจากผู้ปกครอง
จำเลยใช้วาจาล่อลวงชักชวนให้ผู้เสียหายที่ 1 ไปหาจำเลยยังที่เกิดเหตุและกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพาเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1607/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพาและพรากเด็กเพื่อการอนาจาร การกระทำอนาจารเด็ก และการพิพากษาคดีอาญา
คำว่า "พา" หมายความว่า นำไปหรือพาไป ส่วนคำว่า "พราก" หมายความว่า การพาไปหรือแยกเด็กออกไปจากอำนาจปกครองดูแล ทำให้อำนาจปกครองดูแลของบิดามารดาเด็กถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือนโดยบิดามารดาเด็กไม่รู้เห็นยินยอม อันเป็นการมุ่งหมายเพื่อคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลที่มีต่อเด็ก มิให้ผู้ใดล่วงละเมิดด้วยการพาไปหรือแยกเด็กออกจากความปกครองดูแล โดยไม่จำกัดว่ากระทำด้วยวิธีการใดและไม่คำนึงระยะทางใกล้ไกล ความผิดฐานพาและพรากไปเพื่อการอนาจาร สาระสำคัญอยู่ที่ว่าการพาไปหรือแยกเด็กไปนั้นได้รับความยินยอมจากบุคคลดังกล่าวให้ไปกับบุคคลที่พาไปหรือไม่ หรือมิฉะนั้นบุคคลที่พาเด็กนั้นไปจะต้องมีเหตุอันสมควร
จำเลยจอดรถอยู่ใต้ต้นมะม่วงริมถนนหน้าบ้าน โจทก์ร่วมที่ 3 วิ่งเล่นอยู่บริเวณนั้น จำเลยชวนโจทก์ร่วมที่ 3 เข้าไปดูการ์ตูนในรถด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่ของจำเลย จากนั้นอุ้มโจทก์ร่วมที่ 3 เข้าไปในรถให้โจทก์ร่วมที่ 3 นั่งบนตัก และกระทำอนาจารโดยใช้มือล้วงอวัยวะเพศของโจทก์ร่วมที่ 3 โดยปิดประตูแต่เปิดกระจกฝั่งคนขับไว้เพียง 1 ใน 4 ส่วน ก็เพื่อหาโอกาสล่วงละเมิดทางเพศต่อโจทก์ร่วมที่ 3 โดยไม่ให้มีคนพบเห็น แม้จำเลยไม่ได้พาไปจากบ้านที่เกิดเหตุ โดยรถยังจอดอยู่ห่างจากวงสุราประมาณ 15 เมตร และมิได้ติดเครื่องยนต์ในลักษณะที่จะพาตัวโจทก์ร่วมที่ 3 ไปก็ตาม แต่การที่จำเลยชวนโจทก์ร่วมที่ 3 ไปกระทำอนาจารราว 40 นาที จนต้องตามหาตัว เป็นการพาโจทก์ร่วมที่ 3 ไปแล้ว และเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองดูแลของโจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นบิดามารดาให้ถูกตัดขาดพรากไปแล้วโดยปริยาย โดยปราศจากเหตุอันสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1606/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กเพื่อการอนาจาร การกระทำชำเราต่อเนื่อง และการพิจารณาความผิดกรรมเดียว
การพรากผู้ร้องที่ 1 ไปจากผู้ร้องที่ 2 เริ่มขึ้นด้วยการกระทำของจำเลยที่ 1 ไปจนถึงบ้าน ห. แล้วจำเลยที่ 1 ยังพาผู้ร้องที่ 1 จากบ้าน ห. ต่อไปยังบ้านจำเลยที่ 2 อีก โดยในช่วงนี้จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมรู้เห็นยินยอมและเดินทางไปพร้อมกัน นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ยังได้กระทำชำเราผู้ร้องที่ 1 ต่อจากจำเลยที่ 1 ที่บ้านจำเลยที่ 2 ด้วย ทั้งที่จำเลยที่ 2 รู้ว่าผู้ร้องที่ 1 เป็นคนรักของจำเลยที่ 1 จึงบ่งชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 รู้เห็นกันในการพาผู้ร้องที่ 1 จากบ้าน ห. ไปกระทำชำเราที่บ้านจำเลยที่ 2 โดยไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร้องที่ 1 กับจำเลยที่ 1 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เข้าร่วมกับจำเลยที่ 1 พรากผู้ร้องที่ 1 ไปพ้นจากอำนาจปกครองของผู้ร้องที่ 2 ตั้งแต่บ้าน ห. เป็นต้นไป การกระทำของจำเลยที่ 1 ก่อนนั้นจะเสร็จสิ้นขาดตอนลงหรือไม่หาเป็นสาระสำคัญไม่จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานโดยปราศจากเหตุอันสมควรร่วมกันพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดาเพื่อการอนาจาร
การกระทำของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดาเพื่อการอนาจาร และความผิดฐานร่วมกันกับจำเลยที่ 2 พรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดาเพื่อการอนาจาร เป็นการกระทำต่อเนื่องกันไปไม่ขาดตอน จึงเป็นความผิดกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7178/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกระทำชำเราและอนาจารต่อเด็ก การพิจารณาความผิดกรรมเดียวและบทลงโทษ
คำว่า "อนาจาร" มีความหมายว่า การกระทำที่ไม่สมควรทางเพศ ซึ่งรวมถึงการแตะต้องเนื้อตัวร่างกายในทางไม่สมควร ส่วนการกระทำชำเราหมายถึง การกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำ โดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำกระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น การกระทำชำเราจึงรวมถึงการกระทำอนาจารอยู่ในตัว เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยขู่บังคับให้ผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งมีอายุ 9 ปีเศษ นอนลงกับพื้น อ้าขาและใช้อวัยวะเพศของจำเลยสอดใส่เข้าไปในทวารหนักของผู้เสียหายที่ 1 การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยเด็กนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคสอง (เดิม) และฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม (เดิม) ด้วย ซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7041/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราและพรากเด็กจากผู้ปกครองเพื่ออนาจาร จำเลยมีความผิดฐานต่างๆ
แม้บ้านที่ผู้เสียหายที่ 1 พักอาศัยอยู่กับผู้เสียหายที่ 2 กับบ้านจำเลยอยู่ใกล้กันเพียงมีถนนคั่น และผู้เสียหายที่ 1 ไปหาน้องต่างบิดาที่บ้านจำเลยชั่วครั้งชั่วคราวเพื่อวิ่งเล่นแล้วกลับมาที่บ้าน ระหว่างนี้ถือว่าผู้เสียหายที่ 1 ยังอยู่ในความปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 2 โดยไม่คำนึงว่าบ้านอยู่ห่างกันหรืออยู่ใกล้ไกลเพียงใด และจำเลยทราบดีว่าผู้เสียหายที่ 2 ห้ามและไม่ยินดีให้ผู้เสียหายที่ 1 มาที่บ้านจำเลย การที่จำเลยเรียกผู้เสียหายที่ 1 ไปจากบริเวณที่ผู้เสียหายที่ 1 อยู่กับน้องให้เข้าไปหาในห้องนอนแล้วกระทำชำเรา กับเรียกผู้เสียหายที่ 1 ให้เข้าไปในห้องน้ำและกระทำชำเรา แม้ห้องนอนหรือห้องน้ำกับบริเวณที่ผู้เสียหายที่ 1 อยู่กับน้องจะเป็นบริเวณบ้านเดียวกัน แต่การกระทำของจำเลยแสดงว่ามีเจตนาพาผู้เสียหายที่ 1 จากบริเวณหนึ่งไปอีกบริเวณหนึ่งแล้ว ทั้งเมื่อจำเลยขี่จักรยานพาผู้เสียหายที่ 1 ไปที่คลองท้ายหมู่บ้าน ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านจำเลย 200 ถึง 300 เมตร เพื่อกระทำชำเรา ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยแต่ละครั้ง เป็นการพาไปหรือแยกผู้เสียหายที่ 1 ออกไปจากความปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 2 ทำให้การปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 2 ถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือนโดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอม เป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 และเป็นการพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปเสียจากผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ปกครองดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6910/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารหลายกรรมต่างวาระ ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 91
จำเลยพาผู้เสียหายที่ 1 ไปกระทำชำเราเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 บิดาและ ศ. มารดาในฐานะผู้ดูแลและผู้มีอำนาจปกครอง จึงเป็นการพรากผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์มีอายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากผู้เสียหายที่ 2 ผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร จำเลยพาผู้เสียหายที่ 1 ไปกระทำชำเรา 5 ครั้ง ต่างวันต่างเวลากัน แม้จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายที่ 1 รายเดียวกัน ลักษณะการกระทำความผิดอย่างเดียวกัน สถานที่เกิดเหตุเดียวกัน และมีเจตนาประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกัน แต่จำเลยกระทำความผิดแต่ละครั้งต่างวันต่างเวลามิได้กระทำต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยแต่ละครั้งจึงแยกต่างหากจากกันเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน ตาม ป.อ. มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5581/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ครูอนาจารนักเรียนชั้นประถม ศาลฎีกายืนโทษ จำเลยต้องรับผิดชอบต่อพฤติกรรมที่ไม่สมควร
โจทก์บรรยายฟ้องระบุช่วงเวลาซึ่งจำเลยกระทำผิด ช่วงแรกระหว่างเดือนพฤษภาคม 2559 ถึงเดือนกันยายน 2559 และช่วงที่สองระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2559 ถึงเดือนมีนาคม 2560 แม้จะรวมช่วงปิดภาคการศึกษาในวันที่ 1 ถึง 15 พฤษภาคม 2559 เข้าไว้ด้วย ก็มีผลทำให้รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดในช่วงเวลาที่ปิดภาคการศึกษาเท่านั้น แต่ยังมีช่วงระยะเวลาหลังจากที่โรงเรียนเปิดภาคการศึกษาแล้ว ที่โจทก์สามารถนำสืบวันที่จำเลยกระทำผิดได้ เหตุที่โจทก์ระบุวันและเวลากระทำผิดเป็นช่วงเวลาก็เนื่องมาจากไม่ทราบวันและเวลากระทำผิดที่แน่นอน การระบุวันเวลากระทำผิดเป็นช่วงเวลาดังกล่าวถือว่าเป็นการระบุวันและเวลากระทำความผิดของจำเลยในอีกลักษณะหนึ่งโดยชอบ ฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
จำเลยฎีกาขอให้ลดค่าสินไหมทดแทนลงอีกนั้น เมื่อในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องนี้ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องค่าสินไหมทดแทนจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฎีกาจำเลยจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
of 36