คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เวนคืน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 555 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6556/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ราคาที่เป็นธรรมต้องพิจารณาสภาพที่ดิน, ที่ตั้ง, และวัตถุประสงค์การเวนคืน
พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง พ.ศ.2527 มาตรา 5 บัญญัติให้จำเลยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฯ โดยนอกจากคำนึงถึงราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้ว ยังต้องคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วย และตาม พ.ร.บ. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 มาตรา 6กำหนดให้จำเลยมีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจอยู่ด้วย จำเลยย่อมได้รับผลประโยชน์จากที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วย เมื่อจำเลยได้รับที่ดินของโจทก์ไปเท่าใดก็ควรจะต้องใช้ค่าทดแทนราคาให้แก่โจทก์ตามราคาของที่ดินของโจทก์ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฯ จึงถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรม
ที่ดินพิพาทของโจทก์ด้านหนึ่งติดทะเล อีกด้านหนึ่งติดถนนซอยสาธารณะ โจทก์ได้ปรับปรุงที่ดินทั้งแปลงให้มีสภาพที่ดีขึ้นเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยทั้งที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนมีเนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน 85 ตารางวา ไม่มากจนถึงกับมีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดราคาให้แตกต่างกันเป็นส่วน ๆ ลดหลั่นลงไปตามหน่วยที่กำหนดไว้ในบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อเป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม อำเภอเมืองระยอง ปี 2525 -2527 การกำหนดค่าทดแทนที่ดินพิพาทเป็นราคาเดียวกันตลอดทั้งแปลงเท่ากับราคาที่กำหนดไว้ตามบัญชีกำหนดราคา ฯ ในส่วนที่ดินนอกเขตสุขาภิบาลฝั่งทิศใต้ถนนสุขุมวิท บริเวณชายทะเลห่างจากทะเลหรือถนนริมทะเลรัศมี 100 เมตร จึงชอบด้วยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง พ.ศ.2527

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6546/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนเวนคืนต้องพิจารณาราคาตลาดจริง ไม่ใช่ราคาประเมินทุนทรัพย์ ผู้ถูกเวนคืนมีสิทธิได้รับดอกเบี้ย
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 บัญญัติว่า เงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา18 นั้น ถ้ามิได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะแล้ว ให้กำหนดโดยคำนึงถึง (1) ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหา-ริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.ที่ออกตามมาตรา 6 ฯลฯการที่คณะกรรมการของจำเลยได้กำหนดค่าทดแทนค่าที่ดินให้แก่โจทก์โดยอาศัยราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามมาตรา 21 (3) โดยไม่คำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหา-ริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดิน ฯ พ.ศ.2530ใช้บังคับด้วย กรณีจึงไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืน
เมื่อศาลวินิจฉัยให้โจทก์ได้รับชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นแล้วโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา26 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6546/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ราคาทดแทนต้องเป็นธรรม โดยอ้างอิงราคาตลาดและราคาซื้อขายจริงในบริเวณใกล้เคียง พร้อมดอกเบี้ย
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 บัญญัติว่า เงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 นั้น ถ้ามิได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะแล้ว ให้กำหนดโดยคำนึงถึง (1) ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 ฯลฯการที่คณะกรรมการของจำเลยได้กำหนดค่าทดแทนค่าที่ดินให้แก่โจทก์ โดยอาศัยราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามมาตรา 21(3) โดย ไม่คำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินฯ พ.ศ. 2530 ใช้บังคับด้วย กรณีจึงไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืน เมื่อศาลวินิจฉัยให้โจทก์ได้รับชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นแล้วโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 26 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6185/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินเวนคืนตกเป็นของรัฐทันทีเมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้ ผู้รับโอนไม่สามารถเรียกร้องคืนได้ และต้องอุทธรณ์เรื่องค่าทดแทนตามขั้นตอน
ในขณะที่มี พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายลำปาง - เชียงใหม่ ในท้องที่อำเภอเมืองลำปาง อำเภอห้างฉัตรจังหวัดลำปาง อำเภอแม่ทา อำภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน และอำเภอสารภีอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2509 ซึ่งได้ออกตามมาตรา 8แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเวนคืนนั้นตกมาเป็นของจำเลยที่ 1ตามมาตรา 10 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 นับแต่วันที่ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ฯ ฉบับดังกล่าวใช้บังคับแล้วหาได้ต้องตกอยู่ในเงื่อนไขว่าจำเลยที่ 1 จะต้องใช้เงินค่าทดแทนและเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ถูกเวนคืนก่อนกรรมสิทธิ์จึงจะตกได้แก่จำเลยที่ 1 ไม่ เมื่อขณะที่โจทก์รับโอนที่ดินตามโฉนดเลขที่ 8652 โดยการซื้อขาย กรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ตกเป็นของจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์แล้ว โจทก์จึงมิใช่เป็นเจ้าของที่ดินที่ต้องเวนคืน ซึ่งจะเรียกที่ดินคืนโดยอ้างว่าที่ดินดังกล่าวมิได้ใช้ตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืนได้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอคืนที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งสอง
โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนด ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 โจทก์จึงจะมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลตามมาตรา 26 วรรคแรก แต่ปรากฏว่าเมื่อโจทก์ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทน โจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 25วรรคแรก เสียก่อน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6185/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินเวนคืนตกเป็นของเจ้าหน้าที่เมื่อออกกฎหมายเวนคืน ผู้รับโอนที่ดินจึงไม่มีสิทธิเรียกคืน แต่มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนหากไม่พอใจต้องอุทธรณ์ตามกฎหมาย
ในขณะที่มีพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายลำปาง-เชียงใหม่ ในท้องที่อำเภอเมืองลำปาง อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง อำเภอแม่ทาอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน และอำเภอสารภีอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2509 ซึ่งได้ออกตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2497 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเวนคืนนั้นตกมาเป็นของจำเลยที่ 1ตามมาตรา 10 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 นับแต่วันที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ฉบับดังกล่าวใช้บังคับแล้วหาได้ต้องตกอยู่ในเงื่อนไขว่าจำเลยที่ 1 จะต้องใช้เงินค่าทดแทนและเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ถูกเวนคืนก่อนกรรมสิทธิ์จึงจะตกได้แก่จำเลยที่ 1 ไม่ เมื่อขณะที่โจทก์รับโอนที่ดินตามโฉนดเลขที่ 8652 โดยการซื้อขาย กรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ตกเป็นของจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์แล้วโจทก์จึงมิใช่เป็นเจ้าของที่ดินที่ต้องเวนคืน ซึ่งจะเรียกที่ดินคืนโดยอ้างว่าที่ดินดังกล่าวมิได้ใช้ตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืนได้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอคืนที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งสอง โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนด ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 โจทก์จึงจะมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลตามมาตรา 26 วรรคแรก แต่ปรากฏว่าเมื่อโจทก์ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทน โจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคแรก เสียก่อน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5833/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องเวนคืนต้องระบุค่าทดแทนที่ชัดเจนและขอให้บังคับชำระเพิ่ม มิฉะนั้นคำฟ้องไม่ชอบ
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้เวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์โดยกำหนดค่าทดแทนเฉพาะที่ดินที่ถูกเวนคืนเป็นเงิน 180,000 บาท ต่อมาโจทก์อุทธรณ์ต่อกระทรวงมหาดไทยจำเลยในฐานะผู้วินิจฉัยอุทธรณ์ จำเลยมีคำวินิจฉัยเพิ่มเงินค่าทดแทนให้โจทก์อีก 120,000 บาท ซึ่งยังไม่ใช่ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามสภาพและที่ตั้งของที่ดินการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยดำเนินการให้เป็นไปตามความในมาตรา 21 วรรคหนึ่ง และวรรคสามแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ดังนั้นเมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้อง เป็นการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 โจทก์จึงต้องบรรยายว่าค่าทดแทนที่ตนควรได้รับชำระมีจำนวนเท่าใด และคำขอท้ายฟ้องต้องเป็นเรื่องให้บังคับผู้มีอำนาจในการเวนคืนชำระค่าทดแทนเพิ่มขึ้นจากที่รัฐมนตรีมีคำวินิจฉัยตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายถึงจำนวนค่าทดแทนที่โจทก์เห็นว่าตนเองพึงได้รับทั้งเพียงแต่ขอให้จำเลยดำเนินการให้เป็นไปตามบทกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นอ้างเท่านั้น จึงขาดสาระสำคัญของการฟ้องคดีตามบทบัญญัติมาตรา 26 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 ไม่มีทางที่จะพิพากษาให้จำเลยต้องรับผิดได้ และแม้โจทก์บรรยายฟ้องมาด้วยว่าการที่จำเลยในฐานะผู้วินิจฉัยอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยไม่ถูกต้อง เป็นการละเมิดต่อโจทก์ แต่โจทก์ก็มิได้มีคำขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุดังกล่าว คำฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ต้องยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5767/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก, สิทธิในทรัพย์มรดก, และการแบ่งเงินค่าทดแทนเวนคืนที่ดิน
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพร้อมบ้านพิพาทอันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดที่ 5677 ซึ่งผู้ตายทำพินัยกรรมยกให้แก่โจทก์ไว้ จำเลยที่ 2ให้การต่อสู้ว่า ที่ดินโฉนดที่ 5677 เป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. สามีผู้ตาย โดยส.ให้น.ถือกรรมสิทธิ์แทนส. ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินโฉนดดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 2 การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกและค่าเช่าบ้านทรัพย์มรดกตามฟ้องหรือไม่เพียงใดย่อมหมายรวมถึงว่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายหรือไม่ด้วย เพราะหากว่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาทมิได้เป็นของผู้ตายก็ย่อมไม่เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายอยู่ในตัว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาทมิได้เป็นมรดกของส. ซึ่งตกทอดแก่จำเลยที่ 2 ผู้ตายไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกที่ดินพร้อมบ้านพิพาทซึ่งเป็นของ ส. ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับมรดกและค่าเช่าทรัพย์มรดก จึงเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แต่ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาทเป็นสินสมรสซึ่งตกได้แก่ ส. ผู้ตายไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านพิพาทผู้ตายจึงทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินซึ่งมิใช่ของตนให้แก่ผู้ใดหาได้ไม่พินัยกรรมซึ่งผู้ตายทำจึงไม่มีผลใช้บังคับนั้น ส. เบิกความไว้ในคดีอาญา สรุปได้ว่า ก่อนที่ผู้ตายจะไปทำพินัยกรรมได้ปรึกษาหารือกับส. ที่บ้านเกี่ยวกับการจัดแบ่งทรัพย์สินแก่ทายาท ผู้ตายไปทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง ส. จะไปด้วยหรือไม่จำไม่ได้ เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ส. ได้บอกให้จำเลยที่ 2 ทราบว่า มีพินัยกรรมที่ผู้ตายทำไว้ ต่อมา ส. จำเลยที่ 2 โจทก์ และ ก. ไปฟังพินัยกรรม กรณีเป็นที่เห็นได้ว่า ผู้ตายไปทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินโฉนดที่ 5677 พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้รับพินัยกรรมทั้งสามคนโดย ส. รู้เห็นยินยอมด้วยเมื่อได้มีการอ่านพินัยกรรม ส. ก็มิได้คัดค้านหรือเรียกร้องที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างคืนจากผู้รับพินัยกรรมทั้งสาม ทั้ง ส. ยังได้สละมรดกของผู้ตายตามหนังสือการสละมรดกอีก จากพยานหลักฐานและพฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวมาแสดงว่า ส. มีเจตนาสละกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดที่ 5677พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ให้แก่ผู้ตายตั้งแต่ก่อนที่ผู้ตายจะทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองแล้ว และเนื่องจากโฉนดที่ดินมีชื่อผู้ตายแต่ผู้เดียว เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ กรณีจึงไม่จำต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันอีก ผู้ตายจึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านพิพาทและทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของตนให้แก่โจทก์ได้ โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกและค่าเช่าบ้านทรัพย์มรดกตามฟ้อง ค่าใช้จ่ายในการทำศพผู้ตาย แม้จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าเสียค่าใช้จ่ายไป 58,700 บาท แต่จำเลยที่ 1 ให้การและฟ้องแย้งว่าเสียค่าใช้จ่ายไปเป็นเงินประมาณ 30,000 บาท ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ค่าใช้จ่ายในการทำศพผู้ตาย 30,000 บาท นั้น เป็นจำนวนตามสมควรแล้ว สำหรับค่าจ้างทนายความและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการจัดการมรดกของผู้ตายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกันของกองมรดก ซึ่งจำเลยที่ 1 กระทำแทนทายาทอื่นจึงต้องหักค่าจ้างว่าความ 300,000 บาท จากกองมรดกของผู้ตายสำหรับค่าไถ่ถอนจำนองจำเลยที่ 1 เป็นผู้ไถ่ถอนจำนองที่ดินตามพินัยกรรมเป็นเงิน 130,000 บาท โจทก์ในฐานะทายาทผู้รับพินัยกรรม จึงต้องรับผิดชอบในการไถ่ถอนจำนองที่ดินตามพินัยกรรม สำหรับค่าซ่อมบ้านพิพาทตามสภาพบ้านพิพาทปลูกสร้างมาเป็นเวลานาน เมื่อมีการซ่อมแซมใหญ่ค่าซ่อมแซมจำนวน 20,000 บาท เป็นจำนวนอันสมควร ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์ต้องรับผิดค่าซ่อมแซมบ้านพิพาท 20,000 บาท นั้น ชอบแล้ว จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวเป็นทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตายผู้หนึ่งเท่านั้น ทรัพย์มรดกของผู้ตายอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241 แต่อย่างใด โจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรมที่ปรากฏตัวยังไม่ได้รับส่วนได้ตามพินัยกรรมโจทก์ย่อมเรียกร้องทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมได้ตั้งแต่ผู้ทำพินัยกรรมตายเป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1673 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านพิพาท และส่งมอบค่าเช่าบ้านพิพาทแก่โจทก์ กับขอให้จำเลยที่ 1แบ่งเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์โดยให้โจทก์รับเงินค่าทดแทนดังกล่าวด้วยตนเองแม้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทแก่โจทก์ มิได้พิพากษาให้จำเลยที่ 1แบ่งเงินค่าทดแทนแก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาทได้ถูกเวนคืนไปแล้ว เป็นกรณีที่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับคดีโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ได้ โจทก์จึงขอให้บังคับโดยขอรับเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทที่ศาลชั้นต้นอายัดไว้จากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ เพราะพฤติการณ์ซึ่งทำให้การโอนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทเป็นอันพ้นวิสัยนั้นเป็นผลให้จำเลยที่ 1 ได้มาซึ่งเงินค่าทดแทน การจัดการมรดกนั้นเป็นประโยชน์ร่วมกันของกองมรดก โจทก์จึงต้องรับผิดชอบตามส่วนที่โจทก์ได้รับมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5474/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดราคาค่าทดแทนตาม พ.ร.ฎ. และการวางเงินชดเชยที่ไม่สมบูรณ์ทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้อง
การที่จำเลยที่ 1 วางเงินโดยมีเงื่อนไข ทำให้โจทก์ยังไม่ได้รับเงินทั้ง ๆ ที่ตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกฯพ.ศ.2526 กำหนดแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนไว้ อันมีผลให้กรรมสิทธิ์โอนไปด้วยอำนาจ-กฎหมายโดยไม่จำต้องทำการแบ่งแยกโฉนด เมื่อโจทก์ไม่สามารถรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยที่ 1 นำไปวางไว้ต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางในคราวเดียวกัน จึงถือไม่ได้ว่ามีการวางเงินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสอง ระยะเวลาหนึ่งปีจึงยังไม่เริ่มนับ โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ได้
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงไว้ในข้อ 76 ว่า เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้ ฯลฯ (2) ในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงใช้บังคับในกรณีที่ได้ตรา พ.ร.ฎ.เช่นว่านั้น ฯลฯ ตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสาย-รัชดาภิเษกฯ พ.ศ.2526 ไม่มีบทบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับเงินค่าทดแทน แต่ปรากฏว่าได้มีพ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัซดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ - แขวงสามเสนนอก พ.ศ.2524 ใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2524 การที่จำเลยที่ 1 กำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์โดยใช้ราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม พ.ศ.2514 ราคาดังกล่าวไม่ใช่ราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงเทศบาล-สายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ - แขวงสามเสนนอก พ.ศ.2524 ใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5474/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ราคาค่าทดแทนต้องเป็นราคาตลาด ณ วันที่กฎหมายใช้บังคับ ไม่ใช่งวดเก่า และการวางเงินมีเงื่อนไขไม่ถือเป็นการวางเงินตามกฎหมาย
การที่จำเลยที่ 1 วางเงินโดยมีเงื่อนไข ทำให้โจทก์ยังไม่ได้รับเงินทั้ง ๆ ที่ตาม พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกฯ พ.ศ. 2526 กำหนดแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนไว้ อันมีผลให้กรรมสิทธิ์โอนไปด้วยอำนาจกฎหมายโดยไม่จำต้องทำการแบ่งแยกโฉนด เมื่อโจทก์ไม่สามารถรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยที่ 1 นำไปวางไว้ต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางในคราวเดียวกัน จึงถือไม่ได้ว่ามีการวางเงินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสอง ระยะเวลาหนึ่งปีจึงยังไม่เริ่มนับ โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงไว้ในข้อ 76 ว่า เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษใน พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้ ฯลฯ (2)ในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงใช้บังคับในกรณีที่ได้ตรา พ.ร.ฎ.เช่นว่านั้น ฯลฯ ตาม พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกฯ พ.ศ. 2526 ไม่มีบทบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับเงินค่าทดแทน แต่ปรากฏว่าได้มี พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2524 การที่จำเลยที่ 1 กำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์โดยใช้ราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมพ.ศ. 2514 ราคาดังกล่าวไม่ใช่ราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5164/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดราคาค่าทดแทนเวนคืนตามราคาตลาดจริงในวันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับ มิใช่ราคาประเมิน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 บัญญัติว่า "เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้ (1) ในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้มีการตรา พ.ร.ฎ.เช่นว่านั้น... ตามบทบัญญัติดังกล่าว เห็นได้ว่า การที่กำหนดให้ใช้ค่าทดแทนตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดนั้น หมายถึงราคาธรรมดาที่อาจซื้อขายกันในท้องตลาดตามความเป็นจริงในวันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับ มิได้หมายความว่า ถ้าในวันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับไม่มีหลักฐานการจดทะเบียนซื้อขายกันที่สำนักงานที่ดินก็จะต้องถือเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นเกณฑ์กำหนดค่าทดแทน ทั้งการที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ทั้งสิบสองโดยถือเอาราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังกล่าวเป็นเกณฑ์กำหนดราคาค่าทดแทนย่อมคงที่ตลอดเวลาที่ใช้ราคาประเมินนั้น มิใช่ราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดซึ่งที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองอาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ปรากฏว่า วันที่28 ธันวาคม 2527 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.ฎ.ประกาศใช้บังคับ จำเลยนำเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่เริ่มใช้บังคับนับแต่วันที่ 1 มกราคม 2525มาเป็นเกณฑ์กำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองนับว่าเป็นราคาที่แตกต่างจากราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนประกาศใช้บังคับแน่ เนื่องจากเป็นเวลาที่เนิ่นนานร่วม 3 ปีแล้ว ราคาที่ดินย่อมสูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นธรรมดา ราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2528 จึงเป็นราคาใกล้เคียงกับราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ
of 56