พบผลลัพธ์ทั้งหมด 567 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 589/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำและการนำสืบเปลี่ยนแปลงเอกสารสัญญากู้: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นข้อต่อสู้เรื่องประกันหนี้
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายด้วยมูลหนี้สัญญากู้ เมื่อศาลยกฟ้องแล้วโจทก์นำสัญญากู้นั้นมาฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลยอีก ดังนี้ ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ
จำเลยรับว่าได้ทำสัญญากู้ไว้ให้โจทก์จริงและในสัญญามีข้อความว่าได้รับเงินกู้ไปแล้ว การที่จะให้จำเลยนำสืบว่าความจริงจำเลยไม่ได้กู้เงินโจทก์ แต่ได้ทำสัญญากู้ไว้เพื่อเป็นประกัน ป. ลูกหนี้ของโจทก์ ดังนี้ เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงเอกสารต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
จำเลยรับว่าได้ทำสัญญากู้ไว้ให้โจทก์จริงและในสัญญามีข้อความว่าได้รับเงินกู้ไปแล้ว การที่จะให้จำเลยนำสืบว่าความจริงจำเลยไม่ได้กู้เงินโจทก์ แต่ได้ทำสัญญากู้ไว้เพื่อเป็นประกัน ป. ลูกหนี้ของโจทก์ ดังนี้ เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงเอกสารต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นเอกสารไม่ถูกต้องตามวิธีพิจารณาคดี และผลกระทบต่อการคัดค้านในชั้นอุทธรณ์ฎีกา
โจทก์มิได้ระบุอ้างเอกสารสัญญากู้เป็นพยานไว้ แต่ได้ส่งต้นฉบับสัญญากู้ต่อศาลในการพิจารณา ศาลชั้นต้นสั่งรับไว้เป็นเอกสารในสำนวนดังนี้ เป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการอ้างและยื่นหรือส่งเอกสารเป็นการพิจารณาผิดระเบียบจำเลยอาจยกขึ้นคัดค้านได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 แต่ต้องร้องคัดค้านเสียก่อน 8 วันนับแต่ได้ทราบเรื่องผิดระเบียบและก่อนที่จะมีคำพิพากษา จำเลยเพิ่งยกขึ้นคัดค้านในชั้นอุทธรณ์ฎีกาย่อมไม่ได้
จำเลยรับว่าลายเซ็นในช่องผู้กู้ในสัญญากู้ที่โจทก์ส่งต้นฉบับต่อศาลเป็นของจำเลยคงโต้เถียงตามที่ให้การต่อสู้ว่าไม่ได้กู้เงินโจทก์ สัญญากู้เป็นเอกสารปลอม จึงต้องฟังจากคำพยานหลักฐานอื่นต่อไป ไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังพยานบุคคล
จำเลยรับว่าลายเซ็นในช่องผู้กู้ในสัญญากู้ที่โจทก์ส่งต้นฉบับต่อศาลเป็นของจำเลยคงโต้เถียงตามที่ให้การต่อสู้ว่าไม่ได้กู้เงินโจทก์ สัญญากู้เป็นเอกสารปลอม จึงต้องฟังจากคำพยานหลักฐานอื่นต่อไป ไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังพยานบุคคล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อิสระในการพิจารณาคดีอาญา และการใช้เอกสารเป็นพยานโดยไม่ต้องซักค้าน
ในคดีอาญา แม้จำเลยจะนำสืบถึงพยานเอกสารใดโดยมิได้นำพยานเอกสารนั้นไปซักค้านพยานโจทก์ให้อธิบายไว้เสียก่อนจำเลยก็ยังอ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยานได้
ไม่มีบทกฎหมายใดบังคับว่าการพิจารณาคดีอาญาที่กล่าวหากันด้วยข้อเท็จจริงที่ได้เคยมีการวินิจฉัยชี้ขาดไว้ในคดีเรื่องก่อนแล้ว ศาลที่พิจารณาคดีหลังจะต้องถือข้อเท็จจริงที่ศาลได้วินิจฉัยไว้ในคดีก่อน
ไม่มีบทกฎหมายใดบังคับว่าการพิจารณาคดีอาญาที่กล่าวหากันด้วยข้อเท็จจริงที่ได้เคยมีการวินิจฉัยชี้ขาดไว้ในคดีเรื่องก่อนแล้ว ศาลที่พิจารณาคดีหลังจะต้องถือข้อเท็จจริงที่ศาลได้วินิจฉัยไว้ในคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1726/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: เจตนาแบ่งทรัพย์สินตามเอกสารแสดงความประสงค์สมัครใจหย่ามีผลผูกพัน แม้ไม่มีการระบุในทะเบียนหย่า
ผู้ร้องขัดทรัพย์กับจำเลยผู้เป็นสามีจดทะเบียนหย่ากัน แม้ข้อตกลงในการแบ่งทรัพย์สินระหว่างกันจะไม่ปรากฏอยู่ในทะเบียนการหย่าแต่ในหนังสือแสดงความประสงค์สมัครใจหย่ากันอันเป็นแบบพิมพ์ของทางราชการสำหรับให้คู่กรณีกรอกข้อความนั้นระบุไว้ว่า 'ในเรื่องทรัพย์สินบริคณห์ต่าง ๆ ได้จัดการแบ่งปันกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว'และได้ความว่าผู้ร้องเป็นฝ่ายได้ที่ดินพิพาท ดังนี้ ย่อมถือว่าได้มีการแบ่งปันทรัพย์สินกันเรียบร้อยแล้วนับแต่วันจดทะเบียนหย่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยไม่มีอำนาจนำยึดที่พิพาทได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีผลผูกพัน แม้จะไม่มีหลักฐานการเบิกเงินเพิ่มเติม และศาลรับฟังเอกสารแม้ไม่ได้ส่งสำเนาให้คู่ความ
ฟ้องกล่าวว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของโจทก์ไป10,000 บาท สัญญาให้ดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือน จำเลยที่ 1 ค้างดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2505 ตลอดมา ดังนี้พอเป็นที่เข้าใจฟ้องได้ว่าจำเลยที่ 1 รับเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไปแล้ว โจทก์จึงได้ฟ้องเรียกทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย เมื่อมีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหมาย จ.1 เป็นหลักฐานการกู้ยืมอยู่แล้วการเบิกเงินไปแต่ละคราวภายหลังเป็นเรื่องบัญชีเดินสะพัด หาจำต้องมีหลักฐานการกู้เป็นหนังสือเป็นพิเศษอีกชั้นหนึ่งไม่ เพียงแต่จำเลยที่ 1 ออกเช็คสั่งธนาคารโจทก์ให้จ่ายเงินไปแล้ว จำเลยก็ต้องรับผิด
คดีมีประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานว่า จำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปตามสัญญาหรือไม่และมีการใช้เงินคืนหรือยัง การที่โจทก์อ้างหนังสือรับรองหนี้หมาย จ.4 ก็เพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้รับเงินไปแล้วและยังไม่ได้ใช้คืน จึงเป็นการสืบตรงประเด็น ส่วนการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารหมาย จ.4 ให้จำเลยนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) ศาลมีอำนาจรับฟังได้ถ้าเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
เมื่อคิดเอาดอกเบี้ยทบเข้าเป็นต้นแล้ว โจทก์ก็ย่อมจะคิดดอกเบี้ยจากดอกเบี้ยที่กลายสภาพเป็นต้นเงินไปแล้วได้อีก ดังนั้น ในกรณีคิดดอกเบี้ยทบต้น จำนวนดอกเบี้ยอาจเกินร้อยละ 15 ต่อปีได้ ถ้าคิดคำนวณเฉพาะจากต้นเงินเดิม
คดีมีประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานว่า จำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปตามสัญญาหรือไม่และมีการใช้เงินคืนหรือยัง การที่โจทก์อ้างหนังสือรับรองหนี้หมาย จ.4 ก็เพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้รับเงินไปแล้วและยังไม่ได้ใช้คืน จึงเป็นการสืบตรงประเด็น ส่วนการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารหมาย จ.4 ให้จำเลยนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) ศาลมีอำนาจรับฟังได้ถ้าเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
เมื่อคิดเอาดอกเบี้ยทบเข้าเป็นต้นแล้ว โจทก์ก็ย่อมจะคิดดอกเบี้ยจากดอกเบี้ยที่กลายสภาพเป็นต้นเงินไปแล้วได้อีก ดังนั้น ในกรณีคิดดอกเบี้ยทบต้น จำนวนดอกเบี้ยอาจเกินร้อยละ 15 ต่อปีได้ ถ้าคิดคำนวณเฉพาะจากต้นเงินเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 87/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การท้าคดีโดยอ้างเอกสาร เอกสารหายไม่อาจใช้ชี้ขาดได้ โจทก์มีหน้าที่นำสืบหลักฐาน
คู่ความท้ากันว่า. ถ้าจำเลยนำหนังสือซื้อขายที่ดินหรือสำเนาที่อำเภอรับรองมาจากอำเภอได้. โจทก์ยอมแพ้. ถ้าไม่มีหนังสือดังกล่าวที่พิพาทตกเป็นของโจทก์. เมื่ออำเภอมีหนังสือแจ้งมาว่าค้นไม่พบ. คู่ความท้ากันใหม่ว่าให้ศาลเอาหนังสือตอบนี้ไปประกอบกับคำท้าเดิมแล้ววินิจฉัยว่าที่พิพาทจะเป็นของฝ่ายใด. ศาลวินิจฉัยว่าตามหนังสือตอบของอำเภอฟังไม่ถนัดว่ามีหนังสือซื้อขายที่พิพาทหรือไม่. จึงชี้ขาดให้แพ้ชนะกันตามคำท้าไม่ได้. เมื่อต่างแถลงไม่สืบพยานคดีนี้ หน้าที่นำสืบตกแก่โจทก์ โจทก์จึงต้องแพ้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความเป็นเจ้าของทรัพย์สินด้วยพยานบุคคล แม้ไม่มีเอกสารสนับสนุน ย่อมทำได้หากเกี่ยวข้องกับข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลย
การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่า ความจริงผู้ซื้อทรัพย์พิพาทคือจำเลยมิใช่ผู้ร้องซึ่งมีชื่อเป็นผู้ซื้อในสัญญาซื้อขายนั้นเป็นการสืบพยานในประเด็นข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ว่าทรัพย์พิพาทเป็นของผู้ร้องหรือจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงโจทก์จึงนำพยานบุคคลมาสืบถึงความเป็นมาอันแท้จริงเพื่อแสดงว่าทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยได้ กรณีไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 72/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสละมรดกที่ดิน: ความสมบูรณ์ของเอกสารและผลบังคับใช้เฉพาะทรัพย์สินที่ระบุ
เอกสาร ล.1 อยู่ในความอารักขาของทางอำเภอฉะนั้นสำเนาเอกสาร ล.1 ซึ่งนายอำเภอรับรองว่าถูกต้อง ย่อมรับฟังได้
ระเบียบพิธีการเกี่ยวกับการสละมรดกจะต้องทำอย่างไรและต้องเสียค่าธรรมเนียมทำหนังสือ ค่ารับมอบเก็บรักษาของอำเภอนั้นระเบียบเช่นว่านั้นไม่ใช่แบบบังคับเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของเอกสารหมาย ล.1 ซึ่งเป็นสัญญาแบ่งปันมรดก
ที่ดินและเรือนเป็นทรัพย์มรดก แต่เอกสาร ล.1 กล่าวถึงเฉพาะที่ดิน ไม่ใช่เรือนจึงมิใช่เอกสารสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 เพราะจะทำแต่เพียงบางส่วนไม่ได้ตามมาตรา 1613 อย่างไรก็ดี เอกสารหมายล.1 ก็เป็นหลักฐานแห่งสัญญาแบ่งปันมรดกซึ่งโจทก์ลงลายมือชื่อว่าโจทก์เป็นทายาทของเจ้ามรดก มีสิทธิรับมรดกที่ดินแต่โจทก์ไม่พึงประสงค์จะรับโอนมรดกต่อไปโจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยผู้เป็นภริยาของเจ้ามรดกเป็นผู้รับโอนไปแต่ผู้เดียวจึงมีผลบังคับเฉพาะที่ดินเท่านั้นไม่เกี่ยวกับเรือน
ระเบียบพิธีการเกี่ยวกับการสละมรดกจะต้องทำอย่างไรและต้องเสียค่าธรรมเนียมทำหนังสือ ค่ารับมอบเก็บรักษาของอำเภอนั้นระเบียบเช่นว่านั้นไม่ใช่แบบบังคับเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของเอกสารหมาย ล.1 ซึ่งเป็นสัญญาแบ่งปันมรดก
ที่ดินและเรือนเป็นทรัพย์มรดก แต่เอกสาร ล.1 กล่าวถึงเฉพาะที่ดิน ไม่ใช่เรือนจึงมิใช่เอกสารสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 เพราะจะทำแต่เพียงบางส่วนไม่ได้ตามมาตรา 1613 อย่างไรก็ดี เอกสารหมายล.1 ก็เป็นหลักฐานแห่งสัญญาแบ่งปันมรดกซึ่งโจทก์ลงลายมือชื่อว่าโจทก์เป็นทายาทของเจ้ามรดก มีสิทธิรับมรดกที่ดินแต่โจทก์ไม่พึงประสงค์จะรับโอนมรดกต่อไปโจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยผู้เป็นภริยาของเจ้ามรดกเป็นผู้รับโอนไปแต่ผู้เดียวจึงมีผลบังคับเฉพาะที่ดินเท่านั้นไม่เกี่ยวกับเรือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 72/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสละมรดกที่ดิน: ความสมบูรณ์ของเอกสารและขอบเขตการสละมรดก
เอกสาร ล.1 อยู่ในความอารักขาของทางอำเภอ. ฉะนั้นสำเนาเอกสาร ล.1 ซึ่งนายอำเภอรับรองว่าถูกต้อง ย่อมรับฟังได้.
ระเบียบพิธีการเกี่ยวกับการสละมรดกจะต้องทำอย่างไร. และต้องเสียค่าธรรมเนียมทำหนังสือ ค่ารับมอบเก็บรักษาของอำเภอนั้น. ระเบียบเช่นว่านั้นไม่ใช่แบบบังคับเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของเอกสารหมาย ล.1 ซึ่งเป็นสัญญาแบ่งปันมรดก.
ที่ดินและเรือนเป็นทรัพย์มรดก. แต่เอกสาร ล.1 กล่าวถึงเฉพาะที่ดิน ไม่ใช่เรือน. จึงมิใช่เอกสารสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612. เพราะจะทำแต่เพียงบางส่วนไม่ได้ตามมาตรา 1613. อย่างไรก็ดี เอกสารหมายล.1 ก็เป็นหลักฐานแห่งสัญญาแบ่งปันมรดก.ซึ่งโจทก์ลงลายมือชื่อว่าโจทก์เป็นทายาทของเจ้ามรดก มีสิทธิรับมรดกที่ดิน. แต่โจทก์ไม่พึงประสงค์จะรับโอนมรดกต่อไป.โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยผู้เป็นภริยาของเจ้ามรดกเป็นผู้รับโอนไปแต่ผู้เดียว. จึงมีผลบังคับเฉพาะที่ดินเท่านั้น. ไม่เกี่ยวกับเรือน.
ระเบียบพิธีการเกี่ยวกับการสละมรดกจะต้องทำอย่างไร. และต้องเสียค่าธรรมเนียมทำหนังสือ ค่ารับมอบเก็บรักษาของอำเภอนั้น. ระเบียบเช่นว่านั้นไม่ใช่แบบบังคับเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของเอกสารหมาย ล.1 ซึ่งเป็นสัญญาแบ่งปันมรดก.
ที่ดินและเรือนเป็นทรัพย์มรดก. แต่เอกสาร ล.1 กล่าวถึงเฉพาะที่ดิน ไม่ใช่เรือน. จึงมิใช่เอกสารสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612. เพราะจะทำแต่เพียงบางส่วนไม่ได้ตามมาตรา 1613. อย่างไรก็ดี เอกสารหมายล.1 ก็เป็นหลักฐานแห่งสัญญาแบ่งปันมรดก.ซึ่งโจทก์ลงลายมือชื่อว่าโจทก์เป็นทายาทของเจ้ามรดก มีสิทธิรับมรดกที่ดิน. แต่โจทก์ไม่พึงประสงค์จะรับโอนมรดกต่อไป.โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยผู้เป็นภริยาของเจ้ามรดกเป็นผู้รับโอนไปแต่ผู้เดียว. จึงมีผลบังคับเฉพาะที่ดินเท่านั้น. ไม่เกี่ยวกับเรือน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292-1293/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจลายมือเอกสาร, การแก้ไขฟ้อง, บัญชีทรัพย์มรดก, และการรับฟังรายงานผู้เชี่ยวชาญ
การส่งเอกสารไปให้ผู้เชียวชาญกองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจพิสูจน์ลายมือนั้น เมื่อผู้เชียวชาญคนใดของกองพิสูจน์หลักฐานทำการตรวจพิสูจน์ได้ผลประการใดและทำรายงานความเห็นส่งมายังศาลแล้ว ก็เป็นการเพียงพอสำหรับปัญหาที่โต้เถียงกัน ไม่จำต้องส่งไปให้ตรวจพิสูจน์ใหม่ เพราะเป็นการเพียงพอสำหรับปัญหาที่โต้เถียงกัน ไม่จำต้องส่งไปให้ตรวจพิสูจน์ใหม่ เพราะเป็นการตรวจพิสูจน์ซ้ำและไม่น่าจะมีผลเปลี่ยนแปลงจากเดิม
ผู้ตายกู้เงินโจทก์ไปหลายคราว แต่ทำสัญญากู้รวมกันให้โจทก์ไว้ฉบับเดียวตามที่โจทก์นำมาฟ้อง ดังนี้ โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องว่าผู้ตายกู้เงินโจทก์ไปกี่คราว คราวละเท่าใด ทำหนังสือกู้ลงวันเดือนปี เพียงแต่บรรยายฟ้องเกี่ยวกับสัญญากู้ฉบับที่นำมาฟ้องก็พอ
เมื่อศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้อง ย่อมเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากจำเลยจะอุทธรณ์คัดค้าน ต้องยื่นคำแถลงคัดค้านไว้
บัญชีทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 วรรค 1 ซึ่งนำมารใช้กับการจัดการมรดกตามมาตรา 1730 ย่อมหมายถึงบัญชีทรัพย์มรดกซึ่งได้จัดทำขึ้น โดยผู้จัดการมรดก ภายหลังที่ได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว หาได้หมายถึงบัญชีทรัพย์มรดกที่ทำยื่นพร้อมคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกไม่
เมื่อคู่ความฝ่ายใดร้องขอให้ศาลตั้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจเอกสารและศาลมีคำสั่งตั้งตามขอแล้ว ผู้เชี่ยวชาญนั้นจึงเป็นผู้เชียวชาญที่ศาลตั้ง ศาลย่อมรับฟังรายงานความเห็นของผู้เชียวชาญนั้นได้ โดยไม่ต้องเรียกให้มาสาบานหรือปฏิญาณรับรองรายงานนั้นอีก
ผู้ตายกู้เงินโจทก์ไปหลายคราว แต่ทำสัญญากู้รวมกันให้โจทก์ไว้ฉบับเดียวตามที่โจทก์นำมาฟ้อง ดังนี้ โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องว่าผู้ตายกู้เงินโจทก์ไปกี่คราว คราวละเท่าใด ทำหนังสือกู้ลงวันเดือนปี เพียงแต่บรรยายฟ้องเกี่ยวกับสัญญากู้ฉบับที่นำมาฟ้องก็พอ
เมื่อศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้อง ย่อมเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากจำเลยจะอุทธรณ์คัดค้าน ต้องยื่นคำแถลงคัดค้านไว้
บัญชีทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 วรรค 1 ซึ่งนำมารใช้กับการจัดการมรดกตามมาตรา 1730 ย่อมหมายถึงบัญชีทรัพย์มรดกซึ่งได้จัดทำขึ้น โดยผู้จัดการมรดก ภายหลังที่ได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว หาได้หมายถึงบัญชีทรัพย์มรดกที่ทำยื่นพร้อมคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกไม่
เมื่อคู่ความฝ่ายใดร้องขอให้ศาลตั้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจเอกสารและศาลมีคำสั่งตั้งตามขอแล้ว ผู้เชี่ยวชาญนั้นจึงเป็นผู้เชียวชาญที่ศาลตั้ง ศาลย่อมรับฟังรายงานความเห็นของผู้เชียวชาญนั้นได้ โดยไม่ต้องเรียกให้มาสาบานหรือปฏิญาณรับรองรายงานนั้นอีก