พบผลลัพธ์ทั้งหมด 368 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของสัญญาประกันตัวที่เกิดจากเอกสารปลอม การไต่สวนเพื่อพิสูจน์ลายมือชื่อ
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องไม่ได้เป็นผู้ประกันจำเลยต่อศาลชั้นต้น เอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ในการยื่นคำร้องขอประกันตัวจำเลยเป็นเอกสารปลอม โดย ว. ร่วมกับ ร. ปลอมลายมือชื่อผู้ร้องในหนังสือมอบอำนาจ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านนำไปใช้ประกอบโฉนดที่ดินของผู้ร้อง การที่ศาลชั้นต้นมิได้ทำการไต่สวนให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า เอกสารที่นำมายื่นขอประกันตัวจำเลยต่อศาล มีการปลอมลายมือชื่อของผู้ร้องจริงหรือไม่ เพื่อที่ศาลจะวินิจฉัยต่อไปว่าสัญญาประกันมีผลผูกพันผู้ร้องหรือไม่ เห็นควรให้ย้อนสำนวนคืนไปให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนในประเด็นดังกล่าวให้เสร็จสิ้นก่อน แล้วมีคำสั่งใหม่ไปตามรูปคดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การติดตามทรัพย์สินคืนจากผู้ถือครองโดยไม่ทราบข้อเท็จจริง กรณีถูกหลอกใช้เอกสารปลอม
คดีนี้ แม้โจทก์จะกล่าวอ้างในฟ้องว่าเป็นเรื่องลาภมิควรได้ในการเรียกให้จำเลยโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่โจทก์ แต่เมื่ออ่านฟ้องทั้งหมดแล้ว จำเลยถูกผู้อื่นแอบอ้างและใช้เอกสารปลอมในการจดทะเบียนรับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยจำเลยไม่มีเจตนารับโอนเป็นของตน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใดโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 ซึ่งในการฟ้องคดีแพ่งโจทก์เพียงแต่บรรยายข้อเท็จจริงและมีคำขอบังคับก็เพียงพอโดยไม่จำต้องยกบทกฎหมายขึ้นกล่าวอ้าง กรณีเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องยกบทกฎหมายขึ้นปรับใช้กับข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความแล้วมีคำวินิจฉัยชี้ขาดไป เมื่อคดีนี้ข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำฟ้องของโจทก์ว่า มีผู้แอบอ้างและใช้เอกสารปลอมขอกู้ยืมเงินจากโจทก์แล้วนำเงินของโจทก์ไปซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เมื่อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทซึ่งซื้อมาด้วยเงินของโจทก์มีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ทั้งจำเลยก็มิได้กล่าวอ้างความเป็นเจ้าของหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องเอาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาท จึงชอบด้วยความเป็นธรรมที่โจทก์จะเรียกเอาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทได้เสมือนเป็นการติดตามเอาทรัพย์สินของตนคืนแทนเงินที่โจทก์ต้องสูญเสียไป เพื่อเยียวยาความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการกระทำอันมิชอบ โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่โจทก์ได้ แต่ไม่อาจเรียกให้จำเลยชดใช้หนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยและเบี้ยประกันภัยตามฟ้องได้เพราะจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ตามสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19144/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและการขายสินค้าหลีกเลี่ยงภาษีเป็นความผิดต่างกรรมกัน
การที่จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อขายและขายเครื่องปรับอากาศของกลาง 250 เครื่อง ที่ยังมิได้เสียภาษีสรรพสามิต และจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันปลอมเครื่องหมาย (สติกเกอร์) แสดงการเสียภาษีสรรพสามิตสำหรับเครื่องปรับอากาศอันเป็นเอกสารราชการและนำเอกสารราชการปลอมดังกล่าวไปใช้ติดกับเครื่องปรับอากาศของกลางเป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับ ซึ่งมีองค์ประกอบความผิดที่แตกต่างกัน และเป็นความผิดสำเร็จอยู่ในตัว ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดสองฐานก่อให้เกิดผลที่ต่างกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7002/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารปลอมเพื่อเอาผิดทายาททรัพย์มรดก ศาลฎีกายืนโทษฐานใช้เอกสารปลอม
เดิมจำเลยให้การปฏิเสธและนำสืบต่อสู้ว่ามารดาโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับจำเลยและ ล. ดังนั้น การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่มีส่วนรู้เห็นในการทำสัญญาซื้อขายที่ดินและไม่ทราบว่าเป็นเอกสารปลอม จำเลยสำคัญผิดไปว่าเป็นเอกสารที่มีอยู่จริง ทำให้จำเลยไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 62 วรรคแรก จึงเป็นการยกข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ปัญหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใช้เอกสารปลอมหรือไม่ เมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองต้นฉบับหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน แต่ในการพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยกลับไม่อ้างสัญญาซื้อขายดังกล่าวเป็นพยานเพื่อให้ศาลเชื่อว่ามีสภาพเก่าและได้มีการทำขึ้นมานานแล้ว จำเลยเพิ่งอ้างส่งมาพร้อมฎีกาหลังจากมีกรณีพิพาทถึง 3 ปีเศษ ถือได้ว่าเป็นการจงใจที่จะไม่อ้างต้นฉบับสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นพยานมาแต่ต้นซึ่งทำให้โจทก์เสียโอกาสในการตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร จึงไม่อาจรับฟังต้นฉบับหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นพยานหลักฐานได้
1/1
ปัญหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใช้เอกสารปลอมหรือไม่ เมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองต้นฉบับหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน แต่ในการพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยกลับไม่อ้างสัญญาซื้อขายดังกล่าวเป็นพยานเพื่อให้ศาลเชื่อว่ามีสภาพเก่าและได้มีการทำขึ้นมานานแล้ว จำเลยเพิ่งอ้างส่งมาพร้อมฎีกาหลังจากมีกรณีพิพาทถึง 3 ปีเศษ ถือได้ว่าเป็นการจงใจที่จะไม่อ้างต้นฉบับสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นพยานมาแต่ต้นซึ่งทำให้โจทก์เสียโอกาสในการตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร จึงไม่อาจรับฟังต้นฉบับหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นพยานหลักฐานได้
1/1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5860/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีอาญาเกี่ยวกับเอกสารปลอม: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากสัญญากู้เป็นเอกสารปลอม ทำให้ไม่เกิดความเสียหาย
โจทก์เคยฟ้องขอให้บังคับจำเลยกับ ม. ร่วมกันชำระหนี้พร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยเชื่อว่าสัญญากู้ที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ในคดีดังกล่าวเป็นเอกสารที่โจทก์ทำปลอมขึ้น ผลแห่งคำพิพากษานั้นย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยกับ ม. รับผิดต่อโจทก์ได้ แม้จะได้ความว่าจำเลยปลอมสัญญาค้ำประกันอันเป็นเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ไม่มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 28 (2) ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8587/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นสำคัญอยู่ที่การพิสูจน์ว่าสัญญากู้ยืมเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกประเด็น จึงต้องย้อนสำนวน
ตามคำให้การของจำเลยเป็นการต่อสู้ว่า สัญญากู้ยืมปลอมทั้งฉบับ มิใช่ปลอมแค่เพียงบางส่วน ดังนั้น คำให้การที่ว่าจำเลยเคยกู้ยืมเงินโจทก์ 120,000 บาท เป็นเพียงเหตุผลประกอบการปฏิเสธเท่านั้น ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงมีว่า สัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาปลอมหรือไม่
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าสัญญากู้ไม่ปลอม ให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องจำเลยอุทธรณ์ว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอม ดังนั้น จึงมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยนชั้นอุทธรณ์ว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ ซึ่งถ้าฟังว่าปลอมจำเลยก็ไม่ต้องรับผิด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไป 120,000 บาท และชำระให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจกท์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยนั้น เป็นการวินิจฉัยในประเด็นที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 เป็นเหตุให้โจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 นอกประเด็นไปด้วย เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีที่ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าสัญญากู้ไม่ปลอม ให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องจำเลยอุทธรณ์ว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอม ดังนั้น จึงมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยนชั้นอุทธรณ์ว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ ซึ่งถ้าฟังว่าปลอมจำเลยก็ไม่ต้องรับผิด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไป 120,000 บาท และชำระให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจกท์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยนั้น เป็นการวินิจฉัยในประเด็นที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 เป็นเหตุให้โจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 นอกประเด็นไปด้วย เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีที่ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6413/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้บัตรประชาชนปลอมขอหนังสือเดินทางและการใช้เอกสารปลอมหลายกรรม ศาลฎีกาแก้ไขโทษและริบของกลาง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2544 จำเลยนำบัตรประจำตัวประชาชนปลอมไปใช้อ้างแสดงต่อเจ้าพนักงานกระทรวงการต่างประเทศเพื่อขอออกหนังสือเดินทาง เจ้าพนักงานหลงเชื่อว่าเป็นบัตรประจำตัวประชาชนที่แท้จริงและได้ออกหนังสือเดินทางให้แก่จำเลย ต่อมาวันที่ 6 มีนาคม 2545 จำเลยนำบัตรประจำตัวประชาชนปลอมไปใช้อ้างแสดงต่อร้อยตำรวจเอก ส. ว่าจำเลยเป็นผู้มีชื่อตามบัตรประจำตัวประชาชนปลอม อันเป็นการฟ้องว่าจำเลยใช้บัตรประจำตัวประชาชนปลอม 2 ครั้ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้เอกสารราชการปลอมตามวันและเวลาทั้งเจตนาในการใช้จึงเป็นการกระทำที่ต่างกรรมกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แต่โจทก์ไม่ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องโดยไม่แก้โทษ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ประกอบมาตรา 225 ปัญหาข้อที่ว่า จำเลยกระทำความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
สำหรับบัตรประจำตัวประชาชนปลอม หนังสือเดินทางปลอม และแผ่นฟิล์มของกลางที่โจทก์ขอให้มีคำสั่งริบนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานใช้บัตรประจำตัวประชาชนปลอม แต่ให้ยกฟ้องฐานปลอมบัตรประจำตัวปลอมและปลอมหนังสือเดินทาง ศาลล่างทั้งสองก็ชอบที่จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับของกลางต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับของกลางที่โจทก์ขอให้ริบด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) และมาตรา 215 การที่ศาลล่างทั้งสองไม่วินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าบัตรประจำตัวประชาชนของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด สำหรับหนังสือเดินทางปลอมและแผ่นฟิล์มเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด และมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามลำดับ จึงให้ริบ
สำหรับบัตรประจำตัวประชาชนปลอม หนังสือเดินทางปลอม และแผ่นฟิล์มของกลางที่โจทก์ขอให้มีคำสั่งริบนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานใช้บัตรประจำตัวประชาชนปลอม แต่ให้ยกฟ้องฐานปลอมบัตรประจำตัวปลอมและปลอมหนังสือเดินทาง ศาลล่างทั้งสองก็ชอบที่จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับของกลางต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับของกลางที่โจทก์ขอให้ริบด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) และมาตรา 215 การที่ศาลล่างทั้งสองไม่วินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าบัตรประจำตัวประชาชนของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด สำหรับหนังสือเดินทางปลอมและแผ่นฟิล์มเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด และมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามลำดับ จึงให้ริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2385/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากเจ้าหน้าที่รัฐ-สัญญาซื้อขาย: ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อความเสียหายจากเอกสารปลอมและการแบ่งความรับผิดกับผู้ขาย
เมื่อปรากฏว่าบริษัทผู้จำหน่ายรถยนต์ต้องส่งบัญชีรับและจำหน่ายรถให้แก่นายทะเบียนกรุงเทพมหานครเมื่อได้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายหรือผลิตหรือประกอบรถขึ้นใหม่เพื่อจำหน่าย โดยต้องจัดส่งเอกสารประกอบหนังสือแจ้ง คือ บัญชีรับและจำหน่ายรถใบเสร็จรับเงินอากรขาเข้า ใบรับรองการนำเข้า สำเนาใบขนสินค้าขาเข้า บัญชีแสดงรายการสินค้าหรืออินวอยซ์ ทั้งต้องจัดส่งบัญชีรับและจำหน่ายรถของแต่ละเดือนให้นายทะเบียนกรุงเทพมหานครทราบ แสดงว่าหลักฐานต่างๆ ดังกล่าวมีอยู่ที่นายทะเบียนกรุงเทพมหานครครบถ้วนแล้ว เมื่อมีผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนรถใหม่จึงสามารถตรวจสอบได้ทันทีว่าหลักฐานของผู้ยื่นคำขอตรงกับที่บริษัทผู้จำหน่ายรถยนต์แจ้งมาหรือไม่ การที่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทุกขั้นตอนรวมทั้งจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนายทะเบียนมิได้ตรวจสอบทั้งที่ปรากฏข้อพิรุธของเอกสารอย่างชัดเจน จึงถือว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เมื่อมีการออกใบคู่มือจดทะเบียนให้แก่จำเลยที่ 5 ทำให้โจทก์ทั้งสองหลงเชื่อเอกสารดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ว่าเป็นเอกสารที่ออกโดยถูกต้องจึงตกลงซื้อรถยนต์คันพิพาท เมื่อมีการตรวจพบในภายหลังว่าเอกสารที่จำเลยที่ 5 นำไปยื่นต่อนายทะเบียนเป็นเอกสารปลอม จำเลยที่ 2 จึงมีประกาศยกเลิกการจดทะเบียนรถยนต์คันพิพาทและแจ้งให้โจทก์ที่ 2 ส่งใบคู่มือจดทะเบียนและแผ่นป้ายทะเบียนรถคืนแก่นายทะเบียน จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายไม่ได้ใช้รถยนต์คันพิพาททั้งที่ชำระเงินค่ารถไปครบถ้วนแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองในผลแห่งละเมิดที่เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่
คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้จำเลยทั้งหกร่วมกันคืนเงินค่ารถยนต์จำนวน 1,350,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยและร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายที่ไม่ได้ใช้รถยนต์ ต้องเสียค่าเช่ารถเดือนละ 20,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ร่วมกันชำระเงินจำนวน 1,350,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ทั้งสอง คำขออื่นให้ยก โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ชดใช้เงินค่ารถจำนวน 1,350,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสองเท่านั้น เท่ากับโจทก์ทั้งสองไม่ติดใจในส่วนของค่าเสียหายที่ต้องเสียค่าเช่ารถมาใช้แทนรถยนต์คันพิพาท ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ทั้งสองในความเสียหายส่วนนี้จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอตามอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสอง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบ มาตรา 246 แม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยมาก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
โจทก์ทั้งสองไม่มีพยานหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมมือหรือรู้เห็นเป็นใจกับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ในการรับจดทะเบียนรถยนต์คันพิพาทโดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รู้อยู่แล้วว่าเอกสารหลักฐานประกอบคำขอจดทะเบียนรถใหม่เป็นเอกสารปลอม ตามพฤติการณ์เป็นเรื่องที่ต่างฝ่ายต่างทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย แต่โดยเหตุที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองในมูลหนี้ละเมิดอันเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐสังกัดจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อ ส่วนจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองตามมูลหนี้สัญญาซื้อขาย แม้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองจำนวนเดียวกันแต่ก็ไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ทั้งสองเต็มจำนวนได้ เมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ในการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 แล้ว เห็นว่าเป็นความประมาทเลินเล่อซึ่งมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในหน่วยงานของรัฐ ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในเอกสารต่างๆที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย ทำให้ประชาชนได้รับความเสียหาย เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์ในการกระทำและความร้ายแรงแห่งละเมิดแล้วเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 450,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยจากต้นเงินดังกล่าว
คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้จำเลยทั้งหกร่วมกันคืนเงินค่ารถยนต์จำนวน 1,350,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยและร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายที่ไม่ได้ใช้รถยนต์ ต้องเสียค่าเช่ารถเดือนละ 20,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ร่วมกันชำระเงินจำนวน 1,350,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ทั้งสอง คำขออื่นให้ยก โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ชดใช้เงินค่ารถจำนวน 1,350,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสองเท่านั้น เท่ากับโจทก์ทั้งสองไม่ติดใจในส่วนของค่าเสียหายที่ต้องเสียค่าเช่ารถมาใช้แทนรถยนต์คันพิพาท ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ทั้งสองในความเสียหายส่วนนี้จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอตามอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสอง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบ มาตรา 246 แม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยมาก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
โจทก์ทั้งสองไม่มีพยานหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมมือหรือรู้เห็นเป็นใจกับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ในการรับจดทะเบียนรถยนต์คันพิพาทโดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รู้อยู่แล้วว่าเอกสารหลักฐานประกอบคำขอจดทะเบียนรถใหม่เป็นเอกสารปลอม ตามพฤติการณ์เป็นเรื่องที่ต่างฝ่ายต่างทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย แต่โดยเหตุที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองในมูลหนี้ละเมิดอันเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐสังกัดจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อ ส่วนจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองตามมูลหนี้สัญญาซื้อขาย แม้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองจำนวนเดียวกันแต่ก็ไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ทั้งสองเต็มจำนวนได้ เมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ในการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 แล้ว เห็นว่าเป็นความประมาทเลินเล่อซึ่งมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในหน่วยงานของรัฐ ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในเอกสารต่างๆที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย ทำให้ประชาชนได้รับความเสียหาย เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์ในการกระทำและความร้ายแรงแห่งละเมิดแล้วเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 450,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยจากต้นเงินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15791/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความยักยอก, การร้องทุกข์, กรรมเดียวผิดหลายบท, และการใช้เอกสารปลอม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ภายในอายุความและพนักงานสอบสวนได้สอบสวนแล้ว ย่อมสันนิษฐานได้ว่ามีการร้องทุกข์และมีการสอบสวนโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อชั้นพิจารณาจำเลยไม่ได้คัดค้านโดยเสนอหรือนำสืบเป็นข้อต่อสู้ไว้ ถือว่า ไม่มีข้อคัดค้าน
ตามหนังสือขอแจ้งความเพิ่มเติม กรณีการปลอมแปลงลายมือชื่อของโจทก์ร่วมที่มีต่อพนักงานสอบสวน ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญการกระทำความผิดของจำเลยไว้ โดยสรุปใจความว่า เมื่อวันเกิดเหตุจำเลยได้ปลอมแปลงลายมือชื่อของ ย. แล้วเบิกถอนเงินฝากจำนวน 14,000 บาท จากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของ ย. ไป ขอให้ดำเนินคดีกับจำเลยตามกฎหมาย อันมีความแจ้งชัดอยู่ในตัวว่า เป็นการขอให้ดำเนินคดีกับจำเลยที่เบียดบังเงินจำนวนดังกล่าว โดยวิธีการปลอมแปลงลายมือชื่อเบิกถอนเงินของโจทก์ร่วมจากบัญชีเงินฝากของ ย. อันเป็นความผิดฐานยักยอกแล้วด้วย โจทก์ร่วมไม่จำต้องระบุอ้างฐานความผิดมาด้วยแต่อย่างใด รูปคดีจะเป็นความผิดฐานใดย่อมเป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งแล้วแต่เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจที่จะวินิจฉัย
แม้การปลอมใบถอนเงินฝากออมทรัพย์ และใช้เอกสารดังกล่าวถอนเงินไปจากโจทก์ร่วม แล้วยักยอกเงินนั้นเป็นของตนจะเป็นการกระทำที่มีลักษณะแตกต่างกัน ต่างเป็นความผิดสำเร็จในตัวก็ตาม แต่การที่จำเลยปลอมและใช้เอกสารปลอมดังกล่าวก็เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินของโจทก์ร่วมที่จำเลยมุ่งประสงค์จะยักยอกเป็นของตนเป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
ตามหนังสือขอแจ้งความเพิ่มเติม กรณีการปลอมแปลงลายมือชื่อของโจทก์ร่วมที่มีต่อพนักงานสอบสวน ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญการกระทำความผิดของจำเลยไว้ โดยสรุปใจความว่า เมื่อวันเกิดเหตุจำเลยได้ปลอมแปลงลายมือชื่อของ ย. แล้วเบิกถอนเงินฝากจำนวน 14,000 บาท จากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของ ย. ไป ขอให้ดำเนินคดีกับจำเลยตามกฎหมาย อันมีความแจ้งชัดอยู่ในตัวว่า เป็นการขอให้ดำเนินคดีกับจำเลยที่เบียดบังเงินจำนวนดังกล่าว โดยวิธีการปลอมแปลงลายมือชื่อเบิกถอนเงินของโจทก์ร่วมจากบัญชีเงินฝากของ ย. อันเป็นความผิดฐานยักยอกแล้วด้วย โจทก์ร่วมไม่จำต้องระบุอ้างฐานความผิดมาด้วยแต่อย่างใด รูปคดีจะเป็นความผิดฐานใดย่อมเป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งแล้วแต่เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจที่จะวินิจฉัย
แม้การปลอมใบถอนเงินฝากออมทรัพย์ และใช้เอกสารดังกล่าวถอนเงินไปจากโจทก์ร่วม แล้วยักยอกเงินนั้นเป็นของตนจะเป็นการกระทำที่มีลักษณะแตกต่างกัน ต่างเป็นความผิดสำเร็จในตัวก็ตาม แต่การที่จำเลยปลอมและใช้เอกสารปลอมดังกล่าวก็เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินของโจทก์ร่วมที่จำเลยมุ่งประสงค์จะยักยอกเป็นของตนเป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1457/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นเรื่องการแก้ไขข้อความในสัญญาโดยไม่ได้รับความยินยอม ทำให้สัญญานั้นเป็นเอกสารปลอม และการนำสืบหลักฐานนอกประเด็น
จำเลยเคยกู้ยืมเงินโจทก์จำเลย 40,000 บาท แต่โจทก์กลับนำแบบพิมพ์หนังสือสัญญากูยืมเงินที่จำเลยลงลายมือชื่อไว้ในช่องผู้กู้ไปกรอกข้อความเป็นว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ 50,000 บาท โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลย จึงเป็นเอกสารปลอม คดีจึงมีประเด็นเพียงว่า จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 50,000 บาท ตามฟ้องหรือไม่ไม่มีประเด็นว่า จำเลยได้ชำระหนี้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่ ดังนั้น จำเลยจะนำสืบว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้วหาได้ไม่ เป็นการนำสืบนอกประเด็น ส่วนที่จำเลยให้การไว้ตอนหนึ่งว่าจำเลยได้ชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้วเป็นการให้การประกอบข้ออ้างที่ว่าจำเลยเคยกู้ยืมเงินโจทก์ 40,000 บาท มิใช่เป็นการให้การในประเด็นที่เกี่ยวกับการกู้ยืมเงินจำนวน 50,000 บาท ที่โจทก์ยกขึ้นเป็นข้ออ้างในคำฟ้อง การที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงจากทางนำสืบของจำเลยแล้วเชื่อว่าจำเลยชำระหนี้จำนวนตามฟ้องให้โจทก์แล้ว จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น