พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10351/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงลายมือชื่อกรรมการไม่ถือเป็นการแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
พ.ร.บ.บริษัทมหาชน พ.ศ.2535 มาตรา 19 วรรคสอง และมาตรา 31 กล่าวเฉพาะข้อความในหนังสือบริคณห์สนธิเท่านั้นที่หากมีการแก้ไขจะต้องนำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ดังนั้น แม้ลายมือชื่อของนางสาว ส. กรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ จะเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปบ้าง แต่ก็ไม่ถือเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชน พ.ศ.2535 มาตรา 19 วรรคสอง และมาตรา 31 กรณีจึงไม่ต้องห้ามตาม มาตรา 8 ที่ว่า ผู้ถือหุ้นหรือบริษัทจะถือเอาประโยชน์จากบุคคลภายนอกจากข้อความหรือรายการใด ๆ ที่ต้องจดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ได้ จนกว่านายทะเบียนจะได้รับจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว เมื่อนาย ส. กรรมการโจทก์ลงลายมือชื่อร่วมกับนางสาว ส. ซึ่งเป็นกรรมการอีกคนหนึ่งและประทับตราสำคัญของโจทก์ อันเป็นการปฏิบัติตามข้อกำหนดในหนังสือรับรอง การมอบอำนาจของโจทก์ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3114/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษอาญาหลังพ.ร.บ.ล้างมลทิน ศาลฎีกาแก้ไขได้หากจำเลยได้รับประโยชน์ตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2551 ซึ่ง พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับแล้ว เมื่อความผิดที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ จำเลยได้ต้องโทษและพ้นโทษแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับอันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด จำเลยย่อมได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัตินั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยจึงเป็นการพิพากษาโดยมีข้อผิดหลงเล็กน้อย ซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 190 บัญญัติให้แก้ไขคำพิพากษาซึ่งอ่านแล้วได้เฉพาะถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาดเท่านั้น มิได้บัญญัติรวมถึงการแก้ไขกรณีมีข้อผิดหลงเล็กน้อยไว้เหมือนดังเช่น ป.วิ.พ. มาตรา 143 ดังนี้ แม้คดีจะถึงที่สุดไปแล้ว แต่เมื่อจำเลยยื่นคำร้องว่าจำเลยได้รับประโยชน์จากพ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 ขอให้งดเพิ่มโทษจำเลย เท่ากับจำเลยร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิ่มเติมแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นให้ถูกต้องและคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อผิดหลงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เพราะมิใช่เป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้: ศาลแก้ไขดอกเบี้ยให้เป็นไปตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นั้น โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า โจทก์เรียกดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวได้โดยอาศัยสิทธิใด แต่เมื่อหนี้ที่จำเลยทั้งสองค้างชำระเป็นหนี้เงินและจำเลยทั้งสองผิดนัดชำระหนี้แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี การที่ศาลชั้นต้นกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้จำเลยทั้งสองรับผิดในอัตราสูงกว่าอัตราที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมาย อันเป็นการกำหนดให้จำเลยทั้งสองรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกฎหมาย เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ มาตรา 249 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9419/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่แจ้งวันนัดไต่สวนและไม่เบิกตัวผู้คัดค้าน ทำให้การพิจารณาคดีไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไข
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ริบทรัพย์ของผู้คัดค้านที่ 1 รวม 11 รายการ ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำคัดค้านศาลชั้นต้นนัดไต่สวน ก่อนถึงวันนัดผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำคัดค้านฉบับใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รอสอบวันนัด แต่ในวันนัดศาลชั้นต้นมิได้เบิกตัวผู้คัดค้านที่ 1 มาสอบถามเกี่ยวกับคำคัดค้านฉบับใหม่ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้เลื่อนการไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งให้เบิกตัวผู้คัดค้านที่ 1 มาสอบถามเรื่องคำคัดค้านฉบับใหม่ แต่ไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้แจ้งวันนัดให้ผู้คัดค้านที่ 1 ทราบ หรือมีการเบิกตัวผู้คัดค้านที่ 1 มาศาลในวันนัดแต่อย่างใดอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาในส่วนของการนั่งพิจารณาซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่ทราบวันนัดไต่สวนคำร้องและไม่สามารถนำพยานเข้าไต่สวนตามคำคัดค้านได้ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงมิชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ผู้ร้องและผู้คัดค้านทั้งสองมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้โดยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการดังกล่าวของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบเสียได้ แล้วให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นปฏิบัติให้ถูกต้องในกระบวนพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7018/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีป้ายรายปี: การประเมินถูกต้องตามกฎหมาย แต่เงินเพิ่มยกเว้นเมื่อแก้ไขแบบแสดงรายการก่อนแจ้งการประเมิน
ตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง กำหนดให้เจ้าของป้ายมีหน้าที่เสียภาษีป้ายเป็นรายปี ซึ่งคำว่า รายปี ย่อมมีความหมายว่า เจ้าของป้ายมีหน้าที่เสียภาษีป้ายปีละหนึ่งครั้งเพียงคราวเดียวโดยไม่ต้องคำนึงว่าป้ายได้ติดตั้งหรือแสดงไว้ในปีนั้นครบทั้งปีหรือไม่ ยกเว้นตามมาตรา 7 วรรคหนึ่ง ตอนท้าย ที่กำหนดว่าเฉพาะป้ายที่เริ่มติดตั้งหรือแสดงในปีแรกที่ให้เสียภาษีป้ายตั้งแต่วันเริ่มติดตั้งหรือแสดงจนถึงวันสิ้นปี ไม่ต้องเสียภาษีป้ายเป็นรายปีแต่ให้คิดเป็นรายงวด งวดละสามเดือนของปี โดยเริ่มเสียภาษีป้ายตั้งแต่งวดที่ติดตั้งป้ายจนถึงงวดสุดท้ายของปี เท่านั้น
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายพิพาทเพิ่มเติมก่อนแจ้งการประเมิน จึงพอถือได้ว่าเป็นกรณีที่เจ้าของป้ายได้มาขอแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีป้ายให้ถูกต้องก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมิน จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 25 (2)
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายพิพาทเพิ่มเติมก่อนแจ้งการประเมิน จึงพอถือได้ว่าเป็นกรณีที่เจ้าของป้ายได้มาขอแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีป้ายให้ถูกต้องก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมิน จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 25 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 57/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำเลยจากประวัติอาชญากรรมเดิมถูกจำกัดโดย พ.ร.บ.ล้างมลทิน และศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
แม้ศาลชั้นต้นไม่ได้สอบจำเลยว่า เป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษหรือไม่และโจทก์ก็ไม่ได้นำสืบให้ปรากฏก็ตาม แต่จำเลยเบิกความตอบโจทก์ถามค้านว่าเคยต้องโทษในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษจริง ถือว่าความปรากฏแก่ศาลแล้ว การที่ศาลชั้นต้นไม่วินิจฉัยปัญหาข้อนี้จึงไม่ชอบ แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มาตรา 4 ที่บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ ดังนั้น เมื่อความผิดที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ จำเลยพ้นโทษมาแล้วก่อนวันที่ พระราชบัญญัติใช้บังคับ จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลมีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18955/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขระเบียบสหกรณ์ชอบด้วยกฎหมาย สิทธิสมาชิกผูกพันตามมติที่ประชุมใหญ่
ข้อบังคับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเลย จำกัด พ.ศ.2542 ข้อ 86 (1) กำหนดว่า กรณีเป็นระเบียบว่าด้วยการรับฝากเงินต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์ก่อนจึงจะมีผลใช้บังคับได้ หากเป็นระเบียบอื่น เมื่อคณะกรรมการดำเนินการกำหนดใช้แล้ว ให้ส่งสำเนาให้นายทะเบียนสหกรณ์รับทราบ เมื่อพิจารณาระเบียบว่าด้วยเงินฝากสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือครอบครัวสมาชิกโครงการ 1 พ.ศ.2539 (ส.ค.ส.1) แล้วจะเห็นได้ว่าระเบียบดังกล่าวระบุวัตถุประสงค์ของโครงการไว้ชัดเจนว่าเพื่อจัดสวัสดิการแก่สมาชิกหรือครอบครัวสมาชิกในกรณีที่ถึงแก่กรรมหรือมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป เพื่อให้สมาชิกและครอบครัวมีหลักประกันชีวิตที่มั่นคงรวมทั้งเป็นหลักประกันในการชำระหนี้แก่สมาชิก ระเบียบดังกล่าวจึงเป็นระเบียบเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิก ไม่ใช่เป็นเรื่องรับฝากเงินซึ่งผู้ฝากเงินส่งมอบเงินให้แก่ผู้รับฝากและผู้รับฝากตกลงว่าจะเก็บรักษาเงินไว้แล้วจะคืนให้ จึงไม่ใช่ระเบียบว่าด้วยการรับฝากเงินตามข้อ 86 (1) ที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์ก่อนจึงจะมีผลบังคับได้ แต่เป็นระเบียบอื่นๆ ที่คณะกรรมการดำเนินการของจำเลยที่ 1 มีอำนาจดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งก่อนมีการแก้ไขระเบียบว่าด้วยเงินฝากสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือครอบครัวสมาชิกโครงการ 1 ฯ จำเลยที่ 1 แต่งตั้งคณะทำงานและรับฟังความคิดเห็นจากสมาชิกแล้ว ในที่สุดที่ประชุมใหญ่มีมติให้เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การจ่ายเงินสงเคราะห์โดยให้งดจ่ายเงินสงเคราะห์แก่สมาชิกเมื่ออายุครบ 60 ปี จำนวน 50,000 บาท แต่ให้จ่ายเงินสงเคราะห์แก่ทายาทของสมาชิกเมื่อสมาชิกเสียชีวิตเพียงครั้งเดียว 100,000 บาท และมีการแจ้งเรื่องดังกล่าวให้นายทะเบียนสหกรณ์ทราบแล้ว ดังนั้นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การจ่ายเงินสงเคราะห์ตามระเบียบว่าด้วยเงินฝากสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือครอบครัวสมาชิกโครงการ 1 ฯ จึงเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยชอบ มีผลผูกพันสมาชิกทั้งหมดรวมทั้งโจทก์ทั้งสองด้วย โจทก์ทั้งสองยื่นคำขอรับเงินสงเคราะห์เมื่ออายุครบ 60 ปี ภายหลังจากการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ให้งดจ่ายเงินดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิปฏิเสธไม่จ่ายเงินตามคำขอของโจทก์ทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18311/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโฉนดที่ดินที่คลาดเคลื่อน ต้องฟ้องเจ้าพนักงานที่ดิน ไม่ใช่จำเลยที่ดินติดกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์นำสำรวจแบ่งแยกที่ดิน แต่เจ้าพนักงานที่ดินคำนวณเนื้อที่ผิดพลาดเป็นเหตุให้เนื้อที่ที่ดินขาดหายไปเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินจำเลย กับมีคำขอให้บังคับจำเลยเพิกถอนแก้ไขทำเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ที่ทับซ้อนที่ดินของโจทก์ อันเป็นการกล่าวอ้างว่าโฉนดที่ดินของโจทก์ออกโดยคลาดเคลื่อนไม่ถูกต้อง ซึ่งหากโจทก์เห็นว่าการออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ของเจ้าพนักงานที่ดินทำไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยประการใดจนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ต้องดำเนินการฟ้องร้องเจ้าพนักงานที่ดินผู้ออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์โดยตรง แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยกระทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับโฉนดที่ดินของโจทก์ อันเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานที่ดินที่จะดำเนินการโดยไม่ได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดิน ทั้งโจทก์มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนเปลี่ยนแปลงแก้ไขโฉนดที่ดินของจำเลยแต่อย่างใด กรณีจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามฟ้องของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17338/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขพินัยกรรมไม่ถูกต้องตามแบบ ป.พ.พ. มาตรา 1656 วรรคสอง ทำให้พินัยกรรมไม่สมบูรณ์เฉพาะส่วนที่แก้ไข
การแก้ไขชื่อสกุลของเจ้ามรดกในพินัยกรรม โดยมีการลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมกำกับในบริเวณที่แก้ไข แต่ไม่มีพยานสองคนลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมขณะที่แก้ไข อันเป็นการไม่ได้ทำตามแบบที่กฎหมายระบุไว้ จึงไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1656 วรรคสอง มีผลทำให้พินัยกรรมไม่สมบูรณ์เฉพาะส่วนที่ทำไม่ถูกต้อง และถือว่าไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรม พินัยกรรมคงมีข้อความตามเดิม หามีผลทำให้พินัยกรรมที่เดิมสมบูรณ์อยู่แล้วต้องตกเป็นไม่สมบูรณ์ทั้งฉบับหรือตกเป็นโมฆะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 864/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอในความผิดฐานมีอาวุธปืน และอำนาจศาลฎีกาในการแก้ไขเพื่อความสงบเรียบร้อย
โจทก์บรรยายฟ้องระบุการกระทำของจำเลยที่ 2 ว่า ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีและพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรและโดยไม่ได้รับใบอนุญาต แล้วร่วมกันใช้อาวุธปืนดังกล่าวยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีเจตนาร่วมกับจำเลยที่ 1 มีและพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะตามฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยต่อไปว่า ภายหลังเกิดเหตุจำเลยที่ 2 หยิบอาวุธปืนจากจำเลยที่ 1 แล้ววิ่งออกจากที่เกิดเหตุไป จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้นเป็นเหตุการณ์คนละตอนกับความผิดตามฟ้องโจทก์จึงเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้อง ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยและพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน ย่อมเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยที่ 2 มิได้ฎีกา และความผิดดังกล่าวยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย และแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225